คำว่า ปัญญา ควรเรียกชื่อนี้เมื่อใด
ขอเรียนถามท่านผู้รู้และเข้าใจคำว่า ปัญญา ที่เราๆ ท่านๆ ใช้คำนี้กันในชีวิตประจำวัน เช่นผู้ที่มีปัญญาแก้ปัญหาในเรื่องการงาน, มีปัญญาด้านวิทยศาสตร์ ด้านการแพทย์ สอบเข้าเรียนด้านปรัชญา ปัญญาของบุคคลเหล่านี้ ควรใช้คำว่า เขามีปัญญา ได้หรือไม่ค่ะ หรือว่าจะใช้คำว่าปัญญาได้ต่อเมื่อปัญญารู้ในเรื่องของปรมัตถธรรมเท่านั้นค่ะ
ช่วยอธิบายให้ด้วยค่ะ ได้ฟังจากท่าน อ. สุจินต์มาบ้าง แต่ยังไม่เข้าใจ
เป็นการใช้คำในความหมายที่ต่างกัน เพราะปัญญาทางโลกหมายถึงการศึกษา เรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งรู้ได้ด้วยการตรึก (วิตกเจตสิก) ซึ่งเกิดกับอกุศลจิตได้ครับ ส่วนปัญญาเจตสิกนั้นต้องเกิดกับโสภณจิตเท่านั้น ไม่เกิดกับอกุศลจิต ในชีวิตประจำวันทางโลกตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งถึงก่อนนอนจิตเป็นอะไร ซึ่งเรายังไม่สามารถรู้ได้ แต่จากการศึกษาทราบว่าเป็นอกุศลส่วนมาก เพราะจิตจะเป็นกุศลได้ในขณะ ทาน ศีล ภาวนา เท่านั้น และแม้ในขณะที่กุศลจิตเกิดก็ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ สำหรับคนที่ไม่ได้ศึกษาปรมัตธรรมหรือไม่ได้สะสมมาที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง รู้ความเป็นปรมัตธรรมครับ
ขอเชิญคุณบัวในตม อ่านข้อความจากกระดานสนทนาธรรม หัวข้อ ดังนี้
จะได้ตำตอบเกี่ยวกับเรื่องปัญญา ค่ะ
3231 - ปัญญาทางโลกต่างกับปัญญาทางธรรมหรือไม่
3074 - ที่มาแห่งปัญญา
3079 - การสะสมเจริญปัญญา
3065 - จินตมยปัญญา
3066 - ภาวนามยปัญญา
2201 - ปัญญา 3 ประเภท
ขออนุโมทนาคะ
ปัญญาทางโลกและปัญญาทางธรรมต่างกันค่ะ ทางโลกหมายถึง เรียนเก่ง เป็นนัก ค้นคิด เช่น ผลิตเสื้อที่ใส่ออกกำลังกาย แม้มีเหงื่อก็ไม่เหม็น เป็นต้น แต่ปัญญาทาง ธรรมหมายถึง ปัญญาที่รู้ว่านี้ทุกข์ นี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ นี้เป็นหนทางดับทุกข์ นี้เป็นข้อ ปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์