เข้าใจ - นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด

 
pyai
วันที่  1 ก.พ. 2549
หมายเลข  776
อ่าน  1,213

ตามที่พระคุณท่านได้ให้อรรถาธิบาย โดยนัยของความแป็นอนัตตา ... ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป ไม่มีคน สัตว์ สิ่งของใดในปรมัตถธรรม จะหาอัตตาตัวเราเขาไม่ได้เลย .... นั้นเป็นประการที่หนึ่ง นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ.

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ไม่ควรตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ... นั้นก็อีกประการหนึ่ง ก็เรานั่นอีกนั่นแหละไม่ควรเข้าไปยึดเอาถือเอาว่าสังขารที่เราอาศัยในชีวิตรูปนี้เป็นตัวเป็นตนของเรา โดยความพยายามจะให้เห็นภาพ เพื่อข้าน้อยจะพอเห็นภาพในความคิดเผื่อว่าจะพอเข้าใจได้บ้าง จะอนุมาณได้ใหมว่า เราที่แท้จริง ก็น่าจะเป็น ธาตุที่ไม่ใช่อัตตาใดใด

ไม่ใช่รูป ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่สัญญา ไม่ใช่สังขาร ไม่ใช่วิญญาณ ... จะได้ไหมท่านเจ้าคะประดุจว่าเราเปรียบได้กับแม่ยกที่หลงใหลตัวละครเวทีที่แสดงอย่างถึงอกถึงใจ สมบทบาท บางครั้งก็ถึงกับหลั่งน้ำตา บางครั้งก็รู้สึกโกรธ บางครั้งก็สนุกขำขัน บางครั้งก็ชอบใจ

เราที่แท้จริงเป็นธาตุชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ตัวตนเป็นธาตุที่ถือครองอารมต่างๆ ได้ ดังเช่นฉะนี้ จะได้ไหมพระคุณท่านเจ้าค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 3 ก.พ. 2549

ในการแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ บางครั้งพระองค์แสดงโดยปรมัตถเทศนาไม่มีกล่าวถึงเรา สัตว์ บุคคลเลย กล่าวเพียงธรรมล้วนๆ เช่น ในติกมาติกาพระอภิธรรมว่า กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตา ธัมมา เป็นต้น สภาพที่ยึดถือทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นเราของเรา เป็นลักษณะของอกุศลธรรม การไม่ยึดถือเพราะปัญญาที่รู้ตามความจริงว่า เป็นเพียง สภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2549

เราควรรู้จักโลกตามความเป็นจริง

เราควรรู้จักโลกตามความเป็นจริงด้วยการรู้ชัดลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและ รูปธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่นเมื่อสภาพร้อนปรากฏที่กาย สภาพร้อนนั้น ก็เป็นสิ่งที่สติระลึกรู้ได้ เมื่อสภาพอ่อนปรากฏ สภาพอ่อนนั้นก็เป็นสิ่งที่สติระลึกรู้ได้เมื่อมีสติระลึกรู้เช่นนี้ ก็จะรู้ชัดในลักษณะที่ต่างกันของสภาพธรรม การรู้ลักษณะที่ต่างกันของสภาพธรรมที่ปรากฏนั้นสำคัญมาก เพราะถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมเหล่านั้นก็จะยึดถือสภาพธรรมเหล่านั้นเป็นตัวตน เช่น เราอาจจะคิดว่า ความอ่อนที่กายนั้นเป็น “กายของเรา” เมื่อรู้ลักษณะของรูปอ่อนบ่อยขึ้น ก็จะรู้ว่าลักษณะที่อ่อนนั้นเป็นสภาพที่ไม่รู้อะไร เป็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวตน ดังนั้น เราก็จะค่อยคลายการยึดถือว่าเป็น “ร่างกายของเรา” ลงทุกที เมื่อสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม เช่น การเห็น ความเสียใจ ความสุข และการคิดนึก ก็จะรู้ได้ว่าเป็นลักษณะของนามธรรมแต่ละชนิดที่ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นทุกข์ ตาเป็นทุกข์ การเห็นเป็นทุกข์ ความรู้สึกที่เนื่องมาจาก สิ่งที่เห็นก็เป็นทุกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Wisaka
วันที่ 15 ต.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ