สมถภาวนา ตอนที่ 14
ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน ได้ทราบข่าวมาดังนี้ว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยกาลล่วงไป ๓ เดือน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า นี่พระผู้มีพระภาค ยังไม่ปรินิพพาน เพราะฉะนั้น บรรดาผู้ที่มีความสงสัย ก็มีโอกาสจะได้ไปเฝ้า แล้วก็ทูลถาม ถึง ข้อสงสัย ด้วยตนเองว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จไปแล้ว ตน ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ นั้น พึงอยู่ด้วยธรรม เครื่องอยู่อะไร ซึ่งทุกท่านก็น่าจะคิด ใช่ไหมคะ ว่าทุกท่านจะอยู่ด้วยธรรมอะไร ในชีวิตประจำวัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตร เสด็จเข้ามาหาตถาคต แล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่มหาบพิตรผู้เป็นกุลบุตร ดูกรมหาบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้วพึงเจริญธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป ดูกรมหาบพิตร ในธรรม ๖ ประการนี้ พึงทรงระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม และพระคุณธรรมข้ออื่นๆ ต่อไป ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ คือผล หรือวิบาก ย่อมได้ความรู้ธรรม คือเหตุ หรือกรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญก็ได้ พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึงทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอนอันเบียดเสียดด้วยพระโอรส และพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งพุทธานุสสตินี้แล ซึ่งก็เป็นธรรมทุกขณะ อย่าลืม ไม่มีขณะไหนเลย ซึ่งไม่ใช่ธรรม หลายท่านทีเดียว อยากจะพบธรรม อยากจะเห็นธรรม แสวงหาธรรม แต่ว่าธรรมกำลังมีอยู่ในขณะนี้ กำลังปรากฏ ทุกหนทุกแห่ง ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ ที่บ้าน ที่นี่ ที่นั่น ที่โน้น ที่ไหน ทุกหนทุกแห่ง เป็นสภาพธรรม ทั้งหมด เพราะฉะนั้น ไม่ต้องแสวงหาธรรมเลย เพราะว่าธรรมกำลังปรากฏอยู่แล้ว จะรู้ธรรมก็รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง จะเห็นธรรม จะเข้าใจธรรม ก็ในสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าที่ไหน ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาค จึงตรัสกับเจ้าสักกาย พระนามว่า มหานามะ ว่า มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญก็ได้ พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึงทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอนอันเบียดเสียดด้วย พระโอรส และพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งพุทธานุสตินี้แล ข้อความต่อไปพระผู้มีพระภาค ทรงแสดง ธรรมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติโดยนัยเดียวกัน ข้อความที่พระผู้มีพระภาค ตรัสกับเจ้าสักกายพระนามว่ามหานามะมีว่า ดูกรมหาบพิต สมัยใด อริยสาวก ระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ กลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไป ตรง ไม่ได้หมายควมว่าโลภะ ไม่เกิดเลย ในชีวิตประจำวันของพระอริยสาวก หรือผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ได้หมายความว่า โทสะไม่ได้เกิดเลย โมหะไม่เกิดเลย แต่ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม มีเหตุปัจจัย ของโลภะ โลภะเกิด แต่ไม่กลุ้มรุม เพราะว่าสติ สามารถที่จะ เป็นผู้ที่มีจิตดำเนินไป ตรง เพราะปรารถพระตถาคต วัน ๑ๆ ท่านผู้ฟังมีการระลึกถึงพระผู้มีพระภาค บ้างไหม ในขณะนั้น คะ ไม่ถูกโลภะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นผู้ที่มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารถ พระตถาคต
4986 ระลึกถึงพระตถาคตในชีวิตประจำวันบ้างไหม
ท่านอาจารย์ อยากให้ท่านผู้ฟังทุกท่าน พิจารณาชีวิตในวันหนึ่งๆ นี่คะ ว่าท่านระลึกถึงพระตถาคตบ้างหรือเปล่า ในขณะไหน อย่างไร เวลาที่อกุศลจิตเกิดขึ้น รู้ในสภาพที่เป็นอกุศล แล้วก็รู้ว่า สภาพที่เป็นกุศล ตรงกันข้าม แล้วเป็นสิ่งที่ควรเจริญ ที่จะเข้าใจธรรมในขณะนั้นได้ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว จะระลึกพระตถาคตได้ไหม เพราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวัน ใครซึ่งไม่ได้เคยคิดถึงความกตัญญูกตเวที แต่ว่าเมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว มีปัจจัยที่จะให้เป็นบุคคลผู้มีความกตัญญูกตเวทีเพิ่มขึ้น ก็จะทราบได้ว่ามีอะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้กุศลนั้นๆ เกิดเพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีการฟังพระธรรมเลย กุศลทั้งหลายก็ย่อมไม่เจริญขึ้น เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ได้ฟัง ย่อมเกื้อกูลกับกุศลทุกประการ ทั้งเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา ความกตัญญูกตเวที ความไม่พยาบาท ความเห็นโทษของ อกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ในขณะ นั้นๆ ที่กุศลจิต กำลังเกิด แทนอกุศล ผู้นั้น ระลึกถึงพระตถาคตได้ เป็นพุทธานุสติ ในวันหนึ่งๆ
4987 สมาธิที่เป็นบาทของวิปัสสนา
ท่านอาจารย์ สำหรับที่ว่าสมาธิ เป็นบาทของวิปัสสนา ข้อความที่ท่านผู้ฟังควรจะพิจารณา ที่พระพุทธเจ้า ตรัสกับเจ้าศากยะนามว่ามหานามะคือว่า อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม โดยทั่วไป อรรคถหมายความถึงผล ธรรมหมายความถึงเหตุ ในชีวิตประจำวัน มีผลปรากฏเกิดขึ้นปรากฏอยู่เสมอ ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกาย ถ้าไม่มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม จะรู้ได้ไหมคะว่าขณะนี้ เป็นผล หรือเป็นเหตุ แต่ว่าเมื่อได้ศึกษาพระธรรมแล้ว ย่อมรู้ว่าขณะใดเป็นผลของเหตุที่ได้กระทำไว้แล้วในอดีต การเห็นก็ดี การได้ยินก็ดี การได้กลิ่นก็ดี การลิ้มรสก็ดี เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ที่ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ คือรู้กรรมของตนเองที่ได้กระทำไว้อันเป็นเหตุให้วิบากคือผล กำลังปรากฏ ในชีวิตประจำวัน ในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น การรู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลของกรรมคือการรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรมคือรู้กุศล และอกุศลที่กำลังเป็นไป ในวันหนึ่งๆ ว่าเป็นเหตุ ที่จะให้เกิดกุศลวิบาก หรือ อกุศลวิบาก ข้างหน้าในอนาคต เมื่อระลึกรู้อย่างนี้ อกุศลก็ย่อมบรรเทาเบาบาง ย่อมได้ความปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม ขณะใดที่ปัญญาเกิดขึ้น รู้สัจจะ หรือสภาพธรรม ตามความเป็นจริง รู้เหตุว่าเป็นเหตุ รู้ผลว่าเป็นผล ในขณะนั้น ย่อมเบาบางจากอกุศล ย่อมได้ความปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม ปีติ ย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวก ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบ นี่มาถึงความสงบแล้ว เวลาที่สามารถที่จะรู้ อรรถ และธรรม ในชีวิตประจำวัน กายของอริยสาวกที่มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมสวยสุข เป็นอย่างนี้บ้างไหมคะในชีวิตประจำวัน เมื่อได้เห็นผลของกรรม แล้วก็สภาพของจิตซึ่งเป็นกรรมที่จะให้เกิดผลข้างหน้า ย่อมสงบ ย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น นี่คะ ที่จะเป็นบาทของวิปัสสนา ไม่ใช่สมาธิอื่นเลย แต่ต้องเป็นความสงบพร้อมปีติ พร้อมสุข ที่ได้เข้าใจในธรรม ในขณะนั้น จึงจะเป็นบาทของวิปัสสนาได้ ไม่ใช่ไปทำสมาธิอะไรก็ไม่ทราบ ไม่ได้เกิดปัญญา ไม่ได้รู้อรรถ ไม่ได้รู้ธรรม ไม่ได้มีความสงบเลย แล้วก็ไปเข้าใจผิดคิดว่า เมื่อมีความจดจ้องตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์นั้นแล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้น
5050 ผู้ที่เห็นคุณคือผู้ที่เข้าใจ และประพฤติปฏิบัติธรรม
ท่านอาจารย์ โดย สำหรับผู้ที่เข้าใจในการเจริญสติปัฏฐาน เชิญคะ
ผู้ถาม. คำที่ว่าทำสมาธิๆ โดยมากก็เข้าใจผิด เมื่อก่อนนี้ผมก็เคยปฏิบัติๆ ไม่ใช่น้อยๆ เป็น สิบๆ ปี คือเราหลับตาทำสมาธิ แล้วเมื่อไรหนอ ธรรมมันจะเกิดขึ้น จะได้มรรคได้ผล โดยมากไปนึกเอาอย่างนั้น เพราะว่าไม่มี ปัญญา ที่จะคิด โดยมากเป็นอย่างนั้น ผมหลงมาตั้งสิบ เกือบยี่สิบปี จนกว่าได้ฟังอาจารย์ ทีนี้ ถ้าหากว่าเรารู้หลักให้ดี สมาธิตามที่ฟังๆ อาจารย์ สำคัญอยู่ที่สติเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะไปที่ไหน ความโกรธ เนี่ย จมูฏ ก็ทำให้โกรธได้ เป็นต้นว่านั่งขึ้นรถเมล์ ผมชึ้นรถเมล์ ประจำ คนเบียดหนักๆ เข้า ได้กลิ่นเหม็นทำให้โกรธ หากถ้าเราไม่มีสติ พอเรามีสติขึ้นมา ตัวเราก็เหม็นเหมือนกัน ความโกรธ มันก็หายไป แล้วอย่างตา คนอื่นก็ทำให้เราโกรธได้เหมือนกัน ทีนี้เราไม่มีสตินี้ เขามองดูถูกเหยียดหยาม ความโกรธมันก็มีเหมือนกัน ผมเคยสังเกตุมาโดยมากเป็นอย่างเนี่ย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่นึกถึงพระตถาคต ขณะนั้นจะเห็นอรรถ เห็นธรรม ผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ผู้ที่จะระลึกถึงพระคุณของพระตถาคตบ่อยๆ นั้นคือ ผู้ที่ฟังธรรมแล้วก็เข้าใจธรรม แล้วก็ประพฤติปฏิบัติธรรมด้วย ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติ ธรรม จะเห็นคุณไหมคะ ในพระธรรม ในคุณของพระผู้มีพระภาค เพียงแต่ฟังเฉยๆ แต่ยังไม่ปฏิบัติตาม ย่อมไม่สามารถจะเห็นคุณของพระผู้มีพระภาค ได้จริงๆ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะได้ยินได้ฟัง ประวัติของพระผู้มีพระภาค แต่ที่จะเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระองค์นั้น ก็ย่อมจะต้องเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมด้วย แล้วยิ่งประพฤติปฏิบัติธรรมมากเท่าไร ก็จะเห็นพระคุณ และระลึกถึงพระคุณ ซึ่งเป็นพุทธานุสติได้ บ่อยๆ เนืองๆ เท่านั้น
5051 พระพุทธกิจของพระผู้มีพระภาค
ท่านอาจารย์ ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง เวลาแบ่งออกเป็นยามละ ๔ ชั่วโมง เพราะฉะนั้น ตอนกลางวัน ตั้งแต่ ๖ โมงเช้าถึง ๔ โมงเช้า นั่นเป็นยาม ๑ แล้วก็จาก ๔ โมงเช้าถึงบ่าย ๒ โมงเป็นอีกยาม ๑ แล้วก็จากบ่าย ๒ โมงถึง ๖ โมงเย็นเป็นอีกยาม ๑ ซึ่งเมื่อ พระผู้มีพระภาค เสร็จภัตตกิจแล้ว ถ้าหากว่าพระองค์จะทรงหวังอยู่ พระองค์ก็ทรงมีพระสัมปชัญญะสำเร็จสีหไสยาสน์ โดยเบื้องขวา สักครู่ ๑ ต่อจากนั้นพระองค์ ซึ่งมีพระกายอันสงบระงับแล้ว เสด็จลุกขึ้น แล้วทรงตรวจดูสัตว์โลกในภาคที่สอง ในภาคที่ ๓ คือตั้งแต่บ่าย ๒ โมงไป ในสมัยที่พระองค์ ทรงเข้าไปอาศัยบ้าน หรือนิคมใดอยู่ คนในบ้านหรือนิคมนั้นถวายทาน และปุเรภัต แล้ว ในปัจฉาภัต คือหลังจากเสร็จภัตกิจแล้ว ชาวบ้าน หรือชาวนิคมก็นุ่งห่มเรียบร้อย แล้วถือของหอม และดอกไม้เป็นต้น ย่อมประชุมกันในวิหาร ต่อแต่นั้นพระผู้มีพระภาค เสด็จไปด้วยปาฏิหาริย์ อันสมควรแก่บริษัทที่มาประชุมกัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันบวร อันเขาปูลาดไว้แล้ว ในธรรมสภา ย่อมทรงแแสดงธรรมให้เหมาะแก่กาล ควรแก่ประมาณ ต่อจากนั้นทรงทราบกาลแล้ว จึงทรงส่งบริษัทกลับ เหนื่อยไหมคะ เช้า แล้วก็บ่าย ต่อจากนั้นในภาคที่ ๓ คือ ก่อน ๖ โมงเย็น ถ้าหากว่าพระองค์ประสงค์จะสรงพระกาย ลำดับนั้นจึงได้เสด็จจากพุทธอาสน์ เสด็จไปยังโอกาสที่ภิกษุอุปัฏฐากได้เตรียมไว้แล้ว ได้ทรงรับผ้า วัสสิกสาฏกคือผ้าอาบน้ำ จากมือของภิกษุผู้อุปัฏฐาก แล้วจึงเสด็จเข้าไปยังซุ้มมสำหรับอาบ แม้ภิกษุผู้อุปัฏฐากนำ พุทธอาสน์มาแล้ว ย่อมปูไว้ที่บริเวณ พระ คันธกุฏี พระผู้มีพระภาค ทรงสรงพระวรกายแล้ว ทรงนุ่งจีวร ๒ ชั้น ทรงผ้าประคดเอว ทรงถือผ้าอุตราสงฆ์ เสด็จไปประทับนั่งในที่นั้น หลีกเร้นอยู่ แต่พระองค์เดียวครู่ ๑ ต่อจากนั้น ภิกษุทั้งหลายออกจากสถานที่นั้นๆ แล้ว จึงพากันมาในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกถามปัญหา บางพวกทูลขอพระกรรมฐาน อย่าลืม คือฟังพระธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ที่ว่าขอพระกรรมฐาน นี่คะ เพราะอะไร ถ้าไม่เข้าใจแล้วปฏิบัติได้ไหม ไม่ใช่ขอไป บอกไป เพียงแต่ขอ เพียงแต่บอกไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องหมายความถึงการที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ภิกษุเหล่านั้นได้ปฏิบัติถูกต้อง บางพวกทูลขอการฟังธรรม แล้วแต่ว่าจะเป็นเรื่องของกุศลธรรมมีเท่าไร อกุศลธรรมมีเท่าไร พระผู้มีพระภาค ทรงทำตามประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นให้สำเร็จอยู่ ย่อมทำ ปฐมยาม ให้ล่วงไป โอกาสที่จะทรงพักผ่อนก็น้อยมาก เพราะว่าหลังจากที่สรงพระวรกายแล้ว ก็ยังมีภิกษุที่มาเฝ้า แล้วก็ถามปัญหา ย่อมทำปฐมยามให้ล่วงไป ตั้งแต่ ๖ โมงถึง ๔ ทุ่ม ๖ โมงเย็น ถึง ๔ ทุ่ม ในมัชฌิมยาม คือ ตั้งแต่ ๔ ทุ่มถึงตี ๒ พวกเทวดาจากหมื่นโลกธาตุ เมื่อได้โอกาสจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามปัญหาตามที่ตนได้แต่งขึ้น โดยที่สุด อย่างน้อยเป็นปัญหา แม้ที่มีอักษร ๔ ตัว คือถามทุกอย่างตั้งแต่สั้น จนกระทั่งถึงเรื่องยาวทีเดียว พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงแก้ปัญหาของเทวดาเหล่านั้นอยู่ ย่อมให้มัชฌิมยามล่วงไป หมดแล้วนะคะ ถึงตี ๒ ต่อจากนั้น พระองค์ทรงอธิฐาน จงกรม ภาค ๑ กระทำให้เป็น ๔ ภาคตลอด ปัจฉิมยาม สำหรับในปัจฉิมยาม คือตั้งแต่ตี ๒ จนกระทั่งถึง ๖ โมงเช้า ก็แบ่งออกภาค ๑ แบ่งออกเป็น ๔ ภาค ๔ ชั่วโมง ต่อจากนั้นพระองค์ทรงอธิฐานจงกรม ภาค ๑ กระทำให้เป็น ๔ ภาค ตลอดปัจฉิมยาม คือตั้งแต่ตี ๒ ถึงตี ๓ ก็ทรงอธิฐานจงกรม ตั้งแต่ตี ๓ จนถึง ตี ๔ ทรงเสด็จเข้าไปพระคันธกุฎี ในภาคที่ ๒ คือ ตั้งแต่ตี ๓ จนถึง ตี ๔ มีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยาสน์ โดยพระข้างเบื้องขวา ชั่วโมงเดียว ที่ทรงพักผ่อน โดยบรรทม ในภาคที่สาม ปล่อยเวลาให้ล่วงไป ด้วย พลสมาบัติคือ ตั้งแต่ ตี ๔ ถึงตี ๕ ในภาคที่ ๔ คือตั้งแต่ตี ๕ ถึง ๖ โมงเช้า เสด็จ เข้ามหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุเพื่อทรงตรวจดู สัตว์ทั้งหลาย มีสัตว์ที่มี ธุลีในตาน้อย และสัตว์ที่มีธุลีในตามาก นี่คือปัจฉาภัตตกิจของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ซึ่งทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะอนุเคราะห์สัตว์ โลก เพื่อให้การถึงพร้อม ด้วยสัตตูปการสัมปทา เมื่อพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงกระทำ ปัจฉาภัตตกิจแล้วอย่างนี้ เมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อทรงตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอธิการ อันตนไม่ได้กระทำ แล้ว คือไม่ได้ทำบุญไว้ก่อน และมี อธิการอันตน ได้กระทำแล้วในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งหลาย และในกรรมทั้งหลาย มีทาน ศีล และ อุโบสถกรรมเป็นต้น ผู้มีอุปนิสัยที่ยังไม่ถึงพร้อม ทั้งผู้มีอุปนิสัยที่ถึงพร้อม ทั้งท่านผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ ในอวสานแห่งภาคที่ ๔ ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค ก็จะทรงเสด็จไปโปรดเวนัยยสัตว์เหล่านั้น ซึ่งข้อความต่อไป มีว่า ในกาลใดพระผู้มีพระภาค ทรงปรารถนา ที่จะเสด็จเข้าไปในที่ไหนๆ แต่พระองค์เดียว พระองค์ก็ทรงปิดประตู ในเวลาที่จะเสด็จบิณฑบาต โดยที่เสด็จเข้าไปภายใน พระคันธกุฏิ แต่กาลนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมทราบด้วยสัญญาณนั้นว่า พระผู้มีพระภาค จะเสด็จเข้าไปในบ้าน แต่พระองค์เดียวเท่านั้น พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วซึ่งบุคคลบางคน ที่จะพึงแนะนำแน่แท้ ภิกษุเหล่านั้นก็ถือบาตร และจีวรของตน กระทำ ประทักษิณพระคันธกุฏี ถวายบังคม แล้วย่อมเข้าไปบิณฑบาต คือพระผู้มีพระภาค ไม่ต้องตรัสบอกภิกษุ คะ ว่าพระองค์จะเสด็จไปอนุเคราะห์ใคร แต่ว่าในกาลใด ที่จะอนุเคราะห์บุคคลใด ก็จะเสด็จไปโดยลำพังพระองค์เดียว โดยวิธีที่ว่า พอถึงเวลาที่จะเสด็จบิณฑบาต ก็เสด็จเข้าไปในพระคันธกุฏี ภิกษุทั้งหลายก็ทราบได้ว่า วันนั้นพระผู้มีพระภาค จะเสด็จเข้าไปในเขตบ้านแแต่เพียงพระองค์เดียว เพื่อที่จะทรงอนุเคราะห์แก่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง
ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ใดมีอะไรสงสัยไหมคะ เชิญคะ
ผู้ถาม. เท่าที่อาจารย์อ่านมาใน อรรถกถา พระพุทธเจ้า ตรวจดูสัตว์โลกถึง ๒ ครั้ง ในแต่ละวัน ตอนบ่ายตรวจดูสัตว์โลกครั้ง ๑ แล้วตอน ๖ โมง
ท่านอาจารย์ ตี ๕
ผู้ถาม. ตี ๕ ถึง ๖ โมง
ท่านอาจารย์ ตี ๕ ถึง ๖ โมงเช้า
ผู้ถาม. แล้ว ตี ๔ ถึงตี ๕ พระพุทธเจ้า ก็เสด็จสีหไสยาสน์
ท่านอาจารย์ พลสมาบัติ
ผู้ถาม. พักผ่อน
ท่านอาจารย์ เข้าพลสมาบัติ ตี ๔ ถึงตี ๕
ผู้ถาม. เข้าพลสมาบัติ
ท่านอาจารย์ ที่พักผ่อน สำเร็จสีหไสยาสน์ ตี ๓ ถึงตี ๔ แล้วก็พลสมาบัติ ตี ๔ ถึงตี ๕
ผู้ถาม. อาจารย์จำแนกไว้ดีมาก ผมฟังมานานแล้ว ตั้งแต่เด็กๆ จะเป็นใครแต่ง หรือใครอะไรก็ไม่รู้ ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาต ญฺจ สายณฺเห ธมฺมเทสนํ ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ ปจฺจูสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ อันนี้ก็แปลความว่า ปุพฺพณฺเห เช้าบิณฑบาต สายณฺเห ธมฺมเทสนํ ก็แสดงธรรม ปโทเส สอนภิกขุ อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ สองยามก็สอนเทวดา แก้ปัญหาเทวดา ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ ก็ไม่รู้เวลาไหน อาจารย์จำแนกไว้ดีมากครับ คือบอกว่าตอนเช้ามืด แลดูสัตว์ ที่ควรโปรด ว่าอย่างนั้น แต่อาจารย์จำแนกไป จีวรๆ อะไร นี่ก็เข้าใจดีครับ
ท่านอาจารย์ ตามอรรถกถา คะ
ผู้ถาม. พระก็สวดมาตั้งแต่เด็ก ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาต ญฺจ สายณฺเห ธมฺมเทสนํสวดเป็น เที่ยวบอกวัตร ครับ เดี๋ยวนี้ก็ยังว่า ไม่แก้ ครับ ไม่แก้ตามอรรถกถาครับ แล้วก็ทำให้เราเข้าใจผิด ตอนเช้า ตอนที่จะสว่าง มันไม่รู้ว่าเท่าไร ครับ ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ เช้ามืด เช้ามืดตรวจดูสัตว์เช้ามืด ไม่รู้เท่าไร อาจารย์อธิบายตามอรรถกถา อรรถกกถาว่าก็ละเอียดดี
ท่านอาจารย์ เชิญคะ
ผู้ถาม. อาจารย์อธิบายว่า อย่างสุดท้ายที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตราวจดูว่าสัตว์ผู้ใดที่มี กิเลสน้อย แล้วก็จะเสด็จไปโปรด ใช่ไหมครับ แล้วก็ให้สัญญาณโดยเสด็จเข้าไปในพระคันธกุฏี ใช่ไหมครับ หมายความว่า นี่ เป็นสัญญาณว่าได้เสด็จไปโปรดแล้ว
ท่านอาจารย์ มิได้คะ หมายความว่า ถ้าคราวไหนที่จะเสด็จไปโปรดบุคคล ๑ บุคคลใด ก็จะเสด็จไปเพียงพระองค์เดียว โดยการที่ว่าถึงเวลาที่จะบิณฑบาต ไม่ได้ไปพร้อมกับพระภิกษุอื่น แต่เสด็จเข้าไปภายในคันธกุฏีแล้วก็ปิดประตูด้วย ภิกษุทั้งหลายก็ทราบว่า สักครู่ต่อมา พระผู้มีพระภาค ก็จะเสด็จไปโปรดบุคคลอื่นโดยลำพัง เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายก็กระทำประทักษิณรอบพระคันธกุฏี แล้วก็ออกไปบิณฑบาต โดยที่ว่าไม่ได้ติดตามพระผู้มีพระภาค ไป
5053 การฟังธรรมบ่อยๆ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสติเพิ่มขึ้น
ผู้ถาม. ผมอยากจะถามต่ออีกสักเรื่อง ๑ มีเหตุมีปัจจัยอะไร ที่ทำให้เกิดสติเพิ่มขึ้น
ท่านอาจารย์ การฟังธรรม บ่อยๆ เนืองๆ มีการกล่าวถึงกรรมฐาน คือลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ที่เป็นสติปัฏฐาน ให้ปัญญาสามารถที่จะเกิดระลึกศึกษา รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ จนกว่าจะตรงลักษณะของสภาพธรรมที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ผู้ที่เป็นสาวกทั้งหลาย ขาดการฟังไม่ได้เลย
5054 มีความเข้าใจถูก - มีการเห็นประโยชน์ของสติ
ผู้ถาม. ตามปกตินั้น ถ้าเราจะระลึกอะไรได้บ่อยๆ หรือว่าระลึกถึงบ่อยๆ ถึงสิ่งนั้นโดยมากสิ่งนั้นมักจะเป็นประโยชน์ ต่อเรา การที่มีสติบ่อยๆ ก็แสดงว่าเราเห็น
ประโยชน์ของสติ ใช่ไหมครับ จึงจะเกิดสติขึ้นบ่อยๆ อย่างนั้นใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ มีความเข้าใจถูก มีการเห็นประโยชน์
ผู้ถาม. อาจารย์ช่วยกรุณาอธิบายประโยชน์ ของสติ ให้ละเอียดครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าสติเกิดขณะใด เป็นกุศลขั้น ๑ ขั้นใดเสมอ ขณะใดที่สติไม่เกิด ขณะนั้นก็ย่อมหลงลืมสติ เพราะโลภะ โทสะ โมหะ มีอยู่เป็นประจำ ถูกโลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำ อยู่เรื่อยๆ เวลานี้โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำหรือเปล่า จะรู้ได้ เมื่อรู้ว่าสติ เกิดหรือเปล่า แล้วก็สติขั้นไหน ขณะที่กำลังฟังพระธรรมแล้วเข้าใจ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ความเข้าใจจะเกิดโดยปราศจากสติไม่ได้ แต่เป็นสติขั้นเข้าใจ ไม่ได้เป็นไปกับโลภะ โทสะ โมหะ ในขณะนั้น แต่ที่จะเป็นสติปัฏฐาน ต้องในขณะที่กำลังระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมแล้วศึกษารู้ ในลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ซึ่งอาจจะน้อยกว่าขณะที่กำลังเข้าใจธรรม ใช่ไหมคะ ฟังแล้วก็เข้าใจ แล้วก็เป็นกุศลในขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่สติไม่ได้ระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรม ๑ สภาพธรรม ใดที่กำลังปรากฏ ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ ต่อเมื่อใดขณะนั้นสติไม่หลงลืม ระลึกศึกษา ในลักษณะที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน
5055 ความต่างกันของผู้ที่เข้าใจการเจริญวิปัสสนา
ผู้ถาม. เมื่อกี้นี้อาจารย์ได้กล่าวว่า มันไม่มีความต่างกันเลย ในการที่เจริญสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา สำหรับผู้ที่เข้าใจ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทีนี้ผมจะขออาจารย์ช่วยอธิบาย ผู้ที่เข้าใจเจริญวิปัสสนาภาวนา แล้วเจริญสมถภาวนา ต่างกับผู้ที่เจริญสมถภาวนา ที่ไม่เข้าใจเจริญวิปัสสนา อย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เข้าใจเรื่องการเจริญวิปัสสนา ก็จะรู้เพียงลักษณะสภาพของกุศลจิต ที่สงบแต่ว่าไม่สามารถที่จะศึกษา รู้ชัด ในสภาพที่สงบนั้นว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 01
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 02
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 03
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 04
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 05
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 06
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 07
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 08
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 09
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 10
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 11
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 12
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 13
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 14
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 15
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 16
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 17
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 18
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 19
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 20
- สมถภาวนา ตอนที่ 01
- สมถภาวนา ตอนที่ 02
- สมถภาวนา ตอนที่ 03
- สมถภาวนา ตอนที่ 04
- สมถภาวนา ตอนที่ 05
- สมถภาวนา ตอนที่ 06
- สมถภาวนา ตอนที่ 07
- สมถภาวนา ตอนที่ 08
- สมถภาวนา ตอนที่ 09
- สมถภาวนา ตอนที่ 10
- สมถภาวนา ตอนที่ 11
- สมถภาวนา ตอนที่ 12
- สมถภาวนา ตอนที่ 13
- สมถภาวนา ตอนที่ 14
- สมถภาวนา ตอนที่ 15
- สมถภาวนา ตอนที่ 16
- สมถภาวนา ตอนที่ 17
- สมถภาวนา ตอนที่ 18
- สมถภาวนา ตอนที่ 19
- สมถภาวนา ตอนที่ 20