ลักษณะของจาคะ [ธาตุวิภังคสูตร] และ ทาน [มงคลสูตร]
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒- หน้าที่ 343
ข้อความบางตอนจาก ...
ธาตุวิภังคสูตร
อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อมสมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง
จาคะ จึงหมายถึง การสละทั้งกิเลส และขันธ์ ด้วยครับ
อธิบาย เรื่องลักษณะของทาน
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ 171
ข้อความบางตอน จาก...
มงคลสูตร
ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่าสิ่งของเป็นเครื่องให้ มีคำอธิบายว่าสิ่งของของตนอันบุคคลย่อมมอบให้แก่ผู้อื่น เจตนาเป็นเครื่องบริจาคทานวัตถุ ๑๐ อย่าง มีข้าว เป็นต้น ซึ่งมีความยินดีในเบื้องต้น เจาะจงผู้อื่น ชื่อว่า ทาน
อีกอย่างหนึ่ง อโลภะ ที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้น ชื่อว่า ทาน. ด้วยว่า บุคคลย่อมมอบให้ซึ่งวัตถุนั้นแก่บุคคลอื่น ด้วยอโลภะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่า วัตถุเป็นเครื่องให้ ทานนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลวิเศษทั้งหลายอัน เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ มีความเป็นที่รักของชนเป็นอันมากเป็นต้น. ก็ในข้อนี้ พึงระลึกถึงพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนสีหะ ทายกที่เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชนเป็นอันมาก ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทาน มี ๒ อย่าง คือ อามิสทาน และ ธรรมทาน ในทาน ๒ อย่างนั้น อามิสทาน มีประการอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.
สรุป คือ ทาน เป็นเจตนาที่สละวัตถุ แต่จาคะ สละกิเลส และขันธ์ ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น