อสุภสัญญา - สัญญาที่ ๑
"อสุภสัญญา"
สำหรับโลภมูลจิตทั้ง ๘ ดวง จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยตั้งแต่ ๑๗ ดวงถึง ๒๑ ดวง นี่ก็เป็นจำนวนที่ได้แสดงไว้เพื่อที่จะให้รู้ว่าสภาพธรรมที่เกิดเป็นโลภะประเภทต่างๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด หรือว่าประกอบด้วยมานะไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดนั้น ก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยโดยมีเจตสิกแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นปรุงแต่งให้เป็นไป สำหรับเรื่องของโลภมูลจิตที่ประกอบด้วยเจตสิกต่างๆ โดยนัยของพระอภิธรรม ก็จะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรมาก แต่ที่เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ นั้นมากด้วยความวิจิตรต่างๆ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงหนทางที่จะให้ละโลภะด้วย นี่คือประโยชน์ของการฟังพระธรรมนะคะ เมื่อทรงแสดงเรื่องของโลภะมากมายโดยประการต่างๆ พระองค์ผู้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ก็ได้ทรงแสดงทางที่จะทำให้กัน หรือกั้น หรือละ หรือคลาย หรือระงับโลภะต่างๆ ด้วย
ข้อความในอังคุตตรนิกาย สัตตนิบาต สัญญาสูตรที่ ๒ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงการอบรมสัญญา ๗ ประการ เพื่อกัน และระงับ และดับโลภะทั้งนั้น คือ
อสุภสัญญา ๑
มรณสัญญา ๑
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑
อนิจจสัญญา ๑
อนิจเจทุกขสัญญา ๑
ทุกเขอนัตตสัญญา ๑
ใครมีสัญญาเหล่านี้บ้าง ในวันหนึ่งๆ ถ้ายังไม่มี แล้วก็จะอบรมเจริญขึ้น ก็เป็นทางที่จะกันและกั้นโลภะทั้งนั้นที่เป็นไปในวันหนึ่งๆ ตามควรแก่กำลังของสัญญานั้นๆ เพราะเหตุว่าโดยมากจะเป็นสุภสัญญา ไม่เป็นอสุภสัญญา เพราะฉะนั้นสำหรับสัญญา ๗ ประการที่จะกันและระงับ และดับโลภะ คือ ..... สำหรับอสุภสัญญานั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ผู้มีใจอันอบรมอยู่โดยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก (ไม่ใช่ว่าครั้งเดียว - สองครั้ง แต่ต้องระลึกนึกถึงบ่อยๆ จนกระทั่งเป็นสัญญาที่จำได้ ระลึกได้อย่างรวดเร็ว หรือเพิ่มขึ้น) จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการครองเรือน คือการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น
นี่คือการที่จะระลึกถึงอสุภสัญญาบ่อยๆ เนืองๆ แต่ว่าผู้ที่แม้ว่าจะเจริญอสุภสัญญาแล้ว แต่จิตก็ยังไหลไปในการครองเรือน พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเพราะผลแห่งการอบรมเจริญภาวนานั้น ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงอสุภสัญญานั้น และเมื่ออบรมเจริญอสุภสัญญาถึงที่แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการครองเรือน เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น รู้ทั่วถึง ต้องเป็นการที่อบรมเจริญปัญญา ที่รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงด้วย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ คือ การอบรมเจริญอสุภสัญญา ซึ่งโดยนัยนี้ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า ต้องเป็นผู้ที่มีปรกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน มิฉะนั้นแล้ว เพียงอสุภสัญญาจะไม่เป็นผู้ที่รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญาจะต้องรู้ในสภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด นี่คือประโยชน์ของอสุภสัญญา ซึ่งทุกคนพิจารณาได้ ว่าวันหนึ่งๆ เจริญอสุภสัญญาเพื่อจะกันโลภะบ้างไหม........
อาหาเรปฏิกูลสัญญา - สัญญาที่ ๓
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา - สัญญาที่ ๔
...บรรยายโดย...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จริงๆ แล้ว ความยากง่าย ในแต่ละทวาร ยากง่าย อยู่ที่ปัญญาเป็นสำคัญ หากมีปัญญา เข้าใจความจริง ก็ไม่ยากในทวารนั้น ซึ่ง โดยทั่วไปแล้ว ทวารใดที่เป็นที่ยึดถือ และ สำคัญมาก ทวารนั้น ย่อม ยากที่จะละคลาย ซึ่งโดยมาก ก็จะเป็นทาง ตา และ ทาง หู ซึ่ง สัญญา ทรงจำ และ ให้ความสำคัญ และ ที่สำคัญ และ ยึดถือสัตว์โลก ด้วยความเป็นเรา เป้นสัตว์ บุคคลมาก ในทวารทั้งสอง เพราะฉะนั้น เมื่อใดยึดถือในทวารใดมาก ด้วยความเห็นผิด ด้วยโลภะ ความติดข้อง เป็นต้น ก็ย่อมจะทำให้รู้สภาพธรรมทางทวารนั้นได้ยากยิ่ง คือ ละคลายได้ยาก อย่างเช่น เห็นขณะนี้ ก็เป็นสัตว์ บุคคล และ ก็ยึอถือว่าเป็นเรา เป็นคนนั้นคนนี้ ละ มีการได้ยินเสียง ก็ทรงจำว่าเป็นเสียงคนอื่น ทันที เพราะ สะสมและ ยึดถือทั้งสองทวารโดยมาก ต่างจากทวารอื่นๆ เช่น ทางกาย ไม่ได้มีความยึดถือ ในความเป็นสัตว์ บุคคล มาก เพราะ โดนมากก็ไม่ได้กระทบสัมผัส กับสิ่งที่สมมติว่าเป็นสัตว์ บุคคล แต่ กระทบสัมผัสกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่ง การยึดถือในสิ่งที่สมมติว่าเป็น สัตว์ บุคคล มีกำลังมากกว่า ทั้ง ติดข้อง และ ยึดถือในความเห็นผิด ในความเป็นสัตว์ บุคคล เป็น คนที่เรารัก เป็นญาติพี่น้องมากกว่า วัตถุสิ่งของ ที่กระทบสัมผัส เพราะฉะนั้น ก็ยึดถือ ทาททวาร ตา และ หู มากกว่า ทางกาย เพราะ ยึดถือด้วยอำนาจกิเลส ด้วยโลภะ และ ทิฏฐิที่สะสมมาบ่อยมากกว่า ในชีวิตประจำวันและ ในอดีตชาติ ครับ ซึ่ง การจะละคลายก็ต้องรู้ทั่วทั้ง 6 ทวาร ไม่ใช่เพียง สองทวาร และ ที่สำคัญ การรู้แม้เพียงทางกาย ดูเหมือนจะง่ายแต่ไม่ง่ายเลย เพราะเป็นเรื่องของปัญญา เพราะแม้ทางกาย แม้จะรู้ว่าแข็ง แต่เป็นการรู้โดยกายวิญญาณ ไม่ใช่รู้ลักษณะ จริงๆ ว่า เป็นแต่เพียงธรรมในขณะนั้น เพียงแต่คิดนึกหลังจากสภาพธรรมที่แข็งนั้นดับไป แล้ว ก็ไม่ใช่ สติปัฏฐานทีเกิดขึ้น แต่เป็นสติที่คิดนึกถึงสาพธรรมทีเกิดขึ้น ครับ นี่คือความละเอียดของธรรม
อาศัยการฟังศึกษาพระธรรม ปัญญาเจริญขึ้น ย่อมเกดสติปํฏฐาน ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่การจะละกิเลส ความไม่รู้ ความเห็นผิด ก็ต้องรู้ ทั่วทั้ง 6 ทวาร ทุกทาง จึงละกิเลสได้จริงๆ ครับ นี่คือความละเอียดของพระธรรม
ขออนุโมทนา ครับ