มรณสัญญา - สัญญาที่ ๒

 
สารธรรม
วันที่  19 ก.ย. 2553
หมายเลข  17234
อ่าน  4,608

"มรณสัญญา"

สัญญาที่ ๒ คือ มรณสัญญา ซึ่งเมื่อเจริญมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต ถ้ายังรักชีวิตอยู่ ก็แสดงว่าการเจริญมรณสัญญา ยังไม่ถึงที่ คือยังไม่สามารถที่จะกันความรักชีวิตได้ ซึ่งถ้าผู้ที่มีความรักชีวิตมาก ย่อมกลัวตาย แล้วก็อาจจะสามารถทำร้ายสัตว์อื่น บุคคลอื่นได้ เพราะเหตุที่รักชีวิตของตน ซึ่งก็จะเป็นอกุศลกรรม ซึ่งจะทำให้ไม่พ้นจากสังสารวัฏฏ์ เพราะเหตุว่ามีความรักชีวิต ทุกคนเกิดมาต่างกันนะคะ หลายประการ โดยชาติ โดยสกุล โดยฐานะโดยสมบัติ แต่เวลาตาย เหมือนกันหมดไหมคะ หรือต่างกัน คนที่ตายแล้วนี้ เหมือนกันหรือต่างกัน

ถ้าจะพูดถึงในด้านความต่าง ต่างกันในด้านการประดับศพ ว่าคนที่มีทรัพย์สมบัติมากก็ประดับศพ ผู้ที่ตายแล้ว ไม่รู้เรื่องเลย ถ้าตายแล้ว ก็ตายเหมือนกันหมด คนที่อยู่ มองเห็นการประดับศพว่าต่างกัน แต่คนที่ตายแล้วเหมือนกันหมด คือ สูญสิ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งนั้น

อสุภสัญญา - สัญญาที่ ๑

มรณสัญญา - สัญญาที่ ๒

อาหาเรปฏิกูลสัญญา - สัญญาที่ ๓

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา - สัญญาที่ ๔

อนิจจสัญญา - สัญญาที่ ๕

อนิจเจทุกขสัญญา - สัญญาที่ ๖

ทุกเขอนัตตสัญญา - สัญญาที่ ๗

ขอเชิญรับฟัง

สัญญาสูตรที่ ๒ เพื่อกัน ระงับ และดับโลภะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
คุณ
วันที่ 19 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 19 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
hadezz
วันที่ 20 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 20 ก.ย. 2553

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาบ่อยๆ เนืองๆ ว่า เรามีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นของธรรมดา ไม่สารมารถล่วงพ้นไปได้ มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดา ถ้าพิจารณาบ่อยๆ ทำให้ไม่ประมาท ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่สามารถหลีกหนีพ้นได้ เกิดมาแล้วต้องตายทุกคน ไม่มีใครรอดพ้นจากความตายไปได้เลยแม้แต่คนเดียว ทั้งคนยากจนเข็ญใจ คนร่ำรวยมั่งมีศรีสุข คนโง่ คนฉลาด เป็นต้น ล้วนบ่ายหน้าไปสู่ความตายด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะตายช้าหรือตายเร็ว ที่แน่ๆ ต้องตายแน่นอน แต่จะตายตอนไหนก็ยังไม่รู้และที่สำคัญ ตายแล้วจะไปไหนก็ไม่สามารถจะรู้ได้เช่นเดียวกัน เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าเป็นสามเณร จำคำโคลงได้บทหนึ่ง เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีสำหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นอย่างยิ่ง เพราะความตาย (จุติจิต) จะเกิดตอนไหน ไม่มีใครรู้ได้จริงๆ มีใจความว่า "เห็นกันอยู่เมื่อเช้า สายตาย สายอยู่สนุก สุขสบาย บ่ายม้วย บ่ายยังรื่นเริงกาย เย็นดับ ชีพนอ เย็นอยู่หยอกลูกด้วย ค่ำม้วนดับสูญ"

และเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ที่บ้านมิ่งโมฬี จ.ราชบุรี ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้กล่าวข้อความท่อนหนึ่ง ก่อนการสนทนาธรรมจบลง เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ว่า "เกิดมาแล้ว จะทำอะไรกับชีวิตที่น้อยๆ นี้" ทั้งหมดทั้งปวงนั้น เพื่อความเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
opanayigo
วันที่ 21 ก.ย. 2553

ขอขอบคุณ

ทุกตัวอักษรอันเป็นประโยชน์

เพื่อพิจารณา นึกถึง บ่อยๆ

"ชีวิตนี้บอบบาง เหมือนเปลือกไข่"


ไปงานศพ

ให้เห็นเป็นการศึกษา

จากประสบการณ์จริง

เมื่อพิจารณาเห็นร่าง

บุคคลที่เราเคารพรักมาก

เข้าเตาเผา (บ่อยๆ)

ออกมาเห็นเป็นเพียง

เถ่าฝุ่น

แล้วบุคคลที่เรายึดมาทั้งชีวิต

เรื่องราวต่างๆ นาๆ ในชีวิต

หายไปไหน

เราเองก็ต้องเป็นแบบนั้นเช่นกัน

มิได้ให้กลัว แต่ เพื่อเข้าใจความจริงของชีวิต

(พึงสำรวม สังวร ในชีวิตไปได้มาก หายซ่าส์เลยค่ะ)

กราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เรียบร้อย
วันที่ 21 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 21 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
thanawat
วันที่ 15 ก.ย. 2554

การที่เรามีความอดทน ต่ออุปรรคต่าง ย่อมชนะทุกสิ่งในโลก

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สิริพรรณ
วันที่ 24 ก.พ. 2557

เสียเวลาเกลียด โกรธ ไม่พอใจ รัก ห่วง หวง ยึด ติด หลงไหล มัวเมา บ้าๆ บอๆ เอิ๊กๆ อ๊ากเฮๆ ฮาๆ ที่ล้วนเป็นอกุศลและไม่มีสติ

ถ้าเจริญมรณานุสสติบ่อยๆ เนืองๆ จะไม่มัวเสียเวลาในสิ่งไร้สาระเลย ใช้เวลามาศึกษาธรรมและไตร่ตรองสภาพธรรมว่าไม่มีตัวตน เกิดแล้วดับทุกขณะ ดีกว่าจริงๆ นะคะ

กราบขอบพระคุณท่านอ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เป็นอย่างยิ่ง

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของสหายธรรมทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ms.pimpaka
วันที่ 21 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ