คิดอย่างไรคือการพิจารณาธรรม
สติปัฏฐาน ระลึกที่ลักษณะปรากฏทางทวาร และการคิด ระลึกลักษณะที่ปรากฏ คือ เราจะรู้สึกตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ทางปัญจทวาร และ คิด ก็รู้ว่าคิด เหมือน เราดูอะไรสักอย่างหนึ่งและเรารู้จักสิ่งนั้น แต่เราไม่พูดเรียกชื่อสิ่งนั้นใช่มั้ยค่ะ เช่น เราเห็นใบไม้ เรารู้ว่าใบไม้ แต่เราไม่มา พูดว่า นี่ใบไม้ ใช่รึไม่ค่ะ เช่น เรานั่งอยู่ เราก็รู้สึกว่านั่ง ก้นเรานั่งเก้าอี้ไม้ เรารู้สึกว่าก้นเรากระทบไม้แข็ง ลมพัดมาเรารู้สึกเย็น หูเราได้ยินเสียงนกร้อง เราตามรู้ทางทวาร แล้วแต่ว่าอะไรมากระทบ วันๆ หนึ่ง เราต้องรู้แบบนี้ใช่มั้ยค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ ถ้าพูดอะไรไม่ถูกต้อง ต้องขออภัยด้วยค่ะ
ถ้าพิจารณาแล้วสงสัย ขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐานครับ โดยปกติเราเห็นเป็นสิ่งต่างๆ เรารู้ว่าสิ่งใดแข็ง รู้ว่าอะไรทำให้เย็น ได้ยินเป็นเสียงสัตว์ร้อง ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่สติปัฏฐานที่ระลึกรู้ในลักษณะของธรรมที่ปรากฏครับ เพราะเป็นธรรมดาที่ทุกคนแม้ไม่ได้ศึกษาธรรม เขาก็รู้อย่างนี้ได้ เด็กก็รู้ ผู้ใหญ่ก็รู้ ส่วนที่ไม่รู้ คือ ไม่รู้ว่าเป็นธรรมไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งปรากฏชั่วขณะ และมีลักษณะอย่างนั้นเท่านั้นจริงๆ ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งสิ้นครับ
ขณะที่เห็นแล้วรู้ว่าเห็นใบไม้ แม้ไม่ได้คิดคำว่าใบไม้ แต่การที่รู้สัณฐานว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร ขณะนั้นเป็นจิตที่รู้บัญญัติ จึงไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะสติปัฏฐานไม่ใช่การรู้ว่าเป็นใบไม้ครับ แต่เป็นการระลึกตรงลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางทวารต่างๆ สำหรับสิ่งที่ปรากฏทางตานั้น เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ครับแต่หลังเห็นย่อมเป็นปกติที่จะมีการคิดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาว่าเป็นอะไรได้ แต่ขณะนั้นเป็นการคิดครับ ไม่ใช่การระลึกรู้ซึ่งเป็นสติปัฏฐาน สภาพธรรมเกิดดับรวดเร็วมาก และเราก็ยึดถือว่าสิ่งที่เกิดและดับไปนั้นว่าเป็นอัตตาตัวตนมานานมากเช่นกัน เพราะปกติของปุถุชนคือหลงลืมสติ ไม่ว่ารู้เป็น "จิต"ที่เห็น ไม่รู้ว่าเป็น "จิต" ที่คิด ไม่รู้ว่าเป็น "นามธรรม" ต่างๆ ที่ปรากฏลักษณะที่จำที่ตรึกนึกถึงเป็นไปในบัญญัติ เป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นเรื่องราวในขณะนั้นครับ
ผมอยากให้คุณ SOAMUSA รับฟังธรรมที่มีในเว็บไซต์บ่อยๆ ให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นครับ ฟังสิ่งใด ขอให้เข้าใจในสิ่งนั้น โดยเฉพาะเรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นสิ่งที่ยาก ต้องฟังโดยละเอียด โดยไม่ข้าม และไม่ประมาท พิจารณาตามสิ่งที่ได้ฟังเทียบเคียงกับสิ่งที่มีจริงในชีวิตปกติ จึงจะค่อยๆ เข้าใจถูกขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ต้องใช้เวลา และต้องอดทนที่จะฟัง อดทนที่จะไม่ไปทำอะไรให้ผิดปกติครับ ธรรมมีอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่ถ้ายังไม่รู้ เราก็อบรมความรู้ขั้นพื้นฐานให้มั่งคงก่อนนะครับ จึงจะมีปัจจัยให้เห็นถูกและปฏิบัติถูกในแนวทางของการเจริญสติปัฏฐานได้
ขอเชิญคลิกฟังที่นี่ครับ
• วิถีจิตที่เกิดขึ้นมารู้ปรมัตถ์หลายวิถี สติปัฏฐานระลึกทางทวารไหน อย่างไร
• ผู้ที่เริ่มเจริญสติปัฏฐานจะหนีพ้นความจงใจ ตั้งใจได้ไหม
• การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่ของง่าย
• การเจริญสติปัฏฐานในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ยากแต่ควรเจริญ
ขออนุโมทนาบุญในธรรมทาน ค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ ดิชั้นจะอดทนฟังบ่อยๆ ให้ได้ค่ะ เพื่อความรู้ขั้นพื้นฐานให้เข้าใจก่อนค่ะ
เวลาที่สติปัฏฐานเกิด เกิดทีละอย่างไม่รวมกัน ไม่ปะปนกัน สติเกิดระลึกรู้ลักษณะ
ของธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏขณะนั้น ไม่ใช่บุคคลตัวตนของใครเลย ฯลฯ ค่ะ
ไม่ใช่นึกหรือคิด แต่ต้องมีลักษณะของปรมัตถธรรมปรากฏให้รู้ได้จริงๆ ในขณะนั้น
เช่น ขณะสติเกิดระลึกตรงลักษณะแข็ง แข็งเท่านั้นที่เกิดแล้วดับไป ไม่ปนทวารอื่น
จากการฟังมา หลายวัน ดิฉันคิดว่า พอจะเข้าใจได้บ้างค่ะ อะไรปรากฏก็ระลึกรู้ตรงนั้น ไม่ใช่ตั้งฐานอยู่ที่ลมหายใจ เป็นสมถะ แต่ดิฉัน เมื่อมีความโกธรเกิดขึ้น ดิฉันก็จะกลับมาดูที่ลมหายใจตัวเอง เพื่อให้ตัวเองอยู่กับลมหายใจ เพื่อลดความโกธรให้เบาบางลง ไม่กลายเป็นโกธรจนระงับไม่อยู่ ดิฉันทำอย่างนี้ถูกต้องมั้ยค่ะ ถ้าไม่ถูกต้อง ดิฉันควรจะทำอย่างไรค่ะ เมื่อมีความโกธรขึ้นมาในแต่ละวัน กราบขอบพระคุณในธรรมทานของทุกท่านค่ะ
เป็นคำตอบที่ชัดเจน (ความคิดเห็นที่ 1) เมื่ออ่านแล้วก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
จากการฟังมา หลายวัน ดิฉันคิดว่า พอจะเข้าใจได้บ้างค่ะ อะไรปรากฏก็ระลึกรู้ตรงนั้น ไม่ใช่ตั้งฐานอยู่ที่ลมหายใจ เป็นสมถะ แต่ดิฉัน เมื่อมีความโกธรเกิดขึ้น ดิฉันก็จะกลับมาดูที่ลมหายใจตัวเอง เพื่อให้ตัวเองอยู่กับลมหายใจ เพื่อลดความโกธรให้เบาบางลง ไม่กลายเป็นโกธรจนระงับไม่อยู่ ดิฉันทำอย่างนี้ถูกต้องมั้ยค่ะ ถ้าไม่ถูกต้อง ดิฉันควรจะทำอย่างไรค่ะ เมื่อมีความโกธรขึ้นมาในแต่ละวัน กราบขอบพระคุณในธรรมทานของทุกท่านค่ะ
คุณ SOAMUSA อยากจะ "เข้าใจ" หรือ อยากจะ "ไม่โกรธ" ค่ะ
ถ้าอยากจะเข้าใจ ก็ควรพิจารณาสถาพความโกรธที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น......ให้เห็น
ว่าเป็นธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (เพราะกระทบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ หรือ ไม่
ได้รับอารมณ์ที่พอใจ) บังคับให้เกิดดับตามใจชอบก็ไม่ได้ จะช่วยให้เข้าใจความเป็น
อนัตตาของสภาพธรรมมากขึ้น พร้อมกันนั้นความโกรธก็ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วเวลาที่
พิจารณาอย่างนั้นๆ
การเจริญเมตตาทันที ก็เป็นการระงับความโกรธได้อีกทางหนึ่ง เพราะเมตตาเป็น
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะโดยตรง เพียงแต่จะไม่ได้ความ "เข้าใจ" เพิ่มขึ้นเพราะ
ขาดการพิจารณาสภาพธรรมในขณะนั้นค่ะ