กิมัตถิยสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ก.พ. 2554
หมายเลข  17922
อ่าน  2,417

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••... สนทนาธรรมที่ ...
•••..... มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ....•••

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๒๖ ก.พ. ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

กิมัตถิยสูตร

(ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อรู้ทุกข์)

...จาก...

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๓๐ - หน้าที่ ๒๐

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๓๐ - หน้าที่ ๒๐
อวิชชาวรรคที่ ๑
๕. กิมัตถิยสูตร
(ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อรู้ทุกข์)
[๒๕]
สาวัตถีนิทาน (เรื่องเกิดที่เมืองสาวัตถี) . ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถามพวกข้าพระองค์อย่างนี้ ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่าน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวกอัญญ-เดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อรู้ทุกข์ พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ?.
[๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นจริงอย่างนั้น พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่า กล่าวตามคำที่เรากล่าวไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ เพราะพวกเธออยู่ประพฤติพรหม-จรรย์ในเรา เพื่อรู้ทุกข์.
[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ
พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวก อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย หนทางมีอยู่ ปฏิปทาเพื่อรู้ทุกข์นั้นมีอยู่.
[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์เป็นไฉนอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เป็นหนทางนี้เป็นปฏิปทาเพื่อรู้ทุกข์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้วพึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

จบกิมัตถิยสูตรที่ ๕

อรรถกถากิมัตถิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกิมัตถิยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ เอว ศัพท์ในบทว่า อยเมว มีอรรถแน่นอน ย่อมห้ามมรรคอื่นด้วย เอว ศัพท์นั้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสทุกข์ในวัฏฏะและมรรคเจือปนกัน. จบอรรถกถากิมัตถิยสูตรที่ ๕.




(เพิ่มเติม พระสูตรอีก ๕ พระสูตร)
[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๓๐ - หน้าที่ ๖๙
อัญญติตถิยวรรคที่ ๕

๑. วิราคสูตร
(ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อสำรอกราคะ)
[๑๑๗] สาวัตถีนิทาน (เรื่องเกิดที่เมืองสาวัตถี) . พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสำรอกราคะ. ในสังโยชนสูตรที่ ๒ แสดงว่า อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อละสังโยชน์. ในอนุสยสูตร ที่ ๓ แสดงว่า อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อถอนอนุสัย. ในอัทธานสูตรที่ ๔ แสดงว่า อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อรู้สังสารวัฏฏ์อันยืดยาว. ในอาสวสูตรที่ ๕ แสดงว่า อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสิ้นอาสวะ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้อความโดยสรุป กิมัตถิยสูตร * (ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อรู้ทุกข์) พระภิกษุทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลถามพระองค์ว่า เมื่อ (พวกข้าพระองค์) ถูกพวกอัญญเดียรถีย์ถามว่า อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสมณ-โคดม เพื่อประโยชน์อะไร ก็ได้ตอบไปว่า เพื่อรู้ทุกข์ การตอบอย่างนี้เป็นคำตอบที่ถูกต้องคล้อยตามพระดำรัสของพระองค์หรือไม่? พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เป็นจริงอย่างนั้น และได้ตรัสต่อไปว่า เมื่อถูกถามต่ออีกว่า หนทางที่เป็นเไปเพื่อรู้ทุกข์ มีหรือไม่พึงตอบว่า มี ซึ่งหนทางดังกล่าวนั้น คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มี สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น. [หมายเหตุ คำว่า กิมัตถิยะ ซึ่งเป็นชื่อของพระสูตร หมายถึง เพื่อประโยชน์อะไร?มาจากคำว่า กึ (อ่านออกเสียงเป็น กิง แปลว่า อะไร) + อตฺถ (ประโยชน์) ครับ] ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
สายกลางคือ สติปัฏฐาน
เรื่องของพรหมจรรย์

อยู่พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร?
บุคคลเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
รู้ทุกข์
ทางอื่น ไม่มี [คาถาธรรมบท]
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 21 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผิน
วันที่ 21 ก.พ. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
intira2501
วันที่ 23 ก.พ. 2554

เราทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสำรอกราคะ. คำว่าสำรอกหมายถึงอะไร มีลักษณะอย่างไร ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 23 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน ความคิดเห็นที่ ๔

(ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ ครับ) คำว่า สำรอกราคะ ในวิราคสูตร มาจากคำว่า วิราคะ แปลว่า การละคลายราคะหรือ ดับราคะ (คือโลภะ) โดยไม่เหลือ ซึ่งก็คือ การปราศจากราคะ นั่นเอง จะเห็นได้ว่าต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญา เท่านั้น ถึงจะไปถึงการดับราคะหรือสำรอกราคะได้การละคลายกิเลสก็ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ผู้ที่จะดับราคะซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ติดข้องยินดีพอใจได้อย่างเด็ดขาด นั้น คือ พระอรหันต์ และ อีกประการหนึ่ง วิราคะ ก็เป็นชื่อหนึ่งของพระนิพพาน ซึ่งมีความสงบเป็นลักษณะ ขณะที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลประจักษ์แจ้งพระนิพพาน ขณะนั้นสงบจากกิเลส สงบจากอกุศล ตามลำดับมรรค ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่้ ครับ
การละคลายกิเลส ต้องเป็นลำดับขั้น
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ intira2501 และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 23 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สมศรี
วันที่ 24 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Siriphong
วันที่ 24 ก.พ. 2554

เรียนท่าน อ. คำปั่น ครับ

ขณะไหนที่เรียกว่า "อบรมเจริญปัญญา" ครับ

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 25 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 25 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ ๘ (ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ ครับ) ปัญญา เป็นสภาพธรรมที่เข้าใจถูก เห็นถูก มีความเข้าใจถูกขณะใด ขณะนั้นก็เป็นกุศลประเภทหนึ่ง การอบรมเจริญปัญญา เริ่มจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ขณะที่ฟังพระธรรมแล้วเข้าใจ ขณะนั้นก็ชื่อว่าอบรมเจริญปัญญา ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ Siriphong และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
intira2501
วันที่ 26 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนา อ. คำปั่น ค่ะ คงต้องอ่านและฟังธรรมเพิ่มขึ้นอีกค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ