สติจะเจริญต้องรู้ขณะที่มีสติต่างกับหลงลืมสติ..

 
chaweewanksyt
วันที่  25 ก.พ. 2555
หมายเลข  20628
อ่าน  1,443

... ยังฟังไม่เข้าใจเลย ใจเลยไม่ใส ... ขัดข้องจริงหนอ

ขอความกระจ่างจงมีมาให้ได้ฟังซ้ำแล้วซ้ำอีกด้วยเถิด ... สาธุ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 26 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อพูดถึง สติเกิด สติ ในที่นี้ หมายถึง สติปัฏฐาน คือ สติที่เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งขณะที่สติเกิด หรือ สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นไม่ใช่มีเฉพาะสติเท่านั้นที่เกิด มีเจตสิกทีดี่ มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ และเจตสิกที่ดีอื่นๆ เกิดร่วมด้วย และที่สำคัญที่สุด คือ มีปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราในขณะนั้นด้วย ครับ

ขณะที่สติเกิด คือ ขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในชีวิตประจำวัน ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ขณะที่หลงลืมสติ คือ ขณะที่สติและปัญญาไม่เกิด และไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา แต่เป็นไปกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งสติปัฏฐานเกิด จะต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ดังนั้นในขณะที่สติเกิดหรือเมื่อสติปัฏฐานเกิด จริงๆ คือ รู้ตามความเป็นจริง รู้ว่าขณะนั้นสติเกิดแน่นอนเพราะขณะที่หลงลืมสติ หรือ สติไม่เกิด ก็ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา แต่ก็ยึดถือว่ามีเราที่เห็น มีเราที่ได้ยิน มีสิ่งต่างๆ ที่เห็น มีเสียงของบุคคลต่างๆ แต่ไม่รู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรม คือ จิตที่เห็น เป็นแต่เพียงจิตที่ได้ยิน เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 26 ก.พ. 2555

ดังนั้น ขณะที่สติเกิด กับ ขณะที่หลงลืมสตินั้นต่างกัน เพราะขณะที่สติปัฏฐานเกิด รู้ความจริงในขณะนั้นว่าป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่ขณะที่หลงลืมก็ไม่รู้ ถ้าไม่รู้ความต่างว่า ขณะใด สติเกิด ขณะใดหลงลืมสติ ก็เท่ากับว่า ไม่ได้มีสติเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรม เมื่อไหร่ที่สติปัฏฐานเริ่มเกิด ขณะนั้นก็ค่อยๆ เห็นความแตกต่างของขณะที่หลงลืมสติด้วย เพราะขณะที่สติปัฏฐานเกิด รู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่ไม่เคยรู้ แตกต่างจากเมื่อหลงลืมสติที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ที่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม

ดังนั้น การจะเจริญสติปัฏฐาน สติจะเจริญขึ้นได้ ก็ต้องรู้ว่าขณะที่หลงลืมสติ ก็จะไม่สำคัญผิดว่า สติเกิด เพราะเข้าใจถูกว่า ขณะที่หลงลืมสติ เป็นขณะที่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา เมื่อเข้าใจถูก ว่า ขณะที่หลงลืมสติ เป็นขณะที่ไม่มีสติ ก็ไม่ยึดถือข้อปฏิบัติทีผิดนั้น และเมื่อใดที่สติปัฏฐานเกิด เมื่อนั้นก็เริ่มรู้ว่าขณะนั้นเป็นขณะที่สติเกิด เพราะรู้ลักษณะสภาพธรรม จึง ทำให้สติเจริญขึ้นได้ เพราะเข้าใจถูกแล้วว่า ขณะที่สติปัฏฐานเกิดเป็นอย่างนี้ คือ รู้ตัวลักษณะของสภาพธรรมนั้นจริงๆ

ดังนั้น การรู้ความแตกต่างของขณะที่สติเกิด และ หลงลืมสติ ย่อมเป็นปัจจัยให้สติเจริญมากขึ้น เพราะไม่สำคัญผิดในสิ่งที่ผิด มีการสำคัญผิดว่า หลงลืมสติเป็นขณะที่ สติเกิด และสำคัญถูก มีปัญญาว่า ขณะที่สติเกิด คือ รู้ลักษณะของตัวธรรมที่ไม่ใช่เรื่องราว ที่เป็นขณะที่หลงลืมสติ จึงเป็นปัจจัยให้สติระลึกรู้ตัวธรรม ที่ไม่ใช่เรื่องราวมากขึ้น ทำให้สติเจริญ นั่นเองครับ

ที่สำคัญ อาศัยการฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องสภาพธรรมมากขึ้นและส่วนเรื่องสติปัฏฐาน หรือสติเกิดก็เป็นเรื่องยาก และอีกยาวไกล ค่อยๆ อบรมการฟังพระธรรมต่อไป ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านและฟังที่นี่ครับ

สติเกิด - หลงลืมสติ ๑

สติเกิด - หลงลืมสติ ๒

สติเกิด - หลงลืมสติ ๓

อย่างไหนคือหลงลืมสติ

ขณะที่สติเกิดต่างกับขณะที่หลงลืมสติ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chaweewanksyt
วันที่ 26 ก.พ. 2555

ขอขอบคุณ ค่ะ แล้วขณะฟังธรรมเข้าใจ กับฟังยังไงก็ไม่เข้าใจเกิดจากสมองล้า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งไม่ใช่เรา ... (คิดตามไม่ทัน) จึงชื่อว่านั่นคือการหลงลืมสติ ... สาธุ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 26 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ขณะใด มีสติ ขณะใด ไม่มีสติ

เมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว ขณะที่จิตเป็นอกุศล ไม่มีสติเกิดร่วมด้วยเลย ไม่มีสติอย่างแน่นอน แต่เมื่อใดก็ตามที่จิตเป็นกุศล เมื่อนั้นจะไม่ปราศจากสติเลย มีสติเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้น เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญาหรือไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะสติเกิดร่วมกับกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ก็ได้ ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ได้ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริง ขณะใดที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏตามความเป็นจริง ขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน เป็นมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นกุศลที่รู้ความจริงของสภาพธรรม ว่า ไม่ใช่เรา ขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นมีทั้งสติและปัญญา พร้อมด้วยโสภณธรรมอื่นๆ มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะเป็นต้น เมื่อสติและปัญญาเกิดขึ้นรู้ความจริงในขณะนั้น ก็ย่อมเห็นความแตกต่างระหว่างขณะที่หลงลืมสติ คือ ไม่มีสติและไม่มีปัญญาที่จะรู้ความจริง กับขณะที่สติและปัญญาเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนั้น รู้ความแตกต่าง เพราะสติปัฏฐานเกิดแล้ว มีปัญญาเกิดร่วมด้วยและเห็นถึงความแตกต่างในขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด

ทั้งหมดเป็นเรื่องของปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้น ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ไม่ได้ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนือง ก็ย่อมจะไม่มีเหตุที่จะทำให้สติและปัญญาเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ได้เลย สำคัญ ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้นจริงๆ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chaweewanksyt
วันที่ 26 ก.พ. 2555

นึกคิดถึงเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมโดยไม่มีเครื่องช่วย (บันทึกเทป)

พระองค์ต้องแสดงธรรมซ้ำแล้วซ้ำอีก ... สาธุ ดิฉันคงบาปเพราะฟังไม่เกิดปัญญาทั้งๆ ที่ได้มีโอกาสฟังทั้งวันทั้งคืน. เฮ้อ ...

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pat_jesty
วันที่ 26 ก.พ. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 27 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
jaturong
วันที่ 28 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
akrapat
วันที่ 1 มี.ค. 2555

ถ้าวันใดวันหนึ่ง สติปัฏฐานเกิด วันนั้นจะรู้ทันทีว่าที่ผ่านมา ไม่มีสติเลย หลงตลอดเวลา ... แม้คิดว่าตัวเองมีสติแต่ที่จริง อาจจะยังไม่ใช่ ... เป็นปัจจัตตัง ครับ รู้เอง เห็นเอง ฟังอาจจะเข้าใจในเรื่องราวของสติ ... แต่ถ้าไม่ประจักษ์ด้วยตัวเอง ก็คงเป็นเพียงแค่การนึกคิดเอาเอง ...

อนุโมทนา ทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chaweewanksyt
วันที่ 15 เม.ย. 2555

สาธุ

เหมือนหงายของที่คว่ำ (จากความเห็นของ อาจารย์ทั้งสองค่ะ)

สาธุ สาธุ สาธุ

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 15 เม.ย. 2555

ขณะที่สติไม่เกิดก็เต็มไปด้วยอกุศล โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าสติเกิดก็ระลึกเป็นไปในทาน ศีล ภาวนา และ สติเกิดประกอบด้วยปัญญา เช่น ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chaweewanksyt
วันที่ 16 เม.ย. 2555

การรู้ความต่างระหว่างมีสติกับหลงลืมสติ เป็นเพียงปัจจัยให้สติเจริญ ... หรือคะ อย่างเช่นในชีวิตประจำวัน ขณะที่ได้ยิน ได้ฟัง เรื่องราวต่างๆ ไม่ได้อ่าน ฟัง หาความรู้พระธรรม เราก็เป็นไปตามเรื่องราวนั้นๆ แล้วนึกขึ้นได้ว่า นั้นเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ให้มี. หรือ ขณะถูกว่า ... ก็นึกได้ ว่าเขา ว่าเรา. โกรธแล่น. นึกได้ (ตรงนี้สติ) หรืออย่างนี้จะใช่หรือยังหนอ ...

สาธุ สาธุ สาธุ

ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 16 เม.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ

สติมีหลายระดับ ทั้งสติขั้นคิดนึก และ สติ ที่เป็นสติปัฏฐาน ซึ่งเหตุให้เกิดสติปัฏฐาน ไม่ใช่เพียงการรู้ว่า สติเกิด กับ หลงลืมสติเท่านั้น แต่อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ย่อมทำให้ปัญญาขั้นการฟังเจริญขึ้น จนเป็นเหตุปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดได้ ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ