ทำไมบ้านธัมมะ ไม่มีการยกย่องคำสอน พระอาจารย์มั่น หลวงตาบัว หลวงพ่อชา
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺสฺส ฯ (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)
- ประเด็นที่ ๑
อ้างอิง : ทำไมบ้านธรรมะ ไม่มีการยกย่องคำสอน พระอาจารย์มั่น หลวงตาบัว หลวง พ่อชาเลย
ตอบ : เพราะ "บ้านธัมมะ" ยกย่องอย่างสูงสุดในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดาของพระเถระ และพุทธบริษัททั้งปวง ครับ แม้ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศด้วยปัญญา ก็ยังมีความเคารพยำเกรงยกย่องในพระพุทธพจน์ แสดงพระธรรมและข้อปฏิบัติตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ทรงจำ และรู้แจ้งพุทธพจน์แล้ว แสดงแก่ผู้อื่น
พุทธบริษัทใด ที่เคารพยำเกรง ยกย่องในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้ครบถ้วนในพระไตรปิฎก ควรหรือไม่ที่จะศึกษา และแสดงสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้โดยตรง ไม่ละเลย หรือข้ามไปศึกษาถ้อยคำของบุคคลอื่นก่อนจะศึกษาพระพุทธพจน์ครับ?
- ประเด็นที่ ๒
อ้างอิง : ผมเห็นแต่ครูบาอาจารย์สายวิชาการ ที่จำจากพระไตรปิฎกมา copy ให้อ่าน
ตอบ : บ้านธัมมะไม่ได้จำจากพระไตรปิฎกมา Copy ให้อ่านครับ แต่เป็นปัญญาที่มาจากการศึกษา และอบรมเจริญปัญญา น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมที่ได้ศึกษามาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ด้วยความเคารพ ไม่ได้คิดคำสอนเอง และปฏิบัติเอง โดยไม่ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงพระธรรม จึงไม่ได้มีสายวิชาการ หรือ สายใดๆ มีแต่การศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง และน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม จนกว่าจะดับกิเลสเท่านั้น ครับ
การศึกษาพระธรรมจริงๆ จึงต้องมีทั้งปริยัติ และปฏิบัติที่คล้อยตามปริยัติอย่างถูกต้อง และเมื่ออบรมเจริญปัญญา ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเป็นปกติในชีวิตประจำวัน จนสามารถแทงตลอดในสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นของจริง ในชีวิตจริง ที่เพียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อปัญญาสมบูรณ์พอก็สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้ ถึงปฏิเวธโดยสมบูรณ์
ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จึงไม่ได้แยกออกจากกันเลยครับ ด้วยเหตุนี้ บ้านธัมมะ จึงแสดงปฏิเวธของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสาวกทั้งหลาย โดยนำเสนอพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ซึ่งครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้วในพระไตรปิฎกและอรรถกถาครับ และพระอริยบุคคลทั้งหลาย เมื่อจะอนุเคราะห์เกื้อกูลผู้อื่น ก็จะแสดงพระธรรมตามที่พระศาสดาทรงแสดงนั่นเอง พร้อมทั้งขยายความให้ผู้อื่นเข้าใจในความละเอียดลึกซึ้งของพระธรรม เพื่อให้ผู้ฟังเกิดปัญญาของตนเอง ไม่ได้สอนให้เชื่อตาม หรือต้องทำตามที่ท่านสอน โดยละเลยพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไป ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่ง ครับ
- ประเด็นที่ ๓
อ้างอิง : แต่ไม่เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านการปฎิบัติอย่างหนัก เจอเหตุการณ์จริงๆ ผจญอันตรายมานับไม่ถ้วนในป่าเขาลำธารมาแล้ว อย่างสายหลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว หลวงพ่อชา เลย
ตอบ : แท้จริงแล้วบ้านธัมมะได้นำเสนออัตชีวประวัติของพระอริยสาวกในสมัยพุทธกาลโดยสอดแทรกประกอบการอธิบายความละเอียดลึกซึ้งของพระธรรม เช่น อัตชีวประวัติของท่านพระอัครสาวก ที่บำเพ็ญบารมีมา ๑ อสงไขยแสนกัปป์บ้าง, พระอสีติมหาสาวก ได้แก่ ท่านพระมหากัสสปเถระ ท่านพระอนุรุทธะเถระ ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านพระอุบาลีเถระ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ท่านพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระอานนท์เถระ เป็นต้น ที่บำเพ็ญบารมีมาแสนกัปป์บ้าง หรือ พระอริยสาวกองค์อื่นๆ ซึ่งล้วนแต่มีปฏิปทาอันประเสริฐ น่าเลื่อมใส ผ่านการปฏิบัติจริง ด้วยปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง พบพระศาสดาจริง เป็นมหาบุรุษ แกล้วกล้า อาจหาญในธรรม แม้มีอันตรายถึงชีวิต ท่านเหล่านั้นก็ไม่สละละทิ้งพระธรรมวินัย รู้แจ้งแทงตลอดคำสอนในพระศาสนาแล้ว ถึงพร้อมด้วยคุณวิเศษทั้งปวง ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถาให้ศึกษา ครับ
ควรหรือไม่ ที่บ้านธัมมะ จะแสดงปฏิปทาของพระเถระที่ยิ่งใหญ่เหล่านั้น?
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.
การบรรลุธรรมของท่านพาหิยทารุจีริยะ
[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127-128
พาหิยสูตร ว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดแห่งทุกข์
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟัง จักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบ จักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้ง จักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
ดูก่อนพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล
ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟัง จักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบ จักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้ง จักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มีในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.
ลําดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิยทารุจีริยกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอแสดงความเห็นตามกำลังความเข้าใจ
ประการแรก ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจว่า ปฏิบัติ หมายถึง อะไรก่อน ถ้าแม้คำว่าปฏิบัติ ที่หมายถึง ถึงเฉพาะ และถึงเฉพาะอะไรก็ยังไม่เข้าใจ ก็จะใช้คำบาลีที่คลาดเคลื่อนได้
ประการที่สอง การที่จะยกย่องบุคคลใด หรือ การที่จะเข้าใจว่าการประพฤติปฏิบัติธรรมของตน หรือกระทั่งบุคคลใดนั้นถูกต้องหรือตรงหรือไม่นั้น
ถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมก่อน หรือไม่ได้มีความเข้าใจคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย แล้วการยกย่องบุคคลใดก็ดี หรือจะรู้ว่าข้อประพฤติปฏิบัติต่างๆ นั้น ซึ่งไม่ว่าจะของใคร หรือแม้แต่ของตนเอง จะถูกตรงหรือไม่ ก็ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด และเป็นผู้ตรงที่จะศึกษาและเข้าใจธรรมก่อน เพราะถ้าไม่ได้เข้าใจธรรมแล้ว ใช้ความคิดของตน หรือว่าคนอื่นๆ บอกก็เชื่อว่าบุคคลนั้นดีตามบุคคลอื่นๆ ข้อนั้นก็อาจคลาดเคลื่อนได้
เพราะฉะนั้นเครื่องสอบทานความเข้าใจ คือการศึกษาธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อเป็นพุทธศาสนิกชน คือ ผู้ที่นับถือพุทธศาสนา ที่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานมรดกอันล้ำค่า คือพระธรรมวินัยไว้ให้เป็นตัวแทนของพระองค์ ไว้ให้พวกเราได้ศึกษาให้เข้าถึงธรรมที่ทรงตรัสรู้และทรงแสดงไว้ดีแล้ว ดังนั้นจึงสมควรจะศึกษาคำสอนนั้นซึ่งยังปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก สมควรจะคัดลอกให้ได้อ่านได้ศึกษากันมากๆ เพราะเป็นสิ่งล้ำค่าที่ทุกคนควรจะได้ยิน ได้ฟัง ได้พิจารณาให้เข้าใจ จนถึงได้ประจักษ์แจ้งอย่างที่พระองค์ทรงพระมหากรุณาแสดงให้พวกเราได้เห็นสิ่งที่ถูกปิดบังมาเนิ่นนาน เมื่อได้ศึกษาแล้ว ก็จะเห็นว่า เวลาที่มีในชีวิตนี้ยังน้อยนักที่จะเข้าใจพระธรรมที่ลึกซึ้้งนั้นได้ และต้องใช้เวลาอบรมเจริญความเข้าใจอีกยาวนาน กว่าจะเห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตามความเป็นจริงได้
ในพระไตรปิฎกตอนหนึ่ง แสดงไว้ว่า ภิกษุรูปหนึ่งท่านแสดงธรรม เมื่อมีผู้กล่าวว่า เป็นธรรมของท่าน ท่านบอกว่า ไม่ใช่ แต่เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ดีแล้ว ท่านนำมาแสดงเพียงเล็กน้อย เหมือนหยิบข้าวเปลือกกำมือหนึ่งมาจากข้าวเปลือกกองใหญ่ เพราะฉะนั้นผู้แสดงธรรมหรือฟังธรรม ก็ควรจะทราบว่า ทั้งหมดนั้นเป็นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ดีแล้ว และผู้แสดงธรรมก็เปรียบเหมือนผู้อ่านสารพระราชา ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่อ่านหนังสือออก มีความข้าใจ และสามารถถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง ด้วยความเคารพในพระราชา ไม่บิดเบือนคำสอนเพื่อประโยชน์ของตนเอง ไม่กล่าวว่า สารนั้นเป็นของตนเอง หรือเป็นพระราชาเสียเอง
และเพราะไม่ได้ศึกษาพุทธประวัติจากพระไตรปิฎก จึงไม่ทราบว่า กว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นไม่ง่ายเลย ต้องทรงบำเพ็ญพระบารมีถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ แม้กระนั้นในชาติสุดท้ายก็ยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างที่ไม่มีผู้ใดสามารถทำได้ถึง ๖ พรรษา จึงได้ตรัสรู้ และหลังจากนั้นก็ทรงปฏิบัติพุทธกิจตลอดเวลา ๔๕ พรรษาเพื่อทรงประกาศพระสัทธรรมซึ่งทรงค้นพบด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่อง มีผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมตามเป็นจำนวนมาก ซึ่งคำสอนทั้งหมดนั้นได้บันทึกไว้แล้วในพระไตรปิฎกและอรรถกถา จึงไม่สมควรจะเปรียบเทียบพระองค์กับอาจารย์ใดๆ ทั้งสิ้น และพวกเราควรมีความมั่นคงที่จะศึกษาพระไตรปิฎกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเห็นผิด เห็นว่ามีคำสอนของผู้อื่นนั้นสมควรศึกษามากกว่าพระพุทธพจน์
"...ผู้แสดงธรรมก็เปรียบเหมือนผู้อ่านสารพระราชา ไม่ใช่เป็นพระราชาเสียเอง จึงควรสนับสนุนให้อ่านสารพระราชา คือ พระไตรปิฎกกันมากๆ ..."
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อพระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 320
ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่าดูก่อนอานนท์ บาง ทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของ พวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดย กาลล่วงไปแห่งเรา
พระธรรมของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเหมือนศาสดา แทนพระองค์ นั่นคือ พระไตรปิฎก ที่ พระเถระรุ่นหลังได้นำสืบต่อกัน การที่กล่าว แสดง พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ย่อมเปิดเผย ในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะคำทุกคำที่นำมาในพระไตรปิฎก ก็คือ พระดำรัสของ พระพุทธเจ้า ครับ
ดังนั้น หากจะยกย่อง หากจะสรรเสริญ หากจะควรกล่าวถึงพระพุทธศาสนา ก็ควรกล่าว พระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้ คือ พระไตรปิฎก เพราะพระธรรมที่แสดงไว้ใน พระไตรปิฏก เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา และถูกต้องตามความเป็นจริง เมื่อจะ เทียบเคียงว่าสิ่งใดถูกต้อง เป็นคำสอนจากพระพุทธเจ้าหรือไม่ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ไม่ควรเชื่อ แม้พระภิกษุผู้เถระรูปใด รูปหนึ่งกล่าว แต่ควรนำคำกล่าวของพระภิกษุรูปนั้น เทียบเคียงกับพระธรรมวินัยของเราที่แสดงไว้ดีแล้ว คือ พระไตรปิฎกว่าเข้ากันได้ไหม ถ้าเข้ากันได้ ตรงกัน ก็ชื่อว่าเป็นพระธรรมที่ถูกต้อง และพระดำรัสของเรา คือ ของ พระพุทธเจ้า ครับ นี่คือเหตุผลที่จะต้องแสดงพระไตรปิฎก ครับ
เว็บไซต์บ้านธัมมะ จึงยกย่อง สรรเสริญ พระพุทธเจ้า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัส ไว้ดีแล้ว และยกย่อง สรรเสริญ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้า คือ สงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า มีท่านพระสารีบุตรและพระอานนท์ เป็นต้น และผู้ที่มีความเข้าใจ ถูกในพระธรรมทั้งหลาย โดยมีพระธรรมวินัย คือ พระไตรปิฎก เป็นเครื่องตัดสินความถูกต้อง ไม่ใช่ชื่อเสียง หรือ คนหมู่มากเป็นเครื่องตัดสินความถูกต้อง ครับ
ผู้นับถือพระพุทธศาสนา คือผู้ที่มีพระรัตนตรัย เป็นสรณะ นับถือในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ และหมู่แห่งพระอริยสงฆ์ในพระวินัยนี้ ดังนั้น จึงสมควรศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบันทึกไว้ในพระไตรปิฏกครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ผู้ทรงตื่นจาก กิเลสโดยประการทั้งปวง นอกจากนั้นก็ทรงปลุกสัตว์โลกให้ตื่นจากกิเลสตามพระองค์ ด้วย โดยการทรงแสดงพระธรรมประกาศพระศาสนาแก่สัตว์โลก ซึ่งมีผู้ตรัสรู้เป็นพระ อริยบุคคลขั้นต่างๆ มากมายอย่างนับไม่ถ้วน พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้หมดจดจากกิเลสโดยประการทั้งปวง พระองค์ทรงแสดงพระ ธรรม พร้อมทั้งทรงแสดงหนทางปฏิบัติที่ทำให้ปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส ดำเนิน ไปถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้ ทรงแสดงสภาพธรรมทั้งหมดซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงที่ ควรรู้ โดยประมวลแล้ว ได้แก่ นามธรรม กับ รูปธรรม เพื่อให้พุทธบริษัทได้เข้าใจ ตามความเป็นจริง
แม้พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว แต่พระธรรมวินัย เป็นศาสดาแทนพระองค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลสำหรับผู้ที่มีความจริงใจที่จะฟังที่ จะศึกษา อย่างแท้จริง
กาลสมัยนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่พระธรรมยังดำรงอยู่ ก็ควรที่จะ ได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฟัง สนทนาสอบถามจากกัลยาณมิตรผู้ที่มีปัญญามีความเข้าใจธรรมตามที่พระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกจริงๆ ก็เพราะบุญที่กระทำไว้ตั้งแต่ชาติปางก่อน จึงทำให้ได้มีโอกาสเกิดในสมัยที่พระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ลบเลือน ยังไม่เสือมสูญไป เพราะพระไตรปิฎกและอรรถกถายังครบสมบูรณ์ อยู่ จึงควรที่จะได้ศึกษาในสิ่งที่ประเสริฐที่สุด คือ พระธรรม
เว็ปไซต์บ้านธัมมะ www.dhammahome.com ซึ่งเป็นเว็ปไซต์ของมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา จึงไม่กล่าวถึงอย่างอื่น นอกจากพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่ง จะต้องไม่ลืมคำว่า "พระพุทธศาสนา" คือ พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า ขอบพระคุณบ้านธัมมะเป็นอย่างสูง ขออนุโมทนาค่ะ
เป็นที่ทราบกันดีว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และสอนให้ผู้อื่นรู้ ตาม พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอันนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ พระสงฆ์ คือ สาวกของพระพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ และสอนให้ผู้อื่นรู้และ ปฏิบัติตาม
การศึกษาพระธรรม คำสั่งสอนของพระองค์โดยตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ก็เหมือนกับได้ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ ซึ่งเป็น หน้าที่ของสาวก คือ ผู้ฟัง โดยตรง แม้คำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว นั้น และท่านอื่นๆ จะมีวิธีการหลากหลายแตกต่าง ถ้าถูกต้อง ก็คงไม่นอกเหนือจาก คำสอนของพระองค์ หากนอกเหนือจากคำสอนของพระองค์ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก แล้ว ก็ถือว่าเป็นสัทธรรมปฏิรูป เป็นลัทธิ "เห่ออาจารย์" เพราะอาจารย์ไม่ได้ตรัสรู้เอง ธรรมจึงไม่ใช่ของอาจารย์ เป็นธรรมที่พระผู้มีพระเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงไว้ ถ้าใครสะดวกจะศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎกโดยตรง หรือศึกษาจากพระสงฆ์สาวก ที่ท่านเผยแพร่พระธรรมสอดคล้องกับพระไตรปิฎก ก็เป็นสิ่งที่ดีด้วยกันทั้งนั้น ตามแต่ อัธยาศัย ไม่น่าจะแปลกอะไร และควรแก่การอนุโมทนาด้วยกันทั้งนั้น เพราะเป็นการสืบ ทอดอายุของพระพุทธศาสนา
ถ้าธรรมที่ครูบาอาจารย์ต่างๆ แสดงนั้นสอดคล้องกับพระไตรปิฎกแล้ว ก็เป็นแนวทาง ที่ถูกต้องอย่างเดียวกัน จนไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกว่าเป็นของใคร เพราะแท้ที่จริงก็เป็น ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหมด แม้ครูบาอาจารย์นั้นก็ต้องเป็นสาวก คือ ผู้ที่ต้องฟังตาม เหมือนกัน และฟังด้วยความเคารพ โดยสนับสนุนให้ผู้อื่นได้ศึกษาพระพุทธพจน์จาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาเช่นเดียวกัน
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ขออนุญาตร่วมตอบตามความเข้าใจนะคะ
คำว่าปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ ปฏิบัติแบบทางโลกนะคะ ปฏิบัติแบบทางโลกคือการรู้ทฤษฎีแล้วลงมือทำ สร้างสิ่งสมมติขึ้นมาให้ยึดติด แต่ปฏิบัติในทางพระธรรม คือ การทำกิจของสภาพธรรมะ ไม่ใช่เรื่องของการลงมือสร้าง ออกท่าทาง ไปนู่นมานี่ หรือทำวัตถุสิ่งของ
ปฏิบัติ มาจากคำว่า ปฏิปัตติ คือ ถึงเฉพาะ (ในลักษณะสภาพธรรมะ อันได้แก่ปรมัตถธรรม) ถ้าพูดแบบง่ายๆ คือการจะดับกิเลส เป็นเรื่องของสภาพจิต ไม่ใช่เรื่องของท่าทาง ส่วนการทำทานต่างๆ รวมไปถึงการรักษาศีล (กระทำสุจริต3) ก็เป็นการประพฤติธรรม ที่เป็นส่วนช่วยให้ ปฏิปัตติ เกิดได้เช่นกัน
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันจริงๆ ค่ะ เกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ ไม่ต้องไปป่าเขา สร้างความลำบากที่ไหน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแต่งตั้งพระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์ ที่บันทึกในพระไตรปิฎก เป็นศาสดาแทนพระองค์ สมควรหรือไม่ที่จะดูหมิ่นการศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎก ที่ท่านทรงแต่งตั้งเป็นศาสดาแทนพระองค์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
กราบอนุโมทนา แด่ท่านผู้รู้ ผู้มีปัญญา ที่ได้อธิบาย จนเกิดความกระจ่าง เข้าใจอย่างถูกต้อง และตรงตามความเป็นจริงครับ
การยึดบุคคลพาให้เสื่อมจากพระสัทธรรม เล่ม 36 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 501
ว่าด้วยโทษของการเลื่อมใสที่เกิดขึ้น
[๒๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ บุคคลใดย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อม ใสมากในพวกภิกษุ เมื่อไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ จึงไม่คบหาภิกษุ เหล่าอื่น เมื่อไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๑. อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติ อันเป็นเหตุให้สงฆ์บังคับให้เขานั่งที่สุดสงฆ์ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็น ที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์บังคับให้นั่งในที่สุดสงฆ์เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ ไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ. . . จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษใน ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๒.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นหลีกไปสู่ ทิศเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ หลีกไปสู่ทิศ เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ. . . จึงเสื่อมจาก สัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๓. อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นลาสิกขา เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลรู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ลาสิกขาเสียแล้ว เขา จึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น. . . จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใส ที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๔.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นกระทำ กาละเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ กระทำ กาละเสียแล้ว เขาจึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล ข้อที่ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดในบุคคล ๕ ประการนี้แล.
ยินดีในบุญค่ะ
ขอน้อมจิตอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านด้วยเศียรเกล้าครับ
ดิฉันขอชื่นชมผู้ที่เคารพกราบไหว้พระอริยะสงฆ์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบค่ะ แต่เหตุไฉนจึงละเลยไม่สนใจศึกษาอบรมในคำสอนขององค์พระศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วย จะกระโดดข้ามขั้นไปได้อย่างไร
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
เรียนท่านเจ้าของกระทู้และ ท่านวิทยากร และทุกความเห็น
ตามที่ติดตาม ความเป็นไปของชาวพุทธยุคหลังพุทธกาลมานี้ ดิฉันพบว่า ส่วนมาก จะนับถือเชื่อฟังตามๆ กันไป โดยไม่ทราบว่าจะพบพระธรรมที่แท้จริงได้อย่างไร และที่ไหน ดังนั้น จึงมีกระแส วัดป่า กระแสพระธาตุมาปรากฏในที่ต่างๆ ชาวพุทธเป็นคนชอบแสวงหาพระอริยเจ้า และพยายามไปพบกราบไหว้และทำบุญด้วย และขณะเดียวกันด้วยความเลื่อมใสศรัทธา
ต่อๆ กันจึงเกิดเป็นฝูงชนขนาดใหญ่ขึ้นๆ แต่เมื่อติดตาม ความเป็นไปของสังคมแล้วกลับพบว่า สังคมเสื่อมทรามลงไปเรื่อยๆ และชาวพุทธเองก็มิได้มาวิเคราะห์ว่า เหตุใด การปฏิบัติตามพ่อแม่ครูบาอาจารย์มีมากขึ้นๆ แต่สังคมกลับเสื่อมทรามลง มีเหตุมาจากอะไร
ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่อดีตเคยติดตามดูและทำตามพระป่า จนบัดนี้ก็ติดตามอยู่แต่มิได้นั่งสมาธิและเดินจงกรมแบบที่ท่านกระทำแล้วเพราะ ทำไม่สำเร็จเลย และเมื่อมาอ่านพระไตรปิฎกก็ทราบว่า ในพุทธกาลนั้น พระสาวกและพุทธบริษัทสี่เมื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าๆ จักแสดงเทสนาให้ฟังทั้งนั้น และมีพระสาวกบางท่านที่เร้นกายในป่าไปฝึกปฏิบัติแต่ก็มิได้แจ้งว่าปฏิบัติกันอย่างไร
ที่ฟังมามากๆ ที่ชาวพุทธปัจจุบันชอบอ้าง คือไป ปฏิบัติธรรม นั่งกรรมฐาน นังวิปัสนา นั่งมหาสติปัฏฐาน
ทั้งปวง ดิฉัน เข้าใจว่า ชาวพุทธเหล่านั้นท่านคงมี การสะสมอบรมธรรมในฝ่ายบัญญัติธรรมมาเต็มที่จึงจะสามารถปฏิบัติได้
เมื่อเทียบกับชีวิตปัจจุบันทางโลก เช่นการเรียนแพทยศาสตร์ต้องเรียนทฤษฎีแน่นๆ ก่อนจึงไปปฏิบัติ ไม่มีใครไปนั่งหลับตา เดินไปมา แล้วสามารถไปรักษาผู้ป่วยได้ใช่ไหมคะ
ดิฉันขออนุญาติย้อนถามท่านที่ไป ปฏิบัติทั้งหลายว่า ท่านเรียนรู้บัญญัติธรรมไปมากพอจะไปปฏิบัตแล้วหรือยัง เพราะหากท่านยังไม่มีทฤษฎีพอแล้วไปปฏิบัติ ท่านจะเสียเวลาไหม หรือว่า ท่านจะยอม ทนๆ ๆ ๆ จนกว่าจะพบอะไรบางอย่าง แล้วท่านทนนั่งมากี่ปีแล้ว ท่านได้รับความสงบเวลานั่งใช่ไหม แล้วเวลาตื่นท่านยังโกรธ น้อยใจเสียใจ หงุดหงิดรำคาญอยู่เท่าเดิมไหม เพราะความก้าวหน้าทางธรรม น่าจะ วัดจากการที่อกุสลลดลง อาการหงุดหงิดน้อยใจเสียใจรำคาญใจ โกรธอาฆาตพยาบาท เป็นอาการของอกุสลใช่ไหม ลองถามตัวเองดูนะคะ ว่าเวลาไปวัดป่า นั่งสมาธิ ท่านมีอาการแบบนี้น้อยลงๆ ไหม แล้วเมื่อกลับมาสู่โลกปกติ อาการนี้กำเริบ หรือลดลงบ้างไหมน่าจะได้คำตอบกับตัวท่านเอง ว่าสมควร จะ ติดตามทางไหนในเวลาที่จำกัด ที่เหลือไม่มากจากนี้
จะติดตามพระพุทธวัจจนะของพระพุทธองค์
หรือจะติดตามคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์ หรือทำทั้งสองอย่างแต่ดูว่า คำสอนไหนไม่ออกนอกพระไตรปิฎกแล้วทำตามนั้น (ต้องมีเวลามากๆ )
ดิฉันมีเวลาเหลือน้อย เคยผ่านมาสองสามสำนักแล้ว หมดแรงไปเดินตามหาพระอริยเจ้าแล้วในโลกนี้ เลยเลือกมาติดตามพระพุทธวัจจนะ ของพระพุทธเจ้าที่เป็นเจ้าของคำสอนพระไตรปิฎก 84000 พระธรรมขันธ์ ขอบคุณที่อ่านความเห็นของดิฉัน
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ผมเห็นแต่ครูบาอาจารย์สายวิชาการ ที่จำจากพระไตรปิฎกมา copy ให้อ่าน แต่ไม่เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านการปฎิบัติอย่างหนัก เจอเหตุการณ์จริงๆ ผจญอันตรายมานับไม่ถ้วนในป่าเขาลำธาร มาแล้ว อย่างสายหลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว หลวงพ่อชา เลย ด้วยความเคารพ
ขออนุญาตสอบถามในประเด็นตามกระทู้นะครับว่า อาจารย์ที่สอนพระธรรม จำเป็นต้องผ่านเหตุการณ์อันตรายที่น่ากลัวต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่ใกล้จะทำให้ถึงแก่ชีวิต เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่ามีภูมิธรรมจริงหรือไม่ ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นการผ่านการพิสูจน์มาแล้ว จึงมีความเลื่อมใสศรัทธา จำเป็นหรือเปล่าครับ? ตรวจสอบอย่างไรจึงจะตรงและมีเหตุผลที่สุด
ขอบพระคุณครับ
เรียนความเห็นที่ 28 ครับ
ปัญญาไม่ได้เกิดจากการผจญภัยในป่า และต้องเกือบใกล้สิ้นชีวิต ปัญญาจึงเกิดได้ แต่ปัญญาเกิดเพราะอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม แม้ในสมัยพุทธกาล ท่าน พระสารีบุตร ท่านก็ฟังธรรมจนบรรลุ ไม่ได้จะต้องไปสู่ป่า ผจญอันตรายจึงจะเกิดปัญญา บรรลุธรรม เพศฆราวาส มี นางวิสาขา ฟังธรรม บรรลุ ไม่ได้ไปสู่ป่า ผจญอันตรายเพราะ ท่านได้สะสมปัญญามาแล้ว เมื่อได้ฟังพระธรรม จึงบรรลุธรรม และ หากเป็นยุคสมัยนี้ ที่มีปัญญาน้อยกว่าคนในสมัยพุทธกาล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา พระธรรมคำ สอนของพระพุทธเจ้า บ่อยๆ เนื่องๆ เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เพราะ หากไปทำ ไปปฏิบัติเอง โดยไม่ได้ฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ย่อมไม่สามารถที่จะถึงการบรรลุธรรม ได้เลย เพียงเพราะผ่านอันตรายถึงชีวิต ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ผู้ทรงตื่นจาก กิเลสโดยประการทั้งปวง นอกจากนั้นก็ทรงปลุกสัตว์โลกให้ตื่นจากกิเลสตามพระองค์ ด้วย โดยการทรงแสดงพระธรรมประกาศพระศาสนาแก่สัตว์โลก ซึ่งมีผู้ตรัสรู้เป็นพระ อริยบุคคลขั้นต่างๆ มากมายอย่างนับไม่ถ้วน พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้หมดจดจากกิเลสโดยประการทั้งปวง พระองค์ทรงแสดงพระ ธรรม พร้อมทั้งทรงแสดงหนทางปฏิบัติที่ทำให้ปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส ดำเนิน ไปถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้ ทรงแสดงสภาพธรรมทั้งหมดซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงที่ ควรรู้ โดยประมวลแล้ว ได้แก่ นามธรรม กับ รูปธรรม เพื่อให้พุทธบริษัทได้เข้าใจ ตามความเป็นจริง
แม้พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว แต่พระธรรมวินัย เป็นศาสดาแทนพระองค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลสำหรับผู้ที่มีความจริงใจที่จะฟังที่ จะศึกษา อย่างแท้จริง
กาลสมัยนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่พระธรรมยังดำรงอยู่ ก็ควรที่จะ ได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฟัง สนทนาสอบถามจากกัลยาณมิตรผู้ที่มีปัญญามีความเข้าใจธรรมตามที่พระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกจริงๆ ก็เพราะบุญที่กระทำไว้ตั้งแต่ชาติปางก่อน จึงทำให้ได้มีโอกาสเกิดในสมัยที่พระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ลบเลือน ยังไม่เสือมสูญไป เพราะพระไตรปิฎกและอรรถกถายังครบสมบูรณ์ อยู่ จึงควรที่จะได้ศึกษาในสิ่งที่ประเสริฐที่สุด คือ พระธรรม
เว็ปไซต์บ้านธัมมะ www.dhammahome.com ซึ่งเป็นเว็ปไซต์ของมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา จึงไม่กล่าวถึงอย่างอื่น นอกจากพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่ง จะต้องไม่ลืมคำว่า "พระพุทธศาสนา" คือ พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
เมื่อมีความสงสัยแล้วเข้ามาถามผมเห็นว่าถูกต้องครับดีกว่าสงสัยแล้วยังคงไม่เข้าใจต่อไป มีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม ให้ถามได้เลยครับผมมีเพื่อนหลายคนที่มีความสงสัยแต่ไม่กล้าตั้งกระทู้ทำให้ยังยึดติดที่บุคคล โดยไม่มีการเทียบเคียงคำสอนกับพระไตรปิฏก ศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ที่ตรง เป็นโอกาสที่ดีมากครับที่เข้ามาสอบถามเรื่องพระธรรมใน web นี้
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
ความคิดเห็นที่ 1 คำตอบชัดเจน ขออนุโมทนาค่ะ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นทุกท่านค่ะ
ขออนุโมทนาแด่ ท่านผู้แสดงความคิดเห็น ก่อนหน้านี้ ด้วยค่ะ
คุณ bannk เปิดประเด็น ได้น่าสนใจนะคะ คงมีคนอีกมาก ที่สงสัย ว่า อาจารย์ ที่ สอนใน เรื่องพระธรรม (สายวิชาการ) เป็นสำคัญนั้น ทำไมถึง ไม่เน้น หรือ ไม่ค่อยให้ความสำคัญด้านการปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่มีรูปแบบการปฏิบัติที่ เป็นรูปธรรม ให้เห็นเด่นชัดล่ะ คำตอบ นั้น คงสามารถ เข้าใจ ได้ จาก ท่านผู้แสดงความคิดเห็นก่อนหน้านี้ นะคะ
ดิฉันเชื่อว่า ทุกๆ ท่าน ที่เน้น ให้ความสำคัญ ตั้งใจในการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกๆ ท่านย่อม เคารพ ศรัทธา เห็นคุณค่าในธรรมมะ ของ พระพุทธองค์อย่างยิ่ง และ เชื่อว่า ที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้น จะเป็นหนทางให้ สามารถนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ มิฉะนั้น คงไม่ ยอมลำบาก ยอมละทิ้ง สละความสุขสบายต่างๆ เพื่อมาปฏิบัติธรรมกัน
ก็ใคร่ขอให้ ท่าน ที่เน้น ในเรื่องการ ปฏิบัติธรรม ทุกท่าน ได้ ลอง หมั่น สังเกต พิจารณา ดูนะคะว่า เมื่อปฏิบัติธรรมในสำนักนั้นๆ แล้ว ปัญญาทางธรรม ของท่านได้รู้อะไรบ้าง ปัญญาเพิ่มขึ้นบ้างไหม กิเลส (เช่น ความต้องการ มานะ ฯลฯ) ได้ ละคลาย ลดน้อยลงไปบ้างหรือไม่ ที่สำคัญ สติ ได้เกิด ระลึกรู้ลักษณะ ของธรรมต่างๆ ที่ เกิดขึ้น ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ได้หรือไม่ บ่อยครั้ง มากน้อยเพียงใด ปัญญารู้ แยกแยะออก ถึง ลักษณะธรรมที่ใกล้เคียงกันมาก ออกได้ไหม เช่น ระหว่าง ความพอใจในอารมณ์ (ฉันทะ) กับ ความกระหาย อยากได้ ในอารมณ์ (โลภะ) ระหว่างการตัดสินอารมณ์ (อธิโมกข์) กับ ความเชื่อในเหตุผล ตามความ เป็นจริง (ศรัทธา) เป็นต้น
การจะบรรลุ มรรคผล นิพพาน นั้น อะไรเล่า? ที่จะสามารถดับกิเลสได้จนสิ้น เชิง ให้หมด ไม่เหลือเชื้้อ นอกเสียจาก “ ปัญญา “ เท่านั้น สิ่งที่จะประหาร กิเลส,ดับอนุสัยต่างๆ จนบรรลุมรรคผล นิพพานนั้น ก็ ต้องอาศัย ปัญญา เป็นสำคัญ ซึ่งปัญญาในเบื้องต้น ต้องมาจาก การศึกษา การฟัง และสิ่งที่จะเป็น หลักยึด ที่ดีที่สุด ในกาลลมัยนี้ ก็คือ พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก เปรียบเสมือน ลายแทง ขุมทรัพย์ ที่ประเสริฐของ พระพุทธองค์ ที่มอบให้คนรุ่นหลังๆ ได้ศึกษา ได้ก้าวสู่ทางเดินสายเอก คือ อริยมรรคมีองค์๘ เพื่อก้าวพ้น ภพชาติ สู่นิพพานในที่สุดนั่นเอง การที่ ยังไม่รู้ ในพระธรรมดีมากพอนั้น ย่อมไม่สามารถละกิเลสอะไรๆ ได้ เพราะกิเลส เกิดจาก ความไม่รู้ (อวิชชา) ดังนั้น การที่จะละกิเลสต่างๆ ก่อน ที่จะรู้จริงๆ นั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย
โดย ความรู้ที่จะดับกิเลส ได้นั้น ก็ ต้องเป็น ความรู้ ที่รู้จริง รู้แจ้ง ประจักษ์ชัด ดังนั้น จึงควรศึกษา พระธรรม อย่าง สุขุม รอบคอบ และสม่ำเสมอ พร้อมทั้ง หมั่นคบหา สัตบุรุษ หมั่นพิจารณา ตรวจสอบ สอบทาน ความรู้ ความเข้าใจ เสมอๆ เพื่อ ไม่ให้ หลง ,เกิดความคิดเห็นผิดๆ ซึ่ง การค่อยๆ คล้อยไปสู่ความคิดเห็นที่ผิด ทีละน้อย ทีละน้อย ย่อมเกิดขึ้นได้ ไม่เว้นแม้ผู้ที่ศึกษาพระธรรม มาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม นี่ก็เป็นข้อควรระวังประการหนึ่ง แต่กระนั้น สิ่งสำคัญที่ควรตระหนัก และน่ากลัวมากๆ คือ หากในภพชาตินี้ ได้
สะสม ความทรงจำ หมายไว้ (สัญญา) และความคิดเห็นผิดต่างๆ เอาไว้มากๆ สิ่งผิดๆ เหล่านี้ ย่อมติดตาม สืบต่อไปในทุกภพชาติ ต่อไปเรื่อยๆ จนยากจะละคลาย, สลัดทิ้งออกไปได้ สังสารวัฏฏ์ก็จะยิ่งยืดยาวออกไปอีก ซึ่งท่านนักปฏิบัติทุกท่าน คงได้ ตระหนักถึง ได้ตรวจสอบ พิจารณาในสิ่งที่ ท่านกำลังปฏิบัติอยู่นะคะ จาก สาระธรรม ของท่านผู้แสดงความคิดเห็นต่างๆ ก่อนหน้านี้ และ เหตุผล ที่ กล่าวมาโดยสังเขป คงพอให้ คิด ตรึกได้นะคะว่าทำไม จึง ต้องให้ความสำคัญ กับ การศึกษาพระธรรม อย่างมาก เพื่อรู้ถูก เข้าใจถูกก่อนที่จะไป ปฏิบัติ อย่างจริงจัง
ขออนุโมทนา แด่ ทุกๆ ท่านที่ เป็นผู้ ตรง ละเอียด และ เปิดใจกว้าง ที่จะรับฟัง
ความคิดเห็นต่างๆ อย่างเป็น กลาง ไม่มีอคติ นะคะ
เป็นกระทู้ที่ดีมากนะครับ ต้องขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ ที่กล้าเสี่ยงโพสต์ ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์มากเลยนะครับ
เพราะอะไร คือคนไทยเราจะยึดติดกับคำว่าหลวงปู่หลวงพ่อ แต่ก็ดีนะ แต่ถ้ามองลึกๆ ลงไปในคำสอนของพระสัพพัญญูแล้ว การที่เราจะ หลุดพ้นหรือนิพพานได้ ก้คือความเข้าใจ หรือ ปัญญา ในภาษาบาลี ไม่ใช่หลวงพ่อหรือหลวงปู่ แต่อยู่ที่ความเข้าใจของเราเอง แต่คำสอนของหลวงปู่หลวงพ่อน่ะดีครับ แต่อย่าลืมว่า หลวงปู่หลวงพ่อไม่ใช่พระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น ปัญญาของใครที่เป็นสัพพัญญูมากกว่ากัน เทียบกันไม่ได้เลย ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ปรินิพพานไปแล้ว แม้คำพูดจากสาวกแม้บางคำไม่ถูกแต่เป็นคำพูดที่ประดิดประดอยให้ดูสละสลวย คนในสมัยต่อๆ มาก็จะเชื่ออย่างปักใจว่าถูกว่าดี แต่คำพูดของพระพุทธองค์ แม้จะพูดให้เชื่ออย่างไรคนก็จะไม่เชื่อ ผมไม่ได้จะชวนท่านเจ้าของกระทู้ทะเลาะนะ แต่นี่คือความจริง ใช่และจริงอยู่ที่หลวงปู่หลวงพ่อท่านแทงตลอดและนิพพานไปแล้ว แต่จริงหรือ ถ้าจริงก็ดีน่านับถือโมทนาด้วย แล้วถ้าไม่จริงล่ะ อย่าลืมปัญญานะครับ แล้วจะมีคำว่า กาลามสูตร ได้อย่างไร
พระพุทธเจ้าท่านย้ำตลอดในกาลามสูตร และปัญญาของพระอรหันต์ กับพระสัพพัญญูก็ห่างกันหลายขุม เทียบกันไม่ได้เลย แล้วในขณะที่คุณยึดติดกับหลวงปู่หลวงพ่อ แต่ทำไมไม่คิดที่จะทำให้เรา เพื่อที่จะเข้าใจให้มากขึ้นๆ โดยการฟัง เมื่อฟังก็ไม่สงสัย และหลุดพ้น แล้วถามว่ายังมีหลวงปู่หลวงพ่ออยู่ไหม เมื่อคุณเข้าใจแล้ว นิพพาน และไม่มีตัวตน โดยไม่มีความเป็นตัวคุณอีกแล้ว หมดสิ้นแล้วสำหรับการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"พุทธคุณ ๙ ประการ" คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการคือ
๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
๙. ภควา เป็นผู้จำแนกธรรม
พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ
๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา
พุทธคุณตามที่นิยมกว่ากันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
๓. พระมหากรุณาคุณ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
แก้ไขครับ
พุทธคุณตามที่นิยมกว่ากันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
๓. พระมหากรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนา ..... ไม่ยึดติดว่าเป็นพระสายไหน จะดีกว่าไม๊ ?
ที่จริงสำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจธรรมะ ย่อมคิดว่ามีการปฏิบัติ มีการมาฟังธรรม มีการไปปฏิบัติธรรม มีสายโน้นมีสำนักนี้ แท้จริงแล้วธรรมะมีอยู่ ปรากฎอยู่ตลอดเวลา ไม่จำกัด กาลเวลา สถานที่ แต่จะรู้หรือไม่ ก็เท่านั้นเอง
กราบสวัสดีทุกๆ ท่านครับ
เมื่อก่อนที่ยังไม่ใด้ฟังการบรรยายธรรมะจากท่านอาจารย์สุจินต์ ผมเองก็ฟังธรรมะจากทุกๆ อาจารย์ทุกๆ คนที่กล่าวธรรมะ ผมจะรับฟังหมด แต่หลังจากใด้รับฟังท่านอาจารย์สุจินต์ เปรียบดังใด้ฟังธรรมจากพระอริยะ เกิดความเข้าใจในเหตุและผล ละเอียดลึกซึ้ง กล่าวคำหลังไม่ขัดกับคำหน้า แสดงธรรมะใด้อย่างไพเราะ มีข้ออุปมาเทียบเคียงให้เข้าใจใด้ดีมาก เมื่อมีความเข้าใจในธรรมะ ก็จะเกิดพิจารณาไตร่ตรองเลือกเฟ้นธรรมะที่เหมาะสมกับตนว่าควรฟังธรรมะจากผู้ใด ก็ขอจบเพียงแค่นี้ก่อน
ขออนุโมทนา ..... ไม่ยึดติดว่าเป็นพระสายไหน จะดีกว่าไม๊ ?
ธรรมคือธรรม ธรรมไม่มีสายไหน มีแต่ความเข้าใจและไม่เข้าใจค่ะ
เป็นหัวข้อน่าสนใจ "ธรรมะมีอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่รู้" "ธรรมะไม่มีสายไหน"
ขออนุโมทนาในหัวข้อสนทนา กราบนอบน้อมท่านอาจารย์
คำถามและคำตอบของกระทู้ เป็นประโยชน์ในการศึกษาธรรมมากครับ การแสดงความเห็นโดยไม่แสดงถึงอารมณ์ต่างๆ ก็เป็นเครื่องแสดงถึงสภาวะจิตของผู้นั้นๆ อนุโมทนากับทุกๆ ความเห็นทำให้เกิดความเข้าใจหัวข้อที่ยกขึ้นแสดงด้วยดี สาธุ
ขออนุโมทนา
สวัสดีทุกๆ ท่านที่ใฝ่ในธรรม ดิฉันเพิ่งสมัครเข้ามาที่นี่ค่ะ
หากเราชอบที่จะฟังอ่านและสนทนนาเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้าและพยายามฝึกปฏิบัติด้วย แบบสติปัฏฐาน 4. มีคนบอกดิฉันว่า อย่าทำสมาธิหรือเดินจงกลมให้มากนัก ให้ถอยออกมา ให้ฝึกตามรู้ดีกว่า เพราะทำสมาธิมากเหมือนก้อนหินทับหญ้า. เราควรทำอย่างไรดีคะ
เรียนความเห็นที่ 60 ครับ
ควรเริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจ แม้แต่การตามรู้ ก็ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ... ควรเริ่มต้นอย่างไร
ถ้าคุณ bannk มาหยอดกระทู้ไว้แล้วไปเลย ก็น่าเสียดายความเข้าใจธรรมอันจะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อยจากความเห็นที่ตามมาครับ อนุโมทนากับผู้ใฝ่ในธรรม (ที่ถูกต้อง) ทุกท่านครับ
ขอโทษทุกท่านก่อนนะครับที่ไม่ได้เข้ามา ได้อ่านแล้วผมกับตำหนิตัวเอง เหมือนไปยกชื่อลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เช่น หลวงปู่มั่น หลวงตาบัว หลวงพ่อชา (ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้เกี่ยวด้วย) มายกข่มกับ ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน คือครูบาอาจารย์ที่ท่านยกคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกแล้วได้ฟังทุกท่านอธิบายแล้ว ก็รู้สึกพลอยสงบร่มเย็น ที่เห็นทุกๆ ท่านอธิบายเหตุผลต่างๆ ด้วยธรรมจริงๆ ไร้อคติ ทำให้ผมรู้สึกอีกว่า เราทุกคนก็เป็นสาวกเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งนั้น เรามีพระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ใหญ่ มีพุทธสาวก ทั้งในยุคพุทธภูมิ และสาวกภูมิ เรามีพุทธบริษัท รวมๆ แล้วก็คือหนึ่งเดียวกัน เนื้อเดียวกัน แต่วิธีการสอนธรรม อาจจะใช้ภาษาแตกต่างกัน แต่ทุกส่วนล้วนมุ่งเพื่อให้เกิดความสงบ ปัญญา รู้แจ้ง แทงยอดออกตลอด สู่ผลนิพพาน ทุกท่านครับ
ขออนุโมทนากับสหายธรรม ทุกๆ ท่าน ทุกๆ ความเห็นด้วยครับ
ต่อไปนี้ผมจะพูดจาอะไรออกไป จะต้องนึกคิดตึกตรองให้ดีก่อนครับ
เรียนความเห็นที่ 64 ครับ
เมื่อเรากล่าว่า เรามีพระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ใหญ่ด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ก่อนปรินิพพานว่า เมื่่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอจงมี พระธรรม เป็นศาสดาแทนพระองค์ ดังนั้น พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ตามพระไตรปิฎก นั่นเอง ที่เป็นศาสดา และ เป็นหลักความถูกต้อง เราจึงไม่กล่าว่า ใคร บุคคลใด แต่ คำสอนใด ที่สอนตรงตามพระไตรปิฎก ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คำสอนนั้น ถูกต้อง คำสอนใดที่สอนไม่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คำสอนนั้นไม่ถูกต้อง และ จะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนนั้น ถูกต้อง หรือ ไม่ถูกต้อง ไม่ได้อยู่ที่ความคิดนึกของ เราเองมาตัดสิน ไม่ได้อยู่ที่สมัยนิยม คนส่วนมากยกย่องนับถือ แต่ สิ่งที่ตัดสินความ ถูกต้อง คือ พระธรรมวินัย คือ พระไตรปิฎกนั่นเอง ซึ่งผู้ที่ละเอียด และจะได้สาระคือ ไม่เชื่อ หรือ เชื่อทันทีว่าคำสอนใดถูกต้อง แต่ต้องตรวจสอบด้วยปัญญาของตนเอง ด้วยการศึกษาพระธรรม ตามพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะคำว่า สาวก แปลว่า ผู้ที่สำเร็จการฟัง คือ ฟังพระธรรมคำสอนจากพระพุทธเจ้า ที่แสดงตรงตาม พระไตรปิฎก ครับ เพราะฉะนั้น ตัวเราเองจะได้สาระ ความเห็นถูกในพระธรรม ก็ต้อง มีพระธรรมเป็นที่พึ่งไม่ใช่มีบุคคลใดเป็นที่พึ่ง เพราะพระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์
ควรที่จะศึกษาธรรม เป็นสำคัญ ก็จะเข้าใจถูกว่าหนทางใดถูก หนทางใดผิด เพราะ แม้จะกล่าวว่า มุ่งไปสู่การดับกิเลสเหมือนกัน นั่นคือ กล่าวถึงผล แต่ถ้าเหตุไม่หมือนกันแล้ว เหตุที่ต่างกัน จะทำให้ถึง จุดหมายเดียวกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย ครับ พระธรรม จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาด้วยตนเอง มีพระไตรปิฎก เป็นต้น ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้า ๓๓๗
๕.กาลามสูตร
ว่าด้วยมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงแปล
.....ครั้นหมู่ กาลามชนชาวเกสปุตตนิคมนั้นนั่งเป็นปกติแล้ว จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มาถึงเกสปุตตนิคมนี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดแสดงแต่ถ้อยคำของตนเชิดชูให้เห็นว่า ดีชอบควรจะถือตามถ่ายเดียว พูดคัดค้านข่มถ้อยคำของผู้อื่น ดูหมิ่นเสียว่าไม่ดีไม่ชอบ ไม่ควรจะถือตาม ทำถ้อยคำของตนให้เป็นปฏิปักษ์แก่ถ้อยคำของผู้อื่น ครั้นสมณพราหม์พวกหนึ่งอื่นมาถึงเกสปุตตนิคมนี้อีก ก็เป็นเหมือนพวกก่อน เป็นอย่างนี้ทุกๆ หมู่ จนข้าพระองค์มีความสงสัย ไม่รู้ว่าท่านสมณะเหล่านี้ ใครพูดจริง ใครพูดเท็จดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ควรแล้วท่านจะสงสัย ความสงสัยของท่านเกิดขึ้นแล้วในเหตุควรสงสัยจริง
ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา
อย่าได้ถือโดยลำดับสืบๆ กันมา
อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินอย่างนี้ๆ
อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา
อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา
อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน
อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ
อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันลัทธิของตน
อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา
เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล
ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น....
ขออนุโมทนา
อนุโมทนาครับคุณ paderm พระอาจารย์ที่ผมกล่าวถึง และ คณาจารย์ในบ้านธรรมะ ก็ล้วนแล้วแต่เรียนพระธรรม มาจากพระไตรปิฎก ด้วยกันทั้งสิ้นครับ มีแต่ผมที่ศึกษาธรรมะไม่ดีพอ แล้วไปกล่าวอ้างอย่างนั้นดีกว่า อย่างนี้ ทั้งๆ ที่ชื่อที่ผมกล่าวถึงท่านก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย ขอบคุณสำหรับข้อความที่ชี้แนะเพิ่ม ด้วยนะครับ "ว่าเรามีพระไตรปิฎกเป็นหลัก หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพระธรรม จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาด้วยตนเอง มีพระไตรปิฎก เป็นต้น ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา""
ขอร่วมอนุโมทนาอีกครั้งครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านนะครับ โดยเฉพาะท่านอาจารย์ทุกท่านของบ้านธัมมะที่นำเสนอความจริงจากการศึกษาพระธรรมขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าให้กระผมได้รับทราบครับ เพราะแต่ก่อนฟังแต่ธรรมของหลวงปู่นั้นหลวงพ่อนี้จนกระทั้งบดบังพระพุทธเจ้าไปหมดแล้ว ฉะนั้นมีแต่พระธรรมกับวิันัยเท่านั้นที่เป็นตัวแทนขององค์พระศาสดา ขอให้ความเห็นถูกนี้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
ฃออนุโมทนาสาธุกับบ้านธัมมะครับ
ข้อความในปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกะ อรรถกถาโลภสูตร ความว่า
"ความภักดีในพระผู้มีพระภาคเป็นความภักดีของผู้เลื่อมใสมั่นคงยิ่ง อันใครๆ จะเป็นสมณพราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม ก็ลักไปไม่ได้ เป็นความจริง บุคคลผู้ภักดีเหล่านั้น แม้ตนเองจะต้องเสียชีวิต ก็จะไม่ยอมทิ้งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าหรือคำสั่งสอนของพระองค์ ก็เพราะต่างมีความภักดีอย่างมั่นคง"
"ทั้งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ภควา เพราะทรงมีคนภักดีอย่างมั่นคง เพราะพระองค์ทรงมีปกติแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทั้งนี้ เพราะพระมหากรุณาบารมีที่ทรงใคร่ครวญที่จะทรงแสดงธรรม ให้สัตว์ทั้งหลายบรรลุถึงความมั่นคงในศีล ในสมาธิที่สงบจากกิเลส และในปัญญา พระองค์จึงทรงได้รับความภักดีอย่างจริงใจจากพุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ทรงได้รับความภักดีโดยมอบถวายปัจจัย ไทยธรรมทุกสิ่ง ทั้งดอกไม้ ธูปเทียน ของหอม เครื่องสักการบูชา"
เพราะฉะนั้นสมัยนี้ก็น่าคิดว่า เราภักดีต่อพระพุทธองค์จริงๆ หรือว่าภักดีต่อภิกษุบุคคล เป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะเหตุว่าถ้าเป็นการภักดีต่อพระพุทธองค์แล้ว ก็ต้องศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ อบรมเจริญปัญญา เพื่อละคลายอกุศลของตนเอง ตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
แต่ว่าถ้าภักดีต่อภิกษุบุคคล แล้วไม่สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญาได้ การภักดีต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นภิกษุบุคคลหรือฆราวาส เพียงเพื่อเราหวังจะได้ ลาภบ้าง ยศบ้าง ตำแหน่งบ้าง หรือ แม้กระทั่งหวังจะได้บุญ จะได้อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ได้สมาธิ หรือไปจนกระทั่งได้นิพพาน โดยไม่สามารถที่จะเกิดปัญญาที่จะเข้าใจพระธรรมจริงๆ แล้ว ก็น่าพิจารณาว่า เราเป็นผู้ที่ภักดีอย่างมั่นคงในพระอรหันตสัมสัมพุทธเจ้า จริงหรือ?
(เป็นข้อความบางตอนที่ตัดและปรับมาจากเรื่อง เริ่มด้วยความเข้าใจ)
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไกลจากกิเลส
ขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ขอถึงซึ่งพระธรรมเป็นทีพึ่ง ขอถึงซึ่งพระสงฆ์สาวกเป็นที่พึ่ง จักถึงได้ต้องด้วยการฟังธรรม จากคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะธรรมะที่ทรงแสดงแล้ว ตรง เป็นความจริงซึ่งไม่เปลี่ยนแม้เวลาจะแปรเปลี่ยน สอดรับกันตลอดทุกช่วงเวลาสถานที่ที่ทรงแสดง เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ ด้วยพระปัญญา พระวิสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ ก็เลิศกว่าใครในโลกแล้ว แล้วจะอ้อมไปทางอื่นไปใย แม้แต่เทวดายังต้องฟังพระธรรม แม้ไม่มีผู้ใดแสดงธรรมมะเลย แต่ธรรมมะ ก็ยังเป็นธรรมมะ เคยมี กำลังมีและมีต่อไป แต่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงให้รู้ว่าทุกสิ่ง ล้วนต้องเกิดจากปัจจัย และดับไปไม่มั่นคง เป็นทุกข์ถ้าท่านผู้รู้ไม่ทรงพระกรุณาแสดง สังสารวัฏฏ์ย่อมเป็นที่ท่องไปไม่จบสิ้น เพียงแค่นี้ก็ควรแล้วที่จะต้องศึกษาไป ฟังไป ฟังไปสะสมไป เพราะเห็นคุณ
กราบอนุโมทนาด้วยครับ
คำถามและคำตอบที่ได้อ่านมา มีประโยชน์ต่อผมและได้แก้ไขความสงสัยที่ผมเคยมีอยู่พอดี ขอชื่นชมยินดีด้วยความเต็มใจครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านค่ะ
Adumotana ka
ขออนุโมทนา...ท่านธุลีพุทธบาท ท่าน paderm และอีกหลายๆ ท่าน อธิบายได้แจ่มแจ้งยิ่งนัก
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอความรู้ท่านผู้รู้ช่วยตอบ เรื่องที่มีผู้แสดงไม่ให้กราบไหว้พระพุทธรูปหรือ แสดงกริยาไม่สมควรกับองค์พระพุทธรูป ซึ่งมีเพื่อนๆ ถามมาแต่ก็ไม่สามารถให้คำตอบกับเขาได้ชัดเจน นอกจากเจตนาที่เป็นพุทธานุสติ และในพระไตรปิฎกแสดงไว้อย่าง
ขอขอบพระคูณผู้ให้ความรู้ทุกท่าน
(สัมมา สมาชิกใหม่)
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺสฺส ฯ (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)
----------
เรียน คุณ summaa ในความคิดเห็นที่ 84 ครับ.
หากเขาแสดงความเห็นว่า การกราบไหว้บูชาพระพุทธรูป เป็นการกราบไหว้ อิฐ หิน ปูน ทราย ซึ่งไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ เป็นการกระทำของคนเขลา ซึ่งเพียงยึดติดใน วัตถุ ที่เป็นรูปเคารพ เราสามารถอุปมาให้เขาเข้าใจชัดเจน ดังนี้ ครับ
ธรรมดา บุตร ย่อมกราบไหว้บูชา มารดา บิดา ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่ง มารดา บิดา ก็ประกอบไป ด้วย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก มันสมอง ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปธรรมที่มาประชุมกันเป็นส่วนต่างๆ ของ ร่างกาย ที่ไม่ต่างอะไรไปจาก อิฐ หิน ปูน ทราย ที่ก่อสร้างเป็นพระพุทธรูปเลย ดังนั้น เมื่อ บุตร กำลังกราบไหว้บูชา มารดา บิดา ที่ยังมีชีวิตอยู่ เขากำลังกราบไหว้บูชาในอะไร?
คำตอบ คือ บุตร ไม่ได้กราบไหว้บูชารูปวัตถุ ที่เป็นส่วนต่างๆ ของร่างกาย มารดา บิดา แต่กำลังกราบไหว้บูชา "พระคุณ" ของมารดา บิดา ด้วยจิตใจที่ ผ่องใส สะอาด เป็นกุศล ที่ มีความเคารพนอบน้อม อ่อนโยน ต่อผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกทางกาย วาจา ที่งดงาม ตรงกันข้ามกับจิตใจที่กระด้าง สำคัญตน อันเป็นอกุศล แม้ฉันใด
การกราบไหว้บูชา พระพุทธรูป โดยน้อมระลึกถึง "พระพุทธคุณ" ด้วยจิตใจที่เลื่อมใส จึง ไม่ใช่เพียงการยึดติดวัตถุ หลงกราบไหว้ อิฐ หิน ปูน ทราย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเขา กำลังกราบไหว้บูชา พระพุทธคุณ ซึ่งเป็นคุณความดีของผู้ที่ประเสริฐสุด ครับ
แม้ว่าในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงอนุญาตให้มีการสร้างพระพุทธรูป เพราะ พระองค์ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ แต่ก็ทรงแสดงว่า "เจดีย์" หรือสิ่งอันควรบูชา เพื่อน้อม ระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัยมี ๓ ประการ คือ
๑. ธาตุเจดีย์ ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุ
๒. ปริโภคเจดีย์ ได้แก่ สถานที่ หรือ สิ่งที่เป็นเครื่องบริโภคใช้สอยของพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ บาตร จีวร บริขาร ของพระผู้มีพระภาค เป็นต้น
๓. อุทเทสิกเจดีย์ ได้แก่ สิ่งที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แต่เป็นสิ่งที่มีผู้ สร้าง แล้ว "อุทิศ" เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้า เช่น พระปฏิมา (พระพุทธรูป) ธรรมจักร ภาพเขียน เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยให้ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
ดังนั้น พระพุทธรูป จึงเป็น "เจดีย์" ประการหนึ่งในพระพุทธศาสนา ที่ควรค่าแก่การบูชา เพราะมีผู้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการน้อมระลึกถึงพระคุณของพระองค์
เปรียบเหมือน มีบุคคลผู้ปรารถนาดีถ่ายภาพของ มารดา บิดา ไว้ แล้วอุทิศให้เป็นสมบัติ ของมารดา บิดา ต่อมาบุตรที่ไม่ฉลาดมาพบภาพนี้เข้า โดยไม่รู้เลยว่า ภาพนี้มีผู้ "อุทิศ" ให้เป็นสมบัติของ มารดา บิดา แล้ว กลับกล่าวว่า ภาพนี้ไม่ใช่ตัวของ มารดา บิดา เรา จริงๆ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการดู หรือ เก็บรักษาภาพนี้ไว้ เราจะเผา ทำลายภาพนี้เสีย เพื่อไม่ให้ใครยึดติด เข้าใจผิดได้ว่า ภาพนี้ คือ ตัวของ มารดา บิดา เราจริงๆ แม้ฉันใด
เมื่อมีบุคคลสร้างพระพุทธรูปขึ้นด้วยกุศลจิต แล้วอุทิศเป็นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อ เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธคุณ แต่มีพุทธบริษัทบางกลุ่ม ทำการลบหลู่ ทุบตี เผา ทำลาย โดยให้เหตุผลว่า พระพุทธรูปไม่ใช่พระพุทธเจ้าจริงๆ ก็ฉันนั้น ครับ
การแสดงออกอย่างนั้น เป็น "กุศล" หรือเป็น "อกุศล"? เป็นสิ่งที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงสรรเสริญ หรือทรงติเตียน? ผู้ที่ศึกษาพระธรรม เข้าใจในเหตุผล รู้ความแตกต่าง ระหว่างจิตใจที่อ่อนโยน เคารพนอบน้อม เลื่อมใส ในคุณความดีของผู้ที่มีพระคุณ ซึ่งเป็น กุศลจิตแตกต่างจากจิตใจที่หยาบกระด้าง สำคัญตน หรือ ประทุษร้าย ทำลาย ด้วยความ ไม่พอใจซึ่งเป็นอกุศล ย่อมพิจารณาได้ ตามความเป็นจริง ว่าอะไรควรทำ และอะไรไม่ควร ทำ ครับ ถึงแม้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่ตรัสให้มีการสร้างพระพุทธรูป โดยตรง แต่ก็ ทรงแสดงเรื่องเจดีย์ซึ่งปรากฏในอรรถกถา และความละเอียดของจิตประเภทต่างๆ ไว้ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้พิจารณาโดยแยบคาย ครับ
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.
ชื่นใจจริงๆ ครับ ผมอ่านความคิดเห็นของหลายๆ ท่าน แล้ว นี่คือ กัลยามิตรที่แท้จริงเลยครับปัญญาก็กำลังงอกงามในใจของแต่ละท่าน
ขออนุโมทนาครับ
ดิฉันจะคิดอย่างที่เข้าใจจากการศึกษานะคะ พระสงฆ์ท่านเดินธุดงค์นั้นเพื่อหาที่สัปปายะ
บางรูปก็ปฏิบัติแบบสมถยานิก คือ ทำฌานก่อนแล้วค่อยมาวิปัสสนาภายหลังจากได้ฌานแล้ว
หากผู้ที่ปฏิสนธิด้วยติเหตุ ย่อมทำฌานได้ แต่เป็นผู้ปฏิสนธิด้วยทวิเหตุ ก็ทำให้จิตมีสมาธิดีสามารถวิปัสสนาได้ดี
เพราะขณิกสมาธิก็ไม่ใช่สมาธิเบสิคที่เราทำงานทำการทางโลกไม่ใช่ระดับแค่นั้นนะคะ
มันต้องมีกำลังมากกว่าปกติแน่นอนจึงจะเข้าสู่วิปัสสนาได้ดี แต่เรียกขณิกสมาธิเพราะชั่วครู่เท่านั้น แต่สมาธิต้องมากกว่าปกติแน่นอนค่ะ
พระสงฆ์ท่านจึงเห็นว่า สมถกรรมฐานก็มีความสำคัญ และจำเป็นต้องหาที่สงบ พระสงฆ์จึงปลีกตัวออกจากสถานที่ที่วุ่นวาย ธุดงค์รักษาศีล เจริญภาวนาในป่า
การเดินธุดงค์เหมาะเฉพาะกับบางรูปเท่านั้น แต่พระสงฆ์บางรูปท่านก็ไม่จำเป็นต้องธุดงค์เดินป่า เพราะท่านอยู่ที่ไหน กุศลท่านก็เจริญได้ ไม่จำเป็นต้องไปลำบากเดินธุดงค์ แต่บางท่านก็ต้องลำบาก ไม่เช่นนั้นท่านก็จะไหลไปตามอารมณ์ที่พบเจอ ขึ้นอยู่กับจริตของพระสงฆ์แต่ละรูปด้วยค่ะ บางรูปออกธุดงค์ก็ได้เห็นธรรม ได้ทำให้กุศลของท่านเจริญขึ้น ก็จะได้เข้าถึงธรรม ทำให้เจริญขึ้นกว่าอยู่ในวัดหรือสำนัก แต่บางรูปท่านไปธุดงค์แบบไม่มีความเข้าใจตั้งแต่เริ่มเดินทาง ท่านก็อาจจะไม่ได้ทำให้การธุดงค์ในครั้งนั้นทำให้กุศลเจริญขึ้นกลับจะทำให้อกุศลเจริญขึ้นแทน แต่บางรูปไปแบบตามๆ กันไป แต่อาจจะได้เห็นสภาวตามความเป็นจริงขึ้นมาก็ได้ ทำให้ท่านไปธุดงค์แล้วกุศลเจริญขึ้นเข้าใจการปฏิบัติได้รู้เห็นสภาวะตามความเป็นจริง
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรตายตัว ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในการกระทำว่า วัตถุประสงค์คืออะไร ในคาถาออกจากสังสารวัฏฏ์ ก็กล่าวถึง ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทางให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ ก็กล่าวถึงการธุดงค์และ ศีล สมาธิ ปัญญา จนทำให้มรรคญาณเกิด ผลญาณเกิด
ในขณะนี้ไม่มีพระอรหันต์เป็นอาจารย์ที่รู้จริตของแต่ละคนว่าใครควรจะทำอย่างไรต่อไป ทุกคนก็ต่างต้องแสวงหาทางของตนเอง จึงควรเริ่มศึกษาปริยัติให้เข้าใจและปฏิบัติไปตามครูอาจารย์ชี้แนะ การศึกษาก็ควรศึกษาจากแหล่งที่สอนจริงจังเป็นระบบค่ะ เพราะจะได้เข้าใจได้เป็นขั้นเป็นตอน ลำดับความเข้าใจได้ถูกต้องและลึกซึ้ง
เรียนความเห็นที่ 96 ครับ
ผู้ที่ได้ฌาน พร้อมกับการบรรลุธรรม หมดไปตั้งแต่ถึงพันปีที่ 2 แล้ว ครับ ดังนั้น สมัยนี้จึงไม่ใช่ฐานะที่จะอบรมฌาน พร้อมกับการเจริญวิปัสสนา ส่วนเรื่องสมถ เรื่องสมาธิ
เชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ ครับ
ถ้าไม่มีสมาธิที่ตั้งมั่นดีก่อน แล้วจะระลึกรู้สภาพธรรม ได้อย่างไร?
ขออนุโมทนา
ความคิดเห็นที่ 65 paderm วันที่ 14 ก.ค. 2555 21:56
ท่านผู้เจริญในธรรม... พระธรรมที่ท่านกล่าวในพระไตรปิฎกนั้น... ทั้งอรรถ และพัยญชนะ ทั้งหมดในพระไตรปิฎกนั้น... พระธรรมนั้น... ใช่ถูกต้องทั้งอรรถ และพัยญชนะ ในพระธรรมอันเป็น อกาลิโก ดั่งที่ พระตถาคต ได้บรรลือสีหนาทในสมัยพุทธกาล... หรือ ในพระธรรมอันเป็น อกาลิโก ทรงบัญญัติด้วยปัญญาของ พระตถาคต ได้บรรลือสีหนาทในสมัยพุทธกาล... ว่าเป็น... สัพพัญญู... รู้แจ้งแห่งโลกธาตุนี้
เหตุให้ศาสนาเจริญ
ภิกษุ ท. ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. ๔ ประการอะไรบ้างเล่า? ๔ ประการ คือ :-
(๑) ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัย อันถูกต้องเช่นนั้น ภิกษุ ท. ! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๒) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเป็น คนว่าง่าย ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย อดทน ยอมรับคำสั่งสอนโดยความเคารพหนักแน่น ภิกษุ ท. ! นี่เป็น มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๓) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหูสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาด ผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป ภิกษุ ท. ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๔) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุผู้เถระ ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่มีจิตตกต่ำ ด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ มุ่งหน้าไปในกิจ แห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง พวกภิกษุที่บวชในภายหลัง ได้เห็นพระเถระเหล่านั้น ทำแบบฉบับเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาเป็นตัวอย่าง, พวกภิกษุ รุ่นหลัง จึงเป็นพระที่ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติ ย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่มีจิตตกต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ มุ่งหน้าไปในกิจแห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารถความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
ภิกษุ ท. ! นี่เป็น มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. ภิกษุ ท. ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมทำ ให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไปเลย. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๘/๑๖๐.
เหตุให้ศาสนาเสื่อม
ภิกษุ ท. ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ ที่ทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. ๔ ประการอะไรบ้างเล่า? ๔ ประการคือ :-
(๑) ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุเล่าเรียนสูตร อันถือ กันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด; เมื่อบทและ พยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๒) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเป็น คนว่ายาก ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็น คนว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๓) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหูสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เอาใจใส่ บอกสอนใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ ; เมื่อท่าน เหล่านั้นล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลายก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๔) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุชั้น เถระ ทำการสะสมบริกขาร ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่ง วิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวกเถระเหล่านั้นทำ แบบแผนเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาไปเป็นแบบอย่าง จึงทำให้เป็น ผู้ทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่ง วิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง ตามกันสืบไป.
ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้พระ สัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. ภิกษุ ท. ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้แล ที่ทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
พระธรรมที่ท่านกล่าวในพระไตรปิฎกนั้น... อรรถกถา (อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎก ของโบราณจารย์ที่ได้ไขความในพระไตรปิฎกไว้ เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนา ที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลาย ในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา
คัมภีร์อรรถกถา แต่งโดย พระอรรถกถาจารย์ ซึ่งมีเป็นจำนวนหลายท่านมาก และอรรถกถาจารย์ได้แต่งหนังสืออรรถกถาอธิบายไว้หมดครบทั้งหมด ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาเป็นหนังสือที่แต่งอธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎก ให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ๆ บ้าง ยกข้อความ หรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง[1] เป็นหนังสือที่มีอุปการะแก่ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกรุ่นหลังๆ เป็นอย่างยิ่ง นี้เป็นเนื้อร้ายในพุทธศาสนา ที่รอคอยเวลา เป็นเครื่องมือให้ผู้ปฎิบัติที่ด่วนได้... และไม่เข้ถึง ความหมายนัยอันลึกซึ้งแห่งพระพระสัทธรรม
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด เพราะเข้าใจว่าพระธรรมในพระไตรปิฎกนั้น... ใช่ถูกต้องทั้งอรรถ และพัยญชนะ ในพระธรรมอันเป็น อกาลิโก ดั่งที่ พระตถาคต ได้บรรลือสีหนาทในสมัยพุทธกาล... ในพระธรรมอันเป็น อกาลิโก ทรงบัญญัติด้วยปัญญาของ พระตถาคต ได้บรรลือสีหนาทในสมัยพุทธกาล... ว่าเป็น... สัพพัญญู... รู้แจ้งแห่งโลกธาตุนี้ และถูกถ่ายถอดโดย ภิกษุที่ประพฤติตนชอบปฎบัติตนดี อันเป็นที่ชอบใจ ในเหล่าพุทธบริษัท ที่แวดล้อม ภิกษุ อาวาสนั้นอยู่ ได้จดจำข้อธรรมนั้นไว้ ว่า... ใช่ถูกต้องทั้งอรรถ และพัยญชนะ ในพระธรรมอันเป็น อกาลิโก ดั่งที่ พระตถาคต ได้บรรลือสีหนาทในสมัยพุทธกาล... หรือ ในพระธรรมอันเป็น อกาลิโก ทรงบัญญัติด้วยปัญญาของ พระตถาคต ได้บรรลือสีหนาทในสมัยพุทธกาล... ว่าเป็น... สัพพัญญู... รู้แจ้งแห่งโลกธาตุนี้
ท่านผู้เจริญในธรรม... ด้วยเหตุ... ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ด้วยปัญญาของ พระตถาคต ได้บรรลือสีหนาทในสมัยพุทธกาล... ว่าเป็น... สัพพัญญู... รู้แจ้งแห่งโลกธาตุนี้ ท่านได้กล่าวไว้เมื่อ 2600 ร้อยปีก่อนว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของ กษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลอง อานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) . ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลาย คราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลอง หมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น; ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่าย อนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ย หูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่ง ขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละ สลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่า วอยู่; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของ ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้น มากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่า เรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้ เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้, ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่ มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่; จัดเป็น บริษัทที่เลิศแล. (ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๕ ๒, พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๐/๙๒/๒๙๒)
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้ คนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกัน แล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้ง มรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค) . ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่าง กัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุ ผู้ปัญญาวิมุตต์. (อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๗ ๒๑, พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๑๗/๘๑/๑๒๕)
อปริหานิยธรรม (ข้อ ๓) ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทาน ศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น. (ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๐๖, พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๓/ ๒๑/๒๑)
ขออนุโมทนา ในการแลกเปลี่ยนข้อศึกษาในพระสัทธรรม ใช่ที่ถูกต้องทั้งอรรถ และพยัญชนะ ในพระธรรมอันเป็น อกาลิโก เป็นเหตุปัจจัย ให้ท่านผู้เจริญในธรรม... ได้บรรลุธรรม ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทรงแสดงความเป็น สัพพัญญู... รู้แจ้งแห่งโลกธาตุนี้ ผู้ที่มฤตยู มัจจุราช และมารไปไม่ถึง
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอขอบคุณที่ได้ให้โอกาสรับฟังข้อมูลที่ร่วมสนทนา
เรียนความเห็นที่ 105 ครับ
พระอภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์ ข้อความจากพระไตรปิฎก โดยตรง
ในพระสุตตันตปิฎก กล่าวถึง "พระอภิธรรม" ไว้ด้วย ดังข้อความบางตอนใน มหาโคสิงคสาลสูตร ม. มู. ข้อ ๓๗๔ ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะ ว่า
ท่านโมคคัลลานะ เราจะขอถามท่านว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่างไม้สาละ มีดอกบานสะพรั่งทั้งต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไปท่านโมคคัลลานะป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร.?
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่าท่านพระสารีบุตร
ภิกษุสองรูป ในพระศาสนานี้ กล่าว อภิธรรมกถาเธอทั้งสองนั้น ถามกันและกันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วยและธรรมกถาของเธอทั้งสองนั้น ย่อมเป็นไปด้วยท่านสารีบุตรป่าโคสิงคสาลวัน...พึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานนี้แล.
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ
หากเราชื่นชมใครไม่ว่าในฐานะใหน เราก็จะยกย่องสรรเสริญเป็นธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่ละคนก็จะรู้สึกยกย่องสรรเสริญคนที่ตัวเองชอบใจไม่น้อย ไม่ว่าจะแสดงออกหรือไม่ก็ตาม หากเป็นคนตรง ก็จะเข้าใจไ้ด้ ส่วนใครจะยกย่อง ไม่ยกย่องใคร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ถ้าเขาผุ้นั้นเห็นด้วย เห็นชอบ ชอบใจกับใคร ก็จะยกย่องผุ้นั้น ในทางตรงข้างก็ไม่ยกย่อง และอาจถึงขึ้นตำหนิติเตียนเลยทีเดียว
กราบอนุโมทนาครับ
ด้วยปัญญาอันน้อยนิดของข้าพเจ้า กราบเรียนถามว่า พระไตรปิฎก เกิดขึ้นภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรวจสอบพระไตรปิฏกด้วยพระองค์เอง เรารู้ได้อย่างไรว่าในพระไตรปิฏกซึ่งเรียบเรียงและมีการสังคายนามาหลายครั้งหลายหนตรงตามพระพุทธวจนะของพระพุทธเจ้าโดยไม่มีการเพิ่มเติมให้ความเห็นโดยพระภิกษุผู้ทำการสังคายนา
มิได้เป็นการลบลู่ดูหมิ่นใดๆ เพียงแต่มีข้อสงสัยก็ปราถนาคำตอบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเท่านั้นครับ
เรียนความเห็นที่ 109 ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระไตรปิฎก เป็นพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และ สืบทอดกันมา โดยพระสาวกทั้งหลาย จนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะได้ฟังตามๆ กันมา เป็นต้น นั่นแสดง ว่า อย่าเชื่อ หรือ ปฏิเสธทันที เมื่อได้ยินคำอะไรก็ตาม แต่ จะต้องศึกษา ในสิ่งนั้น ด้วยตนเอง ก็จะรู้ด้วยปัญญาของตนเองว่า จริงเท็จ หรือไม่อย่างไร
ที่สำคัญความสงสัยจะหมดไปไม่ได้เลยในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า พระไตรปิฎก มีจริงหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ และ ถูกต้องหรือไม่ หากผู้นั้นไม่ได้ศึกษา พระธรรมด้วย ตนเองเสียก่อน เมื่อไม่ศึกษา ก็ย่อมสงสัยเป็นธรรมดา แต่หากได้ศึกษาพระธรรมแล้ว เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ย่อมเห็นตามความเป็นจริงว่า พระธรรมของพระพุทธเจ้า เป็น จริงอย่างไร และ ละคลายความสงสัยในพระธรรม เพราะได้ศึกษาพระธรรม และ ปัญญาเกิดแล้วนั่นเอง ครับ
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่
มีชาวพุทธบางส่วนมักกล่าวว่าพระไตรปิฎกไม่ใช่พุทธพจน์100%
ขออนุโมทนา
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
เรียนทีมงานบ้านธรรมมะ
การเคารบนพนอบหรือยกย่องผู้ที่เจริญแล้วในธรรมที่พระพุทธองค์ได้แสดงไว้อย่างถ่องแท้ก็มิได้ผิดไปจากที่เรานับถือยกย่องสาวกในกาลก่อนมิใช่หรือครับ
การศึกษาแต่เพียงปริยัตก็มิต่างอะไรกับเด็กเลี้ยงโคที่มิเคยได้ลิ้มรสน้ำนมโคฉันใดผู้ที่ศึกษาแต่ปริยัตก็มิเคยได้ลิ้มรสพระธรรมฉันนั้น คำกล่าวนี้ดังปรากฎในคำภีมิลินทปัญหาหลังพุทธการ ราว500ปี การยกย่องนับถือผู้บรรลุธรรมหลุดพ้นโลกทุกผู้ไปเป็นบุญและเป็นการน้อมนำหนึ่งในพระรัตนตรัยสู่ใจเรามิใช่หรือครับ
ขออนุโมทนา
เรียนความเห็นที่ 114 ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ก่อน ครับ มีคำตอบอยู่แล้ว แม้แต่คำว่า ปฏิบัติให้เข้าใจ
ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นนะครับ
โดยส่วนตัวของผมเอง ผมสนเพียงว่าผมได้สิ่งใดจากคำสอนที่ผมได้ศึกษา ใครหลายคนอาจเข้าใจในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงเมตตาโปรดสัตว์โลก แต่เชื่อเถอะครับคนที่ไม่เข้าใจยอมมีมากกว่าเป็นแน่แท้ ผมขอเล่ายกตัวอย่างแบบนี้ครับ
ชายผู้เกิดมามีฐานะยากจน เขาเห็นคนรอบๆ เขามีในสิ่งที่เขาเองนั้นยังไม่มี เขาจึงดิ้นรนสู้ทุกอย่างเพื่อให้ตัวเขาเองนั้นได้เป็น ได้มี อย่างคนอื่น จนในที่สุดเขาก็ได้อย่างที่เขานั้นต้องการทุกอย่าง แต่แล้วเมื่อวันเวลาผ่านเลยไปเขาได้คนพบว่า การที่เขามีทุกอย่างนั้น ไม่ได้ทำให้ความทะยานอยากของเขานั้นลดน้อยลงไปเลย มิหนำซ้ำยังทำให้เขาเป็นทุกข์เพราะความหวาดระแวงหวนแหนในสิ่งที่เขามี เพราะความกลัวที่จะต้องสูญเสียมันไป จึงทำให้เขาทุกข์หนักยิ่งกว่าเดิม ในขณะนั้นเองก็ได้เกิดคำถามขึ้นมาใจของเขาว่า...มนุษย์เรานี้แท้ที่จริงแล้วเราเกิดมาเพื่อสิ่งใด...เป็นเหตุให้เขาต้องค้นหาคำตอบอย่างจริงจังจากพระธรรมของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงเพื่อบอกเหตุของการเกิดและวิธีหนทางในการดับสิ่งทั้งปวง
กราบอนุโมทนาครับ
ไม่ควรนั่งสมาธิไม่ว่าตอนไหน เพราะนอกจากไม่มีประโยชน์ และอาจทำให้เสียจิตแล้ว ที่สำคัญคือมันเบียดเบียนเวลาในการศึกษาพระธรรม ชีวิตเราที่อาจจะตายเวลาไหนก็ได้ ไม่ควรสูญเสียไปกับการนั่งสมาธิ ควรเอาเวลา เหล่านั้นมาศึกษาพระธรรมดีกว่า
ท่านอาฬารดาบส และอุทกดาบส หรือพระภิกษุครั้งพุทธกาลนั้นท่านได้ฌานจิตของ แท้ ไม่ใช่คิดนึกเอาเองเหมือนสมัยนี้ ที่คิดว่าตนเองนั่งนิ่งๆ จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ ไม่มีความรู้สึกตัว (เหมือน หลับ) ก็เข้าใจว่านิ่งๆ ไม่รู้อะไรนั้นเป็นสิ่งดี เป็น กุศลจิต
อีกอย่างการอบรมกุศลให้สงบแนบเน่นเป็นสมาธินั้นไม่ใช่ไม่รู้อะไรก็ไปนั่งสมาธิ ชีวิต ประจำวัน ยังแยกสภาพจิตไม่ได้ว่าขณะจิตใดเป็น กุศลจิต ขณะจิตใด เป็น อกุศล จิต ไปนั่งอย่างไรก็เป็นอกุศล ถ้าไม่ใช่โลภะอุเบกขา ก็เป็นโมหะ แค่เห็นของสวยๆ งามๆ ได้ลิ้มรส อร่อย (ขณะนั้นเป็นโลภะโสมนัส คือยินดีอย่างยิ่ง) แล้วก็บอกว่าเป็นโลภะนั้น ขณะนั้นเป็นเพียงคิดนึกตามที่ได้ศึกษามาเท่านั้น ยังไม่ใช่ ขณะที่สติเกิดระลึกรู้ ลักษณะของจิตที่เป็นโลภะ แค่ลักษณะของเมตตาที่เป็นกุศล และลักษณะของความรักที่เป็นอกุศล ก็ปนกันแล้ว อกุศล จิตนั้นเกิดรวดเร็วมาก ทางตาเห็นยังไม่รู้ว่าเป็นอะไรทางใจก็เป็นโลภะแล้ว อกุศล เกิดได้ทั้งทางตา หู จมุก ลิ้น กาย ใจ ปัญญาของผู้ที่สะสมมาอย่างคมกล้า เท่านั้นที่จะรู้ลักษณะของอกุศลจิตขณะที่มันเกิดขึ้นทำหน้าที่ติดข้องในอารมณ์
ผู้จะเจริญกุศลให้เป็นสมาธินั้น ต้องเห็นโทษในความยินดีติดข้องในสี เสียง กลิ่น รส สัมผัส (กามคุณ 5) ไม่ปรารถนากามคุณ5 อีกต่อไป (ด้วยปัญญา) มีอัธยาศัยในการออกบวชจริงๆ (เหมือนภิกษุครั้งพุทธกาล และดาบสในสมัยโบราณ) รู้ด้วยปัญญาว่า สิ่งใด หรืออารมณ์ใด ทำให้กุศลจิตของตนเองเกิดต่อเนื่องกันได้นานๆ และการอบรมเจริญกุศลสมาธิให้ถึงขั้นอัปนาสมาธิ นั้นพันคน หมื่นคน จะสำเร็จเพียง แค่คนเดียวเท่านั้น และผู้ที่ได้อัปนาสมาธิแล้ว พันคน หมื่นคนที่อบรมต่อไป จะได้ฌานจิตก็แค่คนเดียวเท่านั้น ผู้ที่จะอบรมเจริญกุศลให้ถึงขั้นอัปนา ต้องอยู่ในสิ่ง แวดล้อมที่เหมาะสม เช่นเงียบสงบ ง่ายต่อการแสวงหาปัจจัยสี่ ต้องหมั่นดูแลร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม ให้สะอาดอยู่เสมอ เล็บมือ เล็บเท้าต้องสั้น ห่าง ไกลจากสิ่งแวดล้อมและผู้คน ทั้ง สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่จะทำให้อกุศลเกิดได้ง่าย (มีกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สมาธินิทเทส) แต่ฌานจิตไม่สามารถรู้ลักษณะไตรลักษณ์ได้ ฌานจิตไม่ใช่สติปัฏฐาน ชีวิต ประจำวัน ของผู้นั้นมีฌานจิตเกิดบ่อยๆ ท่านจึงมีฌานจิตเป็นอารมณ์ของ สติปัฏฐาน
ส่วนพวกเราถ้าศึกษาพระธรรมเข้าใจพระธรรม เราก็ระลึกที่จิตเห็นบ้าง จิตได้ยินบ้าง กุศล บ้าง อกุศล บ้างใน ชีวิต ประจำวัน สติปัฏฐาน ไม่เกิด ก็เป็น กุศล ขั้นทาน ขั้นศีลก็ได้ อบรมเจริญกุศลทุกประการ ทำดีและศึกษาพระธรรม เพื่อข้ามวัฏฏะทุกข์กันเถอะ อย่าไปทำสมาธิเลย เป็นอกุศลทั้งนั้น ทั้งมิจฉาสมาธิ มิจฉาทิฎฐิ สะสมสิ่งที่ทำให้เรา เหินห่างจากพระรัตนตรัยโดยใช่เหตุจะเอาหรือ
เพราะถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิแล้วแม้เกิดในสมัยที่พุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ (ในอนาคต) มิจฉาทิฏฐิของท่านเองนั่นแหละจะทำให้ท่านไม่พบ พุทธองค์ ไม่ฟังพระธรรม ไม่เข้าหา พระสงฆ์ อันนี้เรื่องจริง ไม่ได้ขู่ให้ใครกลัวโดยไม่มีเหตุผล ไม่ว่านั่งสมาธิอะไรก็ไม่มีประโยชน์ทั้งนั้น ว่ากันตรงๆ เลย เพราะผู้ที่ปัญญาไม่คมกล้า จะแยกขณะจิตของกุศล กับอกุศลไม่ได้ เริ่มต้นผิด ก็จะผิดไปตลอด
เริ่มด้วยอกุศลสมาธิ (มิจฉาสมาธิ) แล้วมันจะกลายเป็นกุศลสมาธิ (สัมมาสมาธิ) ไม่ได้ พระธรรมเท่านั้นที่จะทำให้เราค่อยๆ รู้ความจริง ของ จิต ความจริงของชีวิต และความ จริงของโลก และโลกในวินัยของพระอริยเจ้ามี หกโลก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่สิ่งภายนอกที่เป็นเรื่องเป็นราว เป็น คน เป็นเขา เป็นเรา เป็น สัตว์ เป็น สิ่งของ เข้าใจพระธรรมแแล้วเราจะไม่หลีกหนีความจริง
แต่จะค่อยๆ เรียนรู้ควาามจริงที่เกิดกับเรา ค่อยๆ เข้าใจนามธรรม และรูปธรรมที่เกิดอยู่ที่ กายยาววา หนาคืบ ที่นี่ ตรงนี้ ขณะนี้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่ชีวิตการงาน ชีวิตครอบครัวมีปัญหาก็หาเวลาหนีไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม ไป ปฏิบัติธรรม ไปทำนุ่น นี่ นั่น ก็ไม่ต่างจากผู้ที่ไม่ศึกษาพระธรรมแล้วหนีปัญหาชีวิต , ครอบครัว ไปดูหนัง ฟังเพลง กิน ดื่ม เที่ยว
แต่ที่เลวร้ายที่สุดของผู้ที่หนีปัญหาชีวิตไปปฏิบัติธรรม ไปนั่งสมาธิ ไปฟังสิ่งที่คิดเอา เองว่าเป็นของดีคือเขาเหล่านั้นจะสะสมมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ไปมากมายมหาศาล จนยากที่จะน้อมใจตนเองเพื่อฟังพระธรรมที่แท้จริง (แม้ในอนาคตจะได้พบพุทธองค์) อันตรายอย่างยิ่งของผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนา คือ ความเห็นผิดในพระรัตนตรัย เรื่อง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง เป็น เรื่องเล็กน้อยมาก ถ้าเทียบกับมิจฉาทิฎฐิ ครูทั้งหก ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิแห่งควาามเห็นผิดหกอย่างในครั้งพุทธกาล เวลานี้ก็อยู่ใน นรกโลกันต์ ที่คนโบราณใช้คำว่าไม่ได้ผุด ไม่ได้เกิด ก็คือผู้ที่ตกนรกโลกันต์นี่เอง เพราะจะไม่ได้ผุด ไม่ได้เกิดในสุคติภูมิอีกเป็นเวลาเนิ่นนานจนนับประมาณมิได้ เป็น นรกที่มืดมิด มองไม่เห็นกันเลย หนาวเหน็บ เป็นน้ำกรด หิวโหย สัตว์ในโลกันต์จะ กินกันเองเมื่อเคลื่อนตัวมาถูกต้องกัน เพราะ คิดว่าอีกฝ่ายคืออาหาร สัตว์ในโลกันต์ตายแล้ว ก็จะเกิดในที่เดิมอีกเพราะผลแห่งมิจฉาทิฏฐิที่ตนเองยึดมั่น อย่างเหนียวแน่นสมัยตนเองเป็นมนุษย์ (นิยะตะมิจฉาทิฏฐิ) จะมีแสงสว่างในโลกันต์แค่แวบเดียวเท่านั้นตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วก็จะมืดมิดต่อ ไปจนพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่มาตรัสรู้อีก ก็จะสว่างอีกแวบหนึ่ง
น่าเศร้านะครับ สำหรับผู้ที่มีบุญได้เกิดเป็นคนแล้ว ได้พบพุทธศาสนาแล้ว แต่ไม่ฟัง ธรรม ไม่ทำความดี แต่หนีไปนั่งสมาธิ สะสมมิจฉาทิฏฐิ เพื่อจะได้ไปเป็นสาวกแห่งศาสดามิจฉาทิฏฐิในอนาคต
อนุโมทนายิ่งในทุกท่านที่ "ทำดี และศึกษาพระธรรม"
กราบอนุโมทนา ท่าน อาจารย์ ทุกๆ ท่าน และ คำตอบทุกๆ คำตอบที่เป็นประโยชน์มากๆ ด้วยนะครับ
คำตอบของหลายท่านมีเหตุผลดีมากครับ ไม่เฉพาะแต่คำตอบที่ 1 หรือคำตอบหนึ่งคำตอบใด
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณท่านผู้ตั้งกระทู้และผู้ตอบกระทู้ทุกท่านที่ทำให้เกิดความเข้าใจชัดเจนแก่ผู้ที่ยังอาจสงสัยหรือตัดสินใจไม่ได้ ตอนนี้ก็มีความเข้าใจมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ และทราบแล้วว่าควรทำอย่างไร มีเวลาเหลือน้อยจริงๆ เกินกว่าที่จะไปปฏิบัติอย่างอื่นนอกเหนือจากศึกษาธรรมะขององค์พระศาสดาให้เข้าใจเสียก่อน และมั่นใจว่าอย่างน้อยความเข้าใจนี้ก็จะสั่งสมติดตามไปในชาติต่อๆ ไปค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
อริยสาวกผู้รู้แจ้งตามพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะแนวทางทุกองค์ตั้งแต่พระโสดาบันไปจนถึงพระอรหันต์ รวมอยู่ในพระรัตนตรัยอันมี พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
พุทธศาสนิกชนผู้สะดับประพฤติธรรม ย่อมเคารพ บูชาเป็นปกติอยู่แล้วอย่ากังวลเลย
ผมมีความเห็นว่า
ในส่วนวาทะของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ผมนับถือในฐานะเป็นพระสาวกนั้น เมื่อเทียบกับที่ลูกษิตตีความและพูดบอกต่อกันมานั้น ต่างกับที่ท่านอาจารย์พูดมากบ้างน้อยบ้าง (ความเห็นส่วนตัว) เพราะบริบทและการแสดงธรรมของอาจารย์ต่างๆ ย่อม แตกต่างจากพระพุทธองค์แน่นอน มีจุดอ่อนทั้่งทางภาษา และตรรกะ (ถ้าผมจำไม่ผิด แม้พระอรหันต์สมัยพุทธกาลยังมีความเห็นต่างๆ กันในส่วนข้อธรรมบางประการจนพระศาสดาทรง แสดงถึงได้ข้อยุติ หรือเวลามีคนมาถามปัญหาธรรม บางครั้งพระอรหันต์ท่านก็ตอบ แม้ท่านเป็นอรหันต์ท่านก็ไม่ได้ยืนยัน โดยมากท่านให้ไปทูลถามพระศาสดาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ข้อบกพร่องในคำพูดของสาวกมีได้เป็นธรรดา) ยกตัวอย่างครับ ผมไม่เคยได้ยินอาจารย์ที่ผมนับถือรูปใด กล่าวว่าธรรมทั้งหลายท่านคิดขึ้นเอง ท่านมีแต่พูดว่าท่านศึกษาจากศาสดา และท่านก็จะถ่อมตัว ไม่ได้แสดงว่าท่านเก่งกล้าออกหน้าศาสดาเลย จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านจะพูดบอกสอนว่าไม่ต้องศึกษาพระธรรมเข้าป่าเลยอะไรทำนองนี้ และมีอีกมากมายที่ลูกษิตเอาไปพูดต่อเสียๆ หายๆ ด้วยความหลง พระธรรมไม่ว่าอ่านจากตำรา หรือบอกต่อๆ ทางคำพูด หากเป็นพระธรรมจริงก็เป็นพระธรรม ยกอีกตัวอย่างหนึ่ง กรณีการเจริญสมถภาวนา มีปลิโพธะคือเครื่องขัดขวางหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการศึกษา พออาจารย์จะสอนการทำสมถะกับศิษย์ และสอนให้ละวางการศึกษา ความหมายคือให้ละปลิโพธะ แ่ต่ลูกศิษย์ที่ไม่รุ้เรื่องก็ไปบอกต่อว่า อาจารย์สอนว่าไม่ต้องร่ำต้องเรียนทำนองนี้เข้าป่าเลยทำนองนี้ เลยเข้าป่าเข้าดงกันไปเลย หรือยกตัวอย่างกรณีท่านพระอาจารย์หลวงตาพระมหาบัว ตอนที่ศึกษาอยู่ในสำนักเรียนที่กรุงเทพ ท่านถึงกลับตั้งใจว่าจะศึกษานักธรรมให้ได้ถึงนักธรรมเอก ถึงจะไปออกไปปฏิบัิติในแนวทางของนักบวชและตามอุปนิสัยส่วนตัว ถ้าท่านไม่เห็นความสำคัญของปริยัติท่านคงไม่หมั่นเีพียรรีบเร่งศึกษาจนถึงระดับนักธรรมเอกและเปรียญสาม แต่ก็ขอย้ำว่าคำพูดของพระสาวกมีผิดมมีพลาดได้ หากประสงค์ความแม่นยำ ต้องศึกษาพุทธพจน์ซึ่งปัจจุบันก็ถือว่ามีอยู่ในพระไตรปิฎก คำพูดคำสอนใดค้านต่อพุทธพจน์ก็ละไปเสียก็เท่านั้นเอง จะให้ชัวร์ก็ต้องรู้เองเห็นเองไม่ต้องอาศัยความเชื่ออีกต่อไป
แต่ไม่ต้องพูดถึงสำนักทั่วๆ ไปที่เป็นแบบบ้านๆ ไม่ต้องพูดถึง เพราะแม้สิกขาบทก็ไม่บริสุทธิ์ คำสอนเพี้ยนเพราะตัวผู้สอนปริยัติก็ไม่แม่น วิปัสสนาก็ไม่ได้ทำ ทำก็ทำแบบผิดๆ ด้วยความเข้าใจผิด
ที่น่ากลัวคือ สำหรับคนที่อ่านฟังมาน้อย เมื่อได้ยินว่าคำสอนของอาจารย์นั้นอาจารย์นี้ ก็ไปยึดติดกับคำอาจารย์โดยไม่ได้ตระหนักว่า ธรรมทั้งหลายเป็นสิ่งที่พระศาสดาทรงประกาศ สาวกเป็นเพียงผู้บอกต่อ
ส่วนคำถามของกระทู้นี้ก็ผิดในเชิงหลักการ เพราะคำสอนของสาวกไม่มี สาวกเป็นแต่เพียงผู้บอกต่อ จึงไม่สามารถยกย่องคำสอนของสาวกได้เพราะคำสอนส่วนตัวของสาวกไม่มี
ฐานะพระสาวก
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
นั้นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
ขยายความเพื่อความกระจ่าง
พระพุทธเจ้า : ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
พระธรรม : ธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
พระสงฆ์ : ผู้ประศึกษาและปฎิบัติตามแนวทางที่พระศาสดาของเราเป็นผู้ชี้ทางให้เป็นทั้งผู้เป็นเสขะ (ยังไม่บรรลุ) และอเสขะคืออริยบุคคลบรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบัน กระทั้งสูงสุดคือ พระอรหันต์ ท่านเหล่านั้นแสดงธรรมตามภูมิชั้นของท่านเอง ท่านเหล่านี้บางท่านญานและบารมียังไม่ถึงแต่สามารถท่องจำถ่ายทอดพระธรรมได้อย่างไม่ผิดก็มีคุณแก่เราทั้งหลายมากตัวอย่างพระอานนท์ขณะพระพุทธเจ้าปรินิพพานยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แต่สามารถจำธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าเทศนาให้เราได้ศึกษาดังนั้นผู้ได้สดับถ้ามีปัญญาก็สามารถบรรลุธรรมได้ก่อน ถ้าไม่มีพระสงฆ์สาวกทั้งหลายเราคงหมดโอกาสได้สัมผัสรสแห่งธรรมเป็นพระกรุณาธิคุณหาทีเปรียบไม่ได้เลยธรรมทั้งหลายจะจริงหรือไม่จริงเราประจักษ์ด้วยตัวของเราเอง
สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านที่ได้แสดงความคิดเห็น มา ณ.ที่นี้ด้วยความบริสุทธ์ใจ ครับ.
ผู้ที่มีปัญญามหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ที่สั่งสมอบรมไว้แล้วในพุทธศาสนา มาแต่ปางก่อนเท่านั้น ที่สามารถแยกแยะได้ ว่า สิ่งใดคือพระธรรม สิ่งใดเป็นคำสอนของเดียรถีย์-อลัทชีทุศีล
เพราะผู้ที่มืดบอดทางปัญญาแห่งพุทธะนั้น พร้อมที่จะหลงเชื่อในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ตนชอบใจ พอใจ ต้องการ อยากได้ ด้วยกิเลส ตัณหา ราคะ ที่สะสมมาเนิ่นนานแสนโกฎิ์กัปป์ (ก็ยังน้อยไป)
เนื่องจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย เป็นสิ่งที่ผู้ทรามปัญญาทั้งหลายใฝ่หากันถ้วนทั่ว เป็นสิ่งที่ผู้หลงติดข้องในกามคุณสรรเสริญเยินยอ ว่าเป็นสิ่งดีเลิศ ประเสริฐสุดในชีวิตที่ควรใฝ่หามาปรนเปรอตนเอง ไฉนเล่า ที่เขาเหล่านั้น จะมาเข้าใจคำสอนของพระองค์ ที่สอนให้ละความติดข้อง ยินดีพอใจในสิ่งที่เขาบูชาได้
มนุษย์ในยุคนี้ส่วนใหญ่ไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน เป็นมนุษย์ที่บูชาในกามคุณห้า ติดข้องต้องการมากมาย จนยินยอมทำทุจริตกรรมทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งการ "เลียหยาดน้ำผึ้งที่ติดอยู่บนคมมีดโกน" โดยไม่เห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยเท่าฝอยธุลี ไฉนเล่า จะมาเข้าใจ มรรค ผล นิพพาน วิปัสสนา หรือสติปัฏฐาน เมื่อมีโทสะ ก็ไปแสวงหากามคุณมาปรนเปรอ....
ในยุคนี้จึงยังคงเหลือเพียงบัณฑิตจริงๆ ไม่กี่ท่าน เทียบได้กับเขาโค ส่วนคนพาล คนทุศีล อลัทชีมีมากมายเหมือนขนโค แต่สำหรับภิกษุผู้ครองผ้ากาสาวะเต็มองค์ในยุคนี้ นับว่าเป็นโชคดีของฆราวาสที่เป็นบัณฑิตผู้มีปัญญา ได้น้อมระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยได้ง่ายกว่าในกาลข้างหน้าที่จะมีสัญญลักษณ์ของบรรพชิตเพียงห้อยติ่งหู พันคอ หรือผูกข้อมือ ทำมาหากิน มีบุตร ภรรยา เป็นปกติของภิกษุในกาละข้างหน้า พุทธองค์ทรงเรียกภิกษุที่มีแค่เพียงสัญญลักษณ์ดังกล่าวในกาลข้างหน้าว่า "โคตรภูภิกษุ" แม้กระนั้นบัณฑิตผู้มีปัญญาซึ่งได้ทำบุญกับท่านและน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอย่างถูกต้อง จะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่ง หาประมาณมิได้เลย
ในชีวิตประจำวันถ้ามีความละเอียดจะสังเกตุเห็นได้ว่า อกุศลจิต เกิดมากกว่ากุศลจิต อย่างเทียบกันไม่ได้ เฉกเช่น เขาสิเนรุ กับ เมล็ดพันธุ์ผักกาด... อกุศลจิตแบ่งหยาบๆ ได้เป็น ๒ ประเภท คือ
เบียดเบียนผู้อื่น ๑,
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ๑.....
การล่วงอกุศลกรรมบถทั้งหลาย เป็นอกุศลที่เบียดเบียนผู้อื่น....
ส่วนอกุศลที่ไม่ได้เบียดเบียนใคร เช่น ,ยินดีพอใจในสีสวยๆ เช่นดอกไม้ วิวทิวทัศน์ ทางตา....หลงใหลได้ปลื้มกับเสียงเพลง-ดนตรีทีปรากฏทางหู....ชื่นชมยินดีกับกลิ่น หอมต่างๆ ทางจมูก....ความชอบความต้องการในรส ที่หลายคนยึดติดมากจนต้องเดิน ทางไปไกลๆ เพื่อเสพรสอร่อยทางลิ้น...สุดท้ายคือทางกายที่ทุกคนต้องการความสบาย ไม่ว่าจะเป็นอากาศเย็นสบาย ที่นอนนุ่มๆ ....แต่โลภะโสมนัสนั้นจะเกิดมาก เกิดรุนแรง ที่สุดคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย จากเพศตรงข้ามที่พึงพอใจที่ชอบใจที่ต้องการ เหล่านี้้คือ โลภมูลจิต ที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (โสมนัสเวทนา) ซึ่งผู้ที่เฉลียวใจคิด พอจะรู้ได้บ้างเล็กน้อย ว่าเป็นความติดข้อง ที่ต่างจากขณะอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ความต้องการซึ่งเกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (อุเบกขาเวทนา) ที่เกิดกับโลภมูลจิต หรือโมหมูลจิตที่มีเป็นปกติในกิจการงานที่เราทำในชีวิตประจำวัน
ไม่ว่าจะเป็นการ เคลื่อนไหวมือ-เท้า หยิบจับสิ่งของ ความอยากที่จะทำสิ่งใดก็ตามที่เป็นปกติ เฉยๆ ไม่ได้ ต้องการมากมายอะไร ทำไปวันๆ ทำไปด้วยความเคยชินเป็นอัตโนมัติ รู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึก ตัวบ้างล้วนเป็นความต้องการและเป็นความไม่รู้ในลักษณะของจิตที่เป็นอกุศลทั้งนั้น ไม่รู้ ด้วยซ้ำไปว่าเป็นอกุศล เห็นว่าตัวเองสบายดี วันๆ ก็ไม่ได้คิดคดโกงใคร ไม่ได้ตบยุง ฆ่า มด ไม่ได้โกหกใคร ไม่ได้ดื่มเหล้าเมาสุรา จึงคิดเอาเอง เข้าใจเอาเอง ว่าตัวเองมีกุศลทั้ง วัน พวกที่มีความลังเล ก็บอกว่า ตนเองไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล แต่เป็นกลางๆ แบบอัพ ยากะตะ ความคิดเอาเองเนื่องจากไม่ได้ฟังพระธรรมหรือฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจเหล่านี้ คือ ความเห็นผิดคิดว่าอกุศลเป็นกุศล หรือคิดว่าจิตตนเองเป็นแบบกลางๆ ไม่เป็นทั้งกุศล และ อกุศล....
ต่างจากผู้จะบวชเป็นดาบสฝ่ายกรรมวาทีในยุคที่ว่างจากพุทธศาสนาซึ่งมองเห็น และมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าจิตตนเองนั้นขณะใดเป็นกุศล จิตขณะใดเป็นอกุศล และรู้ตัว ว่าตนเองต้องทิ้งทุกอย่างและบวชเป็นดาบสเท่านั้นจึงจะหนีความติดในทรัพย์สิน เงินทอง หนีความติดในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสทางกายที่ประณีตอันจะยังกิเลสของตนให้เฟื่องฟู และเพิ่มพูนจนเป็นเหตุให้ตนเองประกอบอกุศลกรรมแล้วตกนรก เมื่อบวชเป็นดาบสแล้ว ท่านก็มีปัญญารู้ความจริงในตัวเองต่อไปอีกว่าจิตของท่านจะสงบด้วยกุศลสมาธิถึงขั้น ฌานจิตได้นั้นต้องมีอะไรเป็นอารมณ์ เช่น ปฐวีกสิณ (ธาตุดิน) อาโปกสิณ (ธาตุน้ำ) เตโชก สิณ (ธาตุไฟ) เป็นต้น
ดังนั้นจึงมิต้องกล่าวถึงยุคแห่งความรุ่งเรืองด้วยโลกุตระธรรม (ธรรมอันเหนือโลก) ของพระ ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเอหิภิกขุ (บาตรและจีวรมาพร้อมด้วยฤทธิ์ แค่พระองค์เปล่งวาจาว่า..."เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด") หรือภิกษุขั้นต่ำกว่านั้นคือพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีฤทธิ์ ภิกษุผู้เป็นพระอนาคามี ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน ว่า จะเลิศด้วยปัญญากว่าดาบสยุคว่างจากพุทธศาสนามากมายเพียงใด ยังไม่นับรวมอุบาสุก อุบาสิกา พระอริยะบุคคลขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ซึ่งมีมากมายในครั้ง พุทธกาลทุกสาขาอาชีพ ทั้งพระมหากษัตริย์ ทหาร นักรบ แพทย์ พ่อค้าวานิช ทาส กรรมกร คนรับใช้ แม้คนจัณฑาลเป็นโรคเรื้อนก็เป็นพระอริยะบุคคลได้ (มีแสดงไว้ในพระ ไตรปิฎกคือนาย สุปปะพุทธะกุฏฐิ เมื่อบรรลุแล้วก็หายจากโรคเรื้อน มีผิวพรรณปกติเพราะ อานุภาพแห่งอริยะมรรค)
สำหรับคนสมัยนี้มีโชคดี ที่พระพุทธศาสนายังไม่เสื่อมสูญไป จึงควรใส่ใจศึกษาคำสอน จากพุทธองค์ซึ่งมีค่าหาประมาณมิได้ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เราไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน แค่เพียงเข้าใจเบื้องต้นว่าขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล โดยไม่ใช่คิดเดาเอาเอง หรือคิดเข้าข้างตัวเองว่าตัวเองสบายๆ เป็นกุศลทั้งวัน หรือเป็นกลางๆ ทั้งวัน
พระองค์เน้นเรื่องการฟังพระธรรมเป็นอย่างมาก หลังจากทรงตรัสรู้แล้วทรงแสดงธรรม ตลอด ๔๕ พรรษา ไม่ใช่เพื่อคนในครั้งพุทธกาลซึ่งมีปัญญามากอยู่แล้ว แต่เพื่อคนในยุค หลังๆ เช่นพวกเราๆ ท่านๆ ที่มีปัญญาน้อยนิดนี่แหละ เพราะพระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ว่าพระธรรมจะเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว คนในยุคนี้มีปัญญา น้อย ยิ่งต้องศึกษาให้มาก ศึกษาให้ละเอียด ต้องเพียรมาก ตั้งใจมาก อบรมมาก ฝึกฝนตัว เองให้มากๆ และต้องอาศัยกัลยาณมิตรผู้ที่จะแนะนำเราในสิ่งที่เราอาจจะเข้าใจผิดได้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง...เราต้องไม่ปิดกั้นต้วเองที่จะรับฟังเหตุผลจากพระธรรม จาก กัลยาณมิตรที่แนะนำเราด้วยเมตตา เพื่อความสุขความเจริญของตัวเราเอง ไม่ใช่ใครอื่น
การเข้าใจธรรมะต้องเป็นปัจจุบันขณะ เดี๋ยวนี้ ตอนนี้
ขออนุโมทนา
ท่านสวดมนต์สรรเสริญพระธรรม ที่ว่าปัจจัตตัง วิญญูหิติ ทำไม ไม่รู้แล้วสวดทำไมเพื่อให้คำสวดมาดลบัลดาลให้ท่านได้ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือไร พระศาสนาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเรื่องของการละ ไม่ใช่ได้อะไร ขอให้ตั้งจิตไว้ชอบเช่นนี้
สาธุ
เห็นด้วยครับ เพราะในพระไตรปิฎก กล่าวในทำนองว่า "อย่ามัวแต่สรรเสริญผู้ที่ควรบูชาหรือผู้ที่่สิ้นกิเลสอยู่เลย ควรรีบเร่งทำความเพียรเพื่อให้หลุดพ้นวัฏฏสงสารดีกว่า"
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนากับผู้ที่ได้ ขยายธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้กระผมได้เข้าใจ และขอขอบคุณ บ้านธัมมะที่เป็นสถานทีให้ธรรมมะ และให้ความสว่างให้เกิดขึ้นกับผม ได้เห็นควรในธรรมนั้นๆ ครับ สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ละเอียดและลึกซึ้ง ไม่สาธารณะแก่ชนเป็นอันมาก แต่จะปรากฏแก่ชนผู้ที่ได้สะสมปัญญามาแล้วเท่านั้น ฯ สาธุ ขออนุโมทนา ฯ
ขอพระธรรมจงเจริญ ขออธรรมจงเสื่อมไป ฯ
ผมเปิดมาอ่านพอดี แล้วเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการศึกษาตามพระไตรปิฎก อย่างที่สุด
แต่ผมอยากจะบอกว่า
เราต้องถามตัวเองก่อนว่าเราต้องการอะไร เช่นต้องการนิพพาน ต้องการบรรลุธรรม ขั้นไหน ถ้าสมมติว่าเราต้องการ
- เราต้องการแค่ปฏิบัติขั้นพื้นฐาน รักษาศีล ภาวนา ตามพระไตรปิฎก ผมว่าแค่อ่านตามตำราน่าจะเพียงพอ
- แต่ถ้าต้องการนิพพาน ผมว่าอ่านอย่างเดียว น่าจะยาก เพราะจริตคนเราไม่เหมือนกัน การตัดกิเลส บางคนอาจจะอ่านปุ๊ป บรรลุเลย บางคนมีเรื่องวุ่นวายมากมาย จิตใจยังไม่เด็ดเดี่ยวท่ามกลางกิเลสที่มากมาย ปัญหาที่พัลวัน ต้องใช้ตัวช่วย ในการบรรลุ มันเหมือนกับทุกคนที่อาศัยอยู่ในโลกียะนี่ละ ทำไมเรียนอย่างเดียวแล้วถึงทำงานสู้คนมีประสบการณ์ไม่ได้ ทั้งๆ ๆ ที่จบทั้งมหาลัยชื่อดัง จบปริญญามากมาย แต่ทำไมบริษัทที่ดังๆ หรืออยากได้เงินดีๆ ยังต้องกำหนดกฏเกณฑ์ว่าขอคนมีประสบการณ์ แต่ถ้าบริษัทเล็กๆ เงินเดือนน้อยๆ เค้าถึงไม่ระบุ เพราะว่ามันมีปัจจัยนอกเหนือจากในตำรา บางทีอ่านตำราอย่างเดียวมันไม่เข้าใจ หรือมันยังไม่ถึง ก้อต้องอาศันตัวช่วยในการขัดเกลาฝีมือหรือจิตใจ
* * คนเราถึงต้องบอกว่า ต้องมีครูบาอาจารย์ที่ดี ที่นำทางได้อย่างถูกต้อง แต่โลกเราปัจจุบัน ต้องทำใจว่าครูที่ดี ที่ประพฤติ ปฏิบัติดี นั้นหายาก จะแท้ จะเทียม ปนกันไปหมด ทำให้คนหมดความเชื่อถือพระภิกษุในปัจจุบัน นี่ละคือความจริงของศาสนา ที่ว่า อยู่ได้ 5,000 ปี ตามความเชื่อ ทุกอย่างย่อมมีวันเสื่อม ไปตามกาลเวลา
* * สุดท้ายผมต้องขออภัยถ้าพูดจาไม่เหมาะสม และขอบคุณที่ทางทีมงาน พยายามจรรโลงศาสนาให้คงอยู่แบบถูกต้องยาวนานที่สุด แต่ถ้าเราปลงได้ ก็จะเป็นการดี ทุกอย่างไม่เที่ยง การปล่อยวาง ให้คนได้พิสูจน์ ได้พบเจอสิ่งต่างๆ ๆ บ้าง ซึ่งพระเถระหรือพระอริยสงฆ์ ในอดีต ถ้าท่านสอนไม่ขัดกับพระไตรปิฎก ผมว่าน่าจะเป็นการดีที่นำคำสอนของท่านมาให้ พวกเราได้พิจารณาอย่างแยบคายได้ ซึ่งถ้าบางคนเอาคำสอนของพระที่ไม่แท้มา พวกเราก้อจะได้มีตัวพิจรณาเพิ่มเติม เสมือนเป็นกิเลสตัวนึง ให้เราได้พิจารณาและให้ได้ข้อไขที่กระจ่าง แจ่มแจ้งมากขึ้นครับ
คิดว่าเกิดมา กว่าจะเจอท่านอ.สุจินต์และอ.วิทยากร ซึ่งบรรยายธรรมตามพระไตรปิฏก ได้เป็นเหตุเห็นผล ทำให้ศึกษาเข้าใจขี้น ปัญญาก็เจริญขี้น ปัญญารู้เองว่าจะเชื่อใคร ขอขอบและอนุโมทนาครับ
ต้องเริ่มจากคำถามที่ว่า
"ธรรม คืออะไร"
ตอบ "ธรรมคือสิ่งที่มีจริง"
ถาม "มีจริงขณะไหน"
ตอบ "ขณะนี้"
ถาม "ขณะนี้อะไรมีจริง"
ตอบ "เห็น,ได้ยินเป็นต้น มีจริงขณะนี้"
ถาม "เห็น,ได้ยิน คืออะไร"
ตอบ "เห็น,ได้ยินคือ จิต"
ถาม "จิต เกิดดับไหม"
ตอบ "จิต เกิดดับ" (รวดแร็ว-ลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ)
ถาม "เมื่อจิต เกิดดับรวดเร็วควรหรือที่จะยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเรา"
ตอบ "ไม่ควร"
เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุโมทนากับคำตอบที่ชัดแจ้งกับกระทู้ถาม ผู้ที่ศรัทธาและเคารพครูบาอาจารย์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบก็ศรัทธาได้ แต่ทำไมเราจะไม่ศึกษาคำสอนโดยตรงขององค์พระศาสดา ซึ่งปัจจุบันมีการแปลจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย และเป็นบุญของเราที่ท่านอาจารย์สุจินต์ผู้ไม่มีความย่อท้อไม่เหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด อธิบาย คำของพระพุทธองค์ ได้อย่างละเอียดพิศดารยิ่ง อย่างใกล้ชิดยิ่ง
กราบอนุโมทนาสาธุกับการทำงานบ้านธัมมะ
หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระองค์ตรัสว่า มีพระธรรมและวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์ ภิกษุใดที่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรวินัยก็ควรแก่การสักการะ เคารพสรรเสริญค่ะ
หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระองค์ตรัสว่า มีพระธรรมและวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์ ภิกษุใดที่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรวินัยก็ควรแก่การสักการะ เคารพสรรเสริญค่ะ
เพราะหลายท่านสอนหลอกลวง แบบ คิดเอาเอง นอกกรอบ ของพระบรมครู เราชาวพุทธแท้ ควรนับถือเพราะพระบรมครูผู้ประกาศพุทธศาสนา และไม่ควร รับเอา "ศาสนาอาจารย์ ด้วยความเคารพค่ะ
หมายเหตุว่า ฉันไม่ใช่ศิษย์ของที่นี่ แต่นับถือพวกท่านมากมาย
ขออนุโมทนาครับ ต่ออินเทอร์เน็ตไปที่ google พิมพ์ บ้านธัมมะ กด Enter
อ่านแล้วก็รู้สึกสงสารคนที่ไม่ยอมรับความจริงมีความคิดความเห็นต่างๆ คิดเองจนไม่รู้ว่าคิดเองนั้นจะไม่ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ขออนุโมทนา กับการให้เวลา ให้พื้นที่และให้ไมตรีในการอบรมเจริญปัญญา ผ่านการสนทนาอย่างกัลยาณมิตรของุทุกท่าน
อวิชชา คือความโง่ ความไม่รู้ เป็นต้นตระกูลของตัวตนมาตลอดกัลป์ บดบังความจริงทุกสิ่งอย่าง พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าละเอียดลึกซึ้ง หากไม่มีการศึกษาไม่มีทางที่จะเข้าใจความจริงในสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ และไม่มีทางในการที่จะไปปฎิบัติอะไรได้เลย
แต่ในทางตรงข้าม เมื่อมีการศึกษาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนโดยเริ่มจากปรมัตถธรรมสังเขป เป็นต้นไป เมื่อค่อยๆ เข้าใจและพิจารณา ในแต่ละคำๆ ธรรมะ รูปธรรม นามธรรม จิต เจตสิก ความเป็นไปของสภาพธรรมต่างๆ สภาพที่จะสมมติเรียกว่าปฎิบัติก็ได้หรืออะไรก็ได้ ก็ประจักษ์ได้ทุกขณะไม่ว่าที่ใหนเมื่อไหร่ เป็นอัตนโนมัติของเขาเอง
ตั้งแต่เกิดมาได้ฟังธรรมบ้างอ่านหนังสือธรรมะบ้าง ก็มีเพียงท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เท่านั้น ที่ท่านถ่ายทอดคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ละเอียดแบบเป็นขั้นเป็นตอน แต่ละหนึ่ง แต่ละกลาปะ ที่กำลังเป็นที่กำลังดำเนินอยู่ ทางตาหุจมูกลิ้นกายใจ คือการปฎิบัติอยู่ทุกขณะจิต ท่านไม่เคยกล่าวอวดอ้างความมหัศจรรย์หรืออภินิหารใดๆ ของท่าน แต่ถ่ายทอดความมหัศจรรย์ของพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เหนือกว่าศาสตร์ใดๆ ในจักรวาล
หลวงปู่หลวงตาต่างๆ ไม่ได้ประมาทท่านเพราะหากท่านปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ จริงท่านคงเอาตัวรอดของท่านไป แต่ตัวเราเล่าเข้าใจพระธรรมศึกษาพระธรรมหรือยัง แล้วเข้าใจอะไรแค่ใหน ตรงนี้ต่างหากที่จะติดตัวเราไปเมื่อจากภพนี้ไปสู่ภพภูมิอื่น
กราบแทบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เหนือเกล้า
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ในระดับปัญญาของผู้ที่ยังไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งแต่อย่างใด เพียงแค่ได้ศึกษาและจดจำมาได้บ้างเท่านั้น ว่า "แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังตรัสกล่าวไว้ ว่าอย่าได้ยึดถือตัวเรา แต่ขอให้นำพระธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ไปทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริง เพราะร่างกายสังขารยังมีความเสื่อมไป แต่พระธรรมคำสอนที่พระองค์ตรัสรู้นั้น เป็นความจริงตลอดไป" (อาจจะใช้คำพูดไม่ถูกต้อง แต่ความหมายก็จะประมาณนี้) สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
ถ้าบุคคลใดนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาถ่ายทอด เราก็ฟังครับ แต่ถ้าไม่ใช่ ทำไมเราต้องไปเสียเวลาด้วย ทั้งๆ ที่เรายังอยู่ในยุคที่พระไตรปิฎกยังครบบริบูรณ์ และยังมีปูชนียบุคคลที่สามารถนำคำเหล่านั้นมาบรรยายสนทนาและให้กรุณากับผู้ที่ยังไม่เคยฟัง เช่นท่านอาจารย์สุจินต์
พระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้น ไม่ว่าใครจะนำไปถ่ายทอดต้องตรงกันและไม่ขัดกัน หาไม่แล้ว คำนั้นไม่ใช่คำของพระศาสดาครับ
บางคนชอบแก้ตัวแทนว่า "ที่คำสอนของครูบาอาจารย์หลวงพ่อ หลวงปู่ ท่านนั้นท่านนี้ขัดกับคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราเองยังไม่มีปัญญา เมื่อเรามีภูมิธรรมระดับท่าน เราจะรู้เหตุผลเองว่า คำสอนของท่านไม่ขัดกับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ซึ่งเป็นแก้ตัวแทนอาจารย์ที่ตัวเองศรัทธาแบบขาดสติมาก
บางคนก็ชอบเอานรก เอาบาปเอากรรมมาเป็นเกราะป้องกัน ใช้ขู่ผู้อื่นเพื่อไม่ให้ใครปฎิเสธคำของครูบาอาจารย์ของตัวเองหรือแม้กระทั่งปฏิเสธความเป็นพระอรหันต์ของเขา โดยไม่มีคำอธิบายที่มีเหตุผลเลย แบบนี้จะเป็นหนทางไปสู่ปัญญาได้อย่างไร
นี่หรือคือคนที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
นี่หรือคนที่มุ่งหวังจะมีนิพพานเป็นเบื้องหน้า
นี่หรือคือพุทธบริษัทที่จะช่วยดำรงพระศาสนา
มั่นคงในพระสัทธรรม และมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตร กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลค่ะ
เมื่อก่อนผมก็มีความคิดเหมือนคุณ BANKแหละครับ แต่พอมารู้จักบ้านธัมมะ และลองอ่านลองฟังไปเรื่อยๆหลายๆครั้ง ใช้ปัญญาของตัวเองที่มีอยู่น้อยนิด ค่อยๆพิจารณา ทำความเข้าใจ ว่าที่ท่านทั้งหลายกล่าวมามีความสอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน และนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตจริงๆได้ประโยชน์จริงหรือไม่ และสามารถ ละคลายความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของเราได้มากน้อยแค่ไหน คุณแบ๊ง ก็ลองใช้ปัญญาของตนเองนะครับ ว่าผู้คนที่บ้านธัมมะ เขาศึกษาเขาเรียนรู้ธรรมมะอะไรกัน มีประโยชน์จริงหรือไม่ ถ้าไม่ดีจริง ก็จะต้องมีความขัดแย้งในเหตุในผลในหลายๆเรื่อง เมื่อจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเสียเวลาเปล่าๆหรือไม่ และถ้าบ้านธัมมะ มีประโยชน์ คุณแบ๊ง ก็จะได้ความรู้ที่ถูกต้องของศาสนาพุทธ จะได้ความเข้าใจธรรมมะ อย่างถูกต้องและลึกซึ้งในอรรถ ต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์จริง นำมาใช้ได้ในชีวิตจริง เพื่อละคลายความไม่รู้ต่างๆ ครับ