อุรคสูตร ... วันเสาร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  30 ธ.ค. 2555
หมายเลข  22263
อ่าน  1,466

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

อุรคสูตร

(ว่าด้วยการกำจัดความชั่วเหมือนพิษงู)

จาก .. [เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ ๑

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันเสาร์ที่ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๕)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

และคณะวิทยากรมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ ๑

อุรคสูตรที่ ๑

(ว่าด้วยการกำจัดความชั่วเหมือนพิษงู)

[๒๙๔] ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดความ

โกรธที่เกิดขึ้นแล้ว เหมือนหมอกำจัดพิษงูที่

ซ่านไปแล้วด้วยโอสถ ฉะนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า

ย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือน

งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น.

ภิกษุใด ตัดราคะได้ขาด พร้อมทั้ง

อนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนบุคคลลงไป

ตัดดอกปทุมซึ่งงอกขึ้นในสระ ฉะนั้น ภิกษุ

นั้น ชื่อว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใด ยังตัณหาให้เหือดแห้งไปทีละ

น้อยๆ แล้วตัดเสียให้ขาดโดยไม่เหลือ ภิกษุ

นั้น ชื่อว่า ย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใด ถอนมานะพร้อมทั้งอนุสัย

ไม่มีส่วนเหลือ เหมือนห้วงน้ำใหญ่ถอน-

สะพานไม้อ้อที่ทุรพลฉะนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า

ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงู

ละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดค้นคว้าอยู่ (ด้วยปัญญา) ไม่

ประสบอัตภาพอันเป็นสาระในภพทั้งหลาย

เหมือนพราหมณ์ค้นคว้าอยู่ ไม่ประสบดอก

ที่ต้นมะเดื่อ ฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่ง

ฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบ

เก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

กิเลสเป็นเครื่องให้กำเริบ ย่อมไม่มี

ภายในจิตของภิกษุใด และภิกษุใดล่วงเสีย

ได้แล้ว ซึ่งความเจริญและความเสื่อมอย่างนี้

ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก

เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว

ฉะนั้น.

ภิกษุใดกำจัดวิตกได้แล้ว ปราบปราม

ดีแล้ว ในภายใน ไม่มีส่วนเหลือ ภิกษุนั้น

ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้เหมือน

งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น.

ภิกษุใด ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่

ล่วงกิเลสเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า ได้หมดแล้ว

ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใด รู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ไม่แล่นเลยไป

ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่ง

ฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบ

เก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ปราศจาก

ความโลภ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก

ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก

เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว

ฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากราคะ

ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น

ชื่อว่า ย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากโทสะ

ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น

ชื่อว่า ย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากโมหะ

ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น

ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใด ไม่มีอนุสัยอะไรๆ ถอน

อกุศลมูลได้แล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละฝั่งใน

และฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่

คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใด ไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ความ

กระวนกระวายอะไรๆ อันเป็นปัจจัยเพื่อมา

สู่ฝั่งใน ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่ง

นอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า

แล้วฉะนั้น.

ภิกษุใด ไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ตัณหา

ดุจป่าอะไรๆ อันเป็นเหตุเพื่อความผูกพัน

เพื่อความเกิด ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งใน

และฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่

คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว ไม่มี

ทุกข์ ข้ามความสงสัยได้แล้ว มีลูกศรปราศ

ไปแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่ง

นอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า

แล้วฉะนั้น.

จบอุรคสูตรที่ ๑.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ธ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

อุรคสูตร *

(ว่าด้วยการกำจัดความชั่วเหมือนพิษงู)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม ว่าด้วยการกำจัดกิเลสประการต่างๆ มี

ความโกรธ ราคะ ตัณหา มานะ เป็นต้น ตลอดจนถึงกำจัดนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้

ซึ่งเมื่อกำจัดกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว ชื่อว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอก * เหมือนงูลอก

คราบเ่ก่า ทิ้งไป ฉะนั้น (ดังข้อความที่ปรากฏในพระสูตร) .

หมายเหตุ * คำว่า อุรค (อุ - ระ - คะ) แปลว่า งู

* คำว่า ฝั่งใน และ ฝั่งนอก ในอรรถกถาแสดงไว้หลายนัย เช่น อายตนะ

ภายใน ๖ ชื่อว่า ฝั่งใน, อายตนะภายนอก ๖ ชื่อว่าฝั่งนอก, มนุษยโลก ชื่อว่า ฝั่งใน,

เทวโลก ชื่อว่า ฝั่งนอก เป็นต้น

ขอเิชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่ีนี่ครับ

กิเลสตัณหา

โทสะ คือ ตัณหา ใช่หรือไม่

การละนิวรณ์

ขันธ์ทั้ง 5 เกิดพร้อมกันดับพร้อมกันหรือไม่?

กำจัดกิเลส

โลภะ ทิฏฐิ มานะ

อายตนะ 12

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Jans
วันที่ 31 ธ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 1 ม.ค. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ม.ค. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
tusaneenui
วันที่ 2 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Chalee
วันที่ 2 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 ม.ค. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
tusaneenui
วันที่ 4 ม.ค. 2556
ขอขอบคุณมากและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
nong
วันที่ 4 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nopwong
วันที่ 5 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ