เมตตคูปัญหา ... วันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  11 ส.ค. 2556
หมายเลข  23349
อ่าน  1,352

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ


เมตตคูปัญหาที่ ๔

(ว่าด้วยข้ามชาติและชรา)

จาก...


[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๙๐๖


(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ วันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้าที่ ๙๐๖

เมตตคูปัญหาที่ ๔

(ว่าด้วยข้ามชาติและชรา)

[๔๒๘] เมตตคูมาณพ ทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-

องค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จงตรัส

บอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระ-

องค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่าทรงถึงเวท มีตน

อันอบรมแล้ว ความทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในโลกเป็นอันมาก มีมาแล้วแต่อะไร

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร เมตตคู

ท่านได้ถามเราถึงเหตุเป็นแดนเกิด

แห่งทุกข์ เราจะบอกเหตุนั้นแก่ท่านตามที่รู้

ความทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกเป็นอัน-

มา ย่อมเกิดเพราะอุปธิเป็นเหตุ ผู้ใดไม่รู้

แจ้ง ย่อมกระทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อม

เข้าถึงทุกข์บ่อยๆ เพราะฉะนั้น เมื่อบุคคล

มารู้ชัด เห็นชาติว่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์

ไม่พึงกระทำอุปธิ

เมตตคูมาณพ ทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์ ได้ทูลถามความ

ข้อใด พระองค์ก็ทรงแสดงความข้อนั้นแก่

ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามความ

ข้ออื่นอีก ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกความ

ข้อนั้นเถิด นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมข้ามโอฆะ

ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะได้อย่างไรหนอ

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัส

พยากรณ์ธรรมอันเป็นเครื่องข้ามโอฆะให้

สำเร็จประโยชน์ แก่ข้าพระองค์เถิด เพราะ

ว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้วด้วย

ประการนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกร เมตตคู

ดูกร เมตตคู เราจักแสดงธรรม

แก่ท่านในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว เป็นธรรม

ประจักษ์แก่ตน ที่บุคคลทราบชัดแล้ว พึง

เป็นผู้มีสติ ดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไป

ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้

เมตตคูมาณพ กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ ผู้แสวงหาคุณอัน

ใหญ่ ก็ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่ง ซึ่งธรรม

อันสูงสุดที่บุคคลทราบชัดแล้ว เป็นผู้มีสติ

พึงดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์

ต่างๆ ในโลกเสียได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร เมตตคู

ท่านรู้ชัดซึ่งส่วน

อย่างใดอย่างหนึ่งในส่วนเบื้องบน ในส่วน

เบื้องต่ำ และแม้ในส่วนเบื้องขวางคือท่าม

กลาง จงบรรเทาความเพลิดเพลินและความ

ยึดมั่นและวิญญาณในส่วนเหล่านั้นเสีย จะ

ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ

ภิกษุ ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้

มีสติ ไม่ประมาท ได้รู้แจ้งแล้วเที่ยวไปอยู่

ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้ว พึงละทุกข์

คือ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะในอัตภาพ

นี้เสีย

เมตตคูมาณพ กราบทูลว่า

ข้าพระองค์ ยินดีอย่างยิ่งซึ่งพระ-

วาจานี้ของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคตมโคตร ธรรม

อันไม่มีอุปธิ พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว

พระองค์ทรงละทุกข์ได้แน่แล้ว เพราะว่า

ธรรมนี้ พระองค์ทรงรู้แจ้งชัดแล้วด้วยประ-

การนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี พระองค์

พึงทรงสั่งสอนชนเหล่าใดไม่หยุดยั้ง แม้ชน

เหล่านั้นก็พึงละทุกข์ได้เป็นแน่ ข้าแต่พระ-

องค์ผู้ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึง

ได้มาถวายบังคมพระองค์ ด้วยคิดว่า แม้ไฉน

พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงสั่งสอนข้าพระ-

องค์ไม่หยุดหย่อนเถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร เมตตคู

ท่านพึงรู้ ผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ ผู้

ถึงเวท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่

ในกามภพ ผู้นั้นแล ข้ามโอฆะนี้ได้แน่แล้ว

ผู้นั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นผู้ไม่มีตะปู คือ

กิเลส ไม่มีความสงสัย นรชนนั้นรู้แจ้งแล้ว

แล เป็นผู้ถึงเวทในศาสนานี้ สละธรรมเป็น

เครื่องข้องนี้ในภพน้อยและภพใหญ่เสียได้

แล้ว เป็นผู้มีตัณหาปราศไปแล้ว ไม่มีกิเลส

อันกระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่า

ผู้นั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว.

จบเมตตคูมาณวกปัญหาที่ ๔

อรรถกถาเมตตคูสูตรที่ ๔

เมตตคูสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ตํ ข้าพระองค์ขอทูลถาม

พระองค์ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มญฺญามิ ตํ เวทคุ ภาวิตตฺตํ เมตตคูมาณพ

ทูลว่า ข้าพระองค์สำคัญพระองค์ว่าเป็นผู้ถึงเวทมีตนอบรมแล้ว คือ ข้าพระองค์

สำคัญพระองค์อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นผู้ถึงเวทและเป็นผู้มีตนอบรม

แล้ว ดังนี้. บทว่า ตนฺเต ปวกฺขามิ ยถา ปชานํ คือ เราจะบอกเหตุนั้นแก่ท่าน

ตามที่รู้. บทว่า อุปธีนิทานา ปภวนฺติ ทุกฺขา ทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิด

เพราะอุปธิเป็นเหตุ คือ ความต่างแห่งทุกข์มีชาติเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะ

อุปธิมีตัณหาเป็นต้นเป็นเหตุ. เมื่อทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้น มีอุปธิเป็นเหตุอย่างนี้

พึงทราบคาถาต่อไปว่า โย เจ อวิทฺวา ผู้ใดไม่รู้แจ้ง ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปชานํ รู้อยู่ คือ รู้สังขารทั้งหลายโดยความ

เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ทุกฺขสฺส ชาติปฺปภวานุปสฺสี เห็นชาติ

ว่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ พิจารณาเนืองๆ ว่า อุปธิเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์

ในวัฏฏะ. บทว่า โสกปริทฺทวญฺจ คือ ความโศกและความคร่ำครวญ.

บทว่า ตถา หิ เต วิทิโต เอส ธมฺโม ธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัด

แล้วด้วยประการนั้น คือ ธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้วด้วยกำลังพระญาณ

เป็นต้นโดยที่สัตว์ทั้งหลายไม่รู้เลย.

บทว่า กิตฺติยิสฺสามิ เต ธมฺมํ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราจัก

แสดงธรรมแก่ท่าน คือ เราจักแสดงธรรมคือนิพพานและปฏิปทาให้ถึงนิพพาน

แก่ท่าน. บทว่า ทิฏฺเฐ ธมฺเม ในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมมี

ทุกข์เป็นต้น ที่เราได้เห็นแล้วหรือในอัตภาพนี้แล. บทว่า อนีติหํ ที่เรา

ได้เห็นแล้ว คือ ประจักษ์แก่ตน. บทว่า ยํ วิทิตฺวา รู้ชัดธรรมใดแล้ว

คือ พิจารณาโดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงดังนี้ ชื่อว่ารู้ชัด

ธรรมใดแล้ว.

บทว่า ตญฺจาหํ อภินนฺทามิ ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่งซึ่งธรรมอันสูง

สุดนั้น คือ เมตตคูมาณพทูลว่า ข้าพระองค์ปรารถนาอย่างยิ่งซึ่งธรรมมีประการ

ดังที่พระองค์ตรัสนั้น หรือถ้อยคำของพระองค์อันส่องถึงธรรมที่พระองค์ตรัส

แล้ว. บทว่า ธมฺมมุตฺตมํ ธรรมอันสูงสุด คือ ข้าพระองค์ยินดียิ่งซึ่งธรรม

อันสูงสุดของพระองค์.

ในคำนี้ว่า อุทฺธํ อโธ จ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ ในส่วนเบื้องบน

ในส่วนเบื้องต่ำ และแม้ในส่วนเบื้องขวางสถานกลาง คือ อนาคตอัทธาท่าน

กล่าวว่าเป็นส่วนเบื้องบน อดีตอัทธาท่านกล่าวว่าเป็นส่วนเบื้องต่ำ ปัจจุบัน

อัทธาท่านกล่าวว่าเป็นส่วนเบื้องขวางคือท่ามกลาง. บทว่า เอเตสุ นนฺทิญฺจ

นิเวสนญฺจ ปนุชฺช วิญฺญาณํ จงบรรเทาความเพลิดเพลินและความยึดมั่น

ในส่วนเหล่านั้นเสีย วิญญาณจะไม่พึงตั้งอยู่ในภพ ความว่า ท่านจงบรรเทา

ตัณหา, ความยึดมั่นคือทิฏฐิและอภิสังขารวิญาณในอัทธาเป็นต้นเหล่านั้น

เสีย ครั้นบรรเทาแล้วไม่พึงตั้งอยู่ในภพ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะไม่พึงตั้งอยู่ใน

ภพแม้ทั้งสองอย่าง. พึงทราบการเชื่อมความในการกำหนดความนี้แห่ง ปนุชฺช

ศัพท์ ว่า ปนุเทหิ แปลว่า ท่านจงบรรเทา. พึงทราบการเชื่อมความนี้

เหมือนกันว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในภพในการกำหนดความนี้ว่า ปนุทิตฺวา ครั้น

บรรเทาแล้ว. ท่านอธิบายว่า ภิกษุครั้นบรรเทาความเพลิดเพลินความยึดมั่น

และวิญญาณเหล่านี้แล้วจะไม่พึงตั้งอยู่ในภพแม้สองอย่าง. ครั้นบรรเทาอย่างนี้

แล้วเมื่อไม่ตั้งอยู่ในภพ พึงทราบคาถาต่อไปว่า เอวํวิหารี ผู้มีธรรมเป็น

เครื่องอยู่อย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิเธว ได้แก่ ในศาสนานี้หรือในอัตภาพนี้.

บทว่า อนูปธิกํ ธรรมไม่มีอุปธิ ในบทนี้ว่า สุกิตฺติตํ โคตม อนูปธิกํ

ได้แก่ นิพพาน. เมตตคูมาณพหมายถึงธรรมนั้น เมื่อจะทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทูลว่า สุกิตฺติตํ โคตมนูปธิกํ ข้าแต่พระโคดม ธรรมอันไม่มีอุปธิ

พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว. มิใช่ทรงละทุกข์ได้อย่างเดียวเท่านั้น. พึงทราบ

คาถาต่อไปว่า เต จาปิ แม้ชนเหล่านั้นก็พึงละทุกข์ได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐิตํ ไม่หยุดยั้ง คือ เคารพหรือเอื้อเฟื้อ.

บทว่า ตํ ตํ นมสฺสามิ คือ เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึงขอนอบน้อมพระองค์.

บทว่า สเมจฺจ คือเข้าไปใกล้. เมตตคูมาณพเมื่อจะทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทูลว่า นาค ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้อันพราหมณ์นั้นรู้ชัดแล้วอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละทุกข์ได้แล้วแน่นอน ดังนี้ ก็ไม่ทรงยังพราหมณ์ให้

น้อมไปสู่พระองค์ เมื่อจะทรงสอนพราหมณ์นั้นแบบบุคคลผู้ละทุกข์ได้แล้ว

จึงตรัสคาถาว่า ยํ พฺราหฺมณํ ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ ท่านพึงรู้ผู้ใดว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์เพราะเป็นผู้

ลอยบาปได้แล้ว เป็นผู้ถึงเวทเพราะเป็นผู้ไปด้วยเวททั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีกิเลส

เครื่องกังวลเพราะไม่มีความกังวล เป็นผู้ไม่ข้องในกามภพเพราะไม่ติดอยู่ใน

กามทั้งหลาย และในภพทั้งหลาย. ผู้นั้นข้ามโอฆะนี้และข้ามบาปได้แน่แล้ว

ไม่มีตะปูคือกิเลส ไม่มีความสงสัย. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น พึงทราบคาถาต่อไป

ว่า วิทฺวา โส นรชนนั้นรู้ชัดแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือในศาสนานี้หรือในอัตภาพนี้. บทว่า

วิสชฺช แปลว่า สละแล้ว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดอยู่แล้ว. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตเหมือนกัน.

อนึ่ง เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่ได้กล่าวแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถาเมตตคูสูตรที่ ๔


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

เมตตคูปปัญหา

(ว่าด้วยข้ามชาติและชรา)

เมตตคูมาณพ เข้าไปเฝ้ากราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ อะไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ อุปธิ คนเขลา ทำอุปธิ

ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ

เมตตคูมาณพ ทูลถามต่อไปว่า นักปราชญ์ ข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะ

ได้อย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ผู้มีสติพึงดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์

ต่างๆ ในโลกเสียได้ ผู้สติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นได้แล้ว พึงละทุกข์ คือ

ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะในอัตภาพ นี้ได้ ผู้ใดเป็นพราหมณ์ ผู้ถึงเวท ไม่มีกิเลส

เครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ ในกามภพ ผู้นั้นแล ข้ามโอฆะนี้ได้แน่แล้วผู้นั้นข้ามถึงฝั่ง

แล้ว ไม่มีตะปูคือกิเลส ไม่มีความสงสัย ไม่มีกิเลส ย่อมข้ามพ้นชาติและชราได้.

(ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ตะปูตรึงใจ

โอฆะ...?

กิเลสตัณหา

ที่ไม่พอ สำหรับเก็บ

แด่ผู้มีทุกข์ ๒๑ ......ปริเทวะเป็นทุกข์

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 15 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
natural
วันที่ 17 ส.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ