เหตุ นเหตุ อเหตุก สเหตุก

 
papon
วันที่  12 ส.ค. 2556
หมายเลข  23361
อ่าน  2,259

ขอคำอธิบายเกี่ยวกับ เหตุ นเหตุ อเหตุก สเหตุก ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. คำว่า นเหตุ หมายถึง ธรรมที่ไม่ใช่เหตุ กล่าวคือ ไม่ใช่เหตุ ๖ เหตุ ดังนั้นธรรมใด ที่ไม่ใช่เหตุ ๖ เหตุ ธรรมนั้น ชื่อว่า นเหตุ (โดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ จิตทั้งหมด เจตสิก ๔๖ ประเภท, รูปทั้งหมด และ นิพพาน เป็น นเหตุ)

๒. ก่อนอื่นต้องเข้าใจความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ ก่อนว่า เหตุ ได้แก่เจตสิก ๖ ประเภท (ที่เป็นเหตุ) คือ โลภะ, โทสะ, โมหะ, อโลภะ, อโทสะ และ อโมหะ ส่วน สภาพธรรมที่เหลือทั้งหมด เป็น นเหตุ ดังนั้น ที่กล่าวโดยนัยนี้ ไม่ต้องมี กะ ต่อท้าย เพราะถ้ามี กะ ต่อท้าย จะมุ่งอธิบายอีกนัยหนึ่ง และ ความหมายจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเข้าใจ ความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ แล้ว ต่อไปก็จะสามารถเข้าใจถึง สเหตุกะ และ อเหตุกะ ได้ เพราะตามศัพท์แล้ว สเหตุกะ หมายถึง มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมใดก็ตามที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า สเหตุกะ เช่น โลภมูลจิต (จิตที่มี โลภะเป็นมูล) โดยสภาพของจิตแล้ว เป็น นเหตุ (ไม่ใช่เหตุ) แต่โลภมูลจิต เป็นจิตที่ มีเหตุเกิดร่วมด้วย นั่นก็คือ มีโลภเหตุ และ มีโมหเหตุ เกิดร่วมด้วย ดังนั้น โลภมูลจิต จึงชื่อว่า สเหตุกะ (มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เป็นต้น

ส่วน คำว่า อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมใดก็ตาม ที่ไม่มีเหตุเกิด ร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า อเหตุกะ (ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เช่น จักขุวิญญาณ (จิตเห็น) เป็นจิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภทเท่านั้น ไม่มีเหตุใดๆ ในบรรดาเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วยเลย ดังนั้น จักขุวิญญาณ จึงชื่อว่า อเหตุกะ และ เจตสิก ๗ ประเภทที่ เกิดร่วมกับจักขุวิญญาณ ก็ชื่อว่าอเหตุกะ ด้วยเช่นเดียวกัน เป็นต้น

ซึ่ง สามารถจะเข้าใจได้เพิ่มขึ้น และ โดยละเอียดจากกระทู้เพิ่มเติมนี้ ครับ

เหตุเจตสิก

นเหตุ

สเหตุกจิต

อเหตุกจิต

เหตุ - นเหตุ และ สเหตุกะ - อเหตุกะ

เหตุ - นเหตุ

เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ได้ที่นี่ ครับ

สภาพธรรมที่เป็นเหตุเจตสิก

เหตุ - นเหตุ

ความเข้าใจเกี่ยวกับ นเหตุ

นเหตุเป็นอเหตุกได้ไหม

สเหตุก - อเหตุก

อเหตุกจิตและสเหตุกจิต

อเหตุกะ - สเหตุกะ ๑

อเหตุกะ - สเหตุกะ ๒

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 13 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ค่อยๆ ฟังค่อยๆ ศึกษาไปตามลำดับ พิจารณาไตร่ตรองในคำที่ได้ยินได้ฟัง ในที่สุดความเข้าใจถูกเห็นถูกก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น เพราะคำแต่ละคำ ที่เป็นชื่อของ ธรรมต่างๆ นั้น ไม่มีผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ทั้งในความหมายและความ เป็นจริงของสภาพธรรม ที่สำคัญจะต้องมีความอดทนที่จะฟังที่จะศึกษาต่อไป ด้วยความไม่ท้อถอย

เหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท ที่จะเป็นเหตุเป็นมูลรากให้สภาพธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น ได้แก่ อกุศลเหตุ ๓ (โลภะ โทสะ โมหะ) และโสภณเหตุ ๓ (อโลภะ อโทสะ และอโมหะ)

นเหตุ คือ สภาพธรรมที่ไม่ใช่เหตุ เมื่อได้เข้าใจแล้วว่า เหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท ตามที่กล่าวแล้ว สภาพธรรมอื่นๆ ที่เหลือจากนี้ ไม่ใช่เหตุ ตรงกับคำ ภาษาบาลีว่า นเหตุ ได้แก่จิตทั้งหมด รูปทั้งมด พระนิพพาน และเจตสิก ๔๖ ดวง มี ผัสสะ เวทนา เป็นต้น

อเหตุกะ แปลว่า ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย พิจารณาได้ว่า สภาพธรรมใดที่ไม่มีเหตุเจตสิก ๖ เกิดร่วมด้วย สภาพธรรมนั้น ชื่อว่า อเหตุกะ เช่น จิตได้ยิน ไม่มี เหตุเจตสิกใดๆ เกิดร่วมด้วย จึงเป็นอเหตุกะ

สเหตุกะ แปลว่า มีเหตุเกิดร่วมด้วย พิจารณาได้ว่า สภาพธรรมใด มีเหตุเจตสิก เกิดร่วมด้วย สภาพธรรมนั้นชื่อว่า สเหตุกะ เช่น ขณะที่เป็นอกุศลจิตประเภท โลภมูลจิต จิตเป็นสเหตุกะ เพราะมีโลภะกับโมหะ ที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย โมหะที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต ก็ชื่อว่า สเหตุกะ เพราะมีโลภะที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย โลภะที่เกิดกับโลภมูลจิต ก็ชื่อว่าสเหตุกะ เพราะมีโมหะที่เป็นเหตุ เกิดร่วมด้วย

เจตสิกอื่นๆ เช่น ผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น ที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต ก็ชื่อว่า สเหตุกะ เหมือนกัน เพราะมีเหตุเจตสิกที่เป็นโลภะกับโมหะเกิดร่วมด้วยครับ ได้อ่านได้ศึกษาตามลิงค์ที่อ.ผเดิม ได้ยกมา ก็เกื้อกูลได้มากทีเดียวครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 13 ส.ค. 2556

เหตุ คือ เจตสิก 6 ที่เหลือเป็นนเหตุ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
napachant
วันที่ 14 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 15 ส.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peem
วันที่ 24 ก.พ. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 4 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ก.ไก่
วันที่ 1 ก.พ. 2565

ขอเรียนถามค่ะ

เจตสิก 46 ดวง เป็นนเหตุ

หากแต่เกิดร่วมกับ โลภมูลจิต, โมหมูลจิต, โทสมูลจิต ก็เป็นสเหตุกะ ใช่ไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ก.ไก่

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ก.ไก่
วันที่ 4 ก.พ. 2565

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 2 โดย khampan.a

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ค่อยๆ ฟังค่อยๆ ศึกษาไปตามลำดับ พิจารณาไตร่ตรองในคำที่ได้ยินได้ฟัง ในที่สุดความเข้าใจถูกเห็นถูกก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น เพราะคำแต่ละคำ ที่เป็นชื่อของ ธรรมต่างๆ นั้น ไม่มีผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ทั้งในความหมายและความ เป็นจริงของสภาพธรรม ที่สำคัญจะต้องมีความอดทนที่จะฟังที่จะศึกษาต่อไป ด้วยความไม่ท้อถอย

เหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท ที่จะเป็นเหตุเป็นมูลรากให้สภาพธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น ได้แก่ อกุศลเหตุ ๓ (โลภะ โทสะ โมหะ) และโสภณเหตุ ๓ (อโลภะ อโทสะ และอโมหะ)

นเหตุ คือ สภาพธรรมที่ไม่ใช่เหตุ เมื่อได้เข้าใจแล้วว่า เหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท ตามที่กล่าวแล้ว สภาพธรรมอื่นๆ ที่เหลือจากนี้ ไม่ใช่เหตุ ตรงกับคำ ภาษาบาลีว่า นเหตุ ได้แก่จิตทั้งหมด รูปทั้งมด พระนิพพาน และเจตสิก ๔๖ ดวง มี ผัสสะ เวทนา เป็นต้น

อเหตุกะ แปลว่า ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย พิจารณาได้ว่า สภาพธรรมใดที่ไม่มีเหตุเจตสิก ๖ เกิดร่วมด้วย สภาพธรรมนั้น ชื่อว่า อเหตุกะ เช่น จิตได้ยิน ไม่มี เหตุเจตสิกใดๆ เกิดร่วมด้วย จึงเป็นอเหตุกะ

สเหตุกะ แปลว่า มีเหตุเกิดร่วมด้วย พิจารณาได้ว่า สภาพธรรมใด มีเหตุเจตสิก เกิดร่วมด้วย สภาพธรรมนั้นชื่อว่า สเหตุกะ เช่น ขณะที่เป็นอกุศลจิตประเภท โลภมูลจิต จิตเป็นสเหตุกะ เพราะมีโลภะกับโมหะ ที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย โมหะที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต ก็ชื่อว่า สเหตุกะ เพราะมีโลภะที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย โลภะที่เกิดกับโลภมูลจิต ก็ชื่อว่าสเหตุกะ เพราะมีโมหะที่เป็นเหตุ เกิดร่วมด้วย

เจตสิกอื่นๆ เช่น ผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น ที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต ก็ชื่อว่า สเหตุกะ เหมือนกัน เพราะมีเหตุเจตสิกที่เป็นโลภะกับโมหะเกิดร่วมด้วยครับ ได้อ่านได้ศึกษาตามลิงค์ที่อ.ผเดิม ได้ยกมา ก็เกื้อกูลได้มากทีเดียวครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

ขอเรียนถามค่ะ

เจตสิก 46 ดวง เป็นนเหตุ

หากแต่เกิดร่วมกับ โลภมูลจิต, โมหมูลจิต, โทสมูลจิต ก็เป็นสเหตุกะ ใช่ไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ก.ไก่

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ