อเหตุกจิต หมายความว่าอะไร

 
คุณตาใจบุญ
วันที่  6 ต.ค. 2556
หมายเลข  23782
อ่าน  8,950

อเหตุกจิต หมายความว่าอะไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 6 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท ที่จะเป็นเหตุเป็นมูลรากให้สภาพธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น ได้แก่ อกุศลเหตุ ๓ (โลภะ โทสะ โมหะ) และโสภณเหตุ ๓ (อโลภะ อโทสะ และอโมหะ) ส่วนสภาพธรรมที่เหลือทั้งหมด เป็น นเหตุ ดังนั้น ที่กล่าวโดยนัยนี้ ไม่ต้องมี กะ ต่อท้ายเพราะถ้ามี กะ ต่อท้าย จะมุ่งอธิบายอีกนัยหนึ่ง และความหมายจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อเข้าใจ ความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ แล้ว ต่อไปก็จะสามารถเข้าใจถึง สเหตุกะ และ อเหตุกะ ได้ เพราะตามศัพท์แล้ว สเหตุกะ หมายถึง มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมใดก็ตามที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า สเหตุกะ เช่น โลภมูลจิต (จิตที่มีโลภะเป็นมูล) โดยสภาพของจิตแล้ว เป็น นเหตุ (ไม่ใช่เหตุ) แต่โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย นั่นก็คือ มีโลภเหตุ และ มีโมหเหตุ เกิดร่วมด้วย ดังนั้น โลภมูลจิต จึงชื่อว่า สเหตุกะ (มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เป็นต้น

ส่วน คำว่า อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมใดก็ตาม ที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า อเหตุกะ (ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เช่น จักขุวิญญาณ (จิตเห็น) เป็นจิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภทเท่านั้น ไม่มีเหตุใดๆ ในบรรดาเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วยเลย ดังนั้น จักขุวิญญาณ จึงชื่อว่า อเหตุกะ และ เจตสิก ๗ ประเภทที่เกิดร่วมกับจักขุวิญญาณ ก็ชื่อว่า อเหตุกะ ด้วยเช่นเดียวกัน เป็นต้น

ซึ่ง สามารถจะเข้าใจได้เพิ่มขึ้น และ โดยละเอียดจากกระทู้เพิ่มเติมนี้ ครับ

เหตุเจตสิก

นเหตุ

สเหตุกจิต

อเหตุกจิต

เหตุ - นเหตุ และ สเหตุกะ - อเหตุกะ

เหตุ - นเหตุ

เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ได้ที่นี่ ครับ

สภาพธรรมที่เป็นเหตุเจตสิก

เหตุ - นเหตุ

ความเข้าใจเกี่ยวกับ นเหตุ

นเหตุเป็นอเหตุกได้ไหม

สเหตุก - อเหตุก

อเหตุกจิตและสเหตุกจิต

อเหตุกะ - สเหตุกะ ๑

อเหตุกะ - สเหตุกะ ๒

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 6 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชื่อของธรรม ไม่ใช่เพื่อทำให้งง แต่เพื่อให้เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง ที่สำคัญ ความเข้าใจมาก่อน ชื่อมาทีหลัง และเมื่อไม่ขาดการฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ในที่สุดก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่งงกับคำที่ได้ยิน เพราะส่วนใหญ่แล้ว ก็เป็นคำภาษาบาลี แต่ก็สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจ แม้ไม่ต้องใส่ชื่ออะไรก็ตาม เพราะจิตมีจริงๆ เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา จิตจำแนกออกเป็นหลายประเภท เพราะเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วยบ้าง หลากหลายโดยอารมณ์ บ้าง เป็นต้น สำหรับ อเหตุกจิต นั้น ก็เป็นการแสดงถึงความเป็นจริงของจิตอีกนัยหนึ่งว่า เป็นจิต ที่ไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วยเลย ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวัน เช่น ในขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นต้น

ก็ขอให้ฟัง ให้ศึกษาบ่อยๆ เนืองๆ นะครับ และจากหัวข้อที่ อ.ผเดิม ได้ลิ้งค์ไปให้อ่านนั้น ก็เป็นประโยชน์มาก ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 6 ต.ค. 2556

อเหตุกจิต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เช่น จิตเห็น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณตาใจบุญ
วันที่ 6 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
j.jim
วันที่ 7 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้มาใหม่
วันที่ 8 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Paisal_Sophonchaiporn
วันที่ 25 ก.ย. 2560

ขอบคุณ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 29 ต.ค. 2560

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pranee.intrautok
วันที่ 27 มิ.ย. 2565

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 27 มิ.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ