โสเจยยสูตร ... วันเสาร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๗

 
มศพ.
วันที่  10 ส.ค. 2557
หมายเลข  25266
อ่าน  2,124

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

ทุติยโสเจยยสูตร

(ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง)

จาก [เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ ๕๔๑

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๕๔๑

. ทุติยโสเจยยสูตร

(ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง)

[๕๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสเจยยะ ๓ นี้ โสเจยยะ ๓ คืออะไรบ้าง คือ กายโสเจยยะ วจีโสเจยยะ มโนโสเจยยะ

กายโสเจยยะเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า กายโสเจยยะ

วจีโสเจยยะ เป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เว้นจากปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) เว้นจาก ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) นี้เรียกว่า วจีโสเจยยะ

มโนโสเจยยะ เป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ (นิวรณ์ ๕ คือ) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ก็ดี พยาบาท (ความปองร้าย) ก็ดี ถีนมิทธะ (ความท้อแท้และความง่วง) ก็ดี อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและ ความรำคาญใจ) ก็ดี วิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลง ลังเลสงสัย) ก็ดี มีอยู่ในใจ ก็รู้ว่า กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา มีอยู่ในใจของตน, กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ในใจ ก็รู้ว่า กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ในใจของตน, ย่อมรู้ทางเกิดแห่งกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด, รู้วิธีละกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และรู้อุบายทำกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาที่ ละได้แล้วมิให้เกิดต่อไปด้วย นี้เรียกว่า มโนโสเจยยะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล โสเจยยะ คือความสะอาด ๓ อย่าง.

บุคคลผู้สะอาดทางกาย สะอาดทาง วาจา สะอาดทางใจ ไม่มีอาสวะ เป็นคน สะอาด พร้อมด้วยคุณธรรมของคนสะอาด ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ล้าง- บาปแล้ว.

จบทุติยโสเจยยสูตรที่ ๙.

อรรถกถาทุติยโสเจยยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโสเจยยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ ที่เป็นไปในภายในแน่นอน. นิวรณ์ คือ กามฉันทะ ชื่อว่า กามฉันทะ. แม้ในนิวรณ์มีพยาบาทเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

ส่วนในคาถา บทว่า กายสุจึ ได้แก่ ความสะอาดในกายทวาร หรือความสะอาดทางกาย แม้ในบท ทั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า นินฺหาตปาปกํ ความว่า ล้าง คือ ชำระบาปทั้งหมดแล้ว ดำรงอยู่. ทั้งโดยพระสูตรนี้ ทั้งโดยพระคาถา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะ) อย่างเดียว ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุติยโสเจยยสูตรที่ ๙.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 10 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ทุติยโสเจยยสูตร

(ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง ความสะอาด (โสเจยยะ) ๓ อย่าง ได้แก่

ความสะอาดทางกาย (เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติ ที่ไม่ประเสริฐ)

ความสะอาดทางวาจา (เว้นจากวจีทุจริต)

ความสะอาดทางใจ (รู้นิวรณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่มีนิวรณ์ ก็รู้ว่าไม่มีนิวรณ์ ตามความเป็นจริง รู้จักเหตุเกิดของนิวรณ์ พร้อมทั้งวิธีละ และแนวทางที่จะไม่ให้ นิวรณ์เกิดได้อีกต่อไป (ตามที่ปรากฏในพระสูตร) ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

อกุศลกรรมบถ ๑๐ [สังคีติสูตร]

การละนิวรณ์

พระขีณาสพ หมายถึงใคร?

อาสวะ

ล้างบาปด้วยการลงอาบน้ำได้หรือไม่ [ปุณณิกาเถรีคาถา] ทำบาปแล้วล้างบาป ... ได้หรือไม่?

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 10 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 13 ส.ค. 2557

บัวควีนสิริกิติ์

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลทุกประการของทุกท่านค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง จาก ใหญ่ราชบุรี-ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จิตและเจตสิก
วันที่ 14 ส.ค. 2557

"บุคคลย่อมล้างบาปได้ด้วยการเป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน."

ขออนุโมทนา ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 15 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
papon
วันที่ 15 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
j.jim
วันที่ 16 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 17 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สิริพรรณ
วันที่ 14 มี.ค. 2567

กราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

ท่านอาจารย์ : พระธรรมทั้งหมดทุกคำเป็นไปเพื่อความเห็นถูกความเข้าใจถูก ถึงแม้ความต่างของกายสุจริตที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เพราะเหตุว่าถ้ากล่าวถึงก็คือว่าสะอาด ก็แสดงให้เห็นว่ามีกายสุจริตที่สะอาด และกายสุจริตที่ยังไม่ได้ชำระกิเลส เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นกุศลที่ละเว้นทุจริต แต่ว่าใจยังไม่สะอาด แต่สำหรับผู้ที่ชำระกิเลสไปเรื่อยๆ ความสะอาดก็เพิ่มขึ้น ในขณะที่เป็นกายสุจริตก็รู้ ขณะที่รู้ขณะนั้นก็ชำระความไม่รู้ซึ่งเป็นความไม่สะอาด เพราะฉะนั้นทุกคำเป็นไปในเรื่องของปัญญา ตั้งแต่ธรรมดาไม่ได้ฟังพระธรรมเลย กายสุจริตมีไหม ไม่ได้ฟังพระธรรมมาก่อนเลย กายสุจริตมีไหม ไม่มีการเว้นทุจริตเลยหรือ มี แต่ไม่สะอาด เพราะเหตุว่ายังไม่มีปัญญาที่สามารถที่จะรู้ว่าขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้น

ด้วยเหตุนี้ความต่างก็คือว่ากายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ชั่วขณะที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย แต่จิตยังคงไม่สะอาด เพราะฉะนั้นก็ต้องชำระจิตจนสะอาดถึงความเป็นพระอรหันต์ ก็จะรู้ได้ว่าค่อยๆ สะอาดขึ้นด้วยปัญญาที่มีความเห็นที่ถูกต้องว่าแม้แต่กายสุจริตขณะนั้นก็ไม่ใช่เรา

ส่วนหนึ่งจากพื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 936

www.dhammahome.com/cd/topic/194/36

น้อมกราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศลธรรมทานค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ