(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 8 สถูปเกสริยา
สถูปเกสริยา
หลังจากประทักษิณรอบมกุฎพันธนเจดีย์แล้ว มีเวลาเหลือจึงแวะที่วัดไทยกุสินาราเฉลิม ราชย์ ร่วมบริจาคเงินสำหรับโรงพยาบาลที่รักษาทั้งคนไทยและคนอินเดียฟรี ซื้อของที่ระลึก จากวัดกันมากมาย ได้แวะที่โรงครัวเพื่อบริจาคเงินและขอแกงส้ม น้ำพริกปลาร้าใส่ถุงมาทาน ที่โรงแรม แซ่บหลาย ค่อยหายคิดถึงอาหารไทยหน่อย
ออกจากเมืองกุสินาราตอนเที่ยงเหมือนเดิม เพื่อเดินทางไปเมืองไวสาลี ซึ่งยังอยู่ในรัฐพิหาร พากันสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัยอย่างที่เคยปฏิบัติทุกครั้งที่เดินทางจากเมืองหนึ่งไปอีก เมืองหนึ่ง วิทยากรบรรยายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี เจ้าลิจฉวี และเหตุการณ์ สำคัญที่เกิดขึ้นที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน และที่ปาวาลเจดีย์ ก่อนจะถึงสถานที่จริง
ถนนหนทางดีพอสมควร แต่เป็นทางสองเลนแคบๆ สองข้างทางอุดมสมบูรณ์ด้วยนาข้าวที่ กำลังออกรวง บางช่วงมีต้นตาลสูงมากขึ้นเป็นระเบียบสองข้างถนน เพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์ ยามบ่ายที่สวยงาม ดูสงบร่มรื่น เกิดความติดข้องอยากชมต่อไปเรื่อยๆ ไม่ได้เกิดสติระลึกสัก ขณะเดียวว่า เห็นเป็นเห็น ไม่ใช่เรา หรือความติดข้องคือขยะที่จะติดตามสะสมเพิ่มพูนอยู่ใน จิตต่อไป
จนถึงบ่ายแก่ๆ ก็เห็นซากสถูปใหญ่ด้านซ้าย รถจอดให้ลงไปชมและมีห้องน้ำให้เข้าด้วย ไกด์ อินเดียอธิบายให้ฟังพอเข้าใจว่า เกี่ยวกับเกสปุตตสูตร หรือกาลามสูตร พอลงจากรถ ไกด์ไทย อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงเสด็จจากปาวาลเจดีย์ไปกุสุนารา ผ่านหมู่บ้านนี้ทรงแสดงธรรม ชาวบ้านเลื่อมใสขอประทานบาตรแล้วสร้างเจดีย์ครอบบาตรไว้ ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกได้ สร้างเจดีย์ใหญ่ครอบทับอีกที พร้อมกับเสาหินพระเจ้าอโศก
ภาพพระสถูปเกสริยาที่งดงามยังติดอยู่ในใจ วันนั้นท้องฟ้าสีฟ้าแจ่ม เมฆสีขาวล่องลอย บรรยากาศสะอาด หน้าสถูปมีหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ น้ำใสจนเห็นเงาของพระสถูปในน้ำ สวยจนอดใจไว้ไม่ได้ต้องเดินไปจนถึงบริเวณสถูป แม้ว่าคนในบัส 4 จะไม่มีใครลงมาชมเลย ก็ตาม เดินตามทางเดินผ่านหญิงอินเดียตัดหญ้าเป็นกำๆ ข้างทาง แล้วยื่นให้เรา ไม่รู้ว่าเอาไว้ ทำอะไร เดินไปจนถึงพระสถูป แหงนหน้าขึ้นไปดูเห็นแต่กองอิฐขนาดใหญ่ ยามอินเดียกวักมือ เรียกให้ออกไปดูไกลๆ จึงได้เห็นภาพพระสถูปเต็มองค์ แต่ละช่องสี่เหลี่ยมที่มองดูคล้าย หน้าต่างนั้นประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ปางต่างๆ ถึงแม้จะหักชำรุดบ้าง แต่ก็งดงามอย่างยิ่ง
กลับมาเมืองไทยได้ค้นจาก google พบว่าข้อมูลก็ขัดแย้งกัน ถูกทั้งฝ่ายอินเดียและฝ่ายไทย แต่ไม่ทราบจะตรงตามข้อเท็จจริงอย่างไร ลองอ่านดูนะคะ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เขียนไว้ว่า
“เดิมมหาสถูปแห่งเกสเรียไม่เป็นที่รู้จัก และไม่เป็นจุดสำหรับจาริกแสวงบุญของชาวพุทธ แต่ หลังจากกองโบราณคดีอินเดียได้ขุดค้นเนินดินใหญ่ พบพระมหาสถูปโบราณที่มีความเส้นผ่าน ศูนย์กลางถึง 1,400 ฟุต สูงถึง 51 ฟุต (เดิมอาจสูงถึง 70 ฟุต) ซึ่งทำให้มหาสถูปโบราณที่ค้น พบใหม่นี้กลายเป็นมหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองและพระ มหาสถูปบุโรพุทโธ ซึ่งทำให้มีผู้สันนิษฐานว่ามหาสถูปแห่งเกสริยานี้เป็นต้นแบบของมหาสถูป ทั้งสอง โดยมหาสถูปแห่งเกสเรียเป็นสถูปเดียวกับที่ปรากฏในบันทึกของพระถังซำจั๋ง ที่เคย จาริกแสวงบุญมายังสถานที่แห่งนี้ ท่านได้กล่าวไว้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระมหาสถูป ที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธองค์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ชาววัชชีเมืองไวสาลีที่ตาม มาส่งเสด็จพระพุทธองค์เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะเสด็จไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน
เกสริยาในปัจจุบันอยู่ห่างจากกุสินาราประมาณ 120 กิโลเมตร ในเขตรัฐพิหาร ระหว่างทาง จากเมืองไวสาลีไปยังเมืองกุสินารา”
อีกเว็บของ Dhammapedia บอกว่า เป็นเกสปุตตนิคมที่ทรงแสดงกาลามสูตร มีข้อความว่า เกสริยา หรือเกสปุตตนิคม สถานที่ทรงแสดงกาลามสูตร แก่ชาวกาลามโคตร เกสปุตตนิคม หรือ เกสริยา (อังกฤษ: Kesariya) ในปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของมหาสถูปพบ ใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ในสมัยพุทธกาล เป็นที่อยู่ของพวกชาวกาลามโคตร หรือ กาลามชน อยู่ในแคว้นโกศล เป็นหมู่บ้านทางผ่านระหว่างเมืองในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จผ่านมาที่เกสปุตตนิคม และได้ทรงแสดงกาลามสูตร หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า เกสปุตตสูตร แก่กลุ่มคนเหล่านี้จนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา
ปัจจุบันเกสปุตตนิคม ถูกเรียกเพี้ยนไปเป็น เกสเรีย หรือเกสริยา เดิมไม่เป็นที่รู้จัก และไม่เป็น จุดสำหรับจาริกแสวงบุญของชาวพุทธ แต่หลังจากกองโบราณคดีอินเดีย ได้ขุดค้นเนินดิน ใหญ่พบพระมหาสถูปโบราณ ที่มีความเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1,400 ฟุต สูงถึง 51 ฟุต (เดิม อาจสูงถึง 70 ฟุต) ซึ่งทำให้มหาสถูปโบราณที่ค้นพบใหม่นี้ กลายเป็นมหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดใน อินเดีย มีลักษณะคล้ายกับ เจดีย์ชเวดากอง และพระมหาสถูปบุโรพุทโธ ซึ่งทำให้มีผู้ สันนิษฐานว่ามหาสถูปแห่งเกสริยานี้ เป็นต้นแบบของมหาสถูปทั้งสอง และนอกจากนี้ ใน บริเวณไม่ไกลจากมหาสถูปแห่งเกสริยา นักโบราณคดีอินเดียได้พบเสาหินพระเจ้าอโศกที่ สมบูรณ์ที่สุด ที่ยังคงเหลือหัวสิงห์บนยอดเสา เช่นเดียวกับที่เมืองเวสาลีอีกด้วย
เกสริยาในปัจจุบันอยู่ห่างจากกุสินาราประมาณ 120 กิโลเมตร ในเขตหมู่บ้านเลาลิยะนันทัน (Lauliyanandan) และนันทันฆาต (Nandanghat) ในจังหวัดจัมปารัน รัฐพิหาร การเดินทาง มาที่แห่งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทำให้ไม่ค่อยมีผู้แสวงบุญมาสักการะมหาสถูปแห่งนี้ เท่าใดนัก”
ที่ขัดแย้งกัน คือ เกสปุตตนิคมอยู่แคว้นโกศล (ที่ตั้งพระวิหารเชตวัน) แต่เกสริยาสถูปองค์นี้ตั้ง อยู่แคว้นวัชชีต่อกับแคว้นมัลละ จึงไม่ตรงกับสถานที่แสดงไว้ในพระไตรปิฎก และตามความ เป็นจริงก็ห่างไกลกันมาก เราเดินทางจากพระเชตวันมาเกสริยาระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร
จะอ้างอรรถกถาจารย์ที่แสดงไว้ก็ไม่ใช่ผู้รอบรู้ ถ้าผู้ใดทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ก็กรุณานำมาลงใน กระทู้ด้วยค่ะ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป และบางครั้งก็เป็นคนตาบอดคลำช้าง คือรู้เพียงบางส่วนก็ทึกทักเอาเป็นจริงเป็นจัง อย่างเรื่องเจดีย์ชเวดากองที่พม่าบอกว่า เป็นพระ เจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ภัลลิกะและตปุสสะ อุบาสกคู่แรก ผู้ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง ขอประทานจากพระองค์แล้วนำมาประดิษฐานไว้ที่ ชเวดากอง อ่านเฉพาะในพระไตรปิฎกก็ไม่พบข้อความนี้ ก็คิดว่า พม่าคิดเอง แต่พอได้อ่าน อรรถกถาอีกครั้งก็มีข้อความนั้นจริงๆ มีข้อความบางตอนว่า
... ที่นั้น เทพยดานั้นทราบว่าเขาทั้งสองลำบาก จึงเข้าสิงในร่างของบุรุษคนหนึ่งแล้วกล่าวว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงต้องลำบาก ไม่มียักษ์อื่นกลั่นแกล้ง ไม่มีภูตผีกลั่นแกล้ง ไม่มีนาค กลั่นแกล้งพวกท่านดอก แต่เราเป็นมารดาของพวกท่านในอัตภาพที่ ๕ บังเกิดเป็นภุมเทวดา อยู่ในที่นี้ นั่นพระทศพลประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นเกด ขอพวกเจ้าจงถวายบิณฑบาตเป็นครั้งแรก แด่พระองค์เถิด ดังนี้.
พวกเขาได้ฟังถ้อยคำของนางแล้วมีใจยินดี เอาข้าวสัตตุผลและข้าวสัตตุก้อนใส่ถาดทองนำ ไปยังสำนักของพระศาสดา แล้วกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดทรงรับโภชนะนี้เถิด พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงตรวจดูอาจิณปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตแล้ว. ลำดับนั้น ท้าว มหาราชทั้ง ๔ องค์น้อมถวายบาตรทำด้วยหิน ๔ ในแด่พระองค์.
พระศาสดาตรัสว่า ขอผลเป็นอันมากจงสำเร็จแก่ท่านทั้งสองเถิด แล้วทรงอธิษฐานบาตรแม้ ทั้ง ๔ ใบให้เป็นบาตรใบเดียวเท่านั้น.
ในขณะนั้น พ่อค้าทั้งสองนั้นจึงเอาข้าวสัตตุผงและข้าวสัตตุก้อนใส่ในบาตรของพระตถาคต ใน เวลาที่พระองค์เสวยเสร็จแล้วถวายน้ำ ในเวลาเสร็จภัตกิจแล้วถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง.
ที่นั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขาทั้งสอง. ในเวลาจบเทศนา เขาทั้งสองตั้งอยู่ในสรณะ [ทเววาจิกะ] ที่เปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมทั้งสองเท่านั้น ถวายบังคมพระศาสดา แล้ว มีประสงค์จะไปสู่นครของตน จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรด ประทานเจดีย์สำหรับบูชาแก่พวกข้าพระองค์เถิด.
พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ขวาลูบพระเศียรแล้วประทานเส้นพระเกศธาตุ ๘ เส้นแก่ชนแม้ทั้ง สอง ชนทั้งสองนั้นวางพระเกศธาตุไว้ในผอบทองคำนำไปสู่นครของตน ให้บรรจุพระเกศธาตุ ของพระพุทธเจ้าที่ยังมีพระชนม์ไว้ที่ประตูอสิตัญชนนคร ในวันอุโบสถก็มีรัศมีสีนิลเปล่งออกมา จากพระเจดีย์ เรื่องนี้เกิดขึ้นโดยทำนองนี้”
ต้องขอกราบประทานโทษที่เคยเข้าใจผิดและเล่าผิดใน “ธรรมะจากพม่า” ด้วยค่ะ ข้าพเจ้าจะ สำรวมระวังในกาลต่อไป
ไม่ว่าเกสริยาสถูปจะเป็นสถานที่เกี่ยวกับพุทธประวัติตอนใดก็ตาม แต่ก็นับเนื่องกับพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแสดงให้เห็นศรัทธาของผู้ได้เข้าใจพระธรรมคำสอนได้สร้างไว้เพื่อบูชา พระรัตนตรัยอย่างสูงสุดรองจากการปฏิบัติบูชา ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามคำสอนนั้น และ สถูปนี้ก็สืบต่อมาจนถึงเรา แม้เวลาจะผ่านไปนานแล้ว ให้ได้เห็นเป็นประจักษ์พยานแห่งการได้ รับประโยชน์ทำให้พ้นจากทุกข์จริงจากการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ทำให้มีศรัทธา ตั้งมั่นในการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจยิ่งขึ้น เพื่อให้ความเข้าใจนั้นปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ต่อไปจนกว่าจะพ้นจากทุกข์จริงๆ สาธุ
... อ่านตอนต่อไป ...
(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 9
... อ่านย้อนหลัง ...
(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 7
(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 6
(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 5
(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 4
(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 3