(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 9 เมืองเวสาลี

 
kanchana.c
วันที่  4 พ.ย. 2557
หมายเลข  25729
อ่าน  3,560

เมืองเวสาลี

จากสถูปเกสริยาไม่ไกลนัก เห็นป้ายภาษาไทยเขียนว่า “วัดไทยเกสริยา” มองดูเป็นบ้านหลัง เล็กๆ คงเพิ่งเริ่มก่อตั้ง เสียดายที่ไม่มีเวลาแวะไปเยี่ยมเยียนคนไทยด้วยกัน คงจะดีใจถ้ามีคน ไปเยี่ยม แต่เราเป็นคณะใหญ่ต้องทำตามโปรแกรมที่ตกลงกันไว้ พอพระอาทิตย์ตกก็เริ่มเห็น หมู่บ้านหนาตาขึ้น และรถก็เลี้ยวขวาเห็นป้ายภาษาไทยอีกว่า “วัดไทยไวสาลี” และก็ผ่านไป อีกเช่นเคย ใกล้ๆ กันเห็นสิ่งก่อสร้างเป็นตึกใหญ่เปิดไฟสว่างไสวแห่งเดียวกลางทุ่งนา คือ โรง แรมรอยัลเรสซิเดนซี เวสาลี วันนี้ถึงโรงแรมเร็ว แซวไกด์ไทยว่า จะพาไปท่องราตรีที่ไหน เพราะตรงทางเข้าเห็นมีร้านชั้นเดียวเปิดไฟขายชาอยู่ มีชายอินเดียกลุ่มใหญ่ในร้าน

เมืองเวสาลีเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชี ที่ปกครองด้วยระบบสามัคคีธรรมโดยเจ้าลิจฉวี ทั้งหมด และยึดหลักอปริหาริยธรรม ธรรมแห่งความเจริญ ไม่มีความเสื่อมเลย ที่พระผู้มีพระ ภาคทรงแสดงเมื่อประทับอยู่ที่สารัททเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลีให้ชาววัชชีพึงทำ คือ

๑. จะหมั่น ประชุมกันเนืองนิตย์.

๒. จะพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกัน ทำกิจของชาววัชชี.

๓. จะไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ จะไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จะ ประพฤติปฏิบัติในวัชชีธรรมอันเป็นของเก่า.

๔. จะเคารพเชื่อฟังชาววัชชีผู้แก่เฒ่า.

๕. จะไม่ ก้าวล่วงข่มเหงกุลสตรี (หญิงที่มีสามีแล้ว) และกุลกุมารี (หญิงสาวที่ยังไม่มีสามี) .

๖. จะ เคารพนับถือเจดีย์ของชาววัชชีทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยพลีกรรมอันเป็นธรรมที่เคยให้ เคยทำ.

๗. จะจัดการรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรม ในพระอรหันต์ของชาววัชชี จะตั้งใจว่า พระ อรหันต์ที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้เป็นสุข.

(คัดลอกจากพระไตรปิฎกฉบับย่อ รวบรวมเรียบเรียงโดยท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ)

เมืองเวสาลีมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาหลายเหตุการณ์ ตามที่คุณ ธนากร นรวชิรโยธิน รวบรวมพิมพ์มาให้อ่านระหว่างการเดินทาง บางท่านก็ยังไม่ได้อ่าน เลย ขออนุญาตนำมาเล่าให้ได้ทราบรายละเอียดอีกครั้ง

“เวสาลี” มีหลายชื่อ คือ ไพสาลี ไวสาลี มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล โดยเป็น เมืองหลวงแห่งแคว้นวัชชีที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นของชมพู ทวีป ปกครองด้วยระบอบคณาธิปไตย ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขทรงอำนาจสิทธิ์ ขาด มีแต่ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งบริหารงานโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งจะประกอบไป ด้วยเหล่าสมาชิกจากเจ้าวงศ์ต่างๆ รวมเป็นคณะผู้ปกครองแคว้น ซึ่งมีถึง ๘ วงศ์ด้วยกัน และ ในจำนวนนี้ วงศ์เจ้าลิจฉวีแห่งเมืองเวสาลี และวงศ์เจ้าวิเทหะแห่งเมืองมิถิลา เป็นวงศ์ที่มี อิทธิพลมากที่สุดของแคว้นวัชชีในสมัยพุทธกาล

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเยือนเวสาลีครั้งแรกในพรรษาที่ ๕ หลังจากทรงตรัสรู้พระสัมมา สัมโพธิญาณ ตามคำกราบทูลเชิญเสด็จของเจ้าลิจฉวี ในครั้งที่เมืองเวสาลีประสพทุพภิกขภัย และฉาตกภัยอย่างร้ายแรง ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่า เมื่อ พระองค์ตรัส “รัตนสูตร” ในกรุงเวสาลี การอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาล เมื่อจบพระสูตร สัตว์ ๘,๔๐๐๐ จักตรัสรู้อริยสัจจธรรม จึงทรงรับนิมนต์ ในครั้งนั้น มีการส่งเสด็จและรับเสด็จ จากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงเวสาลีโดยพระเจ้าพิมพิสารและเหล่าเจ้าลิจฉวี อย่างงดงาม ยิ่งใหญ่ โอราฬอย่างยิ่ง เมื่อพระศาสดาเสด็จถึง ด้วยพระพุทธานุภาพจึงยังภัยทั้งหลายในเมืองเวสาลี ให้สงบลง และหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว พระองค์ทรงแสดง “รัตนสูตร” ณ เมืองเวสาลี แล้ว ประทับจำพรรษาในปีนั้น ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเคยเสด็จมาที่เวสาลีหลายครั้ง แต่ละครั้งทรงประทับที่ กูฏาคาร ศาลา ป่ามหาวัน เป็นส่วนใหญ่ พระสูตรหลายพระสูตรเกิดขึ้นที่เมืองแห่งนี้ และที่กูฏาคาร ศาลา ป่ามหาวัน ยังเป็นสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ พระนางมหาปชาบดี โคตมีเถรี พระนางน้าของพระองค์ พร้อมกับบริวาร สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้เป็นครั้ง แรกในโลก

ในการเสด็จครั้งสุดท้ายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เมืองนี้ พระองค์ได้ทรงรับสวนมะม่วง ของนางอัมพปาลี นางคณิกาประจำเมืองเวสาลี ซึ่งนางได้อุทิศถวายเป็นอารามในพระพุทธ ศาสนา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้ายที่ เวฬุวคาม และได้ทรงปลงพระชนมายุสังขารที่ เมืองนี้ ณ ปาวาลเจดีย์ ซึ่งมีขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ เมื่อมีพระชมมายุได้ ๘๐ พรรษา ตาม คำกราบทูลนิมนต์ให้เสด็จดับขันธปรินิพพานของวสวัตตีมาร ดังนี้ :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดย มาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งพวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักยังไม่ ปรินิพพานเพียงนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคนี้สมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่ หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งพวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ขอพระผู้มี พระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลา ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ฯ

เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ ... ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงมี ความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ... ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีพระสติสัมปชัญญะทรงปลงพระ ชนมายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ และเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ได้เกิด แผ่นดินไหวใหญ่ และขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ๓ เดือน จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ และหลังจากพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไป แล้ว ๑๐๐ ปี จึงได้มีการทำสังคายนาครั้งที่สอง ณ วาลิการาม เมืองเวสาลี

ในช่วงเวลาไม่นานหลังพุทธปรินิพพาน เมืองเวสาลีได้ตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้นมคธ โดยการนำของพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ สาเหตุของการเสียเมืองแก่แคว้น มคธเพราะการแตกความสามัคคีของเจ้าวัชชี ซึ่งถูกยุยงจากวัสสการพราหมณ์ ที่พระเจ้าอชาต ศัตรูทรงส่งไปเป็นไส้สึกเพื่อเป็นบ่อนทำลายภายใน เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงยกกองทัพมา ยึดเมือง จึงทรงสามารถยึดได้โดยง่าย เพราะไม่มีเจ้าวัชชีองค์ใดต่อสู้ เนื่องจากขัดแย้งกันเอง ทำให้แคว้นวัชชีล่มสลายและเมืองเวสาลีหมดฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้น และตกไปอยู่ใน อำนาจของแคว้นมคธ

แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้ง ในช่วง พ.ศ. ๗๐ ที่เริ่มจากอำมาตย์ และราษฎรพร้อมใจกันถอดพระเจ้านาคทัสสก์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์พระเจ้าพิมพิสารออก เนื่องจากราชวงศ์นี้ได้มีกษัตริย์ทรงกระทำปิตุฆาตติดต่อกันถึง ๗ พระองค์ นับจากพระเจ้า อชาตศัตรู จากนั้นจึงได้สถาปนา สุสูนาคอำมาตย์ ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่ง แคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แทน พระเจ้าสุสูนาค จึงทรงย้ายเมืองหลวงของ แคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน เมืองเวสาลีจึงมีความสำคัญในฐานะเมือง หลวงอีกครั้ง

แต่ทว่าก็เป็นเมืองหลวงได้ไม่นาน เพราะกษัตริย์พระองค์ต่อมา คือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเวสาลี ไปยังเมืองปาตลี บุตร ทำให้เมืองเวสาลีถูกลดความสำคัญลง และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา

ปัจจุบัน กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี มีเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราชที่สมบูรณ์ และงดงามที่สุดในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธ ศาสนาในครั้งอดีต

ขอบคุณและอนุโมทนา คุณธนากร นรวชิรโยธิน ที่ได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการมา นมัสการสังเวชนียสถานในครั้งนี้อย่างยิ่งค่ะ

วันรุ่งขึ้นเดินทางไปปาวาลเจดีย์และกูฎาคารศาลา ป่ามหาวันแต่เช้า ร่วมกันห่มผ้าสีทอง รอบปาวาลเจดีย์และเสาหินพระเจ้าอโศกที่สมบูรณ์ที่สุด และเวียนเทียนประทักษิณเพื่อแสดง ความนอบน้อมอย่างสูงสุดแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ที่หมู่บ้านนี้มีส้มโอขายมากมาย ลูกใหญ่มาก ราคา 10 รูปี (6.50 บาท) ราคาถูกจนงงว่า เขาขอเงินหรือบอกราคาส้มโอ ที่เขาปอกเปลือกไว้ก็ดูฉ่ำน่ารับประทาน บางคนซื้อมาลองชิม ปรากฏว่าเปรี้ยวสมราคา หรืออาจจะแพงกว่าราคา เพราะรับประทานไม่ได้

เดินทางออกจากโรงแรมบ่ายโมงกว่า เพราะมีผู้ทำกระเป๋าสตางค์พร้อมกับบัตรเครดิตหาย ต้องดำเนินการโทรศัพท์ยกเลิกบัตร แต่ก็ผ่านพ้นไปด้วยดี

... อ่านตอนต่อไป ...

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 10

... อ่านย้อนหลัง ...

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 8

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 7

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 6

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 5

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 4

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 3

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 2

(เกือบ) ถอดใจ ... ที่อินเดีย 1


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
siraya
วันที่ 5 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 5 พ.ย. 2557

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 5 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Boonyavee
วันที่ 5 พ.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองคนั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pulit
วันที่ 6 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 6 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 6 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สิริพรรณ
วันที่ 6 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wirat.k
วันที่ 9 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ