การทำสมาธิแบบต่างๆ กับการนอนหลับ
การทำสมาธิแบบต่างๆ เช่นการนั่งสมาธิ กับการนอนหลับ มีคุณ และโทษเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญาและความเห็นถูกครับ การกระทำอะไรก็ตามที่ทำแล้วไม่รู้ ทำแล้วสงสัย ทำแล้วเป็นไปในการเพิ่มอกุศลจิต อกุศลธรรม มีความไม่รู้ ความไม่สบายใจ โทสะและกิเลสอื่นเพิ่มขึ้น นั่นไม่ใช่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นหนทางที่ผิด ไม่ใช่หนทางที่ถูกและไม่ใช่ปัญญาเลยครับ แต่การกระทำอะไรก็ตามเมื่อกระทำแล้ว กุศลเจริญขึ้นและปัญญาเจริญมากขึ้น นั่นเป็นพระพุทธศาสนาและเป็นหนทางที่ถูกตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ครับ
ดังนั้น เมื่อรู้ว่าการกระทำนั้นเพิ่มอกุศล ไม่ได้เพิ่มปัญญา ความเห็นถูกอะไรเลย เพราะความเห็นถูกและปัญญาที่เจริญ ย่อมนำมาซึ่งความอาจหาญ ร่าเริงด้วยปัญญา แต่ไม่ใช่การทนไม่ได้เพราะความคิดนึกที่ไม่ถูกต้องอันเกิดจาก สมาธิ ที่เป็นสมาธิที่ผิดครับ คำว่า จงกรม ก็ดี สมาธิ ก็ดี ซึ่งถ้าได้ศึกษาอย่างละเอียดแล้ว จะไม่เข้าใจผิดเลย จะไม่เข้าใจผิดว่า จงกรม และ สมาธิเป็นรูปแบบของการปฏิบัติ
เพราะจงกรม ก็คือ การเดินปกติ ไม่ใช่สร้างท่าทางขึ้นมาให้ผิดปกติ เดินตามปกตินี้เอง คือ จงกรม (ซึ่งมาจากภาษาบาลีว่า จงฺกม แปลว่า การก้าวเดินไป ก้าวไป) สภาพธรรมใดปรากฏก็สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ในขณะนั้น ส่วนสมาธิเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก มีทั้งมิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ซึ่งถ้าไปทำอะไรด้วยความเป็นตัวตนด้วยความจดจ้องต้องการว่าเป็นทางที่จะทำให้หลุดพ้น นั่นล้วนเป็นมิจฉาสมาธิทั้งหมด เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส พอกพูนสังสารวัฏฏ์ให้ยืดยาวต่อไป ส่วนสมาธิที่เป็นกุศลก็มี เพราะสมาธิเป็นเจตสิกประการหนึ่งที่เกิดกับจิตทุกประเภท (เอกัคคตาเจตสิก) ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดกับจิตประเภทใด ถ้าเกิดกับอกุศล (ซึ่งมีมากเป็นอย่างยิ่ง) เป็นอกุศลสมาธิหรือเป็นมิจฉาสมาธิ แต่ถ้าเกิดกับกุศลจิตก็เป็นกุศลสมาธิ ทั้งหมดทั้งปวงนั้นต้องเริ่มที่การฟัง การศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ ครับ.
เชิญคลิกอ่านที่นี่นะครับ มีประโยชน์มาก
ตอบคำถาม FQA เรื่อง จะไปปฏิบัติ (นั่งสมาธิ เดินจงกรม)
สมาธินั้น...แค่ไหนจึงเป็นมิจฉาสมาธิ แค่ไหนจึงเป็นสัมมาสมาธิ.
ขออนุโมทนา
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ผเดิมเป็นอย่างยิ่ง ครับ.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ไม่ควรไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ เพราะถ้าตั้งต้นผิด ก็ย่อมผิดโดยตลอด หนทางเดียว ที่จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏตามความเป็นจริงนั้น ต้องฟังพระธรรม ต้องศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความตั้งใจจริงๆ เพราะพระธรรมทั้งหมดนั้นแสดงให้ผู้ฟังผู้ศึกษาได้เข้าใจตามความเป็นจริง และสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้นมีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาในการที่จะรู้ธรรม ต้องเป็นปกติจริงๆ ไม่ใช่ผิดปกติ แม้แต่ในเรื่องของ สมาธิ ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าได้ศึกษาอย่างละเอียดแล้ว จะไม่เข้าใจผิดเลย จะไม่เข้าใจผิดว่าสมาธิเป็นรูปแบบของการปฏิบัติ และถ้าจะพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว ขณะที่บอกว่านั่งสมาธินั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกอะไรเลย นอกจากได้ความเมื่อยและได้มีอกุศล (โลภะ และความเห็นผิด เป็นต้น) มากยิ่งขึ้น
เพราะเหตุว่า สมาธิ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก มีทั้งมิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ ซึ่งถ้าไปทำอะไรด้วยความเป็นตัวตนด้วยความจดจ้องต้องการ ล้วนเป็นมิจฉาสมาธิทั้งหมด เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส พอกพูนสังสารวัฏฏ์ให้ยืดยาวต่อไป ส่วนสมาธิที่เป็นกุศลก็มี เพราะสมาธิเป็นเจตสิกประการหนึ่งที่เกิดกับจิตทุกประเภท (เอกัคคตาเจตสิก) ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดกับจิตประเภทใด ถ้าเกิดกับอกุศล (ซึ่งมีมากเป็นอย่างยิ่ง) เป็นอกุศลสมาธิ หรือเป็นมิจฉาสมาธิ แต่ถ้าเกิดกับกุศลจิตก็เป็นกุศลสมาธิ ทั้งหมดทั้งปวงนั้น ต้องเริ่มที่การฟัง การศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ ธรรมทุกคำมีค่ามาก ถ้ามีความตั้งใจที่จะฟัง ที่จะศึกษาด้วยความจริงใจแล้ว ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
การนอนหลับก็เป็นปกติของปุถุชน แม้แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ต้องพักผ่อนนอนหลับ แต่ท่านมีสติ ไม่เหมือนปุถุชนเป็นผู้มีปกติหลงลืมสติ ส่วนสมาธิก็มีทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ ถ้ายังไม่มีความเข้าใจในเรื่องการศึกษาธรรมที่ถูกต้องก็อย่าไปทำตามๆ กันค่ะ
การทำสมาธิแบบต่างๆ เช่นการนั่งสมาธิ กับการนอนหลับ มีคุณ และโทษเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ. อาจจะดูเป็นคำถามที่ไร้สาระสำหรับผู้รู้ ขอขอบพระคุณในทุกคำแนะนำ
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 6 โดย azide
การทำสมาธิแบบต่างๆ เช่นการนั่งสมาธิ กับการนอนหลับ มีคุณ และโทษเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ. อาจจะดูเป็นคำถามที่ไร้สาระสำหรับผู้รู้ ขอขอบพระคุณในทุกคำแนะนำ
การทำสมาธิ เป็นอกุศล ถ้าเป็นอกุศลแล้ว เป็นโทษ ไม่ดีเลยแม้แต่น้อย และจะทำให้สะสมความไม่รู้ ความติดข้องและความเห็นผิด ต่อไป ส่วนประเด็นเรื่องการนอนหลับ น่าพิจารณาว่าขณะที่หลับนั้นเป็นจิตชาติวิบาก เป็นผลของกรรมเรียกว่า ภวังคจิต คือ จิตที่ทำกิจดำรงภพชาติ คือ ดำรงความเป็นบุคคลนี้ไว้ หลังจากเกิดจนถึงก่อนตาย ไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีการได้กลิ่น ไม่มีการลิ้มรส ไม่มีการถูกต้องกระทบสัมผัสทางกาย ไม่มีการคิดนึก โลกนี้ไม่ปรากฏเลยในขณะนั้น ขณะที่หลับสนิทจิตไม่เป็นอกุศลเลยในขณะนั้น จึงไม่มีโทษในขณะนั้นเพราะไม่เป็นอกุศล แต่ถ้ามีแต่หลับนานๆ หลับตลอด ก็เป็นหมันคือไร้ประโยชน์สำหรับชีวิต แทนที่จะได้เจริญกุศลอย่างอืน ก็มีแต่นอน
ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้
ขณะที่กำลังหลับ ไม่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ แต่จะไม่เป็นประโยชน์เท่ากับการตื่นขึ้นสติเกิดรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็ขอให้เทียบดูว่า หลับแล้วไม่เกิดอกุศล แต่ถ้ามีการตื่นขึ้น แล้วไม่เจริญสติ ก็พอกพูนโลภะ โทสะ โมหะเพิ่มขึ้น มากขึ้น
อ้างอิงจาก ... ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๑๐
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...