ปฐม-ทุติยสัทธัมมนิยามสูตร ... วันเสาร์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

 
มศพ.
วันที่  1 พ.ย. 2558
หมายเลข  27169
อ่าน  1,695

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร

ทุติยสัทธัมมนิายมสูตร

... จาก ...

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๓๑๙

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๓๑๙

๑.ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศลและไม่เข้าถึงกุศล

[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยามคือ ความถูกในกุศลธรรม. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้ไม่มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ก็เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม.

จบปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑.

อรรถกถาปฐมสัทธัมมนิยามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อภพฺโพ นิยาม โอกฺกมิต กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตความว่า ภิกษุไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรคนิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย.ในบทว่า กถ ปริโภติ เป็นต้น เมื่อกล่าวว่า เรื่องนี้ชื่อเรื่องอะไรดังนี้ชื่อว่า ดูหมิ่นเรื่องที่แสดง. เมื่อกล่าวว่า ผู้นั้นพูดเรื่องอะไร ผู้นี้จะรู้อะไรดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นผู้แสดง. เมื่อกล่าวว่า เราจะรู้กำลังที่จะฟังเรื่องนี้ของเราได้แต่ไหน ดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นตน. พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้าม.

จบอรรถกถาปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑.

๒. ทุติยสัมธัมมนิยามสูตร ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึงและไม่เข้าถึงกุศล

[๑๕๒] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการแม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความถือตัวว่า เข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือความถูกในกุศลธรรม. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือความถูกในกุศลธรรม. จบทุติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยสัทธัมมนิยามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนญฺญาเต อญฺญาตมานี ได้แก่ เป็นผู้ไว้ตัวว่า เรารู้แล้วในข้อที่ยังไม่รู้.

จบอรรถกถาทุติยสัทธัมมนิยมสูตรที่ ๒.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 พ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

© ข้อความโดยสรุป ©

ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศลและไม่เข้าถึงกุศล

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้จะฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่สามารถหยั่งลงสู่ความถูกต้องในกุศลธรรมได้ ได้แก่

-พูดมาก

-พูดสิ่งที่ผู้อื่นพูดแล้ว มาก

-พูดปรารภตน

-ฟุ้งซ่าน

-ไม่ใส่ใจอย่างถูกต้องแยบคาย

ส่วนผู้ฟ้งสัทธรรม แล้วสามารถหยั่งลงสู่ความถูกต้องในกุศลธรรม มีนัยตรงกันข้าม

© ข้อความโดยสรุป ©

ทุติยสัทธัมมนิยามสูตร ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศลและไม่เข้าถึงกุศล

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้จะฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่สามารถหยั่งลงสู่ความถูกต้องในกุศลธรรมได้ ได้แก่

-พูดมาก

-พูดสิ่งที่ผู้อื่นพูดแล้ว มาก

-พูดปรารภตน

-ไม่มีปัญญา โง่เง่า

-สำคัญว่าได้รู้แล้วในสิ่งที่ยังไม่รู้

ส่วนผู้ฟ้งสัทธรรม แล้วสามารถหยั่งลงสู่ความถูกต้องในกุศลธรรม มีนัยตรงกันข้าม

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

สัทธรรม

สัทธรรมมีความหมายหลายนัย

พระสัทธรรม ๓ อย่าง [มหาวิภังค์]

องค์ประกอบของการฟังธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา

ความฟุ้งซ่าน

การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 1 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 1 พ.ย. 2558

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pulit
วันที่ 3 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
j.jim
วันที่ 6 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
tanrat
วันที่ 7 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ