ญาตกสูตร ... พระสูตรวันเสาร์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๑

 
มศพ.
วันที่  15 ม.ค. 2561
หมายเลข  29414
อ่าน  1,088

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๑

...จาก...

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๒๑

ญาตกสูตร

(ว่าด้วยปฏิบัติเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์)

[๔๕๐] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสิ่งอันมิใช่ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเสื่อม เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ชนมาก ทั้งเทวดาทั้งมนุษย์ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชักชวนในกายกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในวจีกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในธรรมทั้งหลายอันไม่สมควร ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสิ่งอันมิใช่ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเสื่อม เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ชนมาก ทั้งเทวดาทั้งมนุษย์

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเจริญ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ชนมาก ทั้งเทวดาทั้งมนุษย์ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชักชวนในกายกรรมอันสมควร ชักชวนในวจีกรรมอันสมควร ชักชวนในธรรมอันสมควร ภิกษุผู้มีชื่อเสียงประกอบด้วยธรรม ๓ประการนี้แลชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเจริญ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ชนมาก ทั้งเทวดาทั้งมนุษย์

จบ ญาตกสูตรที่ ๑


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 15 ม.ค. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ญาตกสูตร

(ว่าด้วยปฏิบัติเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุ ผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ปฏิบัติเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ได้แก่

ชักชวนในกายกรรม ที่ไม่สมควร

ชักชวนในวจีกรรม ที่ไม่สมควร

ชักชวนในธรรม ที่ไม่สมควร

และ ทรงแสดงว่า ภิกษุ ผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ได้แก่

ชักชวนในกายกรรม ที่สมควร

ชักชวนในวจีกรรม ที่สมควร

ชักชวนในธรรม ที่สมควร

(ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

อกุศลจิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้อื่น อยู่ที่การสะสมมาของตนเองแท้ๆ

อกุศลธรรมเกิดขึ้นทำกิจของอกุศลธรรมนั้นอยู่ตลอดเวลา (๑)

อกุศลธรรมเกิดขึ้นทำกิจของอกุศลธรรมนั้นอยู่ตลอดเวลา (๒)

ในวันหนึ่งๆ เปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศลเพิ่มขึ้นหรือไม่

ความหมายของ กุศล และ อกุศล

เมื่อกล่าวถึงอกุศล...ก็เพื่อให้เห็นโทษ

สิ่งที่มีค่าเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือปัญญา

ชีวิตที่มีค่า คือ มีชีวิตอยู่ถึงวันนี้ และได้ฟังพระธรรมให้เข้าใจ

ว่าด้วยฐานะและอฐานะ

ขณะที่ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นนั้น ขณะนั้นก็เป็นประโยชน์ตน

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ประสาน
วันที่ 19 ม.ค. 2561

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิการศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 19 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ