ชีวิตดำรงอยู่เพียงชั่วขณะจิตเดียว

 
nattawan
วันที่  26 ก.พ. 2567
หมายเลข  47510
อ่าน  280

ชีวิตดำรงอยู่เพียงชั่วขณะจิตเดียว พรุ่งนี้ไม่ทราบจะอยู่ที่ไหน หรือเย็นนี้ก็ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน หรือแม้แต่เพียงขณะหนึ่งขณะใดต่อไปนี้ เราก็ยังไม่ทราบอะไรจะเกิดขึ้นก็ย่อมได้

เชิญฟัง ...

ชีวิตดำรงอยู่เพียงชั่วขณะจิตเดียว

ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 26 ก.พ. 2567

ไม่คิดร้ายแม้ผู้เป็นข้าศึก

ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค นทุพภิยสูตรที่ ๗ สาวัตถีนิทาน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดาผู้หลีกเร้นออกอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความตรึกนึกคิดขึ้นว่า เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา
นี่เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ไม่ว่าในโลกมนุษย์หรือที่ไหนก็ตาม ท่านผู้ฟังเคยคิดอย่าง นี้ไหมคะ เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา
ท่านต้องรู้แน่ว่า มีใครบ้างที่ไม่ชอบท่าน ถูกไหมคะ ท่านจะเป็นที่รักของทุกคน เป็น ไปไม่ได้ คนที่ไม่ชอบท่าน ต้องมีบ้าง จะมากหรือจะน้อยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง บางทีท่านอาจ จะเป็นบุคคลที่ดีจริงๆ มีความเมตตากรุณากับบุคคลอื่น ไม่หวังร้าย ประทุษร้ายต่อ บุคคลอื่น แต่ความดีของท่านถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่สามารถป้องกันอกุศลจิตของคนอื่นไม่ ให้คิดร้าย หรือโกรธเคืองท่านได้ เพราะเหตุว่าถึงแม้ท่านจะเป็นคนดีสักเท่าไรก็ตาม คน ที่ไม่ชอบท่าน หรืออาจจะริษยาท่านเพียงเล็กน้อยนิดหน่อยก็ต้องมี เพราะฉะนั้นถ้ากุศล จิตเกิดเหมือนอย่างพระอินทร์ ก็ย่อมมีความคิดว่า เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้ที่เป็น ข้าศึกต่อเรา

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ถ้าท่านพิจารณาแล้วน้อมนำมาประพฤติ ปฏิบัติใน ชีวิตประจำวัน ก็จะเห็นว่า ถ้าปฏิบัติตามได้ คิดอย่างนี้บ่อยๆ เป็นกุศลจิตของ ท่าน แต่สำหรับผู้ที่หวังร้ายต่อท่าน ก็เป็นอกุศลจิตของเขา

ไม่คิดร้ายแม้ผู้เป็นข้าศึก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 26 ก.พ. 2567

ศัตรูตัวใหญ่

เมื่ออกุศลทุกอย่าง ปราศจากโมหะไม่ได้ การรบกับอกุศลธรรม ที่จะไม่ให้อกุศลธรรมเกิดได้จริงๆ ก็จะต้องปราศจากปัญญาไม่ได้เช่นเดียวกัน

เชิญฟัง ...

ศัตรูตัวใหญ่

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nattawan
วันที่ 26 ก.พ. 2567

พระภิกษุเป็นหัวหน้าของพุทธบริษัท เพราะฉะนั้น หัวหน้าต้องไม่ใช่โจร

อ่านเพิ่มเติม ...

พระภิกษุในพระธรรมวินัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 26 ก.พ. 2567

พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงทั้งหมด เป็นเรื่องของการละตั้งแต่ต้น ถ้าคำสอนใดหรือหนทางไหนสอนเพื่อที่จะให้ได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ สอนให้ติดข้อง นั่นไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน รวมไปถึงคำสอนใดที่สอนให้กระทำอะไรด้วยความเห็นผิด ด้วยความไม่รู้ หลงงมงาย นั่นก็ไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน พระธรรมทั้งหมด ต้องเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก และขัดเกลาละคลายกิเลสเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม ...

พระผู้มีพระภาคทรงให้ฟังแต่พุทธวจนเท่านั้น ใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nattawan
วันที่ 26 ก.พ. 2567

สังโยชนสูตร (ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสังโยชน์ ๑๐ ประการ

โดยทรงจำแนกเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นตัวตน)

๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม)

๓. สีลัพพตปรามาส (ความลูบคลำศีลพรตซึ่งเป็นข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด)

๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)

๕. พยาบาท (ความโกรธ ขุ่นเคืองใจ ปองร้าย)

และ เป็นสังโยชน์เบื้องบน ๕ คือ

๑. รูปราคะ (โลภะที่ติดข้องในรูปฌาน ติดข้องในรูปภพ)

๒. อรูปราคะ (โลภะที่ติดข้องในอรูปฌาน ติดข้องในอรูปภพ)

๓. มานะ (ความสำคัญตน)

๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

๕. อวิชชา (ความไม่รู้)

*สังโยชน์ ๑๐ ประการ เป็นอกุศลธรรมที่ผูกมัดเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ จะดับได้อย่างเด็ดขาดด้วยมรรค กล่าวคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดับได้ด้วยโสตาปัตติมรรค, กามฉันทะ พยาบาท ดับได้ด้วยอนาคามิมรรค, สังโยชน์เบื้องบน ๕ ประการ ดับได้ด้วยอรหัตตมรรค

อ่านเพิ่มเติม ...

สังโยชนสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 26 ก.พ. 2567

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบทเล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 198
ข้อความบางตอนจาก เรื่อง พระเทวทัต

พระเทวทัตถูกธรณีสูบ

พวกสาวกพาพระเทวทัตมา วางเตียงลงริมฝั่งสระโบกขรณีใกล้พระเชตวันแล้ว ต่างก็ลงไปเพื่อจะอาบน้ำในสระโบกขรณี.
แม้พระเทวทัตแล ลุกจากเตียงแล้วนั่งวางเท้าทั้งสองบนพื้นดิน เท้าทั้งสองนั้นก็จมแผ่นดินลง. เธอจมลงแล้วโดยลำดับเพียงข้อเท้า, เพียงเข่า, เพียงเอว, เพียงนม, จนถึงคอ, ในเวลาที่กระดูกคางจดถึงพื้นดิน ได้กล่าวคาถานี้ว่า
"ข้าพระองค์ขอถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นบุคคลเลิศ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นสารถี ฝึกนรชน มีพระจักษุรอบคอบ มีพระลักษณะ แต่ละอย่างเกิดด้วยบุญตั้งร้อย๑ ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วยกระดูกเหล่านี้พร้อมด้วยลมหายใจ."
นัยว่า "พระตถาคตเจ้าทรงเห็นฐานะนี้ จึงโปรดให้พระเทวทัตบวช. ก็ถ้าพระเทวทัตนั้น จักไม่ได้บวชไซร้, เป็นคฤหัสถ์ จักได้ทำกรรมหนัก, จักไม่ได้อาจทำปัจจัยแห่งภพต่อไป, ก็แลครั้นบวชแล้วจักทำกรรมหนักก็จริง, (ถึงดังนั้น) ก็จะสามารถทำปัจจัยแห่งภพต่อไปได้" เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงโปรดให้เธอบวช
จริงอยู่ พระเทวทัตนั้น จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าอัฏฐิสสระ ในที่สุดแห่งแสนกัลป์แต่กัลป์นี้ พระเทวทัตนั้นจมดินแล้วเกิดในอเวจี.

อ่านเพิ่มเติม ...

พระเทวทัต กับความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 1 เม.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ