จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 019
แต่ว่ารูปธรรมนั้นไม่ใช่วิบาก เป็นผลของกุศลหรืออกุศลได้ แต่ไม่ใช่วิบาก สำหรับจิตและเจตสิกเท่านั้นที่เป็นวิบาก
7094 อจิณไตยใช่ไหม ถ้ามีใครพยากรณ์จะเชื่อไหม
ถาม เรื่องของคิด เรื่องของวิบากนี้ ทำให้บุคคลบางคนนี้ดังไปหลายคน เช่นในประเทศไทย มีหลายต่อหลายคนช่างคิด แล้วก็ไปเอาตัวอย่างตามความเป็นจริงในปัจจุบัน เอาบางบุคคลมาเป็นตัวอย่าง จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง สมมติว่า คนที่ฆ่าหมูเป็นอาชีพ ก่อนจะตายบางครั้งบางคราวก็มีร้องเสียงเหมือนหมู บางครั้งบางคราวก็คนที่ในชีวิตนี้ชอบฆ่าแมลงสาบ ตายแล้ว คนไปเปิดหีบศพของเขา พบว่ามีแมลงสาบทั้งหีบเลย อย่างนี้เป็นต้น ก็ถือว่า นั่นเป็นผลของชาติที่แล้ว หรือว่าคนที่ก่อนจะตาย มีเสียงร้องเหมือนหมู ก็เป็นผลของกรรมในชาตินั้น ที่ว่า เคยฆ่าหมู อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้จะตรงไหม
ท่านอาจารย์ อจินไตย ใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ก็คนทั่วๆ ไป เขาเชื่อว่า มันเป็นจริงอย่างที่เขาคิด
ท่านอาจารย์ คิด แต่ไม่ใช่การรู้แจ้ง หรือการประจักษ์ ไมใช่บุคคลที่มีพลญาณ คือ ปัญญาพิเศษที่มีกำลังสามารถที่จะรู้กรรมและวิบากจริงๆ เป็นแต่เพียงการคาดคะเน และใครจะบอกได้ แม้ในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน พระอรหันต์ก็ตาม หรือผู้ที่ได้ทราบว่า มีใครได้รับผลของกรรมวิบากต่างๆ เกิดขึ้น ท่านเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลถาม ทั้งๆ ที่ท่านอาจจะคิดเอาก็ได้ เหมือนอย่างคนในสมัยนี้ก็ยังคิดเอาก็ได้ ใช่ไหมคะ ว่าคงจะเป็นผลของกรรมนี้ หรือผลของกรรมนั้น
เรื่องของความคิด คิดได้ แต่ว่าจริงหรือไม่จริง บุคคลในครั้งนั้นไปเฝ้ากราบทูลถามพระผู้มีพระภาค แล้วบุคคลในครั้งนี้จะเชื่อความคิดว่า จริง โดยที่ไม่มีโอกาสไปเฝ้ากราบทูลถามพระผู้มีพระภาค แต่พอที่จะทราบได้นะคะว่า อกุศลวิบากทั้งหลายเป็นผลของอกุศลกรรม และตามที่ทรงแสดงไว้ว่า ผลของปาณาติบาตคืออย่างไร ผลของอทินนาทานคืออย่างไร ผลของกาเมสุมิจฉาจารคืออย่างไร ผลของมุสาวาทคืออย่างไร แต่ไม่สามารถที่จะพยากรณ์ได้ว่า ขณะที่วิบากนี้เกิดขึ้นเป็นเพราะกรรมอะไรในอดีต ในชาติไหน ถ้ามีใครพยากรณ์ จะเชื่อไหมคะ หรือว่าท่านเป็นผู้ที่เชื่อง่าย ใครว่าอะไรก็ถูก เขาสามารถที่จะรู้ได้ ในเมื่อบุคคลนั้นไม่มีพลญาณ
7095 วิบากหมายเฉพาะนามธรรมเท่านั้น รูปธรรมเป็นผลของกรรมแต่ไม่ใช่วิบาก
ในคราวก่อนได้กล่าวถึงเรื่องของวิบากว่า หมายเฉพาะสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมเท่านั้น ข้อความในอัฏฐสาลินี อรรถกถา พระธัมมสังคินีปกรณ์ นิกเขปกัณฑ์ ติกนิบาตเขปกถา เรื่องวิปากติกะ ซึ่งขยายความวิปากธรรม มีข้อความว่า
เฉพาะนามธรรมที่มีอารมณ์เท่านั้น ตรัสเรียกว่า “วิบาก” เพราะเป็นเหมือนกับกรรม
เหตุผลที่ว่า เวลาที่กรรมให้ผลทำให้วิบากจิตและเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกับรูป เฉพาะจิตและเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมเท่านั้นที่เป็นวิบาก รูปเป็นผลของกรรมจริง แต่รูปไม่ใช่วิบาก เพราะเหตุว่านามธรรมที่มีอารมณ์เท่านั้น ตรัสเรียกว่า “วิบาก” เพราะเป็นเหมือนกับกรรม
อุปมาเหมือนผลไม้ ซึ่งเหมือนกันกับพืช ฉะนั้น จริงอยู่ เมื่อพืชข้าวสาลีอันเขาหว่านแล้ว แม้ในเมื่อออกหน่อและใบเป็นต้นแล้ว เขาก็ยังไม่เรียกว่า “ผลข้าวสาลี” แต่เมื่อใดรวงข้าวสาลีเป็นของสุกงอมแล้ว เมื่อนั้นข้าวสาลีซึ่งเหมือนกับพืชนั่นแหละ เขาย่อมเรียกว่า “ผลข้าวสาลี” ดังนี้ ส่วนหน่อและใบ เป็นต้น เขาเรียกว่า “พืชอันบังเกิดแต่พืช” ดังนี้ แม้รูปก็เช่นนั้นเหมือนกัน ควรจะเรียกได้ว่า “กัมมชะ เกิดแต่กรรม”
นี่เป็นความต่างกันของคำว่า “วิบาก” กับคำว่า “กัมมชรูป” ซึ่งเป็นรูปซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย กรรมเป็นปัจจัยให้เกิดจิตซึ่งเป็นวิบาก และเจตสิกซึ่งเป็นวิบาก และรูป แต่ว่ารูปนั้นไม่ใช่วิบาก แต่เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย จึงเป็น “กัมมชรูป” ได้แก่ รูปซึ่งเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย
สำหรับจิตและเจตสิกนั้นเป็นวิบาก เพราะเหตุว่าเหมือนกันกับกรรม โดยเป็นนามธรรมเหมือนกัน สามารถที่จะรู้อารมณ์ได้เช่นเดียวกับนามธรรมซึ่งเป็นกรรม แต่ว่าเป็นผลของกรรม เพราะว่ารับอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
7096 เหตุใดจึงทรงแสดงแยกรูปธรรม กับ นามธรรมที่เป็นวิบาก ไว้โดยละเอียด
ท่านผู้ฟังคงจะสงสัยว่า ทำไมทรงแสดงแยกไว้โดยละเอียด เพราะเหตุว่าแม้รูปก็เกิดขึ้นเพราะกรรม แม้วิบากจิตและเจตสิกก็เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย แต่ทำไมต้องแยกว่า รูปไม่ใช่วิบาก ที่เป็นอย่างนี้ก็เป็นเพราะเหตุว่า เพื่อที่จะทรงแสดงให้เห็นความต่างกันอย่างชัดเจนของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมว่า สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมไม่ใช่รูปธรรม และสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมไม่ใช่นามธรรม จนกว่าจะเป็นความรู้ชัด จนกว่าจะประจักษ์ลักษณะของนามธรรมซึ่งไม่ใช่รูปธรรม และประจักษ์ในลักษณะของรูปธรรมซึ่งไม่ใช่นามธรรม จึงจะหมดความสงสัยและการยึดถือสภาพธรรมซึ่งไม่ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนได้ เพราะเหตุว่าเวลานี้ยังไม่ประจักษ์ชัดในลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม อาจจะเป็นความเข้าใจ เพราะว่าได้ฟังเรื่องของนามธรรมและรูปธรรมมากพอสมควร แต่ว่ายังไม่ได้ประจักษ์แจ้งในลักษณะที่ต่างกันจริงๆ ของนามธรรมและรูปธรรม
เพราะฉะนั้นก็ได้ทรงแสดงไว้ทุกประการ เพื่อที่จะอนุเคราะห์เกื้อกูลให้อบรมเจริญปัญญา จนกว่าสามารถที่จะประจักษ์ในลักษณะของนามธรรมซึ่งไม่ใช่รูปธรรม และในลักษณะของรูปธรรม ซึ่งไม่ใช่นามธรรม ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ไม่ใช่ทรงแสดงโดยไม่ให้ประพฤติปฏิบัติตาม แต่ว่าทรงแสดงเพื่อทรงอนุเคราะห์เกื้อกูลให้สติระลึกรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏในขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นต้น เช่น ในขณะนี้และเดี๋ยวนี้
นี่คือการจะเข้าใจลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นทางตาที่กำลังเห็น และกำลังฟังเรื่องของนามธรรมและรูปธรรม
7097 วิบากต่างกันเพราะความวิจิตรของกรรมและจิตที่สะสมมาต่างๆ กัน
สำหรับอรรถ คือ ความหมายที่เป็นลักษณะของจิตประการต่างๆ คือ
๑. ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติที่รู้แจ้งอารมณ์
๒. ชื่อว่า “จิต” เพราะสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี
๓. ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติ อันกรรมกิเลสสั่งสมวิบาก
ซึ่งทุกท่านก็จะเห็นได้ว่า วิบากที่เกิดขึ้นต่างๆ กันไป ตามการสั่งสมของกรรมและกิเลส ซึ่งเนื่องกับลักษณะของจิตประการที่ ๔ คือ
๔. อนึ่ง จิตแม้ทุกดวง ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร โดยอำนาจแห่งสัมปยุตตธรรม
นี่เป็นอรรถ คือ ลักษณะของจิตประการที่ ๔ ซึ่งสืบเนื่องกับลักษณะประการที่ ๓ ที่ชื่อว่า ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติอันกรรมกิเลสสั่งสมวิบาก
วิบากที่ปรากฏต่างกันนี้ ต่างกันตามอรรถ คือ ความหมายที่เป็นลักษณะของจิตประการที่ ๔ ที่ว่า ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร โดยอำนาจแห่งสัมปยุตตธรรม
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงครบถ้วนทั้งอรรถและพยัญชนะ “วิบาก” ซึ่งเป็นผลในปัจจุบันของชาตินี้ของทุกท่านต่างกัน เพราะความวิจิตรของกรรมและจิตที่สะสมมาในอดีตต่างๆ กัน
เพราะเหตุว่าที่ชื่อว่า จิต เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตร แปลว่าต่างๆ ไม่เหมือนกัน ที่วิจิตร คือ ต่างๆ ตามสมควร โดยอำนาจแห่งสัมปยุตตธรรม
ต้องมีเหตุที่ทำให้จิตต่างกัน เพราะฉะนั้น อะไรจะเป็นเหตุที่ทำให้จิตต่างกัน จิตเป็นสังขารธรรม เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นซึ่งจะต้องมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง โดยเจตสิกเป็นธรรมชาติอีกประเภทหนึ่งซึ่งเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต เพราะฉะนั้นเจตสิกนั่นเองเป็นสัมปยุตธรรมที่เกิดกับจิตที่ทำให้จิตต่างๆ กันไป
ในอดีต จิตของแต่ละท่านก็ต่างกันมาก จนกระทั่งทำให้ผล คือ วิบากในปัจจุบันต่างกัน ไม่ว่าจะมีประชาชนมากน้อยสักเท่าไรในโลกย่อมต่างกันตามกรรม ตามความวิจิตรของเหตุ ตั้งแต่รูปร่างหน้าตา จนกระทั่งถึงการได้ลาภ การเสื่อมลาภ การได้ยศ การเสื่อมยศ สุขและทุกข์ นินทา สรรเสริญ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลซึ่งมาแต่เหตุในอดีตที่ต่างกัน เมื่อเหตุในอดีตซึ่งทำให้ผลในปัจจุบันต่างกันตั้งแต่เกิดตลอดจนกระทั่งถึงแม้แต่จะสิ้นชีวิต ก็ยังไม่มีใครรู้ว่า แต่ละท่านจะจากโลกนี้ไปโดยอาการอย่างไร ในวันไหน นอกบ้าน หรือว่าในบ้าน บนบก หรือว่าในน้ำ ก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ ด้วยโรคภัยไข้เจ็บชนิดหนึ่งชนิดใด ก็ย่อมเป็นไปตามกรรม ซึ่งเป็นเหตุในอดีต วิบากในปัจจุบันชาติที่เห็นก็ต่างกันจริงๆ และไม่ใช่แต่เฉพาะวิบากในปัจจุบันที่ต่างกัน แม้เหตุคือความวิจิตรของจิตในปัจจุบันชาตินี้เอง ก็ยิ่งต่างกันออกไปอีก สำหรับที่จะให้เกิดวิบาก คือ ผลข้างหน้าที่ต่างกันออกไป
เพราะฉะนั้น ความต่างกัน คือ ความวิจิตรไม่มีที่สิ้นสุดตามสัมปยุตตธรรม คือ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย
7098 สัมปยุตธรรม
เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้ทราบความหมายของสัมปยุตธรรมว่า ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ จิตปรมัตถ์ ๑ เจตสิกปรมัตถ์ ๑ รูปปรมัตถ์ ๑ นิพพานปรมัตถ์ ๑
สำหรับจิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน พร้อมกัน ปราศจากกันไม่ได้ แยกกันไม่ได้ เมื่อเกิดพร้อมกันแล้ว ก็ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดที่เดียวกัน นั่นคืออรรถของสัมปยุตธรรม
ข้อความในอัฏฐสาลินี อรรถกถา ธัมมสังคินีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์ มีข้อความว่า
จริงอยู่ เมื่อรูปธรรมและอรูปธรรมเกิดร่วมกัน รูปย่อมเกิดกับอรูป แต่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมปยุตต์กัน
อรูปก็เหมือนกัน คือ เกิดร่วมกับรูป แต่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมปยุตต์กัน
และรูปก็เกิดร่วมกับรูป แต่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมปยุตต์กัน
ส่วนอรูปโดยนิยมทีเดียว เกิดร่วมกันกับอรูป เกี่ยวข้องกัน สัมปยุตต์กันทีเดียว
ที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียด ก็เพื่อที่จะให้ประจักษ์ชัดจริงๆ ว่า นามธรรมไม่ใช่รูปธรรมนั่นเอง โดยขั้นของการฟัง ซึ่งเป็นสังขารขันธ์ ที่จะค่อยๆ ปรุงจนกว่าสติปัฏฐานจะเกิด แล้วก็น้อมระลึกพิจารณารู้ลักษณะของนามธรรม รู้ลักษณะของรูปธรรม จนกว่าลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมจะปรากฏ โดยสภาพที่แยกขาดจากกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตต์กัน แม้ว่าจะเกิดร่วมกัน
เพราะฉะนั้นท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า สำหรับนามธรรม คือ จิตและเจตสิกนี้ ใช้คำว่า “สัมปยุตตะ” เพราะเข้ากันได้ และเกี่ยวข้องโดยเหตุ ๔ ประการ ท่านใช้คำว่า โดยประการต่างๆ คือ นอกจากจะเกิดร่วมกันแล้ว ก็ยังรู้อารมณ์เดียวกันด้วย
ดูเป็นเรื่องธรรมดา ใช่ไหมคะ แต่ให้เห็นว่า สภาพของนามธรรมเป็นสภาพที่ละเอียด ละเอียดกว่ารูปธรรม ซึ่งรูปธรรมก็แยกออกเป็นรูปหยาบและรูปละเอียด แต่แม้กระนั้นสภาพธรรมที่เป็นรูปละเอียด ก็ยังไม่ละเอียดเท่ากับนามธรรม
7099 รูปสูตร
ข้อความในอิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๓ รูปสูตร ข้อ ๒๕๑ มีข้อความที่แสดงว่า อรูปธรรมละเอียดกว่ารูปธรรม ข้อความในรูปสูตรที่ว่า
จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อรูปละเอียดกว่ารูป นิโรธ คือ นิพพานละเอียดกว่าอรูป ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สัตว์เหล่าใดเข้าถึงรูปภพ และสัตว์เหล่าใดดำรงอยู่ในอรูปภพ สัตว์เหล่านั้นไม่รู้ชัดซึ่งนิโรธ เป็นผู้ยังต้องกลับมาสู่ภพใหม่ ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปภพแล้ว ไม่ดำรงอยู่ในอรูปภพ ชนเหล่านั้นย่อมน้อมไปในนิโรธ เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาอาสวะมิได้ ถูกต้องอมตธาตุอันไม่มีอุปธิด้วยนามกายแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งการสละคืนอุปธิ ย่อมแสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔
ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงพระสูตรนี้ทั้งหมด ก็จะเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องภพภูมิต่างๆ ด้วย เพราะฉะนั้น ก็ควรที่ได้พิจารณาถึงข้อความที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“อรูป” ละเอียดกว่า “รูป” “นิโรธ” (นิพพาน) ละเอียดกว่า “อรูป”
เพื่อที่จะได้เข้าใจจริงๆ ในลักษณะของนามธรรม ประโยชน์ก็คือสติจะได้ระลึกในขณะนี้ แล้วปัญญาสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ละเอียดกว่ารูป
7100 สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา - ความเป็นปัจจัยของนามธรรมและรูปธรรม
สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้ ท่านผู้ฟังไม่เคยประจักษ์ชัดว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะขณะใดที่ยังเห็นว่าเป็นคน เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญาที่รู้จริงๆ ว่า ไม่มีคน ไม่มีโต๊ะ ไม่มีเก้าอี้ ในขณะที่สภาพนั้นๆ กำลังปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นรูปชนิดหนึ่ง เป็นของจริง กำลังปรากฏ ขอเพียงให้ปัญญารู้ชัดจริงๆ ว่า ไม่ใช่คน ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นจริงๆ ถูกหรือผิดคะ อย่างนี้ค่ะ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น รู้แค่นี้ตามความเป็นจริง รู้ได้ไหม ยากหรือง่าย หยาบหรือละเอียด ที่จะรู้ว่าไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นรูปซึ่งมีจริงเพราะกำลังปรากฏ รูปที่กำลังปรากฏทางตา ที่จะรู้ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคลเลย หยาบหรือละเอียด ท่านผู้ฟังอาจจะคิดว่า ละเอียดแล้ว แต่ความจริงโดยนัยของรูป ๒๘ รูป สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่รูปละเอียด เป็นรูปหยาบ ทั้งๆ ที่เป็นรูปหยาบ ก็ยังไม่รู้รูปหยาบตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้นการที่สติจะระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมซึ่งเป็นสภาพเห็น ขณะนี้กำลังเห็นจริงๆ มีสภาพเห็นเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้นนามธรรมก็เป็นสภาพที่ละเอียดกว่ารูป นามธรรมทั้งหมดเป็นสภาพที่ละเอียดกว่ารูป ทั้งจิตและเจตสิกเป็นสภาพที่ละเอียดกว่ารูป เพราะเหตุว่าข้อความในอัฏฐสาลินีมีว่า
ถึงแม้ว่ารูปจะเกิดพร้อมกับรูปก็จริง แต่รูปไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือว่าสัมปยุตต์กับรูปซึ่งเกิดร่วมกัน
ต้องพิจารณาให้ละเอียดเข้าไปอีก ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นมหาภูตรูป ๔ ต้องเกิดพร้อมกันค่ะ จะขาดรูปหนึ่งรูปใดไม่ได้ จะมีแต่ธาตุดินเกิดขึ้น โดยไม่มีธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ได้ จะมีแต่ธาตุไฟเกิดขึ้น โดยไม่มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ไม่ได้ จะมีแต่ธาตุลมเกิดขึ้น โดยไม่มีธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุน้ำไม่ได้ จะมีแต่ธาตุน้ำเกิดขึ้น โดยไม่มีธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลมไม่ได้ แต่แต่ละธาตุนั้น แม้จะเกิดพร้อมกัน ร่วมกัน ดับพร้อมกันด้วยก็จริง แต่รูปทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตต์กัน เพราะเหตุว่ารูปนั้นเป็นธรรมชาติที่หยาบกว่านามธรรม
ธาตุไฟไหม้ธาตุดิน ได้ไหมคะ ธาตุไฟไหม้ธาตุน้ำ ได้ไหม ไม่ได้นะคะ เพราะเหตุว่าเราอาจจะมองเห็นวัตถุซึ่งแปลงสภาพโดยการถูกไฟเผา จริงนะคะ แต่ธาตุไฟนั้นไม่สามารถที่จะไหม้ธาตุดินได้ เพราะเหตุว่าทั้ง ๔ ธาตุ จะต้องเกิดร่วมกัน พร้อมกัน ถ้าธาตุไฟไหม้ธาตุดินซึ่งเกิดร่วมกัน จะยังเหลือธาตุดินไหมคะ หรือถ้าธาตุไฟไหม้ทางดิน ก็จะต้องบอกว่า ธาตุดินนั้นมีลักษณะร้อน เพราะเหตุว่าถูกธาตุไฟไหม้ แต่ธาตุดินไม่มีลักษณะร้อน ธาตุดินมีลักษณะแข้นแข็ง ธาตุไฟมีลักษณะร้อน ธาตุน้ำมีลักษณะเอิบอาบ เกาะกุม ธาตุลมมีลักษณะไหว เคร่งตึง
เพราะฉะนั้นข้อความในพระไตรปิฎกแสดงว่า ภาวะ คือ ลักษณะที่ปรากฏของธาตุแปรเปลี่ยนได้ แต่ว่าลักษณะของแต่ละธาตุเปลี่ยนไม่ได้ แม้กระนั้นก็ไม่สัมปยุตต์กัน ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่นามธรรม ไม่ใช่นามธาตุ
แต่นามธาตุ ถึงแม้ว่าจิตไม่ใช่เจตสิก และเจตสิกมีถึง ๕๒ ประเภท เจตสิกแต่ละประเภทก็ต่างกันออกไปว่า ผัสสเจตสิกไม่ใช่เวทนาเจตสิก ไม่ใช่สัญญาเจตสิก ไม่ใช่เจตนาเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะต่างกันก็จริง มีกิจการงานต่างกัน มีเหตุใกล้ให้เกิดต่างกัน แต่เกิดร่วมกัน พร้อมกัน และเกี่ยวข้องและสัมปยุตต์กัน เพราะเหตุว่ามีอารมณ์เดียวกัน ชั่วขณะที่จิตและเจตสิกเกิดขึ้นนี้สั้นมาก น้อยมาก ไม่มีใครจะสามารถจะเปรียบได้เลยว่า การเกิดดับของจิตนี้เร็วสักแค่ไหน เร็วจนเกินกว่าจะอุปมาเปรียบเทียบถึงความเร็วทั้งหลายได้ เพราะเหตุว่าเพียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีอายุเพียง ๓ ขณะ คือ ขณะเกิด เป็นอุปาทขณะ ฐีติขณะ ขณะที่ตั้งอยู่ คือ ขณะที่ยังไม่ดับไป และภังคขณะ ขณะที่ดับ
๓ ขณะนี้เร็วเหลือเกิน และทันทีที่เกิด ทั้งจิตและเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมที่เกิดร่วมกัน พร้อมกันนี้รู้อารมณ์เดียวกัน จึงเกี่ยวข้อง และสัมปยุตต์กัน แล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นสำหรับคำว่า “สัมปยุตตธรรม” หรือ “สัมปยุตตปัจจัย” ใช้เฉพาะกับนามธรรม คือ จิตและเจตสิก ซึ่งเป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์เท่านั้น
เพราะฉะนั้นต่อไปจะได้ทราบถึงปัจจัยของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ไม่ว่านามธรรมหรือรูปธรรม ไม่ว่าจิต เจตสิก รูปที่เกิดขึ้น ล้วนมีปัจจัยให้เกิดขึ้น และปัจจัยก็ไม่ใช่อื่น จิตนั่นเองเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอื่นซึ่งเกิดร่วมกัน หรือว่าเกิดเพราะจิตนั้นเป็นปัจจัย เจตสิกก็เป็นปัจจัยให้จิตและเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกันนั่นเอง และรูปก็เป็นปัจจัยให้รูปหรือนามธรรมเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นนามธรรมก็เป็นปัจจัยให้นามธรรมอื่นเกิดขึ้น โดยสัมปยุตตปัจจัย แต่เวลาที่นามธรรมเป็นปัจจัยให้รูปธรรมเกิดขึ้น จะไม่ใช้คำว่า สัมปยุตตะ แต่ว่าจะเป็นโดยปัจจัยอื่น หรือว่ารูปธรรมก็เป็นปัจจัยให้นามธรรมเกิดขึ้นได้ เป็นปัจจัยให้รูปธรรมเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ใช่โดยสัมปยุตตปัจจัย
นี่คือการทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงโดยละเอียด เพื่อทรงอนุเคราะห์ให้เวลาที่สติระลึก จะได้ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ตรงตามความเป็นจริงว่า นามธรรมเป็นแต่เพียงสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ ส่วนรูปธรรมนั้นแม้ว่าจะปรากฏ แต่อวิชชาเป็นสภาพซึ่งไม่สามารถที่จะแทงตลอด หรือรู้ชัดแม้ในสิ่งซึ่งกำลังปรากฏ
7101 รูปไม่ใช่สัมปยุตธรรม ไม่เป็นสัมปยุตตปัจจัยเพราะเหตุใด
ถาม ดิฉันสงสัยบางคำ ที่กล่าวว่า รูปจะเกิดร่วมกันก็จริง แต่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย ดิฉันเคยได้พบข้อความที่บอกว่า ธาตุทั้ง ๔ นี้ไม่เคยแยกจากกันเลย ที่ใดมีธาตุดิน ที่นั้นก็มีธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุไฟ เพราะฉะนั้นจะต่างกับคำว่า “สัมปยุตต์” อย่างไร กล่าวทั้ง ๔ ธาตุ ที่ใดมีธาตุน้ำ ก็มีธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ที่ใดมีธาตุไฟ ก็มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ที่ใดมีธาตุลม ก็มีธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุดิน คำว่า สัมปยุตตปัจจัยนี้แตกต่างกันอย่างไร
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 001
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 002
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 003
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 004
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 005
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 006
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 007
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 008
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 009
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 010
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 011
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 012
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 013
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 014
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 015
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 016
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 017
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 018
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 019
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 020
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 021
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 022
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 023
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 024
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 025
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 026
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 027
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 028
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 029
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 030
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 031
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 032
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 033
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 034
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 035
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 036
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 037
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 038
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 039
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 040
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 041
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 042
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 043
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 044
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 045
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 046
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 047
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 048
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 049
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 050