สมถภาวนา ตอนที่ 11


    4880 ความเข้าใจเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์

    ผู้ถาม. ในขณะที่เจริญสติ ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาๆ นี้ คือปัญญาที่รู้แจ้งในสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตน แต่ขณะที่เจริญ มีสติระลึกรู้ ที่อย่างกับ เกษา โลมา นขา ตันตา ตโจ อะไรทำนองนี้ที่ ได้เคยได้ยินได้ฟัง ท่านสอนมาอยางนี้ อันนี้เป็นตัวตน ที่รู้ว่า เกศานี้ โลมา นขา ทันตา ตโจ อย่างนี้คะ

    ท่านอาจารย์ ที่จะรู้ว่า มีปัญญาร่วมด้วย กับกุศลจิตนั้นหรือไม่ ก็คือว่าขณะนี้ หรือขณะ นั้น มีความเข้าใจในลักษณะของสิ่งที่ได้ยินได้ฟังหรือไม่ เช่นในขณะที่กำลังพูดถึงเรื่องสติปัฏฐาน เข้าใจไหมคะ ถ้าเข้าใจขณะนั้น คะ เป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เมื่อเข้าใจแล้วเป็นปัญญาไหม เป็น แต่ว่าไม่ใช่ปัญญาที่เกิดพร้อมสติที่กำลังระลึกลักษณะแข็งที่กำลังปรากฏ เป็นแต่เพียงขั้นต้น คือปัญญาที่เข้าใจเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เรื่องสภาพของนามธรรม และรูปธรรม ที่กำลังปรากฏ แล้วภายหลังเวลาที่สติเกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ๑ สภาพธรรม ใด ทางตา หรือทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกาย ขณะนั้น คะ มีความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นไหม ถ้ามีขณะนั้นก็เป็น กุศลญาณสัมปยุตต ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น กุศลญาณสัมปยุตตนั้นมีหลายระดับ หลายขั้นที่เดียว แต่ว่าผู้นั้นเอง ทราบว่าขณะนี้ เป็นญาณสัมปยุตตไหม เพราะเข้าใจไหม เวลาพูดถึงเรื่องการอบรมเจริญสมถภาวนา เข้าใจไหม ถ้าเข้าใจในขณะนั้น ไม่ใช่ตัวตน อะไร มหากุศลญาณสัมปยุตต ที่เข้าใจ สภาพที่เข้าใจ อาการที่เข้าใจ นั่นคือลักษณะของปัญญา เพราะฉะนั้น ที่จะว่าขณะนั้น ขณะนี้ เป็นกุศลญาณสัมปยุตตไหม ก็ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้น เข้าใจไหม เมื่อเข้าใจแล้ว ต้องเป็นปัญญาขั้น ๑ ขั้นใด แล้วแต่ว่าจะเป็นขั้นเข้าใจ หรือว่า ขั้นประพฤติปฏิบัติ ขั้นอบรมเจริญขึ้น จนกระทั่งถึงขั้นประจักษ์แจ้ง แทงตลอดในสภาพธรรม

    4881 จิตสงบเพราะเข้าใจในพระธรรมจนเห็นพระพุทธคุณ

    ท่านอาจารย์ ในคราวก่อนได้พูดถึงพุทธานุสติ ซึ่งเป็นจิตที่สงบในขณะที่ระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในชีวิตประจำวัน ท่านผู้ฟังก็จะเริ่มสังเกตุได้ ว่า ท่านผู้ฟังจะสังเกตุได้ว่า ในวัน ๑ วัน ๑ เคยสงบเพราะระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้างไหม อย่างเช่นในขณะที่เห็นพระพุทธรูป ซึ่งมีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน จิตขณะนั้นสงบไหม ถ้าไม่ศึกษาไม่สังเกตุจริงๆ จะไม่ทราบขณะที่เป็นอกุศล และขณะที่เป็นกุศล ขณะที่เป็นกุศลย่อมมีความยินดี พอใจ ต้องการ แต่ว่าขณะที่เป็นกุศลนั้น น้อมระลึกถึงพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาที่กราบพระ สวดมนต์ แม้ในขณะที่สวดมนต์ สรรเสริญพระพุทธคุณ แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง นี่คะ ปัญญาจะต้องเกิดขึ้น รู้ว่า ขณะนั้นสงบ หรือไม่สงบ เมื่อกี้นี้ เป็นต้น ผ่านไปแล้ว พอที่จะระลึกได้ไหมคะว่า ขณะเมื่อกี้นี้ ขณะที่กำลังสวดมนต์ ไหว้พระ สงบ ไหม แต่ต้องเป็นสติที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงจะรู้ตามความเป็นจริง เพราะว่าขณะก่อนก็ผ่านไปแล้ว แต่ว่าต่อไปก็จะสวดมนต์อีก จะไหว้พระอีก เพราะฉะนั้น ก็จะเริ่มสังเกตุได้ ว่าขณะนั้นจิตสงบไหม แล้วถ้าเป็นจิตที่สงบ รู้ลักษณะสภาพของจิตที่สงบแล้ว ในคราวต่อๆ ไป ความสงบจะเพิ่มขึ้น แต่ว่าท่านผู้ฟังจะต้องทราบว่า ที่จิตสงบนั้นเพราะ เหตุใด ถ้าเพียงแต่เห็นพระพุทธรูป ซึ่งในบางแห่งก็มีมาก ซึ่งพุทธศานิกชนก็ไปเช่า ไปแสวงหา ในขณะนั้น คะ ลองสังเกตุสภาพของจิต ว่าขณะที่เห็น พระพุทธรูป ในลักษณะอย่างนั้น จิตสงบ หรือไม่สงบ แต่เวลาที่ศึกษาพระธรรม ฟังธรรม แล้วก็เกิดความเข้าใจ มีสภาพของจิตที่ผ่องใส เป็นกุศล เพราะขณะนั้น ปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะ ในขณะที่ปัญญาเกิดขึ้น เข้าใจในพระธรรมที่ได้ยินได้ฟังในขณะนั้นไม่ใช่อกุศลจิต ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ในขณะนั้น จะรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นลักษณะของจิตที่สงบเพราะเข้าใจในพระธรรม จึงเห็นพระคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเพียงแต่เห็นพระพุทธรูป แล้วไม่เข้าใจในพระธรรม จิตย่อมสงบไม่ได้ เป็นกุศลได้ เล็กน้อยในขณะที่เกิดศรัทธา ความเชื่อในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระกรุณาคุณ เพียงเล็กน้อย คะ นิดเดียว เหมือนกับในขณะที่ท่านให้ทาน มีได้ แต่ขณะนั้น จิตไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา และอกุศลก็ติดตามมามากมายเหลือเกิน หลังจากกุศลเจตนาได้ดับไปแล้ว เพราะฉะนั้น ลักษณะของความสงบ ย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด เวลาที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม หรือว่าไม่ได้เข้าใจพระธรรม ไม่ปฏิบัติตามพระธรรม ย่อมไม่เห็นพระคุณอันแท้จริงของพระผู้มีพระภาค แต่ขณะใดที่ได้ฟังพระธรรม แล้วได้เข้าใจ ในขณะนั้น จิตจะน้อมถึงผู้แสดงธรรม คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น การที่ได้เข้าใจพระธรรมมากขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ให้เกิดความสงบ ในขณะที่ได้ฟัง และในขณะที่ประพฤติปฏิบัติ ตาม

    4882 ธรรมทั้งหมดหลั่งไหลจากพระผู้มีพระภาค

    ท่านอาจารย์ ข้อความใน ทีฆนิกายปาฏิกวรรค อัคคัญญสูตร ข้อ ๕๕ พระผู้มีพระภาคตรัสกับวาเสฏฐะสามเณร และภารทวาชะสามเณร ซึ่งมีข้อความตอนท้ายว่า ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่รากแก้วคือจากรากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตร เกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี คำว่าธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต เพราะฉะนั้น เวลาที่ท่านผู้ฟังมีความเข้าใจในพระธรรมมากขึ้น ย้อมเห็น พระธรรมกาย คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งหมด หลั่งไหลจากพระผู้มีพระภาค โดยทรงแสดงแก่พุทธบริษัท ตั้งแต่ตรัสรู้ จนกระทั่งถึง ปรินิพพาน เพราะฉะนั้น เวลาที่เข้าใจพระธรรม นี่คะ ก็รู้ว่าพระธรรมนั้นมาจากไหน ที่ใดเป็นกาย ของพระธรรมคือที่ประชุมของพระธรรม ก็ต้องเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น

    4883 ผู้ฟังพระธรรมเป็นผู้บังพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟังธรรม ประโยชน์ที่ได้รับก็คือ ความเข้าใจในพระธรรมเพิ่มขึ้น โดยที่ว่าไม่มีบุคคล ๑ บุคคลใด บังพระธรรม เพราะว่าบางท่านมีความเลื่อมใส ในบุคคล ไม่ได้พิจารณาพระธรรมเลย ไม่ได้ไตร่ตรอง แม้ว่า ที่ท่านเลื่อมใสในบุคคลนั้นเพราะอะไร เพราะเหตุว่าบางคร้ง บุคคลนั้น ไม่ได้แสดงธรรม ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดง เพราะฉะนั้น ความเข้าใจในพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง สำหรับท่าน ย่อมไม่มี เพราะว่าบุคคลที่ท่านเลื่อมใสไม่ ไม่ได้แสดงธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง แต่เพราะความเลื่อมใสของท่านในบุคคลนั้นไม่ได้ทำให้ท่านเกิดปัญญา เข้าใจในพระธรรม ยิ่งขึ้น บุคคลนั้นจึงบังพระธรรม และบังพระผู้มีพระภาค มิให้ท่านผู้ฟังได้เห็น ในความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในธรรมกายซึ่งพระองค์ เป็นผู้ที่เป็นเจ้าของธรรม แล้วก็ได้ทรงแสดงธรรม ที่ได้ตรัสรู้ เพราะฉะนั้น ถ้าท่านผู้ฟัง ได้ฟังพระธรรมจริงๆ ความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค ย่อมเพิ่มขึ้น แล้วก็ไม่มีบุคคล ๑ บุคคลใดที่จะบัง ไม่ให้ท่านเห็น พระผู้มีพระภาค และธรรมที่ทรงแสดงแล้ว

    4884 การปฏิบัติธรรมเป็นการนมัสการพระพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยอะไรบ้างไหมคะในเรื่องนี้ สำหรับความเข้าใจ และศรัทธาในพระธรรมที่จะเพิ่มขึ้น ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เพียง ฟังพระธรรม แต่ต้องประพฤติปฏิบัติ ตาม พระธรรมด้วย แล้วก็เมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น มีศรัทธามั่นคงขึ้น การประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมก็จะมั่นคงขึ้นด้วย ใน ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ข้อ ๖๒๗ มีคำอธิบายว่า คำว่า นมัสการอยู่ ในอุเทศว่า นมสฺสมาโน วิวสามิ รตฺตึ ความว่า นมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยจิตบ้าง ด้วยการปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์บ้าง ด้วยการปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ คือ ยับยั้งอยู่ตลอดคืน และวัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นมัสการอยู่ตลอดคืน และวัน ขณะใดที่ประพฤติปฏิบัติธรรม ขณะนั้นเป็นการ นมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะได้ประพฤติปฏิบัติ ตามพระธรรมที่ได้ทรงแสดง

    4885 ขณะที่สติเกิดเป็นการน้อมนมัสการพระพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ ขณะที่สติเกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เกิดความปีติ ผ่องใส่ น้อม นมัสการ พระผู้มีพระภาค ได้ ในขณะนั้น เป็นกุศล เป็นสมถะ เป็นพุทธานุสติ แล้วสติก็ระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่บุคคล เป็นสภาพของความผ่องใสของจิต เป็นสภาพลักษณะของความสงบของจิต ซึ่งผู้อบรมเจริญสติปัฏฐาน นี่คะ ปัญญาจะต้องรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วแต่ว่าสภาพธรรม ในขณะนั้น จะเป็นอย่างไร เวลาที่ความผ่องใส ความสงบ อย่างนั้นเกิดขึ้น ปัญญารู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นความสงบ ที่เป็นความผ่องใส แล้วก็เข้าใจว่า สมถะ คือความสงบนั้น คือขณะที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ว่า สงบเพราะอะไร เพราะฉะนั้น ถ้าเริ่มมีความสงบเกิดขึ้น แล้วสติระลึกรู้ในลักษณะของความสงบนั้น แล้วก็ความสงบอาจจะมีกำลังเพิ่มขึ้นก็ได้ แล้วแต่เหตุ แล้วแต่ปัจจัย ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า ต่างกับขณะที่ ไปจดจ้อง ท่องบ่น ด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่เข้าใจ แต่เต็มไปด้วยความต้องการ ที่จะจดจ้อง ท่องบ่นในขณะนั้น

    4886 สมาธิมีสอนอยู่ทั่วไป แต่นั่นไม่ใช่สมถภาวนา

    ท่านอาจารย์ เรื่องของการอบรมเจริญสมาธิ ไม่ได้มีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา แม้ในคำสอนอื่น ในข้อปฏิบัติอื่น ก็มี ที่ท่านผู้ฟังคงจะเคยได้ยิน เรื่องโยคะ ก็เป็นเรื่องของสมาธิ ซึ่งคนที่กำลังปฏิบัติ อาจจะคิด อาจจะเข้าใจว่า เป็นความสงบ เพราะเหตุว่าในขณะนั้นไม่ได้มีจิตที่วุ่นวาย กระสับกระส่าย คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ความสบายของกาย และใจ ในขณะนั้น ไม่ใช่สมถะ คือไม่ใช่ความสงบ เป็นแตเพียงความยินดี ความพอใจในขณะที่ สบายกาย สบายใจ เท่านั้น แล้วบางแห่ง ก็ไม่ได้ใช้คำว่าพุทโธ แต่ใช้ อัครหรือว่าใช้เสียงพยัญชนะ นี่คะ ใช้เสียงเป็นพยางค์ คำ ๑ บ้าง พยางค์ ๑ บ้าง ๒ พยางค์บ้าง ตามสำนักปฏิบัติบางแห่ง ซึ่งไม่ได้สอนโดยชาวไทย แต่ว่าสอนโดยชาวต่างประเทศ จะมี การเจริญภาวนา ซึ่งผู้สอนก็ได้บอกว่า จะทำให้บรรลุนิพพานได้ โดยการนึกถึงเสียง นึกถึงพยางค์ อาจจะเป็นพยางค์ ๑ บ้างหรือว่า ๒ พยางค์บ้าง แล้วก็มีคำสอนที่ทำให้จิต นี่คะ ตรึก นึกถึงพยางค์นั้นอยู่เรื่อยๆ แล้วผู้ที่ปฏิบัติมาแล้ว ก็บอกว่า สงบมาก แต่ตามความเป็นจริงแล้วขณะนั้นสบายมาก เกิดความยินดี เกิดความพอใจในขณะนั้น ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของความสงบของจิต เพราะฉะนั้น ถ้าลักษณะของความสงบ ไม่เกิดขึ้นปรากฏ ให้ศึกษา ให้เข้าใจ ให้เห็นความต่างกัน ของสมถะ กับสมาธิ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเห็นว่าเป็น สภาพธรรม ที่ต่างกัน เพราะว่าขณะที่ต้องการที่จะให้จดจ้อง เป็นสมาธินั้น มีความต้องการ เริ่มด้วยความต้องการ แต่ไม่ใช่เริ่มด้วยปัญญา และความสงบ

    4887 สภาพจิตที่สงบต่างจากขณะที่จดจ้องต้องการท่องบ่น

    ท่านอาจารย์ ในขณะที่สวดมนต์ไหวพระ ถ้าระลึกถึงพระคุณจริงๆ หรือแม้ว่าจะไม่ใช่ในขณะที่สวดมนต์ไหว้พระ ในขณะที่ฟังธรรม แล้วก็ระลึกถึงพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงๆ สภาพความผ่องใส ความสงบของจิต จะต่างกับในขณะที่กำลังจดจ้อง ต้องการ ท่องบ่น เพื่อที่จะให้เป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังก็จะสังเกตุเห็นได้ ว่าลักษณะของความสงบนั้น ในขณะที่จิต เป็นกุศล แต่ปัญญาต้องเริ่มสังเกตุที่จะรู้ในสภาพของความสงบ แล้วความสงบจึงจะเจริญยิ่งขึ้นได้

    4888 ปัญญารู้ลักษณะความสงบของกุศลจิตจริงๆ ได้

    ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยอะไรบ้างไหมคะ ในเรื่องนี้

    ผู้ถาม.

    ท่านอาจารย์ คะ สมาธิ เป็นได้ทั้ง มิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น แล้วแต่ว่าสมาธินั้นเกิด กับ กุศลจิต หรืออกุศลจิต ถ้ามีความต้องการจดจ้องที่ ๑ ที่ใด ในขณะนั้น คะ เป็นอกุศลสมาธิ ไม่ใช่ความสงบ เห็นรูปวิวธรรมชาติสวยๆ บางคนบอก แหม ดูแล้วสงบ จริงไหมคะ หรือว่าดูแล้วชอบ แล้วเวลาที่อยู่ในป่า ไม่ใช่แต่เพียงรูปวิว รูปเดียว ล้อมรอบตัวทั้งหมด เป็นภาพธรรมชาติทั้งนั้น แล้วก็ลองคิดดูว่า ในขณะที่เพียงเห็นรูปวิวธรรมชาติ รูปเดียว ยังชอบ แล้วถ้าล้อมรอบตัวเองทั้งหมดในขณะนั้น จะเป็นความชอบ หรือว่าจะเป็น สมถะ คือความสงบ ถ้าแยก อกุศลจิต ออกจากกุศลจิตไม่ได้ ก็เจริญความสงบไม่ได้ ก็ยังคงมีความ สบายใจ สบายกาย ซึ่งเป็นลักษณะของความพอใจ ในอารมณ์ที่ปรากฏ โดยที่เข้าใจว่าขณะนั้นสงบ นี่เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมเจริญด้วยปัญญา ขั้นที่รู้ว่าลักษณะความสงบของจิตนั้น เป็นอย่างไร ขณะนี้ก็ได้ กำลังฟังพระธรรม นี่คะ สงบไหม ลักษณะความสงบของจิต ปรากฎไหมคะ ไม่สงบ เพราะฉะนั้น ก็ คะ ซึ่งตามความเป็นจริง ชั่วขณะ ๑ ที่ปัญญา เข้าใจ ที่กำลังเข้าใจ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นลักษณะของสภาพธรรมชนิด ๑ ซึ่งเกิดขึ้นกระทำกิจเข้าใจ ในขณะที่กำลังเข้าใจธรรม นี่คะ ขณะนั้นสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ แต่ชั่วขณะเล็กน้อย ที่เป็นไปในทานบ้าง เป็นไปในศีลบ้าง เป็นไปในการฟังธรรมบ้าง สภาพของความสงบ นี่คะ ยังไม่มากพอ ที่จะปรากฏให้รู้ ให้สังเกตุได้ ว่า เป็นลักษณะของความสงบของจิต เพราะฉะนั้น ถ้ามีการระลึกถึง พระธรรม ด้วยความรู้ความเข้าใจบ่อยๆ เนืองๆ ลักษณะของความสงบจะปรากฏได้ บ่อยๆ เนืองๆ คะ หรือระลึกถึงพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บ่อยๆ เนืองๆ แทนที่จะเพียงกราบพระ อย่างรีบร้อน หรือว่าอย่างที่ไม่ได้ระลึกถึงพระคุณเลย ก็เป็นการระลึกถึงพระคุณ ในขณะนั้น จะสังเกตุรู้ สภาพความสงบของจิต ซึ่งเป็นเรื่องของจิต ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้ นอกจากตัวของท่านเอง เพราะฉะนั้น แต่ก่อนนี้เคยไหว้พระ สวดมนต์ โดยที่ไม่มีลักษณะของความสงบปรากฏ ให้รู้เพราะปัญญาไม่ได้สังเกตุ สำเหนียก ต่อไปนี้คะ เริ่มสังเกตุ แล้วก็จะได้รู้ว่า ลักษณะของความสงบปรากฏบ้างไหม แล้วก็จะสงบขึ้นได้ ถ้ารู้ในลักษณะที่สงบนั้น ไม่ใช่เป็นความต้องการไปจดจ้อง ไปท่องบ่นอะไร แต่เป็นความผ่องใสของจิต เมื่อระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    4967 ฟังพุทธประวัติมากขึ้น ซาบซึ้งในพระพุทธคุณมากขึ้น

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ฟังธรรม แล้วก็ลักษณะของความสงบของจิตยังไม่ป่รากฏ ก็ต้องฟังธรรมประการอื่นๆ นัยอื่นๆ เพื่อที่จะให้ได้ทราบว่าขณะนั้น เมื่อได้ฟังมากขึ้นแล้ว จะสงบมากขึ้นไหม เพราะฉะนั้น การที่จะระลึกถึงพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าระลึกเอง อาจจะระลึกไม่ออก ลองดูสิคะเ ดี๋ยวนี้ จะระลึกอย่างไร แต่ถ้าได้ฟังประวัติของพระผู้มีพระภาค มากขึ้น จะเห็นพระกรุณาคุณของพระองค์ ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี เพื่อที่จะได้รู้แจ้ง อริยสัจธรรม ที่จะอนุเคราะห์ เกื้อกูล สัตว์โลก ทั้งหลายให้รู้แจ้งอิรยสัจธรรม เช่นพระองค์ด้วย ถ้าได้ฟัง อดีตประวัติของพระองค์ ความทราบซึ้งในพระคุณของพระองค์ย่อมมีเพิ่มขึ้น แล้วในขณะนั้น ก็จะปรากฏลักษณะ ที่สงบขึ้น เพราะฉะนั้น ในวันนี้ขอกล่าวถึงในอดีตชาติเมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาค เป็น สุเมธดาบส ซึ่งเป็นพระชาติที่ได้รับการพยากรณ์ว่า พระองค์จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งก็ต้องย้อนถอยไป ๔ อสงไขยแสนกัปป ซาบซึ้งไหมคะ บุคคล ๑ ได้ตั้ง ความปรารถนา ที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แท้ที่จริงแล้ว เคยทรงปรารถนาก่อนนั้น แต่ว่าความปรารถนานั้นยังไม่มั่นคง จึงยังไม่ได้รับการพยากรณ์ จากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ ๑ พระองค์ใด ในบางกาละที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรม พระองค์ก็เคยปรารถนา ที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่าความปรารถนาที่เริ่มเกิดนั้น เพราะยังไม่มีกำลัง ต้องเจริญกุศล แล้วก็ได้เฝ้า ได้ฟังธรรมอีก ได้เห็นประโยชน์อีก จนกระทั่งมีความปรารถนาที่มั่นคง แล้วก็เมื่อได้สะสมบุญบารมี มาพอ ที่จะได้รับการพยากรณ์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ ๑ ก็จะทรงพยากรณ์ว่า บุคคลนั้น จะมีบารมีพร้อมที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลข้างหน้า แต่ว่า ๔ อสงไขยแสนกัปป สำหรับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะบรรลุพระอนุตรสัมโพธิญาณ ด้วยพระปัญญา เพราะเหตุว่าบางพระองค์ ก็ทรงบรรลุด้วยวิริยะ บางพระองค์ก็ทรงบรรลุด้วยศรัทธา ซึ่งก็ต้องอาศัยกาลเวลาที่มากกว่า การที่จะอบรมด้วยปัญญาสำหรับการที่จะบรรลุเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นด้วยพระปัญญานั้น ก็ต้องอาศัยพระบารมีที่ต้องอบรมถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป เริ่มซาบซึ้ง เริ่มสงบไหมคะ เมื่อย้อนถอยไปถึง ๔ อสงไขย กับอีกแสนกัปป แห่ง ภัทรกัปนี้ ข้อความในนิทานกถา อรรถกถาธัมมสังคณี ชื่อ อรรถสาลินี มีว่า ได้มีนครชื่อว่า อมรวดี พราหมณ์นามว่า สุเมธ ซึ่งเกิดบริสุทธิดี ทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายมารดา ๑ ฝ่ายบิดา ๑ ประสูติจากครรภ์อันบริสุทธิ ใครๆ กล่าวคัดค้านไม่ได้ ไม่มีใครรังเกียจด้วยชาติตระกูล กระทั่งถึงเครือตระกูลที่ ๗ มีรูปงาม น่าทัศนา น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีรูปสมส่วนอย่างยิ่ง พราหมณ์นั้นไม่ทำการงานอย่างอื่น ได้แต่เรียนศิลป สำหรับพราหมณ์อย่างเดียว ในกาลที่พราหมณ์นั้นยังเด็กอยู่นั่นแล มารดา บิดาก็ทำกาลกิริยา ทีนั้น อำมาตย์ ชื่อว่า ราสิวัดถกะ นำบัญชีส่วยมาให้พราหมณ์นั้น แล้วเปิดคลัง ที่เต็มด้วย ทอง เงิน แก้วมณี และมุกดาเป็นต้นแล้ว บอกทรัพย์ กระทั้งถึง ๗ ชั่วตระกูลว่า ดูกรกุมาร ทรัพย์ของมารดา และบิดาของเธอเท่านี้ ของตา และยายเท่านี้ แล้วพูดว่าเธอจงคุ้มครองทรัพย์นี้ สุเมธผู้เป็นบัณฑิตย์ คิดว่า บิดา และปู่เป็นต้นของเรา อุตสาห์รวบรวมทรัพย์นี้ไว้แล้ว เมื่อจะไปยังปรโลก ก็ไม่ได้ถือเอา แม้กหาปณะ ๑ ไป แต่ว่าเราชอบที่จะทำเหตุแห่งการที่จะถือเอาไปได้ ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลแก่พระราชา ให้ตีกลอง ป่าวประกาศในนคร ให้ทานแก่มหาชน แล้วบวชเป็นดาบส ทรัพย์ที่ทุกท่านมีอยู่ จะถือเอาไปโลกอื่นได้ไหมคะ ถ้าไม่รู้วิธี ก็เอาไปไม่ได้เลย แต่ว่าถ้ารู้วิธีก็สามารถเอาไปด้วยได้ คือ ด้วยการบำเพ็ญบุญกุศล ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงมีศรัทธาที่จะเจริญพระบารมี ด้วยความที่ไม่มีความปรารถนาติดข้องในทรัพย์ซึ่งบรรพบุรุษได้ แสวงหามา แต่กลับเห็นว่าบรรพบุรุษของพระองค์นั้น อุตสาห์รวบรวมทรัพย์นี้ไว้ แต่เมื่อไปยังปรโลกก็ไม่ได้ถือเอาไป แม้กหาปณะ ๑

    4968 ความหลงตายเป็นทุกข์

    ท่านอาจารย์ ข้อความละเอียดมียาวใน อรรถสาลินีอรรถกถาธรรมสังคณีปกรณ์ แต่ก็จะขอเพียงจะกล่าวถึง เพียงข้อความที่จะทำให้ ท่านผู้ฟังได้พิจารณาเห็นธรรม ที่ควรจะประพฤติปฏิบัติ ตาม ได้ ในพุทธวงศ์ได้กล่าวถึงพระดำริของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในพระชาติที่เป็น สุเมธดาบสนั้น ซึ่งได้มีความคิดว่า การเกิดในภพใหม่เป็นทุกข์ ความที่สรีระร่างกายแตกทำลายไป ก็เป็นทุกข์ ความหลงตายก็เป็นทุกข์ ความที่ชีวิตถูกชราย่ำยี่ก็เป็นทุกข์ ก็ในกาลนั้น เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา จักแสวงหาพระนิพพานซึ่งไม่แก่ ไม่ตาย อันปลอดภัย ถ้ากระไรหนอ เราไม่พึงห่วงใย ไม่ต้องการทรัพย์สมบัติ ละทิ้งกายอันเปลื่อยเน่านี้ซึ่งเต็มด้วยซากศพต่างๆ ไปซะเถอะ ทางนั้นไม่อาจจะไม่มี หามิได้


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 4
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ