สมถภาวนา ตอนที่ 13
เมื่อบรรลุคุณธรรมเป็นเพียงพระอริยสาวก มรรคจิตเกิดขึ้น ดับกิเลสตามลำดับขั้นของมรรคจิต แต่ว่ามรรคจิตนั้น ไม่เป็นที่ตั้งของสัพพัญญุติญาณ หรือญาณอื่นๆ ซึ่งเป็นญาณพิเศษเฉพาะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่สำหรับพระผู้มีพระภาค นั้น ทรงบรรลุ พละ คือผลสัมปทาที่ ๑ คือญาณสัมปทา ได้แก่มรรคญาณอันเป็นที่ตั้ง แห่งพระสัพพัญญุตญาณ และพระญาณอื่นๆ เฉพาะพระองค์ ๒ ปหานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการละกิเลส พร้อมทั้งวาสนาๆ หมายความถึง ความเคยชิน ที่เคยประพฤติปฏิบัติ มา อกุศลเป็นส่วน ๑ ซึ่ง มรรคจิตดับเป็น สมุจเฉท ตามลำดับขั้นว่า ผู้ที่บรรลุคุณธรรมเป็น พระอริยเจ้า คือพระโสดาบันบุคคล ประหานกิเลส คือละกิเลสอะไรบ้างเป็นสมุจเฉท พระสกทาคามีละกิเลสอะไรบ้าง พระอนาคามีละกิเลสอะไรบ้าง และแม้พระอรหันต์นี่คะ ก็ดับกิเลสทั้งหมดเป็นสมุจเฉท แต่ว่า ละวาสนาคือการประพฤติที่เคยชิน ที่เคยอบรมเป็นนิสัยมา ในสังสารวัฏฏ์ฏที่ยาวนานนั้นไม่ได้ แต่สำหรับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยปหานสัมปทา คือทรงถึงพร้อมด้วยการละกิเลส พร้อมทั้งวาสนา อากัปกิริยา อาการ ท่าทาง ซึ่งไม่เป็นที่เหมาะที่ควรใดๆ ทั้งสิ้น ที่เคยมีมา ประพฤติมา ปฏิบัติมา ในอดีต เมื่อถึงความเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงละได้ โดยเด็ดขาด ไม่เหมือนกับบุคคลอื่นซึ่งเพียงแต่ ดับกิเลสเป้นสมุจเฉท แต่ว่าละวาสนาไม่ได้ ถ้าศึกษาในพระไตรปิฎก และอรรถกถาโดยละเอียด จะยิ่งเพิ่มความปีติ เลื่อมใส ในการประพฤติปฏิบัติ ของพระผู้มีพระภาค ว่า ไม่มีบุคคคลใดเปรียบได้ การยืน การเดิน การรับบิณฑบาต ทุกอย่างคะ ซึ่งท่านผู้ฟังก็คงจะศึกษาได้ จากพระไตรปิฎก พลสัมปทาที่ ๓ คือ อานุภาวะสัมปทา คือถึงพร้อมในความเป็นใหญ่ ในการให้สำเร็จได้ ตามที่ปรารถนา ไม่ว่าจะทรงกระทำอิทธิปาฏิหารย์ ใดๆ เหนือบุคคลใดทั้งสิ้น ย่อมสามารถจะกระทำให้สำเร็จได้ พลสัมปทาที่ ๔ คือ รูปกายสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยพระรูปสมบัติ อันประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ และอนุพยัญชนะ อันเป็น ที่เจริญตา เจริญใจของ ชาวโลกทั้งมาล สำหรับ สัมปทาที่ ๓ คือ สัตรูปการะสัมปทา เป็นการถึงพร้อมด้วยพระอัธยาศัย และพระอุตสาห ที่จะอุปการะแก่สัตว์โลกเป็นนิจ แม้ในเหล่าสัตว์ ผู้มีความผิด เช่น ท่านพระเทวทัต เป็นต้น กับทั้งทรงรอเวลาแก่กล้า แห่งอินทรีย์ของเวนัยสัตว์ ผู้มีปัญญินทรีย์ยังไม่แก่กล้า และทรงแสดงพระธรรมอันจะนำสัตว์ออกจากทุกข์ทั้งปวงโดยที่ไม่ได้ทรงเพ่งลาภสัการะเป็นต้น จะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาที่ยังไม่ทรงดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงถึงพร้อมด้วยพระอัธยาศัย และพระอุตสาหที่จะอุปการะ แก่สัตว์โลกเป็นนิจ ทุกวันไม่เว้น แม้ในเหล่าสัตว์ผู้มีความผิด แล้วก็ทรงมีความอดทนที่จะรอเวลาที่ แก่กล้าแห่งอินทรีย์ ของผู้ที่ยังไม่ได้อบรมปัญญามา ถึงความแก่กล้า แต่ก็ทรงอุตสาห ที่จะรอเวลานั้นที่ จะเกื้อกูลอนุเคราะห์บุคคลนั้น ให้สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ซึ่งก็จะขอกล่าวถึงตั้งแต่วาระที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ว่าได้ทรงถึงพร้อมด้วย สัตตูปการสัมปทา
4979 พระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แม้บุคคลที่มีความเห็นผิด
ท่านอาจารย์ สำหรับพระมหากรุณาคุณประการ ๑ ที่จะเห็นได้ว่าพระผู้มีพระภาค ทรงอนุเคราะห์บุคคลทั้งหลาย ไม่เลือกแม้ว่าเป็นสัตว์ผู้มีความเห็นผิด หรือว่าเป็นบุคคลที่มีความเห็นผิด เช่นพระเทวทัต พระธรรมที่ทรงแสดง ทรงแสดงไว้โดยละเอียด จากการที่ได้บำเพ็ญบารมี แต่ละพระชาติ ที่สติจะต้องระลึกรู้ลักษณะสภาพของจิต ของความรู้สึกของกุศล และของอกุศลทั้งหลายอย่างละเอียด เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดง เวลาที่ท่านผู้ฟัง ได้พิจารณาแล้ว จะได้รู้สึกว่าทำไม พระผู้มีพระภาค ทรงหยั่งรู้ถึงจิตใจของท่าน โดยตลอด โดยปรุโปร่ง โดยละเอียด และโดยแจ่มแจ้ง แต่เนื่องจากได้ทรงอบรมพระบารมีมาแล้ว พร้อมทั้งการเป็นผู้มีปกติเจริญสติ จึงทรงสามารถที่ จะรู้อัธยาศัยของสัตว์โลก นี่คะโดยละเอียด
4980 มิตรไม่มีประโยชน์เป็นเหตุหาคบได้ยาก
ท่านอาจารย์ ในสัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส คาถาที่ ๑๑ แห่ง ขุททกนิกาย มีข้อความตอน ๑ ซึ่งกล่าวว่า มิตรทั้งหลาย มีประโยชน์ เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุ หาได้ยาก มนุษย์ ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด เพราะฉะนั้น พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น ถ้าไม่พิจารณาก็คงจะไม่เห็นชีวิตประจำวัน ของการคบหาสมาคมกัน ทุกวัน นี่นะคะ ซึ่งขอให้ท่านผู้ฟัง นี่คะ ลองพิจารณาดู ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีการคบหาสมาคมกันว่า มีเหตุอะไรบ้างไหม จึงได้คบหาสมาคมกัน ประโยชน์ บางครั้งอาจจะเพียงเล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ แม้เพียงเพื่อการไปไหนด้วยกัน ที่คบกัน นี่คะ แม้เพียงเพื่อการไปไหนด้วยกัน ก็เป็นประโยชน์ อัน ๑ คือเพื่อความสบายใจ หรือว่า เพื่อความเพลิดเพลินซึ่งในอรรถกถา มีคำอธิบาย ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ บทว่า ภชนฺติ ได้แก่ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ เกี่ยวข้องด้วยกาย นี่คือการคบหาสมาคมในชีวิตประจำวัน บทว่า เสเวนฺติ ได้แก่ ย่อมประพฤติด้วยกรรมทั้งหลาย มีอัญชลีกรรม คือการไหว้เป็นต้น และความเป็นผู้ซ้องเสพเหตุ ที่จะพึงกระทำประโยชน์ เป็นเหตุของมิตรเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น มิตรเหล่านี้จึงชื่อว่า มีประโยชน์ เป็นเหตุ อธิบายว่าเหตุแห่งการคบ และการซ้องเสพ หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสพซึ่งมิตรเหล่านี้ เพราะเหตุ คือว่า เพราะเหตุแห่งตน คือไม่พ้นความเป็นตน เพราะประโยชน์ ของตนอย่างใดอย่าง ๑ ซึ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคบเพื่อ อนุเคราะห์ นี่เป็นการต่างกัน ของการคบ บทพระคาถาว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺชมิตฺตา ความว่ามิตรทั้งหลายที่ไม่มีเหตุ เพราะเหตุแห่งการได้ประโยชน์ อย่างนี้ ว่า เราจะได้อะไรจากมิตรนี้ ดังนี้ ประกอบด้วยความเป็นมิตรอย่างประเสริฐ ท่านแสดงถึงลักษณะของมิตรที่หายากว่า ไม่ได้หวังอะไรจากมิตร ในการคบ มิตรใดมีอุปการะ ๑ มิตรใดร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรใดใคร่ประโยชน์ ๑ มิตรใดมีความอนุเคราะห์ ๑ ดังนี้อย่างเดียว เป็นผู้หายาก ชื่อว่ามิตรในวันนี้ ปัญญาของมนุษย์เหล่านี้ ที่สำเร็จแล้วด้วยการมุ่งประโยชน์ ย่อมแลดูตนเท่านั้น หาได้มองดูคนอื่นไม่ เพราะเหตุนั้นปัญญานั้นจึงชื่อว่า ปัญญามุ่งประโยชน์ตน นี่เป็นความละเอียดของสภาพธรรม ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าตรงกับข้ามกับ สัตตูปการสัมปทา คือการถึงพร้อมที่จะอุปการแก่สัตว์ ด้วยพระอัธยาศัย และพระอุตสาห แม้แก่สัตว์ซึ่งอินทรีย์ คือ ปัญญายังไม่แก่กล้า ซึ่งท่านผู้ฟังเมื่อได้พิจารณาถึงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณของพระผู้มีพระภาค แล้ว ก็จะเห็นในความเป็นผู้ประเสริฐสุด ของความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลก หลังจากการที่ได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึง ก่อนที่จะดับขันธ์ปรินิพพาน
4981 การคบของพระผู้มีพระภาคต่างจากบุคคลอื่น
ท่านอาจารย์ สำหรับสัตตูปการสัมปทา การถึงพร้อมในการสงเคราะห์สัตว์โลกให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม พระผู้มีพระภาค ได้ทรงบำเพ็ญตั้งแต่ตรัสรู้ ในระหว่างเดินทางจาก คยา ไป สู่ พาราณสี ก็ได้ทรงคบกับ อุปกาชีวก ซึ่งขณะนั้นไม่ได้เลื่อมใสมในพระผู้มีพระภาค เลย แต่ว่าการคบของพระผู้มีพระภาค ต่างกับ การคบของบุคคลอื่น เพราะว่าการคบของบุคคลอื่น ย่อมมีประโยชน์ ของตน แม้เล็กน้อยในการคบนั้นเสมอ ซึ่งท่านผู้ฟังก็จะสังเกตุได้ ในชีวิตประจำวัน ท่านเข้าไปนั่งใกล้บุคคลใด ท่านแสดงความเคารพบุคคลใด ท่านมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับบุคคลใด ลองพิจารณาว่ามีประโยชน์ อะไรบ้างหรือเปล่า ที่ท่านได้รับจากการคบหาสมาคมนั้นๆ ส่วนใหญ่แล้วประโยชน์ ย่อมมี อย่างน้อยที่สุดแม้เพียงการไปไหม มาไหนด้วยกัน การรู้สึกสบายใจในการที่จะได้ อยู่ใกล้ในการที่จะได้คบหา ในการที่จะได้สนทนา ในการที่จะร่วมทาง แต่ว่าการคบของพระผู้มีพระภาคนั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ อย่างชาวโลก แต่ว่าเพื่อทรงอนุเคราะห์บุคคลนั้น ให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม และให้เจริญมั่นคงในกุศลยิ่งขึ้น พระบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ เพื่อจะได้ถึงความสมบูรณ์ ในการที่จะเกื้อกูลสัตว์โลก คือสัตตูปการสัมปทา เริ่มตั้งแต่ตรัสรู้จนกระทั่งปรินิพพานด้วยพระวิริยะอุตสาห โดยพระมหากรุณาจริงๆ ถ้าท่านผู้ฟังได้ทราบถึง พุทธกิจประจำวันของพระผู้มีพระภาค ย่อมจะเห็นได้ว่า ไม่ทรงละเลยโอกาสที่จะอนุเคราะห์สัตว์โลกเลย ซึ่งในอดีต ก็ไม่ทราบว่าจะมีท่านผู้ฟัง ที่ได้เคยเห็น เคยเฝ้า เคยฟังธรรม จากพระโอฐของพระผู้มีพระภาค หรือไม่ แต่ว่าในยุคนี้ สมัยนี้ ย่อมไม่มีผู้ใดได้เห็นพระผู้มีพระภาค แต่ว่าสำหรับสมัยก่อน ในครั้งโน้น ก็ไม่มีผู้ใดที่สามารถจะระลึกได้ว่าเคยได้เฝ้า ได้ฟังธรรมจากพระโอฐ และได้ทราบซึ้งในพุทธกิจที่พระองค์ทรงบำเพ็ญเป็นประจำทุกวัน ด้วยพระวิริยะอุตสาหอย่างยิ่ง
4982 ปุเรภัตตกิจ - ปัจฉาภัตตกิจของพระพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สำหรับในวันนี้ ขอกล่าวถึงข้อความใน ปรมัตถโชติกา อรรถกถา สุตตนิบาต อุรควรรค กสิภารทวาชสูตรซึ่งมีข้อความที่กล่าวถึง ปุเรภัตตกิจ และปัจฉาภัตตกิจของพระผู้มีพระภาค สำหรับปุเรภัตตกิจ คือ กิจก่อนการเสวยภัตต และปัจฉาภัตตกิจ คือกิจหลังจากที่ได้เสวยพระกระยาหารแล้ว แต่ว่าหมายความถึงตอนเช้ากับตอนบ่าย ปุเรภัตตกิจ หมายความถึงตอนเช้า และปุจฉาถัตตกิจคือกิจหลังจากที่เสวยพระกระยาหารแล้วก็เป็นกิจในตอนบ่าย ข้อความใน อรรถกถา มีว่า ในพระสูตรนั้น จะพึงมีคำถามว่า ปุเรภัตตกิจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นไฉน ปัจฉาภัตตกิจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นไฉน เฉลยว่า พระพุทธเจ้าเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงกระทำการบริกรรม สรีระ ยมีการล้างพระพักตร์เป็นต้น เพื่อจะอนุเคราะห์แก่อุปัฏฐาก และเพื่อความผาสุกแห่งพระวรกาย ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงไปที่เสนาสนะอันสงัด จนกระทั่งถึงเวลาเสด็จบิณฑบาต ในเวลาเสด็จบิณฑบาต ทรงนุ่งจีวร คือสบง แล้ว ทรงคาดประคดเอว ห่มจีวร ทรงถือบาตร บางคราวเสด็จเข้าไปในบ้าน หรือนิคมเพื่อบิณฑบาตแต่พระองค์เดียว บางคราวก็มีพระภิกษุสงฆ์ไปด้วย บางคราวเสด็จไปโดยปกติ แต่บางคราวเสด็จเข้าไปด้วยการแสดงอภินิหารเป็นเอนก คืออย่างไร คือเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ลมออ่นๆ พัดมาแต่เบื้องหน้า ชำระแผ่นดินให้สะอาด เมฆฝนโปรย ลงมา ทำให้ฝุ่นละะอองในบนหนทางสงบราบคาบ แล้วก็ลอยเป็นเพดานอยู่ชั้นบน อาจารย์อีกพวก ๑ กล่าวว่า ลมทั้งหลายได้พัดเอาดอกไม้ทั้งหลาย มาเกลี่ยลงบนหนทาง ภูมิประเทศซึ่งร้อน ก็เย็นลง ภูมิประเทศซึ่งเย็นก็อุ่นขึ้น ในขณะที่ย่างพระบาทไป พื้นแผ่นดินก็เสมอราบเรียบ หรือว่าดอกบัวทั้งหลายซึ่งสัมผัสสบาย มารับที่พระบาท เมื่อพระบาทเบื้องขวา สักว่า พอวางภายในเสาเขื่อน คือพอย่างเข้าเขตเมือง ฉัพพัณณรังสีก็แผ่ออกจากพระสรีระ ซ่านไป ทางทิศโน้นบ้าง ทิศนี้บ้าง ประดุจสีทอง และสีเหลืองจับสถานที่ทั้งหลาย มีปราสาท และเรือนยอดเป็นต้น สัตว์ทั้งหลายมีช้างม้า และนกเป็นต้น ซึ่งยืนอยู่ในที่ของตนนั่นเอง ก็เปล่งเสียงด้วอาการอันไพเราะ เครื่องดุจดุริยางค์มีกลอง และพิณเป็นต้น และเครื่องอาภรณ์ที่ประดับกายของมนุษย์ทั้งหลาย ก็มีเสียงด้วยอาการอันไพเราะ เหมือนลมพวก มนุษย์ทั้งหลายย่อมรู้ได้ด้วยสัญญาณนั้น ได้ว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเสด็จมาบิณฑบาตในที่นี้ พวกมนุษย์ ทั้งหลายเหล่านั้นนุ่งเรียบร้อย ห่มเรียบร้อย ถือเอาวัตถุทังหลาย มีดอกไม้ และของหอมเป็นต้นออกจากเรือน ปัดกวาดถนนหนทาง บูชาพระผู้มีพระภาคด้วยวัตถุทั้งหลาย มีดอกไม้ และของหอมเป็นต้นโดยเคารพ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงประทานภิกษุ ๑๐ รูปแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระองค์จงประทาน ภิกษุ ๒๐ รูปแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระองค์จงประทาน ภิกษุ ๑๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เมื่อรับบาตรแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วให้ ปูอาสนะ แล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไปด้วยเคารพ พระพุทธเจ้า ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็ทรงตรวจดูสันดานของสัตว์เหล่านั้นแล้วจึงทรงแสดงธรรมโดยประการที่มนุษย์ บางพวกตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ บางพวกตั้งอยู่ในศีล บางพวกบรรลุ อริยผล มีโสดาบัน สกทาคามี และอนาคามิผลอย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกก็บวชแล้วสำเร็จพระอรหัต อันเป็นผลอันเลิศ พระผู้มีพระภาค ทรงอนุเคราะห์ชน ในประการนั้นแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ แล้วเสด็จไปยังพระวิหาร ทรงประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันบวร ซึ่งเขาปูไว้แล้ว ซึ่งมีดอกไม้เป็นมณฑลในที่นั้นๆ ทรงคอยให้ภิกษุทั้งหลายฉันภัตกิจเสร็จอยู่ ต่อจากนั้นอุปัฏฐากก็กราบทูลให้พระผู้มีพระภาค ทรงทราบถึงการเสร็จภัตกิจของภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเสด็จไปยัง พระคันธกุฎี ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงกระทำปุเรภัตกิจเสร็จแล้ว อย่างนี้ ทรงประทับนั่งแล้ว ณ ที่อุปัฏฐานะ และที่ใกล้แห่ง คันธกุฎี ทรงล้างพระบาท ทรงประทับยืน บนตั่งสำหรับยืน ย่อมให้โอวาทพระภิกษุสงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงยังตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของยากในโลก การกลับได้เป็นมนุษย์ก็เป็นของยาก ความถึงพร้อมด้วยศรัทธาก็เป็นของยาก การได้บรรพชาก็เป็นของยาก การฟังพระธรรมก็เป็นของยากดังนี้ สั้นมาก คือว่าเพียงแต่ ท่านทั้งหลายพึงยังตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี้เป็นพุทธโอวาท แต่ว่าพระภิกษุทั้งหลาย ท่านก็ได้รับฟังพระธรรมมาโดยตลอด เพราะฉะนั้น ท่านก็ย่อมเข้าใจว่า ความหมายของ พึงยังตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท นั้นคืออย่างไร ในการที่จะเจริญกุศลทุกประการ ทั้งทาน ศีล ภาวนา โดยเฉพาะคือไม่หลงลืมสติ ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ต่อจากนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ทูลถามพระกรรมฐาน ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค จึงประทานพระกรรมฐานด้วยสามารถแห่งจริยาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเรียนพระกรรมฐานแล้ว ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้วก็ไปยังที่อยู่ของตน ภิกษุ บางพวกเข้าไปสู่ป่า บางพวกไปยังโคนไม้ บางพวกไปยังสถานที่ทั้งหลาย มีภูเขาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกไปยังภพของเทวดาทั้งหลายมีเทวดาชั้น จาตุมหาราชเป็นต้น บางพวกไปยังสวัตดีภพ ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี ถ้าหากว่าพระองค์ จะทรงหวังอยู่ ก็ทรงมีพระสัมปชัญญะสำเร็จสีหไสยาสน์ โดยเบื้องขวา สักครู่ ๑ ต่อจากนั้นพระองค์ ผู้มีพระวรกาย อันสงบระงับแล้ว เสด็จลุกขึ้น แล้วทรงตรวจดูสัตว์โลกในภาคที่สอง
4983 พระพุทธเจ้าทรงประทานพระกรรมฐานคือสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ฟังสงสัย อะไรไหมคะในตอนนี้ ที่ว่า ต่อจากนั้นภิกษุทั้งหลาย จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามพระกรรมฐาน ถ้าฟังดูเผินๆ อาจจะเข้าใจว่าไปขอกรรมฐาน เฉพาะหมวดใดหมวด ๑ ตามที่อาจจะเคยคิด เคยเข้าใจ แต่ถ้าเข้าใจความหมายของกรรมฐาน หมายความถึงสติปัฏฐาน สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ เป็นกรรมฐานของสติ ที่สติจะระลึก จะศึกษา จะพิจารณา รู้ในความจริงของสภาพธรรม นั้นว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้วก็จะไม่มีข้อสงสัย ที่ว่าภิกษุ ทูลถามพระกรรมฐาน คือถามเรื่องของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ที่เป็นอารมณ์ของสติ เป็นที่ตั้งของสติ พระผู้มีพระภาค จึงประทานพระกรรมฐานด้วยสามารถแห่งจริยาแก่ภิกษุทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยของผู้ฟังว่า มีจริต อัธยาศัยที่สะสมมาต่างกัน อย่างไร เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงจึงเหมาะกับบุคคลที่ไปฟังพระธรรมจากพระโอฐว่า ธรรม ข้อใดประการใด จะเหมาะควรกับ อัธยาศัย แก่จริตของบุคคลนั้น ที่จะทำให้เข้าใจ แล้วก็ทำให้มีการละคลายการยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นตัวตน เพราะว่าแต่ละท่านก็ได้ฟังเรื่องของนามธรรม รูปธรรม ที่กำลังปรากฏ ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ อยู่เรื่อยๆ แล้วเวลาที่สติเกิด ก็จะระลึกรู้ได้ว่า เป็นสภาพธรรม ที่ต่างกันไปในวัน ๑ วัน ๑ ชีวิตเมื่อวานนี้ นามธรรม และ รูปธรรม เมื่อวานนี้ กับชีวิตในวันนี้ นามธรรม และรูปธรรม ในวันนี้ มีลักษณะต่างกัน ตามเหตุตามปัจจัย เมื่อวานนี้อาจจะมีความทุกข์ แต่วันนี้เรื่องทั้งหลายก็คลี่คลาย หายไป หมดความทุกข์นั้นไป อาจจะกำลังมีความสุขในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ แต่ว่าก็คงจะมีไม่นาน พรุ่งนี้หรือว่าเดือนหน้าต่อไป ก็คงจะต้องมีเหตุการณ์อื่นซึ่งล้วนแต่เป็น นามธรรม และรูปธรรมทั้งนั้นตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ธรรมไม่ไกลแล้วก็ไม่ใช่ขณะอื่น นอกจากขณะที่กำลังเป็นจริง ในขณะนี้แต่ละขณะ แล้วแต่ว่าเหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อไร ก็เป็นสภาพธรรม ที่เป็นแต่เพียงนามธรรม และรูปธรรม ที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยทั้งนั้น เพราะฉะนั้น นี่คือกรรมฐาน หรือสติปัฏฐาน
4984 ภิกษุทูลขอกรรมฐาน ๔๐ ในสมถภาวนาหรือไม่
ท่านอาจารย์ เชิญคะ
ผู้ถาม. ที่พระทั้งหลาย เข้าไปขอกรรมฐานจากพระพุทธเจ้า กระผมคิดว่า กรรมฐานที่พระขอ คงจะเป็น กรรมฐาน ๔๐ ในสมถภาวนา คิดว่า ไม่ใช่สติปัฏฐานแน่ ถ้าเป็นสติปัฏฐาน แล้ว จริตของคนทั่วไป มีแค่ ทิฏฐิจริต กับ ตัณหาจริต ก็จริต ๒ เท่านั้น แล้วก็ พระองค์ก็แสดงเรื่องสติปัฏฐาน พระองค์ก็แสดงแล้ว นามรูป ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายก็เข้าใจแล้ว ปกติเกิดขึ้นที่ไหนก็พิจารณาที่นั้น อย่างนี้คิดว่า ภิกษุคงจะเข้าใจแล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ต้องถาม แต่ที่ภิกษุเข้าไปถามนั้น คงจะเป็นกรรมฐาน ๔๐ กรรมฐาน ๔๐ เรื่องการเจริญสมถภาวนา นี่ จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องเลือก กรรมฐาน เช่นคนโลภจริต ก็ต้องพิจารณา อสุภ เพื่อความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ทีนี้จริตของใคร ต่อของใคร ตัวเองไม่ค่อยรู้ตัวเอง ดีนักหรอก จำเป็นเหลือเกินจะต้องพึ่งอาจารย์ บ้าง พึ่ง สมัยนั้นมีพระพุทธเจ้าอยู่ ก็ยิ่งสบายมาก ถึงขอกรรมฐานจากพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ที่พระขอ ผมคิดว่า คงจะเป็นกรรมฐานในอารมณ์ของกรรมฐาน ๔๐ คิดว่าไมใช่ให้พิจารณานามรูปแน่
ท่านอาจารย์ ฟังดูเหมือนจะเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น เพราะใช้คำว่า กรรมฐานแล้วก็ไปทูลขอกรรมฐาน แต่ถ้าพิจารณาแล้ว จะเห็นได้ว่า ท่านผู้ฟังซึ่งเข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน แล้วก็เป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ระลึก ศึกษา สังเกตุสำเหนียกที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ แต่ว่ากว่าปัญญาแต่ละขั้น จะเกิด ยังไม่ต้องไปถึงละคลาย เพียงแต่ว่า ที่จะให้รู้ ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล จริงๆ ในขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ก็ยาก แต่ว่าในครั้งนั้น พระภิกษุทั้งหลาย ท่านได้อบรมเจริญมาแล้ว บ้างท่านก็ได้เจริญสติปัฏฐาน อบรมเจริญปัญญาบารมีมามากทีเดียวในอดีต แต่ว่ายังไม่ถึงเวลาที่ท่านจะเกิด ความหน่ายการละ การคลาย เยื่อใยการที่ยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ได้ หรือว่ายังไม่ละความพอใจ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่าต้องอาศัยพระธรรมเทศนา ที่เหมาะ ที่จะให้เกิดความสลดใจ สังเวช ละคลาย ในขณะที่กำลังฟังธรรมในขณะนั้น ซึ่งแต่ละคน สะสมอัธยาศัยมาต่างกัน จริงๆ
4985 ปฐมมหานามสูตร
ท่านอาจารย์ ได้เรียนให้ทราบแล้ว ว่า ธรรมเป็นสิ่งที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติธรรมไม่ผิดไปจากชีวิตประจำวันเลย แล้วแต่ แต่ละท่านว่าจะมีเหตุปัจจัย ให้ ธรรมประเภทใดเกิดขึ้นในพระไตรปิฎก ในอังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ซึ่งเป็นเรื่องของ อนุสติ ๖ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การอบรมเจริญความสงบ ซึ่งเป็น สมถภาวนาในชีวิตประจำวัน สำหรับคฤหัสถ์ทั่วๆ ไปนั้น คืออย่างไร ข้อความใน อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต มหานามะสูตรที่ ๒ ข้อ ๒๑๙ มีข้อความว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ ทรงหายจากประชวร คือหายจากภาวะที่ประชวรไม่นาน ก็สมัยนั้นภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยกาลล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยกาลล่วงไป ๓ เดือน ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 01
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 02
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 03
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 04
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 05
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 06
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 07
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 08
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 09
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 10
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 11
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 12
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 13
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 14
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 15
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 16
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 17
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 18
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 19
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 20
- สมถภาวนา ตอนที่ 01
- สมถภาวนา ตอนที่ 02
- สมถภาวนา ตอนที่ 03
- สมถภาวนา ตอนที่ 04
- สมถภาวนา ตอนที่ 05
- สมถภาวนา ตอนที่ 06
- สมถภาวนา ตอนที่ 07
- สมถภาวนา ตอนที่ 08
- สมถภาวนา ตอนที่ 09
- สมถภาวนา ตอนที่ 10
- สมถภาวนา ตอนที่ 11
- สมถภาวนา ตอนที่ 12
- สมถภาวนา ตอนที่ 13
- สมถภาวนา ตอนที่ 14
- สมถภาวนา ตอนที่ 15
- สมถภาวนา ตอนที่ 16
- สมถภาวนา ตอนที่ 17
- สมถภาวนา ตอนที่ 18
- สมถภาวนา ตอนที่ 19
- สมถภาวนา ตอนที่ 20