สมถภาวนา ตอนที่ 15
แต่ว่าไม่สามารถจที่จะศึกษา รู้ชัด ในสภาพที่สงบนั้นว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล หรือในสภาพธรรมทั้งหมด รู้แต่เพียงว่าขณะใด เป็นอกุศลตามความเป็นจริง ขณะใดเป็นกุศล เป็นความสงบตามความเป็นจริง แต่ว่ายังเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล แต่สำหรับผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ทุกขณะเป็นกรรมฐาน เป็นสติปัฏฐาน ข้อความใน อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี อีกนัยหนึ่ง ๑ ข้อ ๑๗๙ มีข้อความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรมอย่างหนึ่งคืออะไร คือพุทธานุสสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ข้อ ๑๘๐ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอนุสติ ต่อไป คือ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติ คือการระลึกถึงนิพพาน พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน จบวรรคที่ ๑ ถ้าอ่านเพียงผิวเผิ่น ก็จะต้องสงสัย ว่า พุทธานุสติ จะทำให้ถึงนิพพานได้อย่างไร แต่ว่าสำหรับผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน จะเข้าใจได้ชัดเจนว่า ไม่มีอะไรเลย ที่จะนอกไปจากสภาพ นามธรรม และรูปธรรม ซึ่งเมื่ออบรมแล้ว ศึกษาแล้ว มีความรู้ชัดแล้ว ก็ย่อมจะทำให้ถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะเหตุว่าแม้ในขณะนั้นๆ ก็ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ถ้าท่านผู้ ๑ ผู้ใดยังไม่เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน แล้วก็อ่านข้อความนี้ ย่อมสงสัย ใช่ไหมคะ ว่าทำอย่างไรถึงจะให้เป็นพุทธานุสติ ที่จะให้ เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน แต่ถ้าเข้าใจแล้ว ทุกอย่าง ทุกขณะ คะ ความสงบเกิดขึ้น ในขณะที่ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม มีการน้อมระลึกถึง พระคุณของพระผู้มีพระภาคได้ในขณะนั้น ความคิดนึกเป็นสิ่งที่ยับยั้งไม่ได้ แล้วแต่ว่าจะคิดอะไร ในขณะที่กำลังรู้ลักษณะของนามธรรม ๑ นามธรรมใด การระลึกถึงพระพุทธคุณ มีปัจจัยก็เกิดขึ้นได้ แต่ปัญญาก็จะต้องรู้ชัดว่า แม้ ขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงสภาพคิดนึก ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน จึงจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน แล้วเวลาที่สงบ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ แล้วสติก็เกิดขึ้นระลึกรู้ว่าแม้ ขณะนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน ขณะนั้นจะ เป็นบาทของวิปัสสนาไหมคะ ก็เป็น เพราะฉะนั้น คำว่าสมาธิ เป็นบาทของวิปัสสนาก็จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่าหมายความถึง ความตั้งมั่นของความสงบ ที่ปรากฏเป็นความสงบ ขณะนั้นเป็นบาทโดยสติระลึกรู้ในสภาพที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ในขณะนั้น
5056 สติปัฏฐานระลึกเป็นไปในความสงบเพื่อละคลายตัวตนจริงๆ
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่เป็นจริง แล้วสติสามารถที่จะเกิด ระลึกรู้ลักษณะ
ผู้ถาม. ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่า แม้แต่ขณะที่ปฏิบัติธรรมไป จนจิตสงบ คะ รู้สึกว่าจิตสงบ แล้วเสร็จแล้วก็ขณะจิตนั้น ก็มีสติระลึกรู้สภาพของความสงบนั้นว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นลักษณะของสภาพธรรม ชนิด ๑ ที่ปรากฏ จริงๆ เท่านั้น แล้วก็ไม่ได้ยึดถืออะไรอย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถูกคะ แล้วก็ต้อง อบรมเจริญไปจนทั่วจริงๆ จนละคลายจริงๆ จนรู้ชัดจริงๆ รู้ยิ่งจริงๆ เป็นไปเพื่อการตรัสรู้จริงๆ แล้วก็จะบรรลุนิพพานจริงๆ
5057 อนุสสติ ๖ ธรรมเครื่องอยู่ของพระโสดาบัน
ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า เวลาที่เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ไปเฝ้าแล้วก็กราบทูลว่า พระองค์จะอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงในเรื่อง อนุสติ ๖ ไม่ใช่ ๑๐ นี่ก็เป็นที่น่าสังเกตุ ใช่ไหมคะ ว่าทำไมพระผู้มีพระภาค ไม่ทรงแสดงอนุสติ ๑๐ สำหรับเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
ผู้ถาม. อาจารย์ย้ำอีกทีได้ไหมคะ คือว่า อนุสติ ๖ นี่คะ
ท่านอาจารย์ ได้แก่ พุทธานุสติ ธรรมนสุติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวดตานุสติ พอไหมคะ สำหรับความสงบในวันหนึ่งๆ ในชีวิตประจำวัน ตามความเป็นจริง ไม่ต้องมีความ ต้องการที่จะไปเป็น ปฐมฌาน ทุติยฌานอะไร เพราะเหตุว่า สำหรับพุทธานุสติ ถ้าเป้นขั้นของการเจริญสมถภาวนาล้วน โดยที่ว่า ไม่ใช่การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ขณะนั้นจิตจะตั้งมั่นคง สงบขึ้นอย่างมาก ที่สุด จะถึงเพียง อุปจารสมาธิ และสำหรับผู้ที่เป็นพระอริยเจ้าเท่านั้น บุคคลธรรมดาคือปุถุชน ไม่สามารถที่จะระลึกถึง พระพุทธคุณของพระผู้มีพระภาค ซึ่งเป็นพุทธานุสติ แล้วให้จิตสงบตั้งมั่นจนถึงอุปจารสมาธิได้ ซึ่งท่านผู้ฟังจะพิจารณาได้ในชีวิตประจำวัน จริงๆ ท่านระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค ได้ บ่อยไหม มากไหม เวลาที่ระลึกแล้ว สงบหรือว่าธรรมดา หรือว่าลักษณะของความสงบที่เพิ่มความตั้งมั่น มีลักษณะอาการของ สมาธิปรากฏบ้างไหม หรือไว่าไม่มีเลย
5058 พิจารณาความสงบของจิตที่ตั้งมั่นได้บ้างไหม
ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟังคงไม่ลืม ว่า ธรรมสำหรับการปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องความสงบของจิต หรือว่า สติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น แต่ละครั้ง เมื่อเป็นโอกาสของการที่กุศลประเภทใดจะเกิด ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า ขณะนั้นกุศลประเภทนั้นเกิดหรือเปล่า โดยมากดิฉันมักจะเรียนถามทุกครั้ง หลังจากที่กราบพระ สวดมนต์เสร็จแล้ว เพื่อที่จะให้ท่านผู้ฟังได้พิจารณาว่า สงบไหม ในขณะนั้น คะ แม้ว่าเพิ่งจะผ่านไปแล้ว เมื่อสักครู่นี้ ก็จะได้ระลึกว่า ขณะนั้น เมื่อครู่นี้นั้น มีลักษณะสภาพความสงบของจิต เกิดขึ้นปรากฏบ้างไหม เพื่อที่ว่าจะได้เจริญกุศลขั้นต่อไปด้วย คือขั้นอบรมความสงบของจิต แล้วท่านผู้ฟังก็จะสังเกตุเห็นได้ว่า ถ้าลักษณะของความสงบ ยังไม่มั่นคงที่จะปรากฏ ลักษณะของความตั้งมั่น ซึ่งเป็นสมาธิแล้วละยากที่จะรู้จริงๆ ว่าขณะนั้นสงบได้ไหม ชั่วขณะที่กุศลแต่ละประเภทเกิดขึ้น ขณะนั้นเป็นความสงบแล้ว แต่ว่า เพราะน้อยมากทีเดียว เมื่อสมาธิไม่มีกำลังที่จะปรากฏ ความตั้งมั่นในความสงบนั้นจริงๆ ย่อมไม่เห็ฯลักษณะของความสงบ แต่ว่าเจริญได้ โดยการสังเกตุสำเหนียกรู้ ในขณะที่กำลังกราบพระ หรือสวดมนต์ จะได้ทราบว่าขณะนั้น พุทธานุสติ มีการระลึกถึงพระคุณ มีความปีติ มีความศรัทธา มีความสงบหรือไม่ ในขณะนั้น การที่ศึกษา และสังเกตุเพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ มีความสงบเกิดเพิ่มขึ้น บ่อยๆ เนืองๆ ได้ ในขณะที่สวดมนต์ไหว้พระ หรือว่าระลึกถึงพระพุทธคุณ แล้วถ้าจะมีความตั้งมั่นในความสงบนั้น จนกระทั่งสามารถสังเกตุรู้ ในอาการของความตั้งมั่นซึ่งเป็นสมาธิพร้อมความสงบ ก็จะเห็นได้ว่า น้อยมากคะ ชั่วครู่เดียว ไม่ ใช่ถึงกับที่จะตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ ดังเช่นพระอริยสาวกทั้งหลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พระอริยสาวกทั้งหลาย จะระลึกถึงพระพุทธคุณ แล้วก็ถึงอุปจารสมาธิทุกท่าน แล้วแต่เหตุ แล้วแต่ปัจจัย ซึงสภาพธรรม ย่อมเกิดขึ้นแต่ละขณะ ตามความเป็นจริงของแต่ละบุคคล ซึ่งต่างกัน แล้วสำหรับพระอริยสาวก ที่จะถึง อุปจารสมาธิเพราะการระลึกถึงพระพุทธคุณนั้นก็มีน้อย ไม่ใช่ว่ามีมาก เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจ ความตั้งมั่นคงของจิต ในความสงบว่า จะต้องมีความสงบเพิ่มขึ้นจริงๆ ปรากฏลักษณะของความตั้งมั่นคงซึ่งเป็นสมาธิในความสงบนั้นยิ่งขึ้นพร้อมสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์แล้วก็อย่าเพิ่งคิดว่าขณะนั้นเป็นอุปจารสมาธิแล้ว ยังอีกไกล แล้วก็สำหรับผู้ที่จะเป็นอุปจารสมาธิได้ โดยระลึกถึงพุทธานุสติ คือพระพุทธคุณนั้น ก็ต้องเป็นพระอริยสาวกประเภทเดียว ที่ท่านมีความแจ่มแจ้งในพระคุณของพระผู้มีพระภาค เพราะท่านได้บรรลุธรรมที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงแสดง และได้ทรงบรรลุ เพราะฉะนั้น ความนอบน้อม ความปีติ ความปราโมทย์ ความตั้งมั่นคง ความผ่องใสของจิตที่สงบ ย่อมมีมากกว่าผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า แต่ถ้าโดยนัยของวิปัสสนา ซึ่งอารมณ์ทุกอารมณ์เป็นสติปัฏฐาน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน พุทธานุสติในขณะนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ที่จะทำให้บรรลุถึงขั้น ความเป็นพระอรหันต์ นี่เป็นความต่างกันของผลของการเจริญพุทธานุสติ โดยนัยของสมถภาวนา และโดยนัยของวิปัสสนาภาวนา แต่จุดประสงค์ของการที่จะกล่าวถึงสมถภาวนา ในรายการนี้ ก็เพื่อที่จะเกื้อกูลต่อการเจริญสติปัฏฐานเท่านั้น ไม่มุ่งหมายที่จะให้ท่านเจริญ สมถภาวนาถึงอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ หรือฌานจิต เพราะเหตุว่า ยากที่จะเป็นไปได้ ซึ่งทุกท่านก็จะรู้สภาพของจิต ของท่านได้ตามความเป็นจริงว่า ท่านสามารถที่จะ ประกอบด้วยปัญญา ที่จะทำให้บรรลุถึงความสงบขั้น ต่างๆ เหล่านี้ ได้หรือไม่
5059 ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยสาวกต่างจากพระพุทธเจ้า
ผู้ถาม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าใครถามว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ส่วนมากอยู่ด้วยธรรมอะไร เธอจงบอกเขาว่าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายส่วนมากอยู่ด้วยอานาปานสติ แต่ทีนี้ทำไม สาวกทั้งหลายอยู่ด้วยอนุสติ ๖ ทั้งๆ ที่เป็นพระอริยบุคคล อารมณ์ที่ต่างกันเป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้า จะระลึกถึงพระพุทธคุณไหม คะ มีพระคุณของพระพุทธเจ้า พระองค์ไหน จะต้องทรงระลึกถึงไหม
ผู้ถาม. อันนี้ไม่ระลึกแน่ครับ แต่ว่าพระอริยสาวกทั้งหลาย ถ้าส่วนใหญ่ จะอยู่ในอานาปานสติ ไม่ได้หรือครับ
ท่านอาจารย์ นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าอานาปานสติไม่ได้สาธารณะทั่วไป กับทุกบุคคล ไม่ใช่ของง่ายคะ การที่จะเจริญอานาปานสติ สำหรับบุคคล เช่น มหาบุรุษ มีพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น แต่เจ้าศากยะนามว่ามหานามะ ทูลถามถึง ธรรมสำหรับพระ อริยสาวกส่วนมาก แล้วส่วนมากของพระอริยสาวกเป็นพระอรหันต์ หรือพระโสดาบัน มีพระสูตร ๑ ที่แสดงว่า สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค นั้น มีพระโสดาบัน มากว่าบุคคลอื่น ข้อนี้ก็เป็นของธรรมดา ว่าผู้ที่จะบรรลุคุณธรรม ถึงความเป็นพระอรหันต์ นั้น ย่อมมีน้อยกว่า ผู้ที่บรรลุคุณธรรมเป็นโสดาบันบุคคล ปุถุชนกับพระโสดาบันบุคคล บุคคลไหนมีมากกว่า ต้องเป็นปุถชน เพราะฉะนั้น ในบรรดา ท่านที่รู้แจ้งสัจธรรมนั้น ผู้ที่บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล มีมากกว่าเป็นผู้ที่เป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น การที่จะเจริญสมถะในชีวิตประจำวัน ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นส่วนมาก ท่านจะไม่ มีการที่จะไปกระทำอย่างอื่น โดยเว้นการเป็นผู้มีปกติ เจริญสติปัฏฐาน เมื่อเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน แล้วเวลาที่กุศลจิต น้อมระลึกถึงพระคุณ ของพระรัตนไตร น้อมระลึกถึงพระคุณ ของพระรัตนไตร น้อมระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค ของพระธรรม และของพระอริยสาวก ในขณะนั้นย่อมเกิดขึ้นเป็นไป ในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ธรรมที่พระอริยทั้งหลาย อยู่เป็นส่วนมาก ก็คือ อนุสติ ๖ ไม่ใช่อนุสติ ๑๐ ไม่ใช่อานาปานสติ ไม่ใช่กายคตาสติ
5060 กายคตาสติโดยนัยของสมถะ - วิปัสสนา
ท่านอาจารย์ ยังสงสัยไหมคะ เพราะฉะนั้น สำหรับท่านที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยสาวก จะทำ
อย่างไร คะ เจริญสติปัฏฐาน เพื่อที่จะให้บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยเจ้า แล้วก็มีการที่จะ เข้าใจซาบซึ่งในพระคุณของพระรัตนไตร ยิ่งขึ้น มีความสงบ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
ผู้ถาม คะ ดิฉันเคยทราบมาว่า ก็มีอนุสติ ๑๐ ใช่ไหมคะ เมื่อท่านอาจารย์พูด เมื่อครั้งก่อนนี้ ก็พูดถึงว่า ท่านพระมหานามะไปทูลถามพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้า ก็พูดถึงว่า ตรัสถึงว่าอนุสติ ๖ คะ คือว่า พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ แล้วก็ สีลานุสติ แล้วก็จาคานุสติ เทวดานุสติ แล้วทีนี้อีก ๔ นั้นดิฉันขอความกรุณาให้อาจารย์ ต่อให้จบเลย จะได้เข้าใจ
ท่านอาจารย์ มรณสติ กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมานุสติ
ผู้ถาม มรณานุสติ แล้วก็อะไรอีก นะคะ
ท่านอาจารย์ กายคตาสติ
ผู้ถาม กายคตาสติ
ท่านอาจารย์ อานาปานสติ อุปสมานุสติ การระลึกถึงคุณของพระนิพพาน
ผู้ถาม สำหรับ กายา กายคตาสติ ดิฉันจะขอเรียนถามถึง กายคตาสติ คือหมายความว่าขณะที่เราเจริญญสติ นี่ ระลึกที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส แล้วก็การสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ตรึงไหว เป็นกายานุสติหรือยัง
ท่านอาจารย์ กายคตสติ นะคะ มี ๒ นัย คำว่า กายคตสติ คือ สติซึ่งระลึกเป็นไปในกาย โดยนัยของวิปัสสนาแล้ว กายคตสติ หมายถึง กายานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งหมด แต่ว่าโดยนัยของสมถะ แล้ว กายคตาสติ หมายความถึง สติที่ระลึกที่ส่วนของกาย ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้เกิดความสลดสังเวช หรือความสงบ เช่นระลึกที่ผม ส่วน ๑ ขน เล็บ ฟันหนัง ทีละลักษณะ ที่ละส่วน ให้เห็นความไม่งาม หรือว่าความเป็นปฏิกูล ของสิ่งที่เคยยึดถือ เคยพอใจอย่างมาก นั้นโดยนัยของสมถภาวนา
5061 ผู้ที่จะสงบได้ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาจริงๆ
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยในเรื่อง สมถภาวนาบ้างไหมคะ เพราะเหตุว่าในขณะนี้กำลังพูด ถึงเรื่องการเจริญสมถภาวนา ความสงบของจิต เพราะว่า โดยศัพท์ที่จะให้เข้าใจได้ สมถะคือความสงบ แต่ไม่ใช่ด้วยความพอใจของคน ๑ คนใด ต้องเป็นลักษณะที่สงบจริงๆ จากทั้งโลภะ ทั้งโทสะ และทั้งโมหะ ถ้าท่านชอบอยู่คนเดียว ชอบ นะคะ อย่าลืมชอบอยู่คนเดียว เป็นความสงบไหมคะ ท่านอาจจะคิดว่า ชีวิตของท่านสงบมาก ไม่มี ใครมาวุ่นวายเลย ท่านชอบ ท่านพอใจ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สมถะ ไม่ใช่ความสงบในขณะนั้น คะ เป็นโลภมูลจิต เพราะฉะนั้น ความสงบที่แท้จริงอย่าลืม จากโลภะ โทสะ และโมหะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะสงบได้ ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาจริงๆ ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว ถึงท่านจะพากเพียร ทำอะไรก็ตาม ปัญญาไม่เกิดขึ้น ที่จะรู้ว่าขณะนั้น สงบ หรือเปล่า หรือว่ากำลังพอใจ กำลังแสวงหา กำลังต้องการ กำลังติด ในสิ่งที่ท่านกำลังพากเพียรกระทำอยู่ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นไม่ใช่ความสงบ ไม่ใช่สมถะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะสงบได้ และเจริญความสงบให้ยิ่งขึ้น ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาที่จะรู้ลักษณะของ จิตในขณะนั้นว่า จิตที่สงบจริงๆ ต่างกับจิตที่ไม่สงบอย่างไร จิตที่เป็นกุศล สงบไหม จิตที่เป็นอกุศล สงบหรือไม่สงบ เช่นโลภะ เป็นต้น แม้ว่าจะไม่ใช่โลภะอย่างแรงที่จะปรากฏให้เห็นเป็นความเดือดร้อน ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย แต่ว่า ลักษณะนั้นไม่ใช่ความสงบ เพราะฉะนั้น ขณะนี้คะ กุศลขั้นไหนเกิด ธรรมสำหรับปฏิบัติ พระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดง น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติได้ ทุกขั้น ถ้าสติเกิดขึ้น กำลังระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และน้อมไปศึกษา รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ขณะนั้นสงบไหมคะ สงบหรือไม่สงบ ถ้าสงบ เป็นสมถะ ไหม ต้องตรง ต้องจริงต่อสภาพธรรม เมื่อเข้าใจแล้ว สมถะ หมายความถึง ความสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ เวลาที่สติเกิด แล้วเป็นสติปัฏฐาน เพราะกำลังระลึกแล้วศึกษาษน้อมไปสู่วามเข้าใจ และความรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงของสภาพธรรม นั้น ขณะนั้นสงบไหมคะ สงบ เป็นสมถะไหม เป็น เพราะฉะนั้น ในมรรคมีองค์ ๘ จึงมีทั้ง สมถะ และวิปัสสนา
5062 สมถะคือความสงบ มีความต่างกัน ๒ ประเภท
ผู้ถาม. ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยอธิบาย ถึงสมถะ วิปัสสนา แยกกันไม่ออก ให้ละเอียดสักหน่อยครับ ผมยังไม่เข้าใจชัดแจ้ง
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจ ว่าสมถะ คือความสงบ ความสงบต้องมี ต่างกันเป็น ๒ ประการ ๒ ประเภท คือความสงบ ที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน เป็นเพียงขั้นอบรมจิตให้สงบจาก โลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็มีกำลังมั่นคงขึ้น คือมีความสงบเพิ่ม มีกำลังขึ้น เป็นสมถภาวนา ส่วนสติปัฏฐาน นั้นไม่ต้องห่วงเรื่องความสงบเลย เพราะเหตุว่าขณะใดที่สติเกิดขึ้น ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นอกจากปัญญาจะเจริญ ขึ้นแล้ว ในขณะนั้น ก็มีความสงบ ด้วย เพราะเหตุว่าขณะนั้น เป็นกุศล ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ เพราะฉะนั้น ความสงบ สมถะ นี่คะ จึงมี ๒ อย่าง คือ ความสงบของสมถภาวนา การอบรมเจริญความสงบที่เป็นกุศลในขณะนั้น ระงับ อกุศล ทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้น และสมถะ ที่เกิดกับการเจริญสติปัฏฐาน เพราะในมรรคมีองค์ ๘ นั้น มี ทั้งสมถะ และวิปัสสนา สำหรับ วิปัสสนาในมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปป ๒ องค์ ส่วนองค์ที่เหลืออีก ๖ นั้น เป็น สมถะ ทั้งสิ้น
5063 สติจะต้องระลึกรู้ลักษณะที่สงบว่าเป็นธรรมชนิดหนึ่ง
ผู้ถาม. คือมันมีปรากฏการณ์สมมติว่า เป็นต้นว่า เกิดจิตเกิดโมโหเกิดขึ้น ความโกรธเกิดขึ้น พอรู้ว่า พอเรามีสติ รู้ว่าโมโหเกิดขึ้น พอมีสติอันนั้นปั๊บ จิตอันนั้นเกิดขึ้น โมโหอันนั้น มันรู้สึกมันจะหายไป แล้วก็มีเรื่องราวอะไรต่างๆ เกิดขึ้นมาอีก เราก็รู้เรื่องนี้ แต่ว่าปัญญายังไม่ถึง รู้ว่า ความขาดจากกิเลส อะไรต่างๆ มันก็ยังมีพัวพันธ์อยู่ อย่างนี้เรียกว่าเป็นลักษณะของพุทธาสติ คือเราปฏิบัติธรรม ตามคำสังสอนพระพุทธองค์ จะเรียกว่า เป็นสมถะ ได้หรือเปล่า เท่านั้นครับ
ท่านอาจารย์ เป็นสมถะ แน่นอน ในขณะนั้นแล้วแต่ว่าในขณะนั้น มนสิการ พุทธานุสติ หรือว่า ธรรมานุสติ หรือสังฆานุสติ หรือ อนุสติอื่นๆ ก็แล้วแต่คะ
ผู้ถาม. ตานี้ วิปัสสนาหมายความว่าต้องเกิดพร้อมด้วยปัญญารู้ว่า อย่างนั้นดับอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ยังไม่ประจักษ์ ความเกิดดับของอะไร นะคะ เพียงแต่ขณะใดที่สติเกิด ไม่หลงลืม คือศึกษา พิจารณาน้อมไป รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ
ผู้ถาม. บางครั้ง เมื่อเราขาดสติ อกุศลมันก็จะรุมเข้ามา พอเกิดสติขึ้นมา อย่างนี้มันก็จะรู้ว่าเรากำลังโกรธอยู่ เรากำลังชอบอยู่ อะไรพวกนี้ ความรู้สึกที่เราชอบ พอมีสติเกิดขึ้น ความรู้สึกที่เรากำลังเป็นเรื่องเป็นราวอะไรต่อไป มันก็หยุดทันที อันนี้เป็นลักษณะของอะไร ผมก็ยังสงสัย เป็นสมถะ หรือวิปัสสนา เพราะว่า ยังไม่ปัญญา หรือปัญญายังไม่เกิดถึงกับขั้น
ท่านอาจารย์ ลักษณะของความสงบปรากฏ ได้ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น ความเป็นตัวตนยังไม่หมด เพราะฉะนั้น ในขณะนั้น ก็เป็นลักษณะของความสงบ ซึ่งสติ จะต้องศึกษา รู้ว่าขณะที่สงบนั้น ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ผู้ถาม. คือหมายความว่ารู้ รู้ว่าเรา มีจิต
ท่านอาจารย์ ต้องศึกษาตลอด การเจริญสติปัฏฐาน ขณะที่สงบเกิดขึ้น
ผู้ถาม. เราก็รู้ว่าสงบเกิด
ท่านอาจารย์ สติก็จะต้องระลึกรู้ลักษณะที่สงบ เพื่อจะรู้ว่าเป็นสภาพธรรมชนิด ๑ ด้วยเหตุนี้สภาพธรรม ทั้งหมด ที่ปรากฏเป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น ซึ่งถ้ายังไม่ระลึก ยังไม่ศึกษา ยังไม่รู้ ก็ยังไม่สามารถที่จะดับการยึดถือว่า เป็นตัวตนได้
5064 สมถะเป็นธรรมสำหรับการปฏิบัติได้จริง
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบท่านผู้ฟังยังมีข้อสงสัยอะไรอีกบ้างหรือเปล่า คะ ในเรื่องของสมถภาวนา เพราะเตุว่า อย่าลืมว่า แม้สมถภาวนา ก็เป็นธรรมที่จะต้อง ปฏฺบัติ แต่ว่าสำหรับเรื่องสมถะนี่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหมด สำหรับปฏิบัติ อย่าลืม แม้แต่สมถะ ความสงบนี่คะ ไม่ใช่พูดเล่นๆ หรือว่าเป็นแต่เพียงทฤษฎี แต่เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้จริงๆ ถ้ารู้ว่าขณะไหนเป็นสมถะ หรือว่าขณะไหนไม่ใช่สมถะ ก็จะได้เว้น ข้อปฏิบัติที่ไม่ใช่สมถะที่ไม่สงบ เพราะว่าส่วนมาก มักจะเข้าใจสับสน ในเรื่องของสมถภาวนา อย่างเช่นในขณะนี้ คะ จะสงบไหมคะ มีใครจะสงบบ้าง มีไหมคะ ถ้ามี ขอเรียนถามว่าท่านจะทำอย่างไร ที่ท่านจะสงบ นี่คะ หรือท่านเคยทำอย่างไร เชิญคะ
ผู้ถาม. ตามความเข้าใจ คือสมถภาวนา นี่มี ถึง ๔๐ วิธี คือเจริญ อนุสติ ๑๐ แล้วก็
ท่านอาจารย์ อสุภ
ผู้ถาม. อสุภกรรมฐาน ๑๐ แล้วก็ จตุตธาตุวัตฐาน ๔ อาหาเรปฏิกูล แล้วก็พวกกสิณอีก ๑๐ ทีนี้ก็สุดแท้แต่ว่า เราจะปฏิบัติอะไร
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้คะ
ผู้ถาม. ขณะนี้หรือคะ
ท่านอาจารย์ ใช่ขณะนี้ เรื่องธรรมเป็นเรื่องปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เรื่องจริง
ผู้ถาม. ขณะนี้ ขณะที่ฟังอาจารย์ นี้หรือคะ ถ้าจะทำจริงๆ ก็ทำอานาปานสติ ได้
ท่านอาจารย์ ทำอย่าไรคะ
ผู้ถาม. กำหนดลมหายใจคะ โดยใช้สติจับไว้ที่จุดลมกระทบ
ท่านอาจารย์ ขอให้พิจารณาให้ละเอียด ว่าขณะที่คิดว่าสงบ ต่างกันหรือเหมือนกัน กับขณะที่ก่อนจะทำ
ผู้ถาม. ไม่เหมือนคะ
ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนอย่างไรคะ
ผู้ถาม. ความสงบ
ท่านอาจารย์ สงบทันทีเลย หรือคะ
ผู้ถาม. ไม่ใช่ คะ ความสงบ สมมติว่าในขณะนี้
ท่านอาจารย์ มีหลายท่านทีเดียว มักจะใช้คำว่า สมมติ เอาตามความเป็นจริงเลย
ผู้ถาม. อันนี้จริงๆ คะ คือความสงบนี่ เข้าใจว่ามีขั้นตอน
ท่านอาจารย์ แต่ดิฉันอยากจะให้พิจารณา ศึกษาสภาพของจิต โดยละเอียด ว่า ขณะที่จะจับจ้องที่ลมหายใจ จะทำอานาปาน ความรู้สึกในขณะนั้น ความคิดลักษณะของจิตในขณะนั้น ต่างกับขณะก่อนที่จะคิดอย่างนี้หรือเปล่า
ผู้ถาม. ต่างกันคะ
ท่านอาจารย์ ต่างกันอย่างไร คะ
ผู้ถาม .แต่เดิม จิตมีปกติซัดส่าย อาจจะคิดไปในอารมณ์ต่างๆ แต่เมื่อเราเริ่ม
ท่านอาจารย์ มีโลภะไหมคะ ก่อนที่จะคิดทำ อานาปาน มีโลภะไหมคะ
ผู้ถาม. ก่อนที่จะคิดทำ อานาปาน ถ้าเริ่มคิดจะทำแล้วก็ละไป
ท่านอาจารย์ เดียวคะ ก่อนนั้น มีไหมคะ ก่อนนั้นมีโลภะไหมคะ ปกติของขณนะนี้คะ
ผู้ถาม. อ๋อ
ท่านอาจารย์ มีโลภมูลจิตบ้างไหมคะ
ผู้ถาม .แล้วแต่แหตุปัจจัย ที่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ คะ ธรรมดา ปกติมีบ้างไหม
ผู้ถาม ควรจะมี คะ
ท่านอาจารย์ ควรจะ นะคะ นี่ก็แสดงให้เห็น แล้วว่า การที่จะรู้ลักษณะของจิต นี่คะแสนยาก อาจจะเข้าใจ คาดคะเนได้ว่า คงจะเป็นอย่างนี้ หรือว่าคงจะเป็นอย่างนั้น แต่เรื่องของปัญญาไม่ใช่เรื่องคงจะ เรื่องของปัญญา เป็นเรื่องที่รู้ชัดจริงๆ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า จิต ช่างเป็นสภาพธรรม ที่แสนจะรู้ยาก อาจจะศึกษาเข้าใจว่าจิต มี ๘๙ ดวง หรือว่า ๘๙ ประเภท แต่ว่าเวลานี้จิตชนิดไหนกำลังเกิด ยากที่จะรู้ เพราะว่า เกิดดับอย่างรวดเร็ว
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 01
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 02
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 03
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 04
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 05
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 06
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 07
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 08
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 09
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 10
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 11
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 12
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 13
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 14
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 15
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 16
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 17
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 18
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 19
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 20
- สมถภาวนา ตอนที่ 01
- สมถภาวนา ตอนที่ 02
- สมถภาวนา ตอนที่ 03
- สมถภาวนา ตอนที่ 04
- สมถภาวนา ตอนที่ 05
- สมถภาวนา ตอนที่ 06
- สมถภาวนา ตอนที่ 07
- สมถภาวนา ตอนที่ 08
- สมถภาวนา ตอนที่ 09
- สมถภาวนา ตอนที่ 10
- สมถภาวนา ตอนที่ 11
- สมถภาวนา ตอนที่ 12
- สมถภาวนา ตอนที่ 13
- สมถภาวนา ตอนที่ 14
- สมถภาวนา ตอนที่ 15
- สมถภาวนา ตอนที่ 16
- สมถภาวนา ตอนที่ 17
- สมถภาวนา ตอนที่ 18
- สมถภาวนา ตอนที่ 19
- สมถภาวนา ตอนที่ 20