อกุศลจิต

 
วิริยะ
วันที่  4 ส.ค. 2552
หมายเลข  13078
อ่าน  1,313

ขอเรียนถามท่านอาจารย์และท่านผู้รู้ว่า เมื่อตาเห็นสิ่งของแล้วเกิดอกุศลจิต คือ โลภมูลจิต จึงทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมาเช่น ไปขโมย การกระทำนั้นๆ เป็น อกุศลกรรมบถ เป็น บาป ใช่ไหมคะ แต่ถ้าเพียง อกุศลจิตเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ล่วงเป็นอกุศลกรรมบถ อยากทราบว่า จะได้รับวิบากอย่างไร

ขอกราบขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 4 ส.ค. 2552

ควรทราบว่าอกุศลธรรมมีหลายระดับ คือ มีกำลังล่วงออกมาทางกาย ทางวาจาทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็มี หรือเพียงกลุ้มรุมจิตไม่ได้ล่วงทางกายวาจาก็มี อกุศลธรรมที่จะมีกำลังเป็นถึงขั้นกรรมบถย่อมมีผลคือวิบากเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนอกุศลธรรมที่ไม่เป็นกรรม ย่อมสะสมสืบต่อไป แต่ไม่มีวิบาก เพราะไม่ใช่กรรมครับ...


 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 4 ส.ค. 2552

ขอเรียนถามต่อนะคะว่า อกุศลธรรมที่ไม่เป็นกรรม ที่สะสมสืบต่อไปนั้น จะไม่มีผลอะไรเลยหรือคะ หรือเพียงแต่สะสมอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ ในชาติหนึ่งๆ และในชาติต่อๆ ไป

ขอกราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 4 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันใหม่
วันที่ 4 ส.ค. 2552

จากความเห็นที่ 2

อกุศลธรรมที่ไม่เป็นกรรม ที่สะสมสืบต่อไปนั้น สะสมเป็นอุปนิสัยของบุคคลนั้น เมื่อ

โกรธเกิดขึ้นในใจไม่ได้ล่วงออกไป สะสมให้ต่อไปทำให้โกรธได้ง่ายขึ้น แต่ไม่เป็น

อกุศลกรรมที่ต้องไปอบายภูมิ แต่เพราะอาศัยอกุศลจิตที่เกิดขึ้นบ่อยๆ นั่นแหละ ย่อมจะ

เป็นปัจจัยให้ล่วงอกุศลกรรมได้ง่ายขึ้น เพราะสะสมอกุศลไว้มาก จนเป็นปัจจัยให้ล่วง

อกุศลกรรมจนครบองค์ได้ง่ายขึ้น เช่น คนที่โกรธบ่อยๆ ความโกรธย่อมมีกำลังจนในที่

สุด ก็เป็นปัจจัยให้ล่วงออกมาทางกาย วาจา ครบกรรมบถ เพราะมีอกุศลจิตที่โกรธใน

ใจที่เกิดบ่อยๆ เป็นเหตุนั่นเอง สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Jans
วันที่ 5 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 5 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 5 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
noynoi
วันที่ 5 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 5 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 6 ส.ค. 2552

ถ้าสะสมอกุศลจิตไว้มากๆ บ่อยๆ ก็จะทำให้ล่วงอกุศลกรรมบถได้ เช่น คนที่ติดในรูป

สวย ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ บุรุษคนหนึ่งมีภรรยาสวยมาก พระราชาเห็นแล้วก็เกิด

หลงรัก อยากได้มาเป็นภรรยาของตัวเอง พระราชาก็พยายามหาวิธีเพื่อจะฆ่าสามีของ

หญิงนั้น ภายหลังได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้าก็เกิดหิริ โอตตัปปะงดเว้นไม่ทำบาปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
little-duck
วันที่ 8 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาบุญด้วยคนนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
กิเลสเน่าหนา
วันที่ 9 ส.ค. 2552

โทษ ๕ ประการของศีลวิบัติ

[๗๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะอุบาสกทั้งหลาย

ชาวบ้านปาฏลิคามว่า

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษของศีลวิบัติของบุคคลทุศีลมี ๕ ประการ

๕ ประการเป็นไฉน

(๑) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย

บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีลในโลกนี้

ประสบความเสื่อมโภคะเป็นอันมาก เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ

นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ ของศีลวิบัติของบุคคลทุศีล.

(๒) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก

กิตติศัพท์ชั่วของบุคคลทุศีล

ผู้ปราศจากศีลก็อื้อฉาวไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ของศีลวิบัติ ของบุคคลทุศีล.

(๓) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก

บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีล

เข้าสู่บริษัทใดๆ คือขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี

สมณบริษัทก็ดี เป็นผู้ไม่องอาจขวยเขินเข้าไป

นี้เป็นโทษข้อที่ ๓ ของศีลวิบัติ ของบุคคลทุศีล.

(๔) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก

บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีล

เป็นคนหลง ทำกาละ (ตาย)

นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ของศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล

(๕) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก

บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีล

ครั้นร่างกายแตกภายหลังมรณะ จะเข้าไปถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก

นี้เป็นโทษข้อที่ ๕ ของศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษ ๕ ประการของบุคคลผู้ทุศีล ผู้ปราศจากศีล เหล่านี้แล.

อานิสงส์ ๕ ประการของศีลสัมปทา

[๘๐] ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย

อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล

ของผู้มีศีล มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน

(๑) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย

บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้

ได้ประสบโภคะกองใหญ่เพราะมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑

ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

(๒) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก

กิตติศัพท์อันดีงาม

ของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล กระฉ่อนไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒

ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

(๓) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก

บุคคลผู้มีศีล

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี

คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี เป็นผู้องอาจไม่ขวยเขินเข้าไป

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

(๔) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก

บุคคลผู้มีศีล

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำกาละ (ตาย)

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔

ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

(๕) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก

บุคคลผู้มีศีล

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ครั้นร่างกายแตกภายหลังมรณะ จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการของความถึงพร้อมด้วยศีล

ของบุคคลผู้มีศีล เหล่านี้แล.


ในโลกนี้

ศีลเท่านั้นเป็นเลิศ

แต่ว่าผู้มีปัญญาสูงสุด

ความชนะย่อมมี

เพราะศีลและปัญญา

ทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา

พระปุณณเถระ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
pornpaon
วันที่ 9 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
BudCoP
วันที่ 17 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13078 ความคิดเห็นที่ 1 โดย prachern.s

ควรทราบว่าอกุศลธรรมมีหลายระดับ คือ มีกำลังล่วงออกมาทางกาย ทางวาจาทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็มี หรือเพียงกลุ้มรุมจิตไม่ได้ล่วงทางกายวาจาก็มี อกุศลธรรมที่จะมีกำลังเป็นถึงขั้นกรรมบถย่อมมีผลคือวิบากเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนอกุศลธรรมที่ไม่เป็นกรรม ย่อมสะสมสืบต่อไป แต่ไม่มีวิบาก เพราะไม่ใช่กรรมครับ...



ขอสอบถาม ครับ :-1. ขณะที่ทำกรรมโดยที่ไม่ล่วงกรรมบถ เช่น ฆ่าสัตว์ แต่มันแค่สลบ ยังไม่ตาย เป็นต้น อย่างนี้ มีเจตนาเกิดด้วยหรือไม่.2. เจตนาเป็นนานักขณิกกรรมไม่ได้ในฐานะใดบ้าง ขอหลักฐานด้วยครับ.

3. โสเรยยเศรษฐีบุตร ไม่ได้แม้เพียงล่วงกรรมบถทางใจเลย เหตุใดจึงกลายร่างเป็นผู้หญิง.4. มัณฑัพยดาบส ฆ่าแมลงวันไม่ตาย ไม่เป็นปาณาติบาต ทำไมจึงโดนเสียบหลาวในชาติหลัง.5. พระโพธิสัตว์ เคยห้ามวัวไม่ให้กินน้ำด้วยอกุศลจิต ทำไมก่อนดับขันธปรินิพพานจึงทรงโดนห้ามเสวยน้ำ จากพระอานนท์.6. อดีตชาติของนางปัญจปาปี เพียงให้ด้วยจิตขุ่นเท่านั้น ไม่ได้มีแม้ความหวังจะให้เมียหายแก่พระเลย ทำไมจึงเกิดมาอัปลักษณ์.ขอบพระคุณครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
prachern.s
วันที่ 18 ส.ค. 2552
๑. อกุศลกรรมที่ไม่ล่วงกรรมบถ มีเจตนาเกิดด้วยแน่นอน ไม่นำปฏิสนธิ๒. ถ้าศึกษาโดยละเอียดจะทราบว่า ใช่ว่าเจตนาที่เกิดร่วมกับอกุศลทุกครั้งจะเป็นนานักขณิกกรรมทั้งหมด เช่น ขณะที่โลภะชอบอาหารรสอร่อย เป็นต้น๓. , ๔., ๕., ๖., เราไม่ได้อยู่ในสถานการนั้นๆ เราไม่ทราบรายละเอียดบางอย่างที่ท่านไม่ได้กล่าวถึงครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
วิริยะ
วันที่ 18 ส.ค. 2552

อยากทราบว่า นานักขณิกกรรม แปลว่าอะไรคะ พอจะมีลิงค์ให้เปิดอ่านไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Pongpat
วันที่ 18 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
วิริยะ
วันที่ 18 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
BudCoP
วันที่ 18 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13078 ความคิดเห็นที่ 15 โดย prachern.s ๑. อกุศลกรรมที่ไม่ล่วงกรรมบถ มีเจตนาเกิดด้วยแน่นอน ไม่นำปฏิสนธิ๒. ถ้าศึกษาโดยละเอียดจะทราบว่า ใช่ว่าเจตนาที่เกิดร่วมกับอกุศลทุกครั้งจะเป็นนานักขณิกกรรมทั้งหมด เช่น ขณะที่โลภะชอบอาหารรสอร่อย เป็นต้น๓. , ๔., ๕., ๖., เราไม่ได้อยู่ในสถานการนั้นๆ เราไม่ทราบรายละเอียดบางอย่างที่ท่านไม่ได้กล่าวถึงครับ


ขอโอกาสนะครับ.ที่สงสัย เพราะเหตุว่า เคยแต่ได้ยินเล่าต่อๆ กันมา ไม่เคยเห็นใครเอาหลักฐานจาก

คัมภีร์มายืนยันเสียทีหนึ่ง จึงขออนุญาตถามต่ออีกเล็กน้อยครับ.1. ที่ว่า "ถ้าศึกษาโดยละเอียดจะทราบว่า ใช่ว่าเจตนาที่เกิดร่วมกับอกุศลทุกครั้ง

จะเป็นนานักขณิกกรรมทั้งหมด" ผมอยากขอที่อ้างอิงในพระไตรปิฎก-อรรถกถา

สัก 2- 3 แห่ง ในเรื่องเจตนากุศล อกุศล ที่ไม่เป็นนานักขณิกกรรมปัจจัยนี้ ,ขอเป็น

ลิงก์ หรือ เล่ม/ข้อ/หน้า ก็ได้ตามแต่ท่านสะดวกครับ เพื่อผมจะได้ใช้เป็นหลักในการ

พิจารณา.2. ทำไมในปัฏฐานนิทเทสจึงไม่มีคำว่า "กุสลากุสลํ กมฺมํ วิปากานํ ขนฺธานํ

กฏตฺตานญฺจ รูปานํ เกสญฺจิ กมฺมปจฺจเยน ปจฺจโย" แบบ นิสฺสยปจฺจยนิทฺเทส,

อุปนิสฺสยปจฺจยนิทฺเทส, ปุเรชาตปจฺจยนิทฺเทส เป็นต้น ทั้งที่ ปัฏฐานนิทสเทสกล่าว

คลุมปัฏฐานไว้ ดังในนิทเทสอื่นๆ ที่ยกมา ครับ.ขอบพระคุณครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
prachern.s
วันที่ 19 ส.ค. 2552

การศึกษาพระธรรมโดยละเอียดต้องพิจารณา ใช่ว่าจะเอาพยัญชนะเพียงอย่างเดียว แม้การแสดงเรื่องอกุศลกรรมว่า ได้แก่เจตนาที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต๑๒ ดวง ก็จริง แต่ท่านยังแสดงองค์ของกรรมบถไว้ประกอบด้วยว่า เป็นกรรมประเภทไหน ทวารไหน มีองค์เท่าไหร่ ให้พิจารณาด้วย ดังนั้นอกุศลจิตที่เป็นไปในชีวิตประจำวัน เช่น ความยินดีติดข้องในภัณฑะของตน จึงไม่เป็นอกุศลกรรมและคัมภีร์ปัฏฐานในหัวข้อ นานักขณิกกัมมปัจจัย โดยรายละเอียดแล้วเจตนาที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต จะเป็นนานักขณิกกรรม ต่อเมื่อมีวิบากเกิดขึ้นมิใช่หรือ..

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
BudCoP
วันที่ 20 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13078 ความคิดเห็นที่ 21 โดย prachern.s

การศึกษาพระธรรมโดยละเอียดต้องพิจารณา ใช่ว่าจะเอาพยัญชนะเพียงอย่างเดียว แม้การแสดงเรื่องอกุศลกรรมว่า ได้แก่เจตนาที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต๑๒ ดวง ก็จริง แต่ท่านยังแสดงองค์ของกรรมบถไว้ประกอบด้วยว่า เป็นกรรมประเภทไหน ทวารไหน มีองค์เท่าไหร่ ให้พิจารณาด้วย ดังนั้นอกุศลจิตที่เป็นไปในชีวิตประจำวัน เช่น ความยินดีติดข้องในภัณฑะของตน จึงไม่เป็นอกุศลกรรมและคัมภีร์ปัฏฐานในหัวข้อ นานักขณิกกัมมปัจจัย โดยรายละเอียดแล้วเจตนาที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต จะเป็นนานักขณิกกรรม ต่อเมื่อมีวิบากเกิดขึ้นมิใช่หรือ..


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสสวัสดีครับ คุณเผชิญ.

จากที่ได้อ่าน เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานตรงๆ และเห็นว่ามีข้อแย้งได้อยู่ จึงขอถามเพิ่มนะครับ ขอให้ตอบทีละคำถาม เพื่อเกื้อกูลต่อการได้รับความรู้ของผม จะเป็นพระคุณไม่ลืมเลยครับ.
1. เคยได้ยินมาจากหนังสืออาจารย์โชว่า "ถ้าล่วงองค์กรรมบถ ให้ผลทั้งปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล, ถ้าทำ แต่ยังไม่ล่วง ให้ผลได้แค่ในปวัตติกาล" ตรงนี้ผิดถูกอย่างไร ครับ. 2. เจตนาในอุจธัจจสัมปยุตตจิต ล่วงครบองค์กรรมบถข้อใด จึงให้ผลในปวัตติกาลได้ ครับ.

3. เคยได้ยินมาว่า การครบองค์ อกุศลกรรมบถนั้น มีเพื่อใช้ตัดสินว่า จะนำเกิดได้หรือไม่ ไม่ได้หมายถึงว่า จะมีวิบากหรือไม่ อันนี้ ผิดหรือไม่ อย่างไร ครับ.4. ความยินดีติดข้องในภัณฑะของตน ไม่เป็นอกุศลกรรม ได้นัยมาจากคัมภีร์ไหน หน้าที่เท่าไหร่ และย่อหน้าใด ครับ.5. เจตนาที่เกิดร่วมกับกุศลากุศลธรรม จะเป็นนานักขณิกกรรมปัจจัย ต่อเมื่อมีปัจจยุปบัน ข้อนี้สนับสนุนความเห็นที่ว่า "เจตนามโนทวารที่ไม่ล่วงกรรมบถ ไม่ให้วิบาก" อย่างไรครับ ผมไม่ทราบจริงๆ ครับ.

(ที่อ้างกันมา ผมอ่านแล้วครับ ผมยังไม่พบทั้งอรรถะและพยัญชนะใดที่ระบุว่า กรรมทางใจ ไม่ให้วิบาก ครับ, เห็นแต่ว่า กรรม ถ้าไม่ครบองค์กรรมบถ ให้ผลในปวัตติกาลได้, ถ้าอย่างไร ช่วยชี้ทีละท่อนเลยว่า ท่อนไหนที่ท่านอรรถกถา-ฏีกาจารย์ ได้ระบุไว้เช่นนั้น จะเป็นบุญคุณอย่างมากเลยครับ)

ขอบพระคุณล่วงหน้า ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
prachern.s
วันที่ 21 ส.ค. 2552
๑.ถูกต้องครับ แต่มิได้หมายความว่าอกุศลจิตทุกขณะจะเป็นกรรมบถ เป็นเพียงสหชาตะก็มี๒.ควรจะได้หลายข้อ เพราะโมหมูลจิต เป็นเหตุให้เกิดทุจริต ๑๐ ได้ ๓.ควรจะเป็นเช่นนั้น ตามข้อ ๑๔.ยังไม่พบข้อความว่า ความยินดีติดข้องในภัณฑะของตน เป็นอกุศลกรรมบถ๕.ยังไม่พบหลักฐานครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
BudCoP
วันที่ 21 ส.ค. 2552

ขอบพระคุณ ครับ คุณประเชิญ, อุตสาห์ตอบทุกโพสเลย .ไว้ผมจะเก็บไว้พิจารณา จากหลักฐานหลายๆ ที่อีกหลายๆ ครั้งครับ.ถ้ามีหลักฐานเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ส่งมาแนะนำผมได้เรื่อยๆ ครับ.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ