อิฏฐสูตร .. ธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ก.ค. 2553
หมายเลข  16651
อ่าน  4,707

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๑๐ ก.ค. ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก

จาก ... พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๓๒

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๓๒

๓. อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก

[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ โภคสมบัติ ๑ วรรณะ ๑ ความไม่มีโรค ๑ ศีล ๑พรหมจรรย์ ๑ มิตร ๑ ความเป็นพหูสูต ๑ ปัญญา ๑ ธรรม ๑สัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ เป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ประการนี้แลซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือ ความเกียจคร้าน ความไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายแก่โภคสมบัติ, การไม่ประดับตกแต่ง เป็นอันตรายแก่วรรณะ,การกระทำสิ่งที่ไม่เป็นที่สบาย เป็นอันตรายแก่ความไม่มีโรค, ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นอันตรายแก่ศีล, การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์, การแกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริงเป็นอันตรายแก่มิตร, การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายแก่ความเป็นพหูสูต, การไม่ฟังด้วยดี ไม่สอบถาม เป็นอันตรายแก่ปัญญา, การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณา เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งหลาย, การปฏิบัติผิดเป็นอันตรายแก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๑๐ ประการ เป็นอาหารของธรรม๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือ ความไม่เกียจคร้าน ความขยันหมั่นเพียร เป็นอาหารของโภคสมบัติ ๑ การประดับ การตกแต่งร่างกาย เป็นอาหารของวรรณะ ๑ การทำสิ่งเป็นที่สบาย เป็นอาหารของความไม่มีโรค ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นอาหารของศีลทั้งหลาย ๑ การสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของพรหมจรรย์ ๑ การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง เป็นอาหารของมิตรทั้งหลาย ๑ การกระทำการสาธยาย เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต ๑ การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของปัญญา ๑ การประกอบความเพียร การพิจารณา เป็นอาหารของธรรมทั้งหลาย ๑ การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก.

จบอิฏฐสูตรที่ ๓

อรรถกถาอิฏฐสูตรที่ ๓

อิฏฐสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อญฺโญ ได้แก่ วรรณะแห่งสรีระ. บทว่า ธมฺมา ได้แก่โลกุตรธรรม ๙.

จบอรรถกถาอิฏฐสูตรที่ ๓


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

อิฏฐสูตร (ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก)


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม ๑๐ ประการ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

พร้อมทั้งทรงแสดงถึงธรรมที่เป็นอันตรายต่อธรรมที่น่าปรารถนา และทรงแสดงถึง

ธรรมที่เป็นเครื่องนำมาซึ่งธรรมที่น่าปรารถนา เหล่านั้นด้วย ดังนี้คือ

ธรรมที่น่าปรารถนา

ธรรมที่เป็นอันตราย

ต่อธรรมที่น่าปรารถนา

ธรรมที่เป็นเครื่องนำมาซึ่งธรรมที่น่าปรารถนา

โภคสมบัติ

ความเกียจคร้าน

ความไม่เกียจคร้าน

วรรณะ (ผิวพรรณ)

การไม่ประดับตกแต่ง

การประดับตกแต่ง

ความไม่มีโรค

กระทำสิ่งไม่เป็นที่สบาย

กระทำสิ่งเป็นที่สบาย

ศีล

มีมิตรชั่ว

มีมิตรดี

พรหมจรรย์

การไม่สำรวมอินทรีย์

การสำรวมอินทรีย์

มิตร

แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง

ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง

ความเป็นพหูสูต

การไม่สาธยาย

การสาธยาย (ทบทวน)

ปัญญา

ไม่ฟังด้วยดี , ไม่สอบถาม

ฟังด้วยดี, สอบถาม

ธรรม

(โลกุตตรธรรม ๙)

ไม่ประกอบความเพียร,

ไม่พิจารณา

ประกอบความเพียร,

พิจารณา

สัตว์ทั้งหลาย

การปฏิบัติผิด

การปฏิบัติชอบ


สำหรับประการที่ ๑๐ คือ สัตว์ทั้งหลาย นั้น ในอรรถกถาท่านไม่ได้ขยายไว้ แต่เมื่อปีที่แล้วท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ได้แก่บุคคลรอบข้าง ญาติสนิทมิตรสหาย คนใกล้ตัว รวมไปถึงสัตว์ต่างๆ ด้วยกล่าวคือถ้าหากว่าเราทำไม่ดี ประพฤติไม่ดี แน่นอนว่าคนเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น ก็คงไม่อยากจะอยู่ใกล้เราเป็นแน่ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราประพฤติดี ทำในสิ่งที่ดี มีเมตตาคอยเกื้อกูลอยู่เสมอ คนเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นย่อมปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ ไม่อยากหนีไปไหน เพราะคนดี ย่อมเป็นที่รักของทุกคน ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ศีล

พรหมจรรย์

เรื่องการประพฤติพรหมจรรย์

รู้เพียง ๑ คาถา ก็ควรเรียกว่าเป็น พหูสูต

ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้

ปัญญาสูตร [เหตุให้เกิดปัญญา]

คนพูดเท็จ ไม่ทำชั่ว นั้นไม่มี

โลกียธรรม - โลกุตตรธรรม

โลกุตตรธรรม หมายถึง

ฯลฯ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paew_int
วันที่ 5 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jans
วันที่ 5 ก.ค. 2553

อาจารย์คำปั่นสาธยายพระสูตรนี้ให้อ่านเข้าใจได้ง่ายเป็นประโยชน์มากๆ สำหรับสหายธรรมทุกท่าน ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผิน
วันที่ 5 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 6 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 6 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tanakase
วันที่ 7 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
dron
วันที่ 7 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Nareopak
วันที่ 9 ก.ค. 2553
1. ธรรมที่น่าปรารถนา (โภคสมบัติ, วรรณะและความไม่มีโรค) เป็นไปทางด้านโลภะหรือไม่ค่ะ กรุณาช่วย ให้ความรู้ด้วยค่ะ2. มีเหตุการณ์อันใด หรือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระสูตร (อิฏฐสูตร) กับผู้ใดขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.ค. 2553
เรียน ความคิดเห็นที่ ๙

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ดังนี้ ครับ

๑. สำหรับ ธรรมที่น่าปรารถนาในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ ๑๐ประการ เป็นการแสดงโดยรวม ว่า ธรรม ๑๐ อย่าง มี โภคสมบัติ เป็นต้น นั้น เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา ไม่ใช่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา นั่นก็หมายความว่า ความจริง เป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนเรื่องของการติดข้อง หรือ เป็นไปกับด้วยโลภะนั้น เป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ เพราะโลภะเกิดตามเหตุตามปัจจัย และ โลภะก็สามารถติดข้องได้ทุกอย่าง ยกเว้น โลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ และ นิพพาน) เท่านั้นที่โลภะไม่สามารถติดข้องได้ แต่สำหรับพระอริยบุคคลที่ดับโลภะได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ท่านก็ไม่ติดข้อง ซึ่งจะต่างจากบุคคลผู้ที่ยังดับโลภะไม่ได้ ครับ

๒. เนื้อหาของพระสูตรนี้ (อิฏฐสูตร) ก็มีอยู่เท่าที่ปรากฏให้ทุกท่านได้อ่าน ได้ศึกษาร่วมกัน, ในบางพระสูตร ก็จะมีรายละเอียดของการแสดงพระธรรมที่ชัดเจนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกับใคร เช่น ทรงแสดงกับภิกษุปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทรงแสดงกับพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นต้น ก็สามารถที่จะบอกได้ว่าทรงแสดงกับใคร แต่เมื่อไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ก็สามารถเข้าใจได้ว่าทรงแสดงกับพุทธบริษัท โดยมีภิกษุบริษัท เป็นประธาน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนให้ตั้งใจฟังพระธรรม ด้วยพระดำรัสว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" แต่ประเด็นสำคัญคือ เมื่ออ่านร่วมกันแล้ว ได้ประโยชน์อะไร ได้ความเข้าใจอะไรจากพระสูตรนี้บ้างก็คงจะเป็นประโยชน์อย่างมากทีเดียว เพราะเหตุว่า พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตาม ก็เพื่อให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษาได้มีความเข้าใจถูก เห็นถูกเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ตามความเป็นจริง ครับ อนึ่ง ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ก็มี อิฏฐสูตร เหมือนกันซึ่งในที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมที่น่าปรารถนา ๕ ประการ คือ อายุ ๑วรรณะ ๑ สุข ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑ เป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงกับท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ครับ (ขาดตกบกพร่องอย่างไร ท่านผู้รู้โปรดแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ด้วย นะครับ) หมายเหตุ คำว่า อิฏฐะ หมายถึง น่าปรารถนา น่าพอใจ (และจะมีคำอีกสองคำที่เขียนใกล้เคียงกันมาก เมื่อวางสระผิดที่ ความหมายเปลี่ยนทันที คือ คำว่า อัฏฐิหมายถึง กระดูก และ คำว่า อัฏฐะ หมายถึง ๘) ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เมตตา
วันที่ 10 ก.ค. 2553

ขอขอบพระคุณอ.กำปั่น...

...และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Nareopak
วันที่ 10 ก.ค. 2553

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์กำปั่น

นี่แหล่ะที่ต้องสอบถามกับท่านผู้รู้เพราะลำพังแค่อ่านก็ยังเกิดความสงสัยและเอนเอียงไปตามความรู้แค่หางอึ่ง (แถมปนโทสะนิดๆ ตามจริตของตน) เคยอ่านหนังสือที่มีผู้เรียบเรียงเรื่อง "๔๐ ภิกษุณีอรหันต์ " เรื่องราวประวัติบางท่านก็มีเพียงนิดเดียว บางท่านก็ยาวมาก กัลยาณมิตรอาวุโสท่านหนึ่ง (ผู้รู้) ท่านเมตตาตอบให้ทราบว่า ผู้เขียนอาจจะหยิบยกมาจากพระสูตรเพียงบางพระสูตร จึงทำให้ประวัติของท่านภิกษุณีบางท่านจึงสั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
kinder
วันที่ 11 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
พระคุณเจ้า
วันที่ 27 ส.ค. 2553

ธรรมที่น่าปราถนานี้ต้องเป็นธรรมที่มีสภาพปรุงแต่งจิตให้มีอารมณ์อ่อนโยน สละสลวย ด้วยกำลังของปีติและโสมนัส มีกุศลเป็นอารมณ์ในที่สุด ต่างจากโลภะที่เป็นลักษณะของกิเลส

เจรญพร

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
peem
วันที่ 13 พ.ค. 2556

กราบอนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 2 ก.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ