ว่าคนง่าย...ไม่ใช่คนว่าง่าย

 
JANYAPINPARD
วันที่  28 มี.ค. 2554
หมายเลข  18115
อ่าน  1,825

ในชีวิตประจำวันคำพูดเป็นสิ่งที่ควรระวัง...ทุจริตทางวาจามีโอกาสที่จะเกิดมากกว่าทางกาย....แต่.....ไม่ค่อยเห็นโทษเท่าทุจริตทางกาย...?เสาว์ที่ผ่านมา (26 มี.ค.54) ได้ฟังคำเตือน ..อ.คำปั่นที่ว่า..ว่าคนง่าย...ไม่ใช่คนว่าง่ายสะดุด...เกิดความสนใจลองค้นดูไม่มีการสนทนาเรื่องนี้...เชิญคลิกอ่าน...ว่าง่าย...ไม่ใช่ว่าคนง่าย...ไม่ใช่เชื่อง่าย ผู้ว่ายาก กับ ผู้ว่าง่าย ๒ [อรรถกถา สัลเลขสูตร]ผู้ว่ายาก กับ ผู้ว่าง่าย ๑ [อรรถกถา เมตตสูตร] ผู้ว่าง่าย [เมตตสูตร] ความเป็นผู้ว่าง่าย [มังคลัตถทีปนีแปล] ผู้ว่าง่าย กับ ผู้ว่ายาก........................................................การว่าคนอื่นเป็นอกุศลจิตแน่นอน..อยากทราบว่าอะไรเป็นเหตุให้เป็นผู้ว่าคนอื่นง่ายและธรรมะใดที่สามารขัดเกลาได้...โทษมีอย่างไร..อยู่ในวาจาทุจริตข้อใดบ้าง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ควรพิจารณาระหว่างคำว่า ว่าคนง่ายและผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย

ความเป็นผู้ว่าง่ายเป็นธรรมฝ่ายดี เป็นกุศลธรรม ความเป็นผู้ว่าคนง่าย เป็นได้ทั้งธรรม

ฝ่ายดีและไม่ดี ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นธรรมฝ่ายดี เป็นมงคลอันนำมาซึ่งความเจริญใน

กุศลธรรมและสามารถบรรลุธรรมได้เพราะอาศัยความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่ายคือ

บุคคลผู้น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมของพระพุทธเจ้าโดยเคารพ เพราะเห็นแก่

ประโยชน์คือกุศลธรรมและเคารพในพระธรรมในพระพุทธเจ้า จึงเป็นผู้ว่าง่ายคือปฏิบัติ

ตามในสิ่งที่ถูกต้อง ความเป็นผู้ว่าง่ายไมได้หมายถึงบุคคลที่น้อมปฏิบัติตามเพราะเหตุ

แห่งลาภ สักการะหรือเพราะความรัก ความกลัวที่เป็นอกุศลธรรม ผู้ว่าง่ายจึงเป็นกุศล

ธรรมที่เกิดจากปัญญาที่เห็นประโยชน์อันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เมื่อมีผู้อื่นว่าหรือตัก

เตือนก็น้อมประพฤติปฏิบัติตามด้วยความเคารพในพระธรรม ไม่ใช่เหตุอย่างอื่นจึงเป็นผู้

ว่าง่าย เพราะฉะนั้นการน้อมปฏิบัติตามจึงเกิดได้จากการจิตที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล

เช่นเดียวกับในเรื่องของการว่าติเตียนผู้อื่นก็เช่นเดียวกัน เกิดได้จากจิตที่เป็นกุศลหรือ

อกุศล เพราฉะนั้นจึงไมได้ตัดสินที่การกระทำแต่ตัดสินที่สภาพของจิตที่เกิดขึ้น

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

เคารพนอบน้อมพระธรรม เป็นผู้ว่าง่าย [กกจูปมสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2554

การว่าติเตียนคนอื่นง่าย

ว่าคนง่าย ด้วยจิตอะไร กุศลได้ไหม อกุศลได้ไหม หากเราพิจารณาเพียงเรื่องราวที่

ได้ยินได้ฟังในชีวิตประจำวันย่อมเห็นว่า การว่าคน ติเตียนคนเป็นอกุศลเท่านั้น หากแต่

ในความเป็นจริงแล้ว การว่าติเตียนบุคคลอื่นสำคัญที่สภาพจิต เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้

พระอุปัชฌายะ หมายถึง ผู้ที่เข้าไปเพ่งโทษน้อยโทษใหญ่ ว่ากล่าวต่างๆ แก่ผู้ที่บวชให้

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลให้ออกจากอกุศล ออกจากสิ่งไม่ดีและให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรม ขณะ

นั้นเป็นไปด้วยความหวังดีแม้จะเป็นการว่ากล่าวก็ตาม หากแต่ตัดสินที่สภาพจิตเป็น

สำคัญ เพราะฉะนั้น อาจารย์หรือพระอุปัชฌายะนั้นเป็นผู้ว่าง่ายในกุศลธรรม เพราะจิต

เป็นกุศล ในทำนองตรงกันข้ามหากอาจารย์หรือพระอุปัชฌายะไม่ว่ากล่าวศิษย์เพราะ

เห็นแก่ลาภ สักการะหรืออคติ เพราะกลัวไม่เป็นที่รักและอื่นๆ แม้ไม่ได้ว่ากล่าวแต่จิตเป็น

อกุศล ไม่ชื่อว่าว่าง่ายในกุศลธรรม

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

บุคคลผู้ว่ากล่าวติเตียนด้วยกุศลจิตและอกุศลจิต [คาถาธรรมบท]

การไม่ว่ากล่าวและว่ากล่าวเพราะเหตุใด [คาถาธรรมบท]

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 128

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปชฺฌาโย ความว่า ชื่อว่า อุปัชฌายะเพราะเข้าไป

เพ่งโทษน้อยและโทษใหญ่ คือมุ่งแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแล้วเพ่งดูด้วยญาณจักษุ

(ปัญญา) .

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2554

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงในเรื่องของการว่ากล่าวว่าหากพระองค์เห็นโทษของพระภิกษุ

พระพุทธองค์จะว่ากล่าว ติเตียนแล้วติเตียนอีก ผู้ใดมีสาระคือมีคุณธรรมที่เป็นผู้ว่าง่าย

และสามารถเข้าใจได้ ผู้นั้นก็จะอยู่ในพระธรรมวินัยนี้ได้ พระองค์ไม่ทรงเพิกเฉยที่จะว่า

กล่าว ติเตียนบ่อยๆ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ภิกษุให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรม ออกจากอกุศล

ธรรม พระพุทธเจ้าเป็นผู้ติเตียนบาป ติเตียน ว่ากล่าวบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แก่สรรพ

สัตว์ทั้งหลาย พระองค์ทรงอุปมาว่าช่างปั้นหม้อ ย่อมปั้นหม้อด้วยความทะนุถนอม

ฉันใด เราตถาคตจะไม่เป็นดั่งช่างหม้อนั้น เราจะว่าแล้ว ว่าอีก ข่มแล้ว ข่มอีกผู้ใดมี

สาระคือเป็นผู้ว่าง่าย ผู้นั้นจะดำรงอยู่ในพระศาสนานี้ได้

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ..พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าติเตียนบาป [ขาดก]

อีกเรื่องหนึ่งในสุสิมสุูตร ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้ติเตียน ว่าในอกุศลธรรม เมื่อภิกษุใด

ประพฤติไม่ดีท่านก็จะติเตียน โดยไม่รอช้าเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2554

จากคำถามที่ว่า....อยากทราบว่าอะไรเป็นเหตุให้เป็นผู้ว่าคนอื่นง่ายและธรรมะใดที่

สามารถขัดเกลาได้...โทษมีอย่างไร..อยู่ในวาจาทุจริตข้อใดบ้าง

อยากทราบว่าอะไรเป็นเหตุให้เป็นผู้ว่าคนอื่นง่าย

โดยนัยตรงกันข้ามผู้ที่ว่าคนอื่นง่ายด้วยอกุศลธรรมก็มี ด้วยจิตที่เป็นโทสะ เหตุเพราะเป็นผู้มากไปด้วยโทสะ ด้วยอโยนิโสมนสิการ การพิจารณาโดยไม่แยบคายและยังดับอนุสัยกิเลสคือปฏิฆานุสัยไม่ได้

อยู่ในวาจาทุจริตข้อใดบ้าง.....เป็นได้ทั้งผรุสวาจาคือคำหยาบและพูดเท็จ คือว่าด้วย

เรื่องที่ไม่จริง รวมทั้งการพูดส่อเสียด คือว่าบุคคลอื่นให้อีกบุคคลให้เขาฟังเพื่อให้เขา

แตกกัน

โทษมีอย่างไร....โทษย่อมน้อยมากตามบุคคลที่ว่า หากผู้นั้นมีคุณน้อย โทษก็น้อย หาก

ผู้นั้นมีคุณมากโทษก็มาก เมื่อครบกรรมบถย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ไปอบายภูมิได้และยัง

ทำให้เป็นผู้ห่างไกลจากการบรรลุคุณธรรมเพราะการเพ่งโทษ ว่าบุคคลอื่นด้วยจิตที่เป็น

อกุศล เพราะขณะนั้นเป็นอกุศล ซึ่งอกุศลจะอยู่ใกล้การบรรลุธรรมไม่่ได้เลย

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

กิเลสย่อมเจริญกับผู้ที่คอยเพ่งโทษ [เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ]

ธรรมะใดที่สามารขัดเกลาได้ (การว่าคนอื่นด้วยจิตที่เป็นอกุศล)

การฟังธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ธรรมย่อมขัดเกลากิเลสเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถละได้

โดยเด็ดขาดผู้ที่จะละผรุสวาจา (คำหยาบ) ได้เด็ดขาดคือพระอนาคามี เพราะฉะนั้นก็ขึ้น

อยู่กับกำลังปัญญาของแต่ละบุคคล ที่ค่อยๆ ขัดเกลาไปตามความเข้าใจพระธรรม

ปัญญาเท่านั้นที่จะเกื้อกูลในการดับกิเลส โดยเฉพาะการเข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้

อกุศและกุศลก็เป็นธรรม เริ่มจากตรงนี้ ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ัครับ

พึงดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตน

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 28 มี.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับคำพูดหรือความประพฤติเป็นไปทางวาจา นั้น บุคคลผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ก็จะเห็นได้ว่า มีคำพูดหลายอย่างที่ควรเว้น ไม่ควรพูด ซึ่งไม่พ้นจากวจีทุจริต ๔ อย่าง คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียดพูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อันเป็นเครื่องเตือนที่ดีสำหรับบุคคลที่ยังมีกิเลสอยู่, ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะว่าคนง่าย เกิดความไม่พอใจก็ดุด่าว่ากล่าวต่างๆ นานา หรือ เป็นการกล่าววาจาส่อเสียดให้ร้ายผู้อื่น มุ่งให้เกิดความแตกกัน เป็นต้น ถ้าไม่มีกิเลสเลย จะเป็นอย่างนี้ไม่ได้ แต่เพราะยังมีกิเลสอยู่ จึงมีเหตุปัจจัยให้มีการกล่าววาจาอย่างนั้นออกไป ซึ่งจะเป็นเครื่องเตือนที่ดีว่า ตนเองมีวาจาอย่างนั้นหรือไม่? แต่ถ้าเป็นในลักษณะที่เห็นความบกพร่องหรือข้อผิดพลาดของผู้อื่นแล้ว มีจิตประกอบด้วยเมตตา ให้คำแนะนำพร่ำสอนที่ดี ว่ากล่าวตักเตือนให้ถอยกลับจากกุศลอย่างนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งจะเห็นได้ว่า คำพูดที่เกิดจากกุศลจิต กับ กุศลจิตนั้น มีความต่างกันอย่างสิ้นเชิง ขณะที่กุศลเกิดขึ้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ใครๆ ทั้งสิ้น มีแต่โทษอย่างเดียว ยิ่งถ้าสะสมมากขึ้น ก็จะเป็นเหตุให้ล่วงเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเีบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนได้ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง จึงเป็นเครื่องเตือนอย่างดียิ่งทุกๆ ด้านไม่เว้นแม้กระทั่งในเรื่องของการพูด ให้เห็นกุศลและโทษภัยของกุศลประการต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งจะเกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควรยิ่งขึ้น จะได้ขัดเกลากิเลสของตนเองในชีวิตประจำวัน ต่อไป ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่จรรยาและทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 28 มี.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 28 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 29 มี.ค. 2554

การว่าคนอื่น (ด้วยอกุศล) มีทั้งต่อหน้าและลับหลัง (นินทา) ...เป็นการป้ายความดีของผู้อืนเป็นอุปกิเลส..มักขะ..โทษคือทุกขติภูมิ..หากพิจารณาสภาพธรรมเป็นโทสเจตสิกหรืออิสสาเจตสิกหรือมานะเจตสิกได้.และจากข้อความทีท่านอาจารย์บรรยายถ้ามีปัญญา ไม่จำเป็นต้องว่าใคร หรือ โกรธใครเพราะเหตุว่าแต่ละคนเป็นโลกแต่ละใบจริงๆ แล้วก็เอาเรื่องที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย มาเก็บ มารวม มาคิดจนกระทั่ง ว่า... ว่า... ว่า...ว่านี่ก็คือทำอกุศลอยู่เรื่อยๆ โดยที่ว่าไม่เห็นโทษเลย แต่ว่าคำสอนของพระอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่ (ทรงสอน) ให้เกิดกุศลนะคะ เชิญคลิกอ่านเพิมเติม....ว่ากันใหญ่............

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sensory
วันที่ 30 มี.ค. 2554

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 202
๘. อภัยราชกุมารสูตร เรื่องอภัยราชกุมาร [๙๔]..

"ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่งตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่นตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง วาจาที่แท้ และประ-กอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประ-โยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประ-โยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้นตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย."

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sensory
วันที่ 30 มี.ค. 2554

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

๘. อภัยราชกุมารสูตร
เรื่องอภัยราชกุมาร"ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่งตถาคต ย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง วาจาที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์แต่วาจานั้นไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็น ที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้นอนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้
และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความ
เอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย."

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sensory
วันที่ 30 มี.ค. 2554
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ๙. อุทายิสูตร[๑๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-องค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑ เราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑ เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑ เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑

เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น ๑ แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภาย-ใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ฯ จบสูตรที่ ๙
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 4 เม.ย. 2554

เสาว์ที่ 2 เมษายนมีการสนทนาธรรมเรื่องจิตตชรูป.....คำพูดเป็นวจีวิญญัติ (วิญญัติหมายถึงการสื่อความหมาย) วจีวิญญัติหมายถึงการสื่อความหมายด้วยคำพูด..มีสมุฎฐานจากจิตเท่านั้น..ต่างจากการแสดงทางกายชึ่งอาจเป็นกายวิญญัติหรือไม่ก็ได้..คำพูดจึงแสดงถึงจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลในขณะที่พูด...ยกเว้นในขณะที่มีอุปกิเลสที่เรียกว่า มายา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
namarupa
วันที่ 6 เม.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Sensory
วันที่ 7 เม.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18115 ความคิดเห็นที่ 13 โดย JANYAPINPARD

เสาว์ที่ 2 เมษายนมีการสนทนาธรรมเรื่องจิตตชรูป.....คำพูดเป็นวจีวิญญัติ (วิญญัติหมายถึงการสื่อความหมาย) วจีวิญญัติหมายถึงการสื่อความหมายด้วยคำพูด..มีสมุฎฐานจากจิตเท่านั้น..ต่างจากการแสดงทางกายชึ่งอาจเป็นกายวิญญัติหรือไม่ก็ได้..คำพูดจึงแสดงถึงจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลในขณะที่พูด...ยกเว้นในขณะที่มีอุปกิเลสที่เรียกว่า มายา

สาธุ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ