อัสสุตวตาสูตร ... วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

 
มศพ.
วันที่  11 พ.ย. 2555
หมายเลข  22034
อ่าน  1,746

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

อัสสุตวตาสูตร

(ว่าด้วยกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔)

จาก... พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๒๙๒

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันเสาร์ที่ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๕)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

และ คณะวิทยากรมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๒๙๒

อัสสุตวตาสูตร

(ว่าด้วยกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔)

[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ

จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุม

แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี

ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง

มหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง

คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น

แต่ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้

สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต เป็นต้นนั้น

ได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ

รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชน

ผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต

เป็นต้นนั้นได้เลย

[๒๓๑] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึด

ถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยัง

ชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตน หาชอบไม่ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร? เพราะกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อ

ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง

ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่า

ร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ

แต่ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิต เป็นต้น

นั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน

[๒๓๒] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ จับ

กิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่

ต่อไป แม้ฉันใด ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน

ก็ฉันนั้นแล

[๒๓๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจโดย

แยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมา

นั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้

จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี

สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-

โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณ ดับ นามรูปจึงดับ เพราะ

นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะ

ดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส จึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๒๓๔] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่

อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ใน

สัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อ

หน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

ดังนี้แล.

จบอัสสุตวตาสูตรที่ ๑.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 11 พ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

อัสสุตวตาสูตร *

(ว่าด้วยกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมเบื่อ

หน่ายในรูปธรรมได้ เพราะความเปลี่ยนแปลงของรูปธรรมปรากฏ แต่ไม่สามารถ

เบื่อหน่ายในนามธรรมได้ เพราะนามธรรมไม่ปรากฏความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเหมือน

รูปธรรม และมีการยึดถือในนามธรรมด้วยตัณหา และทิฏฐิ มาอย่างยาวนาน จึงไม่

สามารถเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในนามธรรมได้เลย

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ใส่ใจแยบคายถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในกายและจิต

และรู้ชัดซึ่งปฏิจจสมุปบาทตามความเป็นจริง ซึ่งเมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ

หน่ายในขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย

กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นจึงมีปัญญาหยั่งรู้ว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจที่จะพึงทำยิ่งไปกว่านี้อีก.

หมายเหตุ คำว่า อัสสุตวตา (อัด - สุ - ตะ - วะ - ตา) ซึ่งเป็นชื่อของพระสูตร

แปลว่า ผู้มิได้สดับ ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ยากที่จะรู้และเบื่อหน่ายละความยินดี

ความเบื่อหน่ายร่างกาย

ปุถุชนผู้สดับ กับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ?

อยู่พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร?

..........เรื่องของพรหมจรรย์..........

สภาพธรรมที่เป็น รูปธรรม นามธรรม ขอความกรุณาชี้แนะด้วยครับ

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน [นามธรรมและรูปธรรม]

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน [นามธรรม-จิตและเจตสิก]

อยากทราบเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ครับผม

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 11 พ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 12 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paew_int
วันที่ 12 พ.ย. 2555

-ขออนุโมทนาค่ะ-

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
raynu.p
วันที่ 12 พ.ย. 2555

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 12 พ.ย. 2555

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Chalee
วันที่ 13 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนา

สาธุด้วยค่ะเป็นบุญเก่าที่ได้กลับมาอ่านอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 13 พ.ย. 2555

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จิตและเจตสิก
วันที่ 15 พ.ย. 2555

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เมตตา
วันที่ 16 พ.ย. 2555

...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
maxnakub2
วันที่ 16 พ.ย. 2555

ขอแสดงความยินดีมากครับครับพระสูตรนี้ :)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ