การกินเจและผลของการกินเจ

 
papon
วันที่  3 ต.ค. 2556
หมายเลข  23757
อ่าน  4,178

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

การกินเจ (การงดเว้นจากการกินผลิตภัณฑ์จากสัตว์) เป็นการละการปาณาติบาตหรือไม่และมีนักบวชลัทธิหนึ่งกินมังสวิรัติตลอดชีวิตอย่างนี้เป็นมหาทานหรือไม่อย่างไรครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดมาก ดารละเว้นยากปาณาติบาต ก็เป็นสภาพธรรมที่

ไม่พ้นจากจิตและเจตสิก ซึ่งจะต้องเป็นจิตที่ดี และมีวิรตีเจตสิกที่งดเว้นจากบาป

ในขณะนั้นด้วย

ดังนั้น ขณะที่งดเว้นจากการฆ่า คือ ขณะจะต้องมีเจตนางดเว้นจากบาป เช่น ขณะ

ที่งดเว้นเฉพาะหน้า งดเว้นจากการตบยุง อย่างนี้มีเจตนางดเว้นจากบาป และ ขณะ

ที่สมาทานศีลด้วยเจตนาจะงดเว้นจากบาป ขณะนั้น ก็เป็นการมีศีลในขณะจิตนั้น

แต่การทานเจ ขณะนั้นไม่ไดีมีวิรตีเจตสิกที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์เฉพาะหน้า จึง

ไม่ได้เกิดกุศลขั้นศีล แต่เป็นความเข้าใจผิดที่คิดจะได้บุญเพราะไม่ทานเนื้อสัตว์ ครับ

ส่วนมหาทาน หมายถึง การรักษาศีลห้า แต่ การไม่ทานเนื้อสัตว์ไม่ได้มีเจตนารักษา

ศีลห้า จึงไม่ใช่มหาทาน ครับอย่างไรก็ดี เราควรพิจารณาเรื่องการทานเจ ทานเนืเอสัตว์

ให้ถูกต้องว่าคืออย่างไร

เรามาเข้าใจก่อนครับว่า กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล อยู่ที่เจตนา เป็นสำคัญ องค์ของปาณาติบาตนั้นมี ๕ อย่าง คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสัญญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตตัง มีจิตคิดฆ่า

๔. อุปักกโม มีความพยายาม

๕. เตนมรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

ถามว่าขณะที่ทานเนื้อ ขณะนั้นมีเจตนาฆ่าหรือเปล่าครับ ไม่มีเจตนาฆ่าในขณะนั้น

แต่มีเจตนา ที่จะบริโภค ถามต่อว่า คนที่ทานมังสวิรัติกับคนที่ทานเนื้อ จิตขณะนั้น

ต่างกันไหม ถ้าเป็นปุถุชน จิตขณะนั้น มีความต้องการ (โลภะ) เหมือนกันไหม

ก็เจตนาที่จะทานเหมือนกันโลภะเหมือนกันครับ พระอรหันต์ไม่มีกิเลส ทานเนื้อกับ

ปุถุชนทานมังสวิรัติจิตของคนทั้งสองที่ทาน ต่างกันไหม พระอรหันต์ติดในรสไหม

พระอรหันต์มีเจตนาฆ่าเนื้อตอนนั้นไหม ปุถุชนทานมังสวิรัติ ติดในรสไหม ถ้าติดใน

รส (โลภะ) เป็นบุญหรือบาป ถ้าเป็นโลภะ

ดังนั้นอาหารจะทำอะไรได้ ถ้าจิตมากไปด้วยกิเลส สัตว์จะบริสุทธิ์ได้มิใช่เพราะ

อาหาร แต่เพราะปัญญาที่เกิดจากการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า ขอยกข้อความ

ในพระไตรปิฎก ว่าบุญ บาป อยู่ที่เจตนา และเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่?

ลองอ่านดูนะครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่....เรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่ [อามคันธสูตรที่ ๒]

กรรมที่เป็นบุญ บาป อยู่ที่เจตนา

การบริโภคเนื้อสัตว์

ขอเสริมอีประเด็นหนึ่งนะครับ เพราะอาจจะมีคำกล่าวที่ได้ยินบ่อยๆ ในแนวคิดที่ทานเจ

คือ ไม่ทานเนื้อสัตว์ที่ว่า

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้บริโภค ลดการบริโภคลงเสียบ้างก็คงจะลดการฆ่าลงไปได้

แต่หากทานเนื้อสัตว์กัน สัตว์ก็ถูกฆ่ามากขึ้น? การที่สัตว์ถูกฆ่า ก็ต้องคิดแล้วหละว่าเกิดจากอะไร ในทางพระพุทธศาสนาและความเป็นจริงนั้น การที่ถูกฆ่าก็ต้องเป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้เคยทำไว้ ดังนั้น สัตว์นั้น จึงมีกรรมที่ต้องถูกฆ่า จะบริโภคน้อยลงหรือมากขึ้น สัตว์ก็ต้องถูกฆ่า เพราะอกุศลกรรมให้ผล มนุษย์ทำไมถึงถูกฆ่าได้ทุกวัน ก็ไม่ได้บริโภคเนื้อมนุษย์ เป็นอาหารของคนส่วนใหญ่ ทำไมยังถูกฆ่าทุกวัน เพราะคนนั้นที่ถูกฆ่า อกุศลกรรมให้ผลเพราะเคยทำอกุศลไว้ ดังนั้นการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง ไม่ใช่เป็นเหตุที่จะทำให้สัตว์ถูกฆ่าน้อยลง แต่กรรมไม่ดีต่างหาก ที่ทำให้สัตว์ถูกฆ่าครับ และถ้าคิดละเอียดขึ้น ทำไมถึงทำกรรมไม่ดี อันเป็นเหตุให้ถูกฆ่า ก็เพราะกิเลสที่มีนั่นเอง ดังนั้นพระธรรมเท่านั้น ที่จะช่วยให้มีกิเลสน้อยลงจนไม่มีอีกและด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงแสดงพระธรรม เพื่อการพ้น

ทุกข์คือ ไม่ให้เกิดอีกต่อไป เมื่อคนนั้นไม่เกิด ใครจะฆ่าคนนั้นได้อีกครับ

กรรมจึงขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญ อาหารไม่สามารถทำให้สัตว์บริสุทธิ์ หรือ เศร้า

หมองได้ กิเลสทำให้สัตว์ไม่บริสุทธิ์เศร้าหมอง ปัญญาทำให้สัตว์บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง

ครับ อนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

การทานเจ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 3 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เป็นไปเพื่อความ

เข้าใจถูก เห็นถูก เข้าใจในเหตุในผลของธรรมตามความเป็นจริง ทุกขณะไม่พ้น

ไปจากธรรมเลย แม้แต่ที่กล่าวว่า ทานอาหารเจ หรือ ถ้าไม่ใช่อาหารเจ แต่เป็น

อาหารอย่างอื่น ขณะนั้นไม่พ้นไปจากความติดข้องต้องการ ที่เป็นโลภะ ยากที่

จะพ้นไปได้เลย ในขณะทานอาหาร ในขณะนั้นไม่ได้มีเจตนาทีวิรัติงดเว้นจากการ

ฆ่าสัตว์ แต่เป็นอกุศลที่ติดข้องต้องการที่จะบริโภค ไม่พ้นไปจากอกุศลเลย ผู้ที่

บริโภคมังสวิรัติตลอดชีวิต ขณะที่บริโภค จิตเป็นอะไร? นี้คือ สิ่งที่จะต้อง

พิจารณาจริงๆ ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ก็จะสำคัญอกุศลว่าเป็นกุศล

ก็ได้ ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่จะได้ฟังได้ศึกษาพะธรรมให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจอย่าง

ถูกต้องแล้ว ก็จะไม่หวัน่ไหวไปกับสิ่งที่ผิด ไม่ว่จะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม

สำหรับในเรื่องการกินเนื้อสัตว์หรือไม่กินเนื้อสัตว์ ก็เป็นประเด็นสงสัยของคน

จำนวนไม่น้อย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในสมัยนี้เท่านั้น แม้แต่ในสมัยพุทธกาล รวมไป

ถึงในสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ก็เคยมีคนสงสัยในเรื่องนี้เหมือนกัน ขอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดได้จากหัวข้อต่อไปนี้ ครับ อามคันธสูตร.. เสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ การไม่ทานเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์หรือไม่ครับ การกินเนื้อสัตว์ การรับประทานมังสวิรัติ

ความไม่สะอาด ความมัวหมอง ความเศร้าหมองของจิตนั้น เป็นเรื่องของกิเลส เป็นเรื่องของกุศลธรรม ทั้งหมด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหารเลย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อสัตว์พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจึงเป็นอนุสาสนี เป็นคำพร่ำสอนให้พุทธ-บริษัทเห็นโทษของกิเลส ให้เห็นโทษของกุศลทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพื่อจะได้ขัดเกลา ลดละคลายให้เบาบางลง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง (ปัญญา) จนกว่าจะถึงความเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสได้ในที่สุด ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 3 ต.ค. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

๑ การทานเจหรือไม่ทานเนื้อสัตว์ ขณะนั้นจิตให้ทานชีวิต (อาจจะโดยอ้อม) ซึ่งเป็นกุศลจิตถึง

แม้จะเกิดช่วงสั้นๆ ก็ยังดีไมใช่หรือครับ

๒ ถ้าคิดว่าสัตว์มีกรรมที่จะถูกฆ่า การไถ่ชีวิตโค กระบือ ที่เป็นการเจริญกุศลในด้านความเมตตาก็เป็นการตัดกรรมให้โค กระบือไม่ใช่หรือครับ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถช่วยได้ทุกตัว

หรือว่าโค กระบือที่ได้รับการช่วยมีกุศลวิบากที่ทำให้รอดตายครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nopwong
วันที่ 4 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 4 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

๑ การทานเจหรือไม่ทานเนื้อสัตว์ ขณะนั้นจิตให้ทานชีวิต (อาจจะโดยอ้อม) ซึ่งเป็น

กุศลจิตถึงแม้จะเกิดช่วงสั้นๆ ก็ยังดีไมใช่หรือครับ

กุศล ไม่มีโดยอ้อม ขณะใดเป็นกุศล ก็ต้องเป็นกุศล ขณะใดที่ไม่ใช่กุศล ก็

ไม่ใช่กุศล เพราะฉะนั้น ขณะที่ทานเจ ไม่ได้มีเจตนา งดเว้นจากปาณาติบาต เฉพาะหน้า

ในขณะนั้น ดังนั้น เราจะต้องพิจารณาไปทีละขณะจิตเป้นสำคัญ ครับ ว่า เจตนา เป็นกุศล

งดเว้นในขณะนั้นหรือไม่ ครับ

๒ ถ้าคิดว่าสัตว์มีกรรมที่จะถูกฆ่า การไถ่ชีวิตโค กระบือ ที่เป็นการเจริญกุศลในด้าน

ความเมตตาก็เป็นการตัดกรรมให้โค กระบือไม่ใช่หรือครับ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถช่วย

ได้ทุกตัวหรือว่าโค กระบือที่ได้รับการช่วยมีกุศลวิบากที่ทำให้รอดตายครับ

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน ทำไมถึงต้องเป้นโคตัวนี้ ถึงโดนช่วย ตัวอื่นไม่

โดนช่วยเพราะ สัตว์นั้น ยังไม่ถึงคราวที่จะเกิด จุติจิตนั่นเอง ส่วนการไถ่ชีวิตโคกระบือ

ขณะนั้นมีเจตนาช่วยเหลือ ที่เป็นเมตตาในขณะนั้น ตามที่กล่าวแล้ว ต้องพิจารณาที

ละขณะจิตเพราะฉะนั้น ก็เป็นจิตที่เป็นกุศลให้ชีวิตกับโค ครับ ต่างกับการที่จะทานเจ

เพราะ อยากจะได้บุญ และ ไม่ได้มีเจตนางดเว้น จากบาปในขณะนั้น ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 4 ต.ค. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

๑ เวลาไปร้านอาหารปัจจุบันถ้าจะทานปลา ทางร้านจะให้ชี้ว่าจะเอาตัวไหนในตู้ ถ้ากำหนดเจาะจงว่าเป็นตัวไหน จะเป็นการร่วมกระทำปาณาติบาตด้วยหรือไม่ครับ

๒ เวลาไปตลาดซื้ปลาเช่นปลาดุก แม่ค้าจะจะฆ่าปลาสดๆ และหั่นเนื้อปลาเดี๋ยวนั้นเลยกรณีนี้เป็นการสั่งฆ่าและปาณาตบาตหรือไม่อย่างไรครับ

๓ สัตว์ทั้งสองข้อนี้ไม่ควรบริโภคใช่ไหมครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 4 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

๑ เวลาไปร้านอาหารปัจจุบันถ้าจะทานปลา ทางร้านจะให้ชี้ว่าจะเอาตัวไหนในตู้

ถ้ากำหนดเจาะจงว่าเป็นตัวไหน จะเป็นการร่วมกระทำปาณาติบาตด้วยหรือไม่ครับ

แน่นอนครับ เพราะ เราเป็นคนกำหนดว่าตัวไหน ว่าจะให้ฆ่า ก็เป้นากรสั่งฆ่า

สัตว์นั้นตาย เพราะ กายกรรมด้วยการชี้บอก ก็เป็นปาณาติบาต ครับ

๒ เวลาไปตลาดซื้ปลาเช่นปลาดุก แม่ค้าจะจะฆ่าปลาสดๆ และหั่นเนื้อปลาเดี๋ยว

นั้นเลยกรณีนี้เป็นการสั่งฆ่าและปาณาตบาตหรือไม่อย่างไรครับ

โดยนัยเดียวกัน ครับ เป็นการชี้ว่าเอาปลาตัวนี้ ก็รู้ว่าปลาเป็น มีชีวิตอยู่และ

สั่งให้เอาปลาตัวนี้ที่ต้องฆ่าก่อน มีเจตนาฆ๋าอย่างนี้ก็เป็นปาณาติบาต ครับ

๓ สัตว์ทั้งสองข้อนี้ไม่ควรบริโภคใช่ไหมครับ

สัตว์ทั้งสองไม่ควรฆ๋า ครับ ไม่ใช่ไม่ควรบริโภค สิ่งที่ไม่ควรบริโภค ไม่

ควรเสพ ไม่ใช่เนื้อสัตว์ แต่ เป็นกิเลสที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรบริโภคด้วยใจ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 4 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ควรทำบาปเพราะเหตุแก่กิน และไม่ควรทำบาป เพราะเหตุผลประการอื่นๆ

ด้วย เพราะบาป ย่อมมีแก่ผู้ทำ และ ยังจะเป็นเหตุให้ผลที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่

ไม่น่าพอใจ เกิดขึ้นแก่ผู้กระทำในภายหน้าด้วย ซึ่งจะประมาทไม่ได้เลยทีเดียว ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ