กายคตาสติสูตร คือการปฏิบัติหรือเปล่าครับ 2

 
Chaiwit
วันที่  25 เม.ย. 2559
หมายเลข  27714
อ่าน  11,123

ในพระสูตรมีการเขียนไว้ในนัย ที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นการปฏิบัติ หนึ่งในนั้นก็คือผม

ผมไม่ทราบว่าพระสูตรที่แปลออกมาแบบนี้ถูกต้องประการใดครับ และควรเชื่อถือเพื่อการศึกษาและปฏิบัติตามได้หรือไม่ครับ

[๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่น ทำความเข้าใจในเรื่อง ของ กายคตาสติให้ถูกต้องก่อนนะครับว่าคืออะไรและเป็นอย่างไร กายคตาสติ คือ สติและปัญญาที่ระลึกเป็นไปในการกาย ซึ่ง กายคตาสติ มี 2 อย่างคือทั้งที่เป็นสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา กายคตาสติที่เป็นสมถภาวนาคงเคยได้ยินนะครับที่ว่า พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น พิจารณาโดยความเป็นของปฏิกูล ในอาการ 32 พิจารณาว่าผม ขน เล็บ ปฏิกูล ไม่น่ายินดี ติดข้อง ขณะที่มีความเข้าใจถูก ในการคิดพิจารณาเช่นนี้ จิตสงบจากกิเลสชั่วขณะ เพราะคิดถูก แต่ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรมไม่ได้ละความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ก็ยังเป็นผมของเรา ขนของเราอยู่ แต่พิจารณาถูกว่าเป็นสิ่งปฏิกูล มีสติและปัญญาพิจารณา สิ่งที่เนื่องกับกาย มี ผม ขน เล็บ เป็นต้นว่าปฏิกูล นี่คือกายคตาสติ โดยนัยสมถภาวนา ซึ่งไม่สามารถดับกิเลสได้ เพียงแต่ทำให้จิตสงบชั่วขณะที่พิจารณาครับ
ส่วนกายคตาสติโดยนัย วิปัสสนา คือ สติที่ระลึกเป็นไปในกายเช่นกัน แต่เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏที่กาย ที่เป็นธาตุ 4 คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ที่เนื่องกับกาย ขณะนั้นสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่เนื่องกับกายที่เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่การพิจารณาบัญญัติเรื่องราวที่เป็น ผม ขน เล็บ อาการ 32 เป็นต้น เมื่อสติเกิดรู้ว่าเป็นเพียงแข็ง เราก็ไม่มี กายก็ไม่มี มีแต่ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ก็สามารถไถ่ถอนความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลได้ อันเป็นหนทางดับกิเลสได้ ที่เป็นการเจริญวิปัสสนา ดังนั้น กายคตาสติ อีกชื่อหนึ่งในการเจริญวิปัสสนา ก็คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น การเจริญ กายคตาสติ สติที่เนื่องในกาย ก็เป็นการเจริญสติปัฏฐานในหมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง ซึ่งการเจริญสติปัฏฐานเป็นหนทางที่สามารถดับกิเลสได้ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

กายคตาสติและกายานุปัสสนา

ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง...กายคตาสติ และ การเจริญสติปัฏฐาน...?

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 25 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าไม่มีความเข้าใจในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ก็จะไปทำ คิดว่าจะทำได้ปฏิบัติได้ แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีแต่จะเพิ่มความเห็นผิด ความติดข้องและความไม่รู้มากยิ่งขึ้น เพราะปฏิบัติธรรมไม่ใช่การไปทำอะไรที่ผิดปกติ แต่เป็นการระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏด้วยสติปัญญา เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องของความเข้าใจในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ซึ่งจะขาดดารฟังพระธรรมไม่ได้เลย ต้องกลับมาเริ่มต้นที่การฟังพระธรรม ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 26 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 26 เม.ย. 2559

ถ้าไม่รู้ว่าผิดปกติก็ทำ แต่ถ้าเข้าใจก็เป็นปกติธรรมดา เช่น แข็งมีจริงเป็นธรรมะ เกิดแล้วดับแล้วเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
thilda
วันที่ 28 เม.ย. 2559
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Chaiwit
วันที่ 7 พ.ค. 2559

ขอบคุณครับ

อนุโมทนาสาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 19 มิ.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ก.ไก่
วันที่ 9 พ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ