วีตราคสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๐

 
มศพ.
วันที่  24 ต.ค. 2560
หมายเลข  29264
อ่าน  1,075

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๐

...จาก...

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๒๐๒

๒. วีตราคสูตร

(ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ)

[๘๒] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ๑ เป็นผู้ไม่ปราศจากความขัดเคือง ๑ เป็นผู้ไม่ปราศจากความหลง ๑ เป็นผู้ลบหลู่ ๑ เป็นผู้ตีเสมอ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ๑ เป็นผู้ปราศจากความขัดเคือง ๑ เป็นผู้ปราศจากความหลง ๑ เป็นผู้ไม่ลบหลู่ ๑ เป็นผู้ไม่ตีเสมอ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

จบวีตราคสูตรที่ ๒


อรรถกถาวีตราคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวีตราคสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มกฺขี ได้แก่ เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน. บทว่า ปฬาสิ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยการตีเสมอมีการแข่งขันกันเป็นลักษณะ

จบอรรถกถาวีตราคสูตรที่ ๒


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 24 ต.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

วีตราคสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุ เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่อง ของเพื่อนพรหมจรรย์ (ผู้ประพฤติประเสริฐ) ได้แก่ ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความขัดเคือง ไม่ปราศจากความหลง ลบหลู่ และตีเสมอ

และทรงแสดง ภิกษุ เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่อง ของเพื่อนพรหมจรรย์ ได้แก่ ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความขัดเคือง ปราศจากความหลง ไม่ลบหลู่ และไม่ตีเสมอ

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

เถระปลอม

ไม่ใช่เถระในพระธรรมวินัย

สราคจิต สภาพจิตที่ประกอบด้วยราคะ

ความติดข้อง

ความลบหลู่

ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน (๒)

ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน (๓)

ความลบหลู่ การตีเสมอ ความโอ้อวด [อรรถกถาวัตถูปมสูตร]

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 25 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 26 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 20 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ