มองมุมมุ่งธรรม ๐๙ - สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

 
สารธรรม
วันที่  30 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6755
อ่าน  2,569

มองมุมมุ่งธรรม ๐๙

สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

การอบรมจิตใจมี ๒ อย่าง คือ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา

สมถภาวนา ระงับอกุศลเพียงชั่วขณะ ขณะใดที่สติเกิดระลึกได้ เห็นโทษของอกุศล อกุศลนั้นก็ระงับไป แล้วกุศล เช่น เมตตาพรหมวิหาร ก็เริ่มเจริญขึ้น พรหมวิหาร คือธรรมเครื่องอยู่ของพรหมซึ่งเป็นผู้ประเสริฐ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมตตา เป็นสภาพธรรมที่ตรงข้ามกับโทสะ ขณะที่ขุ่นเคืองใจ ถ้าสติและปัญญาเกิดจะเห็นโทษของความโกรธแล้วจะเกิดเมตตาบุคคลที่ท่านกำลังขุ่นเคืองใจ นี่เป็นหนทางที่จะระงับจิตใจให้สงบขึ้น เพราะถ้าวันหนึ่งๆ เต็มไปด้วย โลภ โกรธ หลง ก็ไม่สงบเลยทั้งวัน เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ก็สงบขึ้น นี่คือสมถภาวนาในชีวิตประจำวัน

ส่วนภาวนาอีกระดับหนึ่ง คือ วิปัสสนาภาวนา นั้น ทำให้ปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส เปลี่ยนสภาพเป็นพระอริยบุคคล คือผู้สามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท วิปัสสนาภาวนา จึงเป็นกุศลที่ละเอียดกว่ากุศลขั้นทาน ศีล และสมถภาวนา ฉะนั้น บุญกิริยาวัตถุในส่วนของภาวนาจึงมี ๓ คือ

๑. การฟังพระธรรม

๒. การแสดงธรรม

๓. การอบรมเจริญภาวนา ซึ่งได้แก่ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา

การแสดงธรรมก็เป็นกุศล เมื่อมีโอกาสที่จะเกื้อกูลญาติมิตรด้วยพระธรรมสั้นๆ ข้อหนึ่งข้อใด เมื่อถึงกาลที่สมควรที่เป็นประโยชน์กับเขา ขณะนั้นเป็นการแสดงธรรม คือแสดงสิ่งที่ถูกที่ควรซึ่งจะอุปการะผู้นั้นให้มีการระลึกได้

ขอเชิญคลิกอ่านตอนต่อไป ...

๐๑ - ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด

๐๒ - สติมีหลายระดับ

๐๓ - ทุกขณะในชีวิตเป็นธรรม

๐๔ - ทรงแสดงพระธรรมเพราะอะไร

๐๕ - รู้จักพระพุทธเจ้าหรือยัง

๐๖ - สังฆทานที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

๐๗ - บุญกิริยาวัตถุเป็นอย่างไร

๐๘ - ภาวนุปนิสัยเป็นกุศลที่ควรเริ่มสะสม

๐๙ - สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

๑๐ - ทิฏฐชุกรรม คืออย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pamali
วันที่ 3 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

สมถภาวนา ระงับอกุศลเพียงชั่วขณะ ขณะใดที่สติเกิดระลึกได้ เห็นโทษของอกุศล อกุศลนั้นก็ระงับไป แล้วกุศล เช่น เมตตาพรหมวิหาร ก็เริ่มเจริญขึ้น พรหมวิหาร คือธรรมเครื่องอยู่ของพรหมซึ่งเป็นผู้ประเสริฐ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

วิปัสสนาภาวนา ทำให้ปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส เปลี่ยนสภาพเป็นพระอริยบุคคล คือ สามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ