มองมุมมุ่งธรรม ๐๖ - สังฆทานที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

 
สารธรรม
วันที่  30 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6752
อ่าน  3,088

มองมุมมุ่งธรรม ๐๖

สังฆทาน

สังฆทาน มาจากคำว่า สงฆ + ทาน

ทาน คือ การให้ สังฆทาน เป็นการให้แก่ภิกษุบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยไม่เจาะจง แต่มุ่งตรงต่อหมู่ของสงฆ์ซึ่งเป็นพระอริยบุคคล พระรัตนตรัย พระสังฆรัตนะ พระสังฆรัตนะไม่ได้หมายถึงภิกษุบุคคล แต่หมายถึงภิกษุผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น สังฆทานจึงเป็นขณะจิตที่สละสิ่งที่เป็นประโยชน์ถวายต่อพระอริยบุคคล ด้วยความนอบน้อม เวลาใส่บาตรถ้ามีความตะขิตตะขวงใจในเรื่องของผู้รับ เช่น อาจาระ คือความประพฤติของพระภิกษุ ซึ่งทำให้จิตของผู้ให้ไม่ผ่องใส ขณะนั้น อกุศลจิตเกิดสลับกับกุศลจิต แสดงให้เห็นว่าจิตไม่ผ่องใสเต็มที่ เพราะมีอกุศลจิต เกิดสลับแทรกแซง

ฉะนั้น การใส่บาตรกับพระภิกษุเพียงรูปเดียวก็เป็นสังฆทานได้ในขณะที่จิตนอบน้อมต่อพระภิกษุ เสมือนท่านเป็นพระอริยบุคคล เพราะเหตุว่า เราไม่สามารถรู้ได้ว่า พระภิกษุรูปใดเป็น พระอริยบุคคล เนื่องจากข้อประพฤติของพระภิกษุทุกรูปโดยพระวินัยบัญญัติแล้วเสมอเหมือนกับความประพฤติของพระอรหันต์


ด้วยเหตุนี้ ผู้มีจิตนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย เมื่อใส่บาตรหรือถวายภัตตาหารในกาลใดก็ตาม มีจิตใจนอบน้อมต่อภิกษุผู้รับเหมือนท่านเป็นพระอริยบุคคล ขณะนั้น จิตไม่เศร้าหมองเลย เพราะไม่ว่าสามเณรก็เป็นพระอริยบุคคลได้ พระภิกษุใหม่ พระภิกษุเถระก็เป็นพระอริยบุคคลได้ ขณะที่จิตนอบน้อมโดยมุ่งตรงต่อพระอริยสงฆ์นั้น เป็นสังฆทาน ซึ่งมีโอกาสทำได้เสมอไม่ใช่ต้องไปขวนขวายทำตามระเบียบอะไรต่างๆ เมื่อมีความเข้าใจว่า สงฆ์คือหมู่แห่งพระอริยบุคคลซึ่งสืบเนื่องมาจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถวายให้ด้วยความนอบน้อมเสมอกันกับพระอริยบุคคลซึ่งแม้จะไม่ใช่ชื่อว่าสังฆทาน แต่ก็เป็นสังฆทานได้


ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ การกระทำทางกายก็เป็นกุศล หรือแม้วาจาก็เป็นวาจาที่เป็นทางกุศล ถ้าจิตไม่เป็นกุศล กาย วาจาก็เป็นกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะที่จิตเป็นไปในทานการให้เพื่อประโยชน์ของผู้รับจริงๆ ไม่ใช่หวังผลตอบแทนเหมือนการซื้อขายหรือฝากธนาคารขณะที่ให้เพื่อประโยชน์ของผู้รับ บางท่านมีจิตที่ผ่องใสมาก รู้ว่าผู้รับได้ประโยชน์จริงๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียนที่ให้แก่เด็ก ขณะที่คิดถึงเด็ก ว่า เขาจะได้ใช้ของใหม่ๆ สะดวกสบาย ขณะนั้นเป็นจิตที่ผ่องใสที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน เพราะฉะนั้น อานิสงส์ก็มาก ไม่ต้องถามใครเลยว่าได้บุญมากไหม เพราะบุญ คือจิตซึ่งผ่องใส ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ

ขอเชิญคลิกอ่านตอนต่อไป ...

๐๑ - ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด

๐๒ - สติมีหลายระดับ

๐๓ - ทุกขณะในชีวิตเป็นธรรม

๐๔ - ทรงแสดงพระธรรมเพราะอะไร

๐๕ - รู้จักพระพุทธเจ้าหรือยัง

๐๖ - สังฆทานที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

๐๗ - บุญกิริยาวัตถุเป็นอย่างไร

๐๘ - ภาวนุปนิสัยเป็นกุศลที่ควรเริ่มสะสม

๐๙ - สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

๑๐ - ทิฏฐชุกรรม คืออย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 30 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 6 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บัวขาว
วันที่ 26 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 27 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pamali
วันที่ 3 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Khun
วันที่ 12 ธ.ค. 2555

พยายามหาอ่านคำถามที่คล้ายกันแต่ไม่พบ จึงขอถามต่อจากคำถามนี้ค่ะเพื่อที่อาจารย์จะได้ทราบว่าผู้ถามได้อ่านในเรื่องสังฆทานจากหัวข้ออื่นมาบ้างแล้ว

คือ เมื่อเรามีความตั้งใจที่จะให้เป็นสังฆทาน โดยใจน้อมไปในการถวาย ทั้งในขณะที่คิดที่จะทำและตระเตรียมหาสิ่งของ รวมทั้งในขณะที่ถวาย และหลังจากถวาย (ไม่แน่ใจในครั้งนี้) รวมทั้งได้กล่าวว่าขอถวายเครื่องสังฆทานเหล่านี้แด่สงฆ์ ขอท่านโปรดเป็นตัวแทนรับสิ่งของเหล่านี้ (ปกติจะไม่กล่าวเน้นแต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่ค่ะ) หลังจากสนทนากันก่อนถวายแล้ว เกิดความรู้สึกสงสารท่านเหล่านั้น (๕ รูป) ที่มารับสังฆทานเป็นอย่างมาก (จะด้วยเพราะท่านไม่รู้หรืออย่างอื่นไม่ทราบ) ก็ไม่อยากให้โทษเกิดกับท่าน จึงคิดเฉพาะส่วนตัวว่าเราขอถวายสิ่งของแด่รูปที่รับ ไม่ได้ถวายสงฆ์ อยู่ในใจคนเดียวและก็ไม่ได้บอกให้คนอื่นให้เปลี่ยนใจ (เพราะก่อนมาได้อธิบายนิดหน่อยถึงการน้อมใจถวายสงฆ์และก็ไม่ทราบว่าคนอื่นน้อมใจยังไง ประกอบกับเกรงว่าจะทำให้ศรัทธาคนอื่นตก) ปัญหาคือความคิดก็คือความคิด เพราะเวลาถวายจริงตอนยกของประเคน ใจเราก็น้อมไปถึงสงฆ์โดยอัตโนมัติ เราต้องกำกับใจเราว่าถวายแด่ท่านผู้รับ

พอถวายเสร็จ ตอนกราบ ใจก็น้อมไปถึงพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขโดยอัตโนมัติ เราอิ่มใจ (ปกติถ้าไม่มีผู้ร่วมทำทานด้วยและเราเห็นว่าผู้รับนั้นรับไม่ไหวแน่ก็จะปฏิเสธที่จะถวายเลย ที่ทำเช่นนี้เพราะไม่อยากให้เกิดโทษแก่ผู้อื่นเพียงเพราะเราต้องการบุญแต่คนอื่นต้องแบกโทษ จะด้วยอะไรก็ตามเหมือนเห็นแก่ตัวเกินไปจึงไม่ถวาย)

คำถาม คือ เราควรจะทำยังไงในกรณีที่เจอสภาพแบบนี้ เพราะถ้าเจอพระพูดจาแบบสำรวมแต่เหมือนท่านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราก็เอ่ยคำยากเหมือนกัน แต่ถ้าเจอประเภทให้รอเดี๋ยวจะดูหมอให้ด้วยก็ปฏิเสธง่าย (ในกรณีนี้พูดถึงเฉพาะที่มีปัญหา) หากมีข้อคิดหรือคำแนะนำอื่นที่เห็นว่าควรก็ขอความกรุณาด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 25 ธ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สังฆทาน หมายถึง ทานที่ถวายสงฆ์ คือหมู่ของพระอริยสงฆ์ ไม่ใช่การถวายภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ถวายต้องเข้าใจในความหมายคำว่า หมู่ของอริยสงฆ์ และของที่จะถวายนั้นไม่ใช่ว่า จะต้องเป็นถังสีเหลือง แต่จิตของผู้ถวายน้อมบูชาคุณของพระอริยสงฆ์ จิตไม่หวั่นไหว คือไม่เลือกภิกษุผู้รับทาน

สรุป คือ การถวายถังสีเหลือง ใช่ว่าจะเป็นสังฆทานเสมอไป ถ้าไม่เข้าใจสังฆทาน ไม่เข้าใจอริยสงฆ์ หรือเลือกผู้รับทาน มีจิตหวั่นไหวในผู้รับ ก็ไม่เป็นสังฆทาน ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ