มองมุมมุ่งธรรม ๑๐ - ทิฏฐุชุกรรม คืออย่างไร

 
สารธรรม
วันที่  30 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6757
อ่าน  2,936

มองมุมมุ่งธรรม ๑๐

ทิฏฐุชุกรรม

บุญกิริยาวัตถุอีกประการหนึ่ง คือ ทิฏฐุชุกรรม การกระทำความเห็นให้ตรง ความเห็นที่ถูกต้อง คือ เห็นว่ากุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล ถ้าใครยังไม่เห็นโทษของอกุศล ชวนกันโกรธมากๆ ขณะนั้นไม่ใช่ทิฏฐุชุกรรม แต่ถ้าผู้ใดกำลังโกรธ กำลังซ้ำเติมผู้ที่ทำผิดไปแล้วและมีผู้ตักเตือนว่าทุกคนก็ต้องโกรธเหมือนกัน และสิ่งที่แล้วก็ให้แล้วไป ทางที่ดีที่สุด คือช่วยเหลือเกื้อกูลให้คนนั้นเปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศล เมื่อเห็นถูกต้องอย่างนี้จึงเป็นทิฏฐุชุกรรม ซึ่งเป็นเบื้องต้นที่เริ่มเกื้อกูลให้กุศลกรรมอื่นเจริญขึ้นด้วย

ผู้ฟัง : ขณะที่มีสติไม่สามารถบังคับจิตได้หรือ เพราะเหตุใด?

อ.สุจินต์ : จิตเป็นอนัตตา ไม่ว่าขณะไหนก็ไม่มีใครสามารถบังคับจิตได้ เช่น จิตได้ยินเกิดแล้วในขณะนี้ บังคับไม่ให้เกิดไม่ได้ หรือถ้าเสียงไม่กระทบหูคือโสตปสาท จะบังคับให้จิตได้ยินเกิดก็ไม่ได้ ฉะนั้น จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือสร้างจิตได้ เมื่ออบรมเจริญสติปัฏฐาน เจริญปัญญา ก็จะรู้ตามความเป็นจริงว่าสภาพธรรมนั้นๆ เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ขณะนั้นก็จะค่อยๆ ละคลายความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนลง จนกว่าปัญญาจะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตามลำดับขั้นของวิปัสสนาจนรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นพระโสดาบัน ดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนเด็ดขาดเป็นสมุจเฉท ไม่เห็นผิดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอีกเลย

ขอเชิญคลิกอ่านตอนต่อไป ...

๐๑ - ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด

๐๒ - สติมีหลายระดับ

๐๓ - ทุกขณะในชีวิตเป็นธรรม

๐๔ - ทรงแสดงพระธรรมเพราะอะไร

๐๕ - รู้จักพระพุทธเจ้าหรือยัง

๐๖ - สังฆทานที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

๐๗ - บุญกิริยาวัตถุเป็นอย่างไร

๐๘ - ภาวนุปนิสัยเป็นกุศลที่ควรเริ่มสะสม

๐๙ - สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

๑๐ - ทิฏฐชุกรรม คืออย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pamali
วันที่ 3 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 28 ก.พ. 2565

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ