การฝึกจิตภาวนา

 
บริสุทธิ์
วันที่  30 เม.ย. 2555
หมายเลข  21050
อ่าน  3,361

เชื่อว่าตามหลักการคำสอนของพระพุทธศาสนา และพระพุทธองค์ย่อมกล่าวถึงการฝึกจิตภาวนาไว้ แต่อาจจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม่ทราบว่ามีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ หรือมีการจัดระบบการฝึกเป็นขั้นตอน หนึ่ง, สอง, สาม หรือไม่ กรุณาชี้นำด้วย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจทีละคำ ครับว่า มีความหมายที่ถูกต้องอย่างไร บ้าง

ภาวนา หมาถึง การเจริญอบรมสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้น และ อบรมสิ่งที่มีแล้วให้เจริญเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพูดถึงภาวนาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นการอบรมสิ่งที่ดีให้เจริญขึ้นเกิดขึ้น คือ กุศลธรรมเจริญขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ก็เป็นการอบรมกุศลให้เจริญขึ้นมากขึ้น วิปัสสนาภาวนา เป็นหนทางดับกิเลส เป็นการเจริญขึ้นอบรมเจริญขึ้นในกุศลธรรม โดยเฉพาะปัญญา เป็นสำคัญ คือ มีความเข้าใจถูกในสภาพธรรมในขณะนี้ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

ส่วนเรื่องการ ฝึกจิต คือ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนครับว่าไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน มีแต่ธรรม คือจิต เจตสิก รูป และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ดังนั้นจึงไม่มีตัวเราที่ฝึก ที่จะทำ เป็นสภาพธรรมที่ทำหน้าที่เกิดขึ้นเป็นไป คือ สติและปัญญาที่เกิดขึ้น ขณะนั้น ฝึกจิตจากที่เคยสะสมมามาก ทำให้อกุศล หรือ กิเลสน้อยลง ฝึกจิตให้ตรง ที่เคยคดจากกิเลส ก็ตรงขึ้นด้วยธรรมที่ทำหน้าที่ฝึก คือ สติและปัญญา ไม่ใช่เราที่จะฝึก จะทำ จะฝึกจิต ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า การฝึกจิตภาวนา ก็คือ การเจริญวิปัสสนา ที่เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะใดที่รู้ความจริง ปัญญาเกิด ในขณะนั้น กำลังฝึกจิตแล้ว ฝึกให้ตรงด้วยกุศลธรรม ฝึกจิตให้พ้นจากอกุศลธรรม เพราะปัญญาเกิดขึ้นนั่นเองครับ

ซึ่งลำดับการเจริญวิปัสสนา ที่เป็นการฝึกจิต ก้คือ เริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจ เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ปัญญานั้นเองจะทำหน้าที่ให้กุศลธรรมประการต่างๆ เจริญขึ้น ทีละน้อย ก็จะเป็นผู้ศีลมากขึ้น ได้ความสงบแห่งจิต มีเมตตา เพิ่มขึ้นเป็นต้น และเกิดความรู้ความเข้าใจ ในสภาพธรรมในขณะนี้ ที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ซึ่งเป็นการเจริญวิปัสสนาเกิดขึ้น จนถึงการดับกิเลสในที่สุด แต่ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน นั่นคือ เริ่มจากการฟังพระรรม ศึกษาพระธรรมไปเรื่อยๆ ปัญญาที่เจริญขึ้น จะทำหน้าที่ปรุงแต่งให้ปฏิบัติไปตามลำดับเอง ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องการฝึกจิตในธรรมบท

การฝึกจิตด้วยอริยมรรค 4 ในอรรถกถา

ผลดีจากการฝึกจิต

ผลร้ายจากการไม่ฝึกจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น มีความละเอียดลึกชึ้งเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจไปตามลำดับอย่างแท้จริง เพราะทุกส่วนของคำสอนที่พระองค์ทรงแสดงนั้น เป็นเครื่องเตือนเพื่อความเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต เพื่อความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมอย่างแท้จริง

สภาพธรรมที่ดีงาม ที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน การสละวัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น การมีเมตตา มีความเป็นมิตร มีความเป็นเพื่อน หวังดีต่อผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่หวังร้าย พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้อื่นได้ทุกเมื่อ ตลอดจนถึง ความเป็นผู้มีความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ ทำในสิ่งที่ควรทำ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น พร้อมทั้งการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันเป็นต้นเป็นการฝึกจิต เป็นไปเป็นเพื่อชำระจิตใจของตนให้สะอาดจากอกุศล นั่นเอง และผลดีสูงสุดของการฝึกจิต (ซึ่งไม่มีตัวตนที่ฝึก แต่เป็นความเจริญขึ้นของกุศลธรรม จากที่เคยเป็นอกุศลมากๆ ก็เป็นกุศลยิ่งขึ้น) คือ สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้ตามลำดับขั้นจนกระทั่งสูงสุดถึงความเป็นพระอรหันต์ ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น อันเป็นการได้ที่พึ่งที่ได้โดยยากแสนยาก ซึ่งจะขาดปัญญา ความเข้าใจ ถูกเห็นถูกไม่ได้เลยทีเดียว ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 1 พ.ค. 2555

การอบรม หรือ การฝึกจิต แม้สัตว์เดรัจฉาน เช่น ช้าง ม้า ลิง นก ฯลฯ ก็ยังสามารถฝึกได้ มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐก็สามารถฝึกได้ ฝึกให้เป็นคนดี ฝึกจากนิสัยที่ไม่ดี ให้เป็นนิสัยดีได้ และเห็นโทษของอกุศล เห็นประโยชน์ของการศึกษาธรรมจึงอบรมปัญญา จึงจะสามารถเปลี่ยนจากความไม่ดีเป็นความดีได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
บริสุทธิ์
วันที่ 7 มิ.ย. 2555

เรียน ท่านอาจารย์ผเดิม

การรับฟังธรรมเพียงอย่างเดียว จะเกิดผลกับการพัฒนาจิตหรือครับ เพราะคนตั้งมากมาย ฟังธรรมแล้ว ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

ผมจึงคิดว่าการฟังเพียงอย่างเดียวไม่น่าเกิดผลเท่าที่ควร แต่น่าจะมีการปฏิบัติอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เรียงตามลำดับขั้น

แล้วจริงๆ แล้ว จิตของคนเราแบ่งเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง แต่ละระดับต้องมีการจัดการจิตอย่างไรบ้าง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

จากคำถามที่ว่า

การรับฟังธรรมเพียงอย่างเดียว จะเกิดผลกับการพัฒนาจิตหรือครับ เพราะคนตั้งมากมายฟังธรรมแล้ว ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ผมจึงคิดว่าการฟังเพียงอย่างเดียวไม่น่าเกิดผลเท่าที่ควร แต่น่าจะมีการปฏิบัติอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เรียงตามลำดับขั้น


เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ศึกษาพระธรรม กับ ปฏิบัติธรรม

เชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ครับ

ปฏิบัติคืออะไร

ทำไมต้องฟังให้เข้าใจก่อนไปปฏิบัติ

การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องคืออย่างไร

ปฏิบัติธรรมเริ่มจากความเข้าใจ

อยากจะปฏิบัติ จะปฏิบัติอย่างไร


จากคำถามที่ว่า

แล้วจริงๆ แล้ว จิตของคนเราแบ่งเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง แต่ละระดับต้องมีการจัดการจิตอย่างไรบ้าง

เชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ครับ

ภูมิของจิต - ภูมิที่เกิดของสัตว์

ภูมิของจิต ๔ ภูมิ

ระดับขั้นของจิต ๔ ระดับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ