อานาปานสติเป็นเหตุให้ถึงซึ่งนิพพาน
อานาปานสติ
โดย ตถาคต
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำาให้มากแล้ว...ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๓.
เหมาะสําหรับ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ศรัทธาในตถาคต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อานาปานสติ คือ สติที่ระลึกรู้เป็นไปในลมหายใจ ซึ่งก็ต้องเป็นผู้ละเอียดว่า ไม่ใช่มีแต่สติเท่านั้น แต่ต้องมีปัญญาด้วย ซึ่ง อานาปานสติ มีทั้งที่เป็นใน สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา
อานาปานสติที่เป็นสมถภาวนา มีลมหายใจที่เป็นบัญญัติเป็นอารมณ์ ผู้ที่อบรมอานาปานสติสมาธิจะต้องมีปัญญามาก จะต้องรู้ความต่างกันของกุศลจิตและอกุศจิต ต้องรู้ว่าจะพิจารณาอย่างไรจิตจึงจะค่อยๆ สงบจากอกุศลยิ่งขึ้น จากขณิกสมาธิ ค่อยๆ สงบขึ้นจนเป็นอุปจารสมาธิ จะต้องรู้จักองค์ฌาน คือรู้ลักษณะของวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา จึงสามารถประคองจิตให้ตั้งมั่นในอารมณ์จนเป็นอัปปนาสมาธิ และ ต้องมีปัญญาเห็นโทษขององค์ฌานต้นๆ และ ค่อยๆ ละองค์ฌานที่ละองค์โดยการไม่ใสใจ จึงสามารถอบรมจิตให้สงบเป็นฌานจิตขั้นสูงยิ่งขึ้น อานาปานสตินี้เป็นอารมณ์ที่ละเอียดสุขุม จึงเป็นอารมณ์ของผู้ที่มีสติไม่หลงลืม เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ คือ อาจหรือสามารถบรรลุมรรคผลได้ในชาตินั้น
สำหรับอานาปานสติที่เป็นวิปัสสนาภาวนา มีลมหายใจซึ่งเป็นปรมัตถเป็นอารมณ์ ในมหาสติปัฏฐานสูตร ทรงแสดงอานาปานบรรพในหมวดกายานุปัสสนา เพราะลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย เป็นสภาพที่ปรุงแต่งกาย และ เคยยึดถือว่าเป็นลมหายใจของเรา เป็นเราหายใจ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุลม ซึ่งกระทบที่กาย อาจจะเป็นลักษณะที่อ่อนนุ่มหรืออบอุ่น หรือเคลื่อนไหว ซึ่งปรากฏที่ช่องจมูกหรือริมฝีปาก เพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่ง และเริ่มรู้คือค่อยๆ เข้าใจว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือเป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่า เป็นเราที่หายใจ หรือเป็นลมหายใจของเรา และขณะที่สติเกิดนั้น ไม่ได้สนใจว่าลมหายใจจะกระทบที่ใดเพียงรู้ว่ามีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเท่านั้น สติที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย จากการฟังจนเข้าใจ ไม่มีการเตรียมตัวจดจ้องหรือต้องการให้มีสติมาก่อน จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
ถ้ามีความเห็นถูกมีความเข้าใจที่ถูกต้อง สติปัฏฐานก็จะโคจรไปในอารมณ์ต่างๆ ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง จนทั่ว ไม่ใช่จดจ้องอยู่ที่ลมหายใจที่ปรากฏทางกายอย่างเดียว จึงจะค่อยๆ ซึมซาบความเป็นอนัตตา และเข้าใจเห็นชัดในสภาพธรรมตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น จนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณตามลำดับขั้น จนบรรลุมรรคผลในที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลานานไม่ใช่เพียงภพเดียวชาติเดียวจึงควรอบรมปัญญาจากการฟัง การพิจารณาไป โดยที่ไม่หวัง เพราะความหวังเป็นเครื่องเนิ่นช้า (ปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เป็นเครื่องถ่วงความเจริญของปัญญา ก็ต้องเข้าใจเบื้องต้นว่า ใครทำ เรา หรือ ธรรม หากไม่มีความเข้าใจเบื้องต้น
แม้แต่คำว่า ธรรมคืออะไรให้ถูกต้อง ไม่ต้องกล่าวถึงอานาปานสติ แม้แต่การเจริญสติปัฏฐานที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำ แต่เป็นเรื่องที่จะค่อยๆ เข้าใจ ซึ่งในพระไตรปิฎก แสดงถึงเรื่องอานาปานสติ ว่าเป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ คือ ผู้ที่ปัญญามาก สะสมบารมีมามาก จึงจะอบรมอานาปานสติได้ เพราะอานาปานสติ เป็นอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง หากอยากจะทำก็ไม่มีทางถึง เพราะด้วยความต้องการ ไม่ใช่ด้วยความเข้าใจครับ
ขณะนี้ กำลังหายใจ แต่ไม่รู้เลยว่ากำลังหายใจอยู่ และหากบอกว่า รู้ไหมที่กำลังหายใจขณะนี้ ก็ตอบได้ ว่ากำลังหายใจ แต่การรู้ว่ากำลังหายใจอยู่ ไม่ใช่เป็นการเจริญวิปัสสนาที่เป็นอานาปานสติเลยครับ ซึ่ง การเจริญวิปัสสนา ต้องมีสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอารมณ์ให้สติและปัญญารู้ นั่นคือ ขณะที่หายใจ มีอะไรปรากฎที่กำลังหายใจ ขณะที่มีลมกระทบ ก็มี เย็น ร้อน เป็นต้น สภาพธรรมเหล่านี้มีจริง ก็รู้ความเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่หายใจ เช่น เย็นก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่สติและปัญญาเกิดในขณะนั้นครับ ทีละขณะ แต่ละสภาพธรรมครับ
เรื่องที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจถูก นั่นคือ ปัญญา ซึ่งปัญญาจะเจริญได้ ก็ต้องเริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจเป็นเบื้องต้น เพราะเมื่อมีความเข้าใจเบื้องต้น ก็สามารถทำให้เข้าใจในคำแต่ละคำ และหนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้แต่เรื่องของอานาปานสติ ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่
อานาปานสติ - ภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษ [1]
การเดินอานาปานสติ จะเป็นวิปัสสนาหรือไม่
เชิญคลิกฟังที่นี่ ครับ
ขออนุโมทนา
เรียนสอบถามอาจารย์ผเดิมเพิ่มเติมนะครับว่า
ที่ฝึกๆ กันว่า หายใจเข้า พุทธ หายใจออก โธ หรือ หายใจเข้า ยุบหนอ หายใจออก พองหนอ นั้น เมื่อพิจารณาคำอธิบายข้างต้นแล้ว จะมีส่วนที่เป็นอานาปานสติ ไม่ว่าเป็นสมถหรือ วิปัสสนา ได้บ้างหรือไม่ครับ วิธีการนี้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา หรือไม่ครับ หรือเป็นวิธีที่คิดค้นขึ้นภายหลัง และหากจะจัดว่าเป็นสมถหรือวิปัสสนาจริงๆ แล้ว ต้องเข้าใจอย่างไรก่อนที่จะภาวนาได้ถูกต้อง จากการพิจารณาลมหายใจ ยุบ พอง ซึ่งเป็นรูปปรมัตถ กับการระลึกคำว่า พุทโธ ซึ่งเป็นคำบัญญัติ
ขอบพระคุณครับ
เรียนความเห็นที่ 2 ครับ
หากยังไม่เข้าใจแม้พื้นฐานขั้นการฟังว่าสมถะคืออะไร การอบรมสมถภาวนาอบรมอย่างไร ไม่เข้าใจแม้ขั้นการฟังว่า สมถะ คือ ความสงบจากกิเลส แต่เข้าใจสมถะว่าคือการจดจ้องอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง มีลมหายใจ มีพุทโธ ยุบหนอ พองหนอ เป็นต้นเหล่านี้ ก็เป็นความเข้าใจผิด ที่สำคัญผิด ว่าจดจ้องอยู่ในสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งเป็นสมาธิขณะนั้นสงบ ก็ไม่ใช่การเจริญสมถะและวิปัสสนาเลย เพราะเข้าใจผิดและขาดความเข้าใจตั้งแต่ต้นในขั้นการฟัง เพียงแต่ทำตามกันไป ครับ ซึ่งในพระไตรปิฎกไม่ได้มีวิธีการแบบนี้ ที่จะให้จดจ้องในคำใดคำหนึ่ง อาการใด อาการหนึ่ง แต่พระไตรปิฎกได้แสดงให้มีความเข้าใจถูกในขั้นการฟังเป็นสำคัญ ก็จะทำให้สามารถเจริญ สมถะ และ วิปัสสนาได้ ครับ
ส่วนจะเป็นการเจริญสมถภาวนาหรือวิปัสสนา อย่างเช่น ลมหายใจ ก็ด้วยการพิจารณาลมที่มากระทบ ว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เย็น ร้อน เป็นต้น ที่กระทบกาย ไม่ใช่เรา เป็นการเจริญวิปัสสนารู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรม ครับ โดยไม่มีตัวตนที่จะไปพยายามเลือกว่าจงเจริญสมถภาวนา อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง มีลมหายใจเป็นต้น ดังนั้นจะเจริญสมถหรือ วิปัสสนาได้ จะต้องมีปัญญาขั้นการฟังเป็นสำคัญ ครับ
ขออนุโมทนา
พุทธวจน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณ สงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นคุณ สงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน สงบไปโดยฉับพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ในสถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน
ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุข หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขาร หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จะเห็นได้ว่าอานาปานสตินี้พระองค์ทรงสั่งให้ภิกษุในธรรมวินัยทำให้มากเจริญให้มากจากปากพระองค์เองและยังบอกอานิสงค์ไว้มาก
จากพระโอษฐ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อ บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงแสดงไว้ถึงวิมุตติ เพียงเจริญให้มากทำให้มาก
ผมก็ฝึกภาวนาโดยการดูลมหายใจเข้าออก ตั้งแต่พ.ศ.2537 ตอนแรกได้อ่านหนังสืออานาปานสติ เขียนโดย อ.พุทธทาส จากนั้นมาเริ่มฝึก ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เพราะจิตมันชอบปรุงแต่ง (ชอบคิดในเรื่องต่างๆ ) ตอนหลังมาจับหลักได้ คือเราเอาสติจับที่ลมหายใจเข้าออก ส่วนตัวเราคอยสังเกตุความดีใจเสียใจของความรู้สึก ทำอย่างนี้ ไม่นานจิตก็สงบ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกจากการที่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ไม่ใช่การไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ด้วยความจดจ้องต้องการ
อานาปานสติ เป็นสติที่มีลมหายใจเป็นอารมณ์ เป็นได้ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ซึ่งจะขาดปัญญาไม่ได้เลยทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนา แต่ผลต่างกัน เพราะสมถภาวนาเพียงระงับกิเลสด้วยการข่มไว้เท่านั้น ไม่สามารถดับกิเลสใดๆ ได้เลย แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานแล้ว สามารถทำให้รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น สูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น เรื่อง เจริญสติปัฏฐานเป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ ไม่ใช่เพียงประการเดียวเท่านั้น การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ พิจารณาเหตุผลแล้วก็เจริญเหตุให้สมควรแก่ผลด้วย ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ จะต้องไม่เข้าใจผิดว่าเป็นสติปัฏฐานเฉพาะบางสิ่งบางประการ หรือ เลือกเจาะจงเฉพาะบางนามธรรม บางรูปธรรม แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั้น เป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น เพราะเป็นที่ตั้งให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นระลึกรู้ตามความเป็นจริงได้ ลมหายใจก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย เพราะลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย เป็นสภาพที่ปรุงแต่งกาย และเคยยึดถือว่าเป็นลมหายใจของเรา เป็นเราหายใจ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุลม เริ่มที่จะเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือ เป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์ (คือเป็นรูปธรรม) เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่าเป็นเราที่หายใจ หรือเป็นลมหายใจของเรา ทั้งนี้ แล้วแต่ว่าสติจะระลึกรู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัดและไม่เจาะจง เพราะเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เรียนความเห็นที่ 4, 5 และ 6
ขออนุญาตร่วมสนทนาธรรมนะครับ เพื่อความเข้าใจถูก เพราะประโยชน์ คือ ความเห็นถูกในการสนทนา
สมถะ คือ อะไร และ ขณะที่จดจ้องมีสมาธิในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งเป็นสมถะไหม และ อย่างไรที่ไม่ชื่อว่าสมถะ ครับ เรียนสนทนา
ผมเพียงยกตัวอย่างพุทธวจนมา เพื่อให้เห็นว่าอานาปานสตินั้นเป็นทางที่สามารถทำให้ถึงวิมุตติได้จริง ส่วนขั้นตอนการเข้าใจในสภาวธรรมนั้นคงต้องได้ยินได้ฟัง ทำความเข้าใจในสภาวะเหล่านั้นไม่ใช่เรา เป็นเพียงสภาวะที่มีจริงไม่ว่าจะเป็นอะไร มันก็เป็นเพียงเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปไม่ใช่เรา อานาปานสติสูตรเป็นพระสูตรที่พระองค์ทรงสรรเสริญไว้มาก อาจารย์ padermก็ได้แยกแยะไว้ดีแล้วว่าสมถะอย่างไรวิปัสสนาอย่างไร ผมเองเพียงป็นผู้เห็นประโยชน์และได้ประโยชน์จากพระสูตรนี้ จึงหยิบยกมาเพื่อยืนยันว่าบนเส้นทางธรรมะ ในอานาปานนั้นมีครบทุกอย่าง เพียงทำความเข้าใจดั่งท่านอาจารย์ padermได้แสดงไว้แล้ว ทำให้มากเจริญให้มากก็เกิดผลได้จริง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สมถะคือความสงบจากกิเลส
ขณะที่จดจ้องมีสมาธิในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งเป็นสมถะไหม
ไม่เป็นสมถะ เพราะไม่ประกอบด้วยปัญญา
"ผู้ที่จะเจริญสมถภาวนาต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นโทษของอกุศลทั้งโลภะและโทสะ ต้องรู้ความต่างกันของโลภมูลจิตและกุศลจิต มิฉะนั้นก็จะทำสมาธิด้วยโลภมูลจิต เป็นมิจฉาสมาธิเมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญา"
"ฉะนั้น สมถภาวนาจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจถูกต้องจริงๆ "
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เรียนความเห็นที่ 9 ครับ
จากที่กระผมพยายามสอบถามและอธิบายก็เพื่อที่จะไม่ให้สหายธรรมเมื่อได้อ่านข้อความในพระไตรปิฎก ได้เห็นข้อความที่แสดงว่าเป็นทางที่หลุดพ้นถึงวิมุตติ ถึงอมตะ แล้วเห็นว่าดี ก็จะพยายามที่จะปฏิบัติ พยายามที่จะเดินหนทางนั้น โดยข้ามขั้นตอน คือ การเริ่มจากก้าวที่ถูกต้อง คือ การฟังให้เข้าใจ โดยเฉพาะเบื้องต้นว่า ธรรม คือ อะไร เพราะหากยังไม่มีความเข้าใจเบื้องต้น แม้แต่คำว่าธรรม แม้แต่คำว่าปฏิบัติ ก็จะไปทำ เพราะเห็นว่าทำให้หลุดพ้น เพราะ อานาปานสติ หากได้อ่านในหลายๆ สูตร จะรู้ว่ายาก และเป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ ความหมาย คือ อารมณ์ที่บุคคลจะเจริญได้เพราะจะต้องมีปัญญามาก มีพระมหาสาวก พระอัครสาวก และพระพุทธเจ้า อันเป็นอารมณ์ละเอียด ประณีตเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นแม้ความเข้าใจในขั้นการฟังยังเพียงเล็กน้อย ในคำว่าสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา แต่ทำอานาปานสติก็เป็นการทำด้วยความไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้ความจริงเลยขณะนี้ ที่ทำ คือ ไม่มีปัญญารู้ความจริงในขณะที่ทำ ได้แต่ความจดจ้องอยู่กับลมหายใจ เป็นสมาธิแต่ไม่รู้ความจริง
ดังนั้น เครื่องพิสูจน์ว่าเดินทางถูกต้องหรือไม่ คือ มีปัญญารู้ความจริงอะไรเพิ่มขึ้นหรือไม่ ไม่ใช่การได้ความนิ่งแต่ไม่รู้อะไร ครับ
การอ่านพระไตรปิฎกและการฟังจากที่ต่างๆ ต้องพิจารณาไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะเป็นพระปัญญาคุณ ที่ไม่ใช่เรื่องที่จะทำ แต่เป็นเรื่องที่จะเข้าใจ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอโอกาสแชร์ประสบการณ์ ประเด็นเรื่องรู้หรือไม่รู้ มีปัญญาหรือไม่มีปัญญาเข้าไปรู้ นี่นั้นสำคัญมาก หากไม่รู้อะไรเลยก็คงอยากที่จะทำอะไรได้ แม้แต่การปฎิบัติที่ถูกต้อง เรื่องอานาปานสตินั้นมิได้กั้นแต่กลุ่มชนเล่าใด พระองค์สอนให้ชนทุกกลุ่ม ดังพุทธวจน อันบุคคลทำให้มากเจริญให้มาก ส่วนการเรียนรู้รูปธรรมนามธรรมนั้น ผมเข้าใจว่า เราต้องทำความเข้าใจกันมาพอสมควรแล้ว และรูปธรรมนามธรรมในขั้นการศึกษานั้น ที่เราว่ากันว่าไม่เป็นตัวตน เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น เป็นเพียงขั้นตอนของสุตตะและจินตะเท่านั้น ยังไม่กล่าวล่วงลงภาวนามยปัญญาอย่างแท้จริง และอานาปานสตินั้นเป็นเส้นทางที่ทำให้เข้าถึงสภาวะของความจริง โดยสภาวะทั้งหมดคือพระไตรลักษณะที่แท้จริง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และเข้าถึงสภาวะความเป็นอมตะธาตุคือนิพพาน ที่สุดของอานาปานสตินั้นลมอัสาสะปัสสาสะนั้นจะต้องดับไปดั่งในพระสูตรที่พระองค์ตรัสไว้
ดูกรราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
อานาปานสตินั้นพระองค์แสดงไว้มากถึง 50 กว่าพระสูตร แสดงไว้มากแสดงว่า ทรงเห็นว่าสำคัญมาก เหมาะแก่การนำไปปฎิบัติ ส่วนเรื่องการเข้าถึงสภาวะต่างๆ จนทำให้เกิดปัญญาแต่ละคนแต่ละขั้นนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะต้องอาศัยอินทรีย์ที่ต่างกัน ส่วนตัวผมเองเข้าถึงสภาวะที่ลมดับไปแล้ว เจอสภาวะหนึ่งที่ทำให้หายสงสัยในเส้นทางเดิน ผมจึงอยากแชร์เกี่ยวกับอานาปานสติเท่านั้น ครับ ส่วนความรู้ด้านอื่นๆ นั้น ก็ค่อยๆ สะสมสุตตะกันไป (มันอาจจะไม่ง่ายนัก แต่เชื่อว่าผู้ที่ศึกษาธรรมะที่เข้าใจเรื่องรูปธรรมนามธรรมปฎิบัติอานาปานสติได้ทุกคนครับ)
เรียนสนทนาในความเห็นที่ 12 ครับ
อานาปนาสติ รู้ความจริงอย่างไร และ รู้สภาพธรรมอะไร ครับ เรียนร่วมสนทนา เพื่อความเห็นถูก ครับ
ในการปฎิบัติอานาปาสตินั้น หมายความว่า เราเลือกเอาลมหายใจมาพิจารณาให้รู้เห็นตามจริง และความจริงที่ปรากฎนั้นก็จะเป็นความจริงเหมือนกันทั้งหมดทั่วจักรวาล แต่อานาปานสตินั้นสามารถทำให้เราเข้าถึงความจริงที่ละเอียดที่สุด เริ่มจากความจริงที่หยาบสู่ความจริงที่ละเอียดละเอียดขึ้นจนถึงที่สุดคือ ความว่างจากทุกสิ่ง เริ่มจากการพิจารณาลมหายใจตามปรกติ เราก็จะเห็นลมหายใจนั้นมันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นี่เป็นธรรมดาของมัน ถ้าเรามองเห็นก็จะเป็นปัญญาในลักษณะของสภาวะที่เป็นจริง สติที่เข้าไประลึกตรงตามความจริง แต่ก็ยังเป็นปัญญาที่ยังไม่สามารถและมีกำลังมากนัก ลมหายใจออกจะร้อน ลมหายใจเข้าจะรู้สึกเย็น นี่ก็เป็นสิ่งที่ละเอียดขึ้นละเอียดขึ้น มันก็เกิดดับเป็นกายทั้งหลายเกิดดับตลอดเวลา ในขณะที่เราเอาจิตอยู่กับลมหายใจนั้น จิตเราไปนึกคิดเรื่องอื่นๆ เราก็จะเห็นการเกิดดับของจิตที่คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ เมื่อเราฝึกมากทำให้มาก สติเราจะไวจะละนันทิได้ เป็นอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย…
อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖.
เมื่อเรามีสติอยู่กับลมหายใจได้นานเท่าไรจิตก็สงบจะมีพลังมากขึ้นทุกที่ ผมเองเอาจิตอยู่กับลมอย่างเดียวทิ้งทุกอย่าง มีอาการที่เรียกว่าเหมือนเราจะฉีกร่างออกจากกัน แต่เราทำในใจว่าทุกสิ่งต้องเกิดดับไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอย่างไร และมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ก่อนลมดับไปนั้นรับรู้ถึงความสงบ เมื่อลมดับหายใจดับไป ความรู้สึกเจ็บปวดตึงทั้งหลาย ความคิดร่างกายเวทนาทั้งหมดหยุดลง เหลือแต่เพียงการรับรู้สภาวะที่ไม่มีอะไร ว่างเปล่า นั้นจะเรียกอะไรไม่สำคัญ มันสำคัญตรงที่ว่าผมหายสงสัยบนเส้นทางนี้อย่างไม่มีความลังเลเลย ความสงสัยที่มันมีอยู่มันถูกทำลายลง แต่กิเลสยังไม่หมดรู้ตัวดี ตลอดสิบกว่าปีผมเข้าถึงสภาวะนี้เพียงสองครั้ง ครั้งละสักไม่ถึงนาที เป็นสภาวะดียวกัน อาการเดียวกัน ต้องผ่านสิ่งเดียวกัน คือต้องอดทนมากพอสมควรกับความรู้สึก
(นี่เป็นประสบการณ์ครับที่ทำให้ผมหายสงสัยและเข้าถึงความเป็นไตรลักษณ์ในความเป็นสภาวะที่ชัดเจน) แชร์กันครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏคือ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุลม เริ่มที่จะเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือ เป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์ (คือเป็นรูปธรรม) เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่าเป็นเราที่หายใจ หรือเป็นลมหายใจของเรา "
"อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้า และ มหาสาวก ปุถุชนเจริญอานาปานสติได้ยากมาก ถ้าเจริญอานาปานสติผิด สังสารวัฏฏ์ที่ยาวอยู่แล้ว ก็ยิ่งยาวออกไปอีกนับชาติไม่ได้ "
"เรื่องที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจถูก นั่นคือ ปัญญา ซึ่งปัญญาจะเจริญได้ก็ต้องเริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ เป็นเบื้องต้น เพราะเมื่อมีความเข้าใจเบื้องต้น ก็สามารถทำให้เข้าใจในคำแต่ละคำและหนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้แต่เรื่องของ อานาปานสติ ครับ ขออนุโมทนาครับ"
..ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยครับ...
เรียนความเห็นที่ 14 ครับ
จากที่กล่าวมา เราลืมความเข้าใจเบื้องต้นไปทั้งหมดเลยครับ กับ คำว่า อนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้ และ ลืมความหมายคำว่า อนัตตา ที่ว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน มีแต่ธรรม การที่จะไปเลือกรู้สภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่ง ก็ขัดกับหลักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วที่ว่า อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีใคร ที่จะสามารถที่จะเลือกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ด้วยความจงใจ ตั้งใจ ด้วยความเป็นตัวตน เป็นตัวเราทั้งหมดที่จะไปเลือกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดเพราะเป็นหน้าที่ของธรรมทั้งสิ้นที่ทำหน้าที่ ไม่มีเราที่จะไปเลือกรู้
อีกประการหนึ่ง เมื่อยังไม่เข้าใจคำว่าธรรม ยังไม่รู้จักตัวธรรม แต่จะไปข้ามขั้นรู้การเกิดดับ ก็เป็นการผิดตั้งแต่ต้น เพราะข้ามขั้นตอน ขณะนี้ มีสภาพธรรม ยังไม่รู้ตัวธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน ขณะที่หายใจในขณะนี้ก็มีตัวธรรม ยังไม่รู้จักตัวธรรม จะเป็นการเกิดดับของสภาพธรรมย่อมเหลือวิสัย เปรียบเหมือนผู้ที่กล่าวว่า รักหญิงคนนี้ แต่ถามว่า เคยเห็นหน้าผู้หญิงคนนี้ไหม คำตอบ คือยังไม่เคย แต่กลับรักหญิงคนที่ไม่เคยเห็นหน้าเลย ย่อมไม่ใช่ฐานะ ฉันใด การอบรมปัญญาจะต้องเป็นไปตามลำดับ แม้แต่การเห็นการเกิดดับ เป็นปัญญาระดับสูงมาก เป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๔ ในเมื่อสติปัฏฐานยังไม่เกิดเลย ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา และยังไม่มีความเข้าใจพื้นฐานธรรมที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น จะไปเห็นการเกิดดับของสภาพธรรมที่ยังไม่ได้เห็น ย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น ควรกลับมาสู่ความเข้าใจถูกตั้งแต่ต้นในขั้นการฟังเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น ขอเรียนถามความเข้าใจตั้งแต่ต้น ครับ เพราะผู้ร่วมสนทนากล่าวถึงอานาปานสติ ก็ขอถามเบื้องต้นว่า สติ คือ อะไร ตามนัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
การเดินบนเส้นทางอริยมรรค์ ก็ต้องเริ่มจากการฟัง จากก่อนพระองค์ก็ทรงแสดงธรรมแก่พุทธบริษัทของท่าน ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระสูตรทุกพระสูตรก็ทรงแสดงแก่พุทธบริษัททั้งนั้น ส่วนจะเข้าใจตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงต้องการ อีกประเด็นอย่างพระสูตรที่พระองค์ทรงสรรเสริญมากคือ อานาปานสติ พระองค์บอก นั้นโคนไม้ นั้นเรือนว่าง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นคุณ สงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน สงบไปโดยฉับพลัน จะเห็นได้ว่าอานาปานสตินั้นเป็นอาวุธทำให้บาปอกุศลธรรมอันตรธานได้เร็วพลัน จากพระสูตรจะเห็นได้ว่า อานาปานสตินั้น ทำให้บริบูรณ์ ทำให้สติปัฎฐาน๔ บริบูรณ์ ทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ ทำให้เข้าถึงวิมุติ เราต้องทำความเข้าใจตรงนี้ก่อนว่า พระองค์แสดงไว้จริงๆ นั้น หมายความว่า ตัวอานาปานสตินั้น ทำให้วิมุตติได้แน่ๆ (เป็นพุทธวจนตรงๆ ) ส่วนการจะเข้าถึงอย่างไรนั้นอีกเรื่องหนึ่ง อาจจะยากหรือง่ายนั้น คนละประเด็นนะครับ
ที่นี้เราควรมาศึกษาอานาปานสติกันให้มากว่า วินิจฉัยโดยการปฎิบัติ ตรงนี้เองที่เรามักจะเข้าใจว่า เราทำอะไรไม่ได้เลยเป็นอัตตากันไปหมด จะเป็นอัตตาได้อย่างไรในเมื่อสัพเพธรรมาอนัตตา มันเป็นไปไม่ได้ในตัวมันเองอยู่แล้ว มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เหมือนเราไปกินข้าว ไปฟังธรรม มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ดังพระพุทธองค์ที่ทรงบอกให้สาวกของท่านทำให้มากเจริญให้มาก (อานาปานสติ) การเดินบนเส้นทางอริยมรรคค์นั้นนอกจากการฟังธรรมะให้เข้าใจแล้ว จะต้องควบคู่กับการปฎิบัติไปด้วย ปฎิบัติให้มาก เพราะสภาวะนั้นต้องเข้าถึงด้วยการปฎิบัติให้รู้รูปนามที่ละเอียดที่อยู่ภายในกายและจิต จนเข้าถึงสภาวธรรมที่แท้จริง ลองดูดั่งพระสูตรอานาปานสติเถิด ท่านจะได้รับจริงที่เข้าถึงได้ แล้วเราจะได้เข้าใจทั้งความคิดและสภาวะ มันมีอะไรมากกว่า เย็นร้อน อ่อนแข็ง ไหวตึง และสติที่พระองค์แสดงนั้นก็เพียงให้เรา มีความรู้ชัดกับสิ่งที่เรานำมาเป็นฐานในการปฎิบัติ อย่างเช่น กายานุปัสนาสติปัฎฐาน ให้เรามีสติอยู่กับกาย พิจารณากาย อย่างลมหายใจ เมื่อเรารู้ชัดลมหายใจ เราก็จะรู้ว่ามันเป็นเพียงสภาวะหนึ่ง เกิดขึ้น ดับไป ไม่ใช่ตัวตน ปัญญาเหล่านี้แหละที่จะทำให้เราค่อยๆ จาง คลายความยึดความเป็นตัวตน แต่อานาปานสตินั้นทำให้เราเข้าถึงวิมุตติ ทำให้มากเจริญให้มาก ปุถุชนก็ทำได้ เริ่มจากการไม่รู้อะไร ฟังไป ปฎิบัติไป นั้นเป็นทางที่ดีที่สุด เราจะได้รู้ทั้งสองทางไม่เสียทางใดทางหนึ่งด้วยความหวังดี อานาปานทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ
เรียนความเห็นที่ 18 ครับ
จากประเด็นที่ถามว่า สติ คือ อะไร ซึ่งผู้ร่วมสนทนากล่าวว่า......"และสติที่พระองค์แสดงนั้นก็เพียงให้เรา มีความรู้ชัดกับสิ่งที่เรานำมาเป็นฐานในการปฎิบัติ อย่างเช่น กายานุปัสนาสติปัฎฐาน ให้เรามีสติอยู่กับกาย พิจารณากาย อย่างลมหายใจ เมื่อเรารู้ชัดลมหายใจ เราก็จะรู้ว่ามันเป็นเพียงสภาวะหนึ่ง เกิดขึ้น ดับไป ไม่ใช่ตัวตน ปัญญาเหล่านี้แหละที่จะทำให้เราค่อยๆ จาง คลายความยึดความเป็นตัวตน".......
- ประเด็นแรก สติไม่ใช่ความรู้ชัด ปัญญาเป็นความรู้ และ ไม่มีเราที่จะเลือกให้สติรู้ที่กาย เพราะ ธรรมเป็นอนัตตา ยกตัวอย่าง ต่อไปจะเห็นอะไร ทราบหรือไม่ครับ ต่อไปจะได้ยินอะไร ต่อไปจิตอะไรจะเกิดขึ้น ฉันใด ไม่มีทางเลยที่จะไปบังคับให้จิตอะไรไปเลือกเจาะจงรู้ที่กาย มีเลือกการรู้ลมหายใจ หากเราลืมเบื้องต้นข้อนี้ ที่เป็นความเข้าใจผิดในขั้นการฟัง ก็ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ เพราะเริ่มจากความเข้าใจผิด จะเข้าใจถูกไม่ได้เลย ครับ
- ประเด็นที่สอง เรื่องการเห็นการเกิดดับ ตามที่กล่าวแล้วในความเห็นข้างต้น หากผู้ร่วมสนทนาได้ศึกษาโดยละเอียดในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ในส่วนของปัญญาแต่ละขั้นที่จะต้องเป็นไปตามลำดับ คือ การรู้ลักษณะของธรรมก่อนในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราคือ ต้องมีปัญญาขั้นต้นที่รู้ตัวธรรม ซึ่งวิปัสสนาญาณมี ๑๖ ขั้น ก็จะต้องเริ่มจากขั้นที่ ๑ จึงจะถึงขั้นที่ ๒ ๓ ๔ ได้ นี่เป็นเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ว่าจะต้องเป็นไปตามลำดับ ข้ามขั้นไม่ได้ ฉันใด
วิปัสสนาญาณขั้นที่หนึ่ง คือ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฎ ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา
วิปัสสนาญาณขั้นที่สอง รู้ความเป็นเหตุปัจจัยโดยปัจจัยอย่างละเอียด โดยนัยต่างๆ
วิปัสสนาญาณขั้นที่สาม รู้การเกิดดับ
และ วิปัสสนาญาณขั้นที่สี่ รู้การเกิดดับของสภาพธรรมอย่างละเอียด
เพราะฉะนั้น ก็จะต้องรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้ ทั่วทั้งหกทวาร ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจก่อนที่รู้ตัวธรรม และรู้ความเป็นปัจจัยโดยละเอียดอย่างลึกซึ้งในปัจจัยต่างๆ จนจะรู้การเกิดดับได้ ซึ่งผู้ร่วมสนทนากล่าวว่า รู้การเกิดดับแล้ว คือ ก็เท่ากับว่า ได้วิปัสสนาญาณขั้นที่ ๔ ก็ต้องผ่านวิปัสสนาญานขั้นที่ ๑ ๒ และ ๓ แล้ว
จึงขอเรียนถามว่า
1. รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้ ทางตา กำลังเห็นขณะนี้หรือไม่ อย่างไร ทางหู รู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้หรือไม่ รู้อย่างไร ทางจมูก ลิ้น กายและใจ ในขณะที่กำลังปรากฎในชีวิตประจำวัน รู้แล้วหรือไม่ และ รู้อย่างไร นี้เป็นคำถามที่หนึ่ง
2. เมื่อรู้การเกิดดับแล้ว ก็ต้องผ่านวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๒ แล้วแน่นอน คือ รู้โดยความเป็นเหตุปัจจัย คือ ปัจจัยปริคหญาณ เรียนถามและร่วมสนทนาว่า รู้ความเป็นปัจจัยที่ละเอียดลึกซึ้งที่ถึงวิปัสสนาญานแล้วหรือไม่ และ ถ้ารู้แล้ว รู้อย่างไร นี้เป็นคำถามที่สอง ครับ
พระธรรมเป็นเรื่องเหตุผล และ ตรวจสอบได้ ตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ และ ต้องตรวจสอบก็ด้วยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ใช่ด้วยความนึกคิด ถูกจริตกับตนเอง และ ที่ลืมไม่ได้ คือ ความเป็นผู้ที่ตรง ที่จะยอมรับในเหตุผล เมื่อรู้ก็สำคัญว่ารู้ โดยเทียบเคียงกับคำสอนเป็นสำคัญในส่วนต่างๆ เมื่อไม่รู้ ก็ต้องไม่รู้ เพราะเทียบเคียงกับคำสอนแล้วไม่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อประโยชน์ที่จะเปลี่ยนจากความไม่รู้ เป็นรู้ขึ้นได้ ครับ
เรียนร่วมสนทนาใน 2 คำถาม ครับ
ขออนุโมทนา
สติ พุทธวจน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจออกสั้น จะเห็นได้ว่าสติที่พระองค์ทรงบอกคือมีสติหายใจเข้า ยาวสั้น ก็ให้รู้สึกว่ายาวหรือสั้น นั้นก็คือรู้ชัด นี่คือสติ ส่วนปัญญานั้นเป็นการรู้ลักษณะของลมหายใจเกิดดับนั้น เรียกว่าปัญญา
ส่วนเรื่องญาณทั้ง ๑๖ ขั้นนั้น กระผมไม่ขอเจาะลึกลงไป เพราะในบาลีสยามรัฐในพุทธวจนนั้นไม่ได้กล่าวไว้ อย่างเช่นคำนี้ ปัจจัยปริคหญาณ หรือวิปัสนาญาณ๑๖ขั้น พุทธวจนในบาลีสยามรัฐ ตำราที่เก่าแก่ที่สุดก็ไม่ได้กล่าวไว้ เพียงมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งอ้างว่าเอามาจากบาลีสยามรัฐ แต่เมื่อค้นหาเข้าไปในบาลีสยามรัฐ ไม่พบเจอ ผมจึงไม่เอามาเป็นเครื่องเจาะลึกเรื่องปฎิบัติหรือน่าสนใจ สามารถตรวจทานด้วยโปรแกรม ตรวจบาลีสยามรัฐ //watnapp.com/ และถ้าคำเหล่านั้นหาไม่พบเจอ คำเหล่านั้นมาจากไหน
ส่วนคำถามที่ว่า สภาวธรรมที่เกิดทางทวารทั้งหลายนั้น ก็เป็นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นทางหู ทางตา ทางลิ้นฯ ล้วนเป็นตามเหตุปัจจัยเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นสภาวะที่มีจริง จะด้วยเหตุอะไรก็เป็นไปอย่างนั้น เป็นเพียงธาตุทั้งนั้น ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเกิดได้จากการฟัง และนำมาไตร่ตรองด้วยเหตุผล ก็พอจะเข้าใจได้ แม้แต่ขั้นสภาวะเราก็สามารถรับรู้ได้จริง อย่างเช่น ความร้อนรู้ว่าร้อน ความเย็นรู้ว่าเย็น เรารู้ว่ามันเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย และก็ดับไปด้วยเหตุปัจจัย นี่คือขั้นภาวนาปัญญาเพราะเราจับความร้อน เราถึงรู้ร้อนว่าเป็นสภาวะ
ฉะนั้น เราจะวิจัยธรรมสภาวะใดก็ไม่ต่างกันในเรื่องของอาการของมัน คือเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป (ไตรลักษณะ) แต่สภาวธรรมที่เราเข้าไม่ถึงนั้นมันมีอยู่ ละเอียดลุ่มลึก แม้แต่สภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ มันก็มีอยู่แต่เรายังเข้าไม่ถึงก็ได้ แต่เราก็วนอยู่กับสภาวธรรมเดิมๆ ที่เรารับรู้ได้คือ เย็นร้อน อ่อน แข็ง ไหวตึง เสียงนั้น เสียงนี้ รสนั้น รสนี้ ถ้าเราเพียงรับรู้เพียงเท่านี้นั้นเราคงจะละอะไรได้ไม่มากนัก เพราะเป็นขั้นพื้นผิวของจิตเท่านั้น ฉะนั้นอานาปานสตินั้นสามารถทำให้เราเข้าไปในส่วนลึกของสภาวะที่มีอยู่ เราสามารถเข้าไปรับรู้ถึงความจริงนั้นด้วยอานาปานสติ ดั่งพระสูตรที่ว่า อานาปานสติบริบูรณ์ ทำให้สติปัฎฐานบริบูรณ์ สติปัฎฐานบริบูรณ์ ทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ โพชฌงค์บริบูรณ์ทำให้วิมุตติ
ผมขอฝากพระสูตรหนึ่ง
ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคําสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแลว : กลองศึกของกษัตริยพวกทสารหะ เรียกวา
อานกะ มีอยู. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือผลิ, พวกกษัตริยทสารหะไดหาเนื้อไมอื่น ทําเปนลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) . ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเชื่อมปะเขาหลายครั้งหลายคราวเชนนั้นนานเขาก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไมเดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยูแตเนื้อไมที่ทําเสริมเขาใหมเทานั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะเหลาใด ที่เปนคําของตถาคต เปนขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักไมฟงดวยดี จักไมเงี่ยหูฟง จักไมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และจักไมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน.
สวนสุตตันตะเหลาใด ที่นักกวีแตงขึ้นใหม เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปนเรื่องนอกแนว เปนคํากลาวของสาวก, เมื่อมีผูนําสุตตันตะที่นักกวีแตงขึ้นใหมเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักฟงดวยดี จักเงี่ยหูฟง จักตั้งจิต เพื่อจะรูทั่วถึง และจักสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหลานั้น ที่เปนคําของตถาคต เปนขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา จักมีไดดวยอาการอยางนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓
ทรงกําชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคําของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหลาใด ที่กวีแตงขึ้นใหม เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปนเรื่องนอกแนว เปนคํากลาวของสาวก เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานั้นมากลาวอยู เธอจักไมฟงดวยดี ไมเงี่ยหูฟง ไมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และจักไมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! สวนสุตตันตะเหลาใด ที่เปนคําของตถาคต เปนขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานั้นมากลาวอยู; เธอยอมฟงดวยดี ยอมเงี่ยหูฟง ยอมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึงและยอมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน จึงพากันเลาเรียน ไตถาม ทวนถามแกกันและกันอยู วา “ขอนี้เปนอยางไร มีความหมายกี่นัย” ดังนี้. ดวยการทําดังนี้ เธอยอมเปดธรรมที่ถูกปดไวได. ธรรมที่ยังไมปรากฏ เธอก็ทําใหปรากฏได, ความสงสัยในธรรมหลายประการ ที่นาสงสัย เธอก็บรรเทาลงได.
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.
ฉะนั้น สิ่งใดไม่มีอยู่ในบาลีสยามรัฐ ตำราที่เก่าแก่ที่สุดนั้น คาดว่าจะมีการแต่งใหม่เป็นคำของสาวก ซึ่งไม่ใช่พุทธวจนโปรดพิจารณาด้วยเพื่อความตรงต่อพุืทธวจน ทรงให้ฟังแต่คำของพระองค์
เรียนความเห็นที่ 21 ครับ
สำหรับผู้ร่วมสนทนาได้ปฏิเสธในส่วนอรรถกถาที่อธิบายเพิ่มเติม ขั้อนั้นยกไว้ก่อนครับ ดังนั้น เรามาพูดถึง การรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งผู้ถามก็รู้ความจริงของสภาพธรรมที่เกิดดับแล้ว จึงขอเรียนถามในความรู้ที่ประจักษ์ดังต่อไปนี้ เพราะเมื่อรู้ถึงการเกิดดับ ก็ต้องรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนี้ ทั่วทั้ง ๖ ทวาร ครับ
1. การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนี้ รู้ความเป็นรูปและนามทางตา รู้ลักษณะอย่างไร และ เห็นการเกิดดับทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือยัง ถ้ารู้แล้ว รู้อย่างไร
2. ขณะที่ระลึกรู้ลมหายใจ ปัญญารู้อะไร ต่างจากขณะนี้ ที่กำลังหายใจอย่างไร
3. พระโสดาบัน ละความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล การรู้ความจริงอย่างไร จึงจะละความยึดถือว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล
เรียนร่วมสนทนา ครับ อธิบายเป็นข้อๆ นะครับ เพื่อความเจริญขึ้นของความเห็นถูก
สภาวธรรมทั้งหลายนั้น จะหนีรูปธรรมนามธรรมไปไม่ได้ ฉะนั้น จะมีสิ่งที่รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ว่าเราจะเรียกว่าอะไร รูปธรรมกับนามธรรมจะเชื่อมโยงกันตลอดเวลาทั้ง ๖ ทวาร สติที่เข้าไประลึกตรงนั้นจะทำให้เกิดปัญญาว่า สภาวะที่เป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรมนั้น เกิดดับพร้อมกัน ปรกติถ้าเราไม่กำหนดสติ ทั้งวันเราอาจจะไม่มีสติเลยทั้งวัน หรือบางครั้งสติอาจจะเกิดกับทวารทั้ง ๖ มากบ้างน้อยบ้างตามเหตุปัจจัย แต่ถ้าเรากำหนดสติด้วยกายยานุปัสนาสติปัฎฐานโดยใช้อานาปานสติซึ่งเป็นกายหนึ่งในกายเป็นอารมณ์กรรมฐาน หายใจเข้าสั้นรู้ หายใจออกสั้นรู้ ถ้าเราสามารถรู้ชัดทั้งหายใจออกหายใจเข้าสม่ำเสมอ จะทำให้เราจิตไม่ไปคิดเรื่องราวต่างๆ ได้ ซึ่งถ้าเราไปคิดเรื่องอื่นๆ นั้น เท่ากับเราได้สร้างภพสร้างชาติ ฉะนั้นเราจึงจะต้องเจริญสติให้อยู่กับกายหรือลมหายใจให้ได้มากที่สุด นอกจากจะทำให้เราไม่เพลินไปกับนันทิที่จะทำให้เราเกิดอกุศลและกุศล เรายังเห็นการเกิดดับของลมหายใจ ในลมหายใจนั้น ทั้งหายใจเข้าออกนั้นจะมีการเกิดดับอยู่ในตัวของมันเอง ปัญญาเห็นการเกิดดับ เมื่อเรามีสติอยู่กับลมหายใจ เท่ากับวิญญาณรับรู้อยู่กับรูปอย่างเดียว ทิ้งขันธ์ ๓ ขันธ์ เมื่อรูปดับไปวิญญาณไม่มีที่เกาะ วิญญาณจึงเข้าไปรู้ถึงสภาวะความว่าง วิญญาณรับรู้ถึงความว่างไม่มีตัวตนที่แท้จริงชั่วขณะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ดับ คงเหลือวิญญาณที่เป็นธาตูรู้เท่านั้น เมื่อสภาวะนั้นดับลง วิญญาณกลับมาเกี่ยวกับอารมณ์ปัจจุบันก็จะดำเนินวิถีตามปรกติ ฉะนั้นสิ่งที่ปรากฎนั้นจะประจักษ์ทางมโนทวารเท่านั้น เมื่อประจักษ์ความจริงทางมโนทวารนั้นปัญญาก็ทำลายความเห็นว่าเป็นสัตว์เป็นตัวตนบุคคลจึงดับสนิทไม่เหลือ แต่ยังเหลือแต่กิเลสที่ยังไม่ดับ คงต้องปฎิบัติกันต่อไป
เรียนความเห็นที่ 23 ครับ
รบกวนตอบให้ตรงคำถามที่ถามนะครับ ในแต่ละข้อดังนี้ แยกตอบเป็นข้อๆ ครับ
1. การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนี้ รู้ความเป็นรูป และ นาม ทางตา รู้ลักษณะอย่างไร ที่สำคัญ รู้หรือยังในขณะนี้ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ เห็นการเกิดดับทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือยัง ถ้ารู้แล้ว รู้อย่างไร ไม่ใช่แค่เฉพาะทางอื่น ทาง ตา หู จมูก เป็นต้น ครับ
2. ขณะที่ระลึกรู้ลมหายใจ ปัญญารู้อะไร ต่างจากขณะนี้ ที่กำลังหายใจอย่างไร
3. พระโสดาบัน ละความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล การรู้ความจริงอย่างไร จึงจะละความยึดถือว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล
1. ผมไม่ได้เรียนรู้คำอะไรมากนักครับเพียงรู้ว่า การมองเห็นรูป ก็เพียงรู้ว่ามีสิ่งที่เห็น และก็สิ่งถูกเห็นเป็นเพียงสภาวะหนึ่งเกิดขึ้นดับไป ไม่ใช่มีเราเห็น เป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่มีจริงเกิดแล้วก็ดับ จะเรียกว่าอะไรก็เรียกกันไปตามบัญญัติ ในนัยอื่นก็จะเหมือนกันทั้งนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่าไม่เที่ยง;
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า ไม่เที่ยง;
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง;
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ไม่เที่ยง;
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนาอันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือ
เป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปจจัย ว่าไม่เที่ยง.
(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น) .
2. ปรกติคนทั่วไปก็จะรู้สึกว่าลมไหวๆ ธรรมดา แต่ถ้าอาปาปานสติก็จะรู้หลายอย่างที่ละเอียดขึ้น เช่น ลมหายใจเข้าจะรู้สึกเย็น และลมหายใจออกจะร้อนกว่าลมหายใจเข้า และยังรู้ว่าสั้นหรือยาว และลมละเอียดเป็นอย่างไร และยังรู้ว่าลมหายใจนั้นบ่งบอกปัญญาในตัวเองคือเกิดดับๆ ๆ เป็นสัจจธรรม นำสู่ปัญญายิ่งๆ ขึ้น จนสู่ปัญญาสูงสุด
3. พระโสดาบันนั้นเข้าไปเห็นความจริงทางมโนทวารคือ สัพเพ ธรรมมา อนัตตาด้วยสภาวะว่างจากทุกสิ่ง หรือเรียกว่าสูญญตา จึงทำให้ละความเห็นผิด ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนได้
เรียนความเห็นที่ 25 ครับ
จากคำถามในข้อที่ 1. ถามว่า รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎทางตาหรือไม่ ซึ่งผู้ถามยังไม่ได้ตอบว่า ประจักษ์ หรือ ไม่ได้ประจักษ์ เพียงแต่ยกพระพุทธพจน์เท่านั้น
จึงเรียนถามว่า
1. สิ่งที่เห็น และ สิ่งที่ถูกเห็น ประจักษ์ในความจริงของสภาพธรรมนี้หรือยัง ถ้าประจักษ์แล้ว ประจักษ์อย่างไร มีลักษณะอย่างไร ครับ คำถามต่อในข้อที่ 1 ครับ
จากข้อที่ 2. เรื่องลมหายใจ เรียนถามว่า
2. การรู้ความจริงว่า ลมหายใจเข้าจะรู้สึกเย็นกว่า ลมหายใจออก เป็นปัญญาในพระพุทธศาสนาหรือไม่ และ
3. การรู้ความจริงว่า ลมหายใจเข้า เย็นกว่า ลมหายใจออก ขณะนั้น ละความยึดถือว่าเป็นเราได้อย่างไร และ อย่างไรจึงละความเป็นรา
จากข้อที่ 3
ที่กล่าว่าพระโสดาบันนั้นเข้าไปเห็นความจริงทางมโนทวารคือสัพเพธรรมาอนัตตาด้วยสภาวะว่างจากทุกสิ่ง หรือเรียกว่าสูญญตา จึงทำให้ละความเห็นผิด ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนได้ จึงเรียนถามว่า
4. พระโสดาบัน เข้าไปเห็นความจริง ความจริง คือ อะไร และ เห็นความจริงอย่างไร
เรียนร่วมสนทนาในคำถาม ครับ
การประจักษ์แต่ละทวารนั้นก็คือ วิญญาณแต่ละทวารนั้นไปสัมผัสกับสิ่งๆ หนึ่งซึ่งเป็นวัตถุ สิ่งๆ นั้นไม่ว่าจะเป็นอะไร เมื่อมีผัสสะย่อมทำให้เิกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ เมื่อไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนั้นๆ ไม่ใช่ตัวตน แม้กระทั้งวิญญาณ ความรู้สึกที่เข้าไปสัมผัสนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎเกิดขึ้นเป็นเพียงธาตุตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ก็จะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเกิดเป็นตัณหาต่อไป แต่ความจริงตรงนี้นั้นขั้นการศึกษาก็พอจะทำความเข้าใจได้ แต่กำลังของปัญญานั้นยังไม่แรงกล้าที่จะละคลายความยึดมั่นถือมั่นได้ จนจะต้องเข้าไปประจักษ์ความจริงทางมโนทวารก่อนคือความเป็นสูญญตา
ความรู้สึกเย็นร้อนเป็นความรู้ทางพุทธศาสนาหรือไม่นั้น อาจจะดูเหมือนไม่สำคัญ แต่เย็นร้อนก็มีจริง ลมหายใจออกที่ร้อนกว่าลมหายใจเข้านั้น คนที่ไม่เคยฝึกจะไม่มีทางรู้เรื่องนี้เลยเพราะจิตยังไม่ละเอียดพอที่จะรับความรู้สึกที่มีจริงเกิดจริงๆ ตลอดเวลา มันเกิดดับอนยู่ตลอดเวลา เรามักจะรับได้รับรู้ความรู้สึกที่หยาบอยู่ตลอดเวลาถึงมันจะมีอาการเกิดดับเหมือนกัน แต่จะให้ผลต่างกันในเชิงกำลังของปัญญา และจิตที่รับรู้ความรู้สึกที่ละเอียดได้นั้นเป็นจิตที่มีพลังมาก ลมหายใจยังนำพาเราให้รับรู้ความรู้สึกทางกายที่ละเอียด ที่มันเกิดดับทั่วร่างกายตลอดเวลาด้วย ซึ่งปรกติคนที่ไม่ได้ฝึก ไม่มีทางรับรู้ความรู้สึกนี้แน่นอน การรับรู้ความรู้สึกเหล่านี้ ถ้าเรายังไม่สามารถรับรู้ความละเอียดที่สุดเท่าที่มนุษย์เราจะรับรู้ได้ สิ่งที่เรารับรู้อยู่นั้นมันยังหยาบอยู่ เราจะไม่มีวันเข้าถึง ความไม่มีไม่เป็น เพราะความละเอียดอ่อนที่สุดเรายังรับไม่ได้เลย ถึงแม้ว่าความรู้สึกเหล่านั้นจะให้ความรู้ (ปัญญาเหมือนกันคือไตรลักษณะแต่ให้พลังของสติสมาธิปัญญาแตกต่างกันมากครับ)
พระโสดาบันอย่างแรกที่จะต้องประจักษ์คือนิพานธาตุ (สูญญตา) คือความไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ ไม่มีอะไรปรากฎนั้นคือสภาวะที่มีจริง เข้าถึงได้ เมื่อเห็นแล้วจึงเข้าใจตรงเป็นสัมมาทิฎฐิ สัพเพ ธรรมมา อนัตตา เข้าถึงได้โดยอานาปานสติได้แน่นอน ทำให้มากเจริญให้มาก
เรียนความเห็นที่ 27 ครับ
1. จากข้อที่ 1. ยังไม่ได้ตอบคำถามในส่วนที่ว่า 1. สิ่งที่ถูกเห็น และ เห็นคืออะไร และไม่ได้ตอบในประเด็นที่ว่า 2.ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมที่เห็นและถูกเห็นหรือไม่และ ประจักษ์อย่างไร ครับ
2. ข้อ 2. ตามที่กล่าวนั้น ผู้ร่วมสนทนา มุ่งที่ความรู้สึก ไม่ได้มุ่งที่ปัญญา ว่า ปัญญารู้ความจริงอะไร ขณะที่หายใจ และ รู้ความจริงอะไร ที่ทำให้ละคลายความยึดถือว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล
3. ข้อ 3. ผู้ร่วมสนทนา กล่าวว่า พระโสดาบัน รู้ความจริง คือ พระนิพพาน ประเด็นคือ พระโสดาบัน รู้ความจริงที่สูญจากความเป็นสัตว์ บุคคล เพียงนิพพานเท่านั้นหรือ และ อะไรที่พระโสดาบันประจักษ์ความจริง ที่แสดงว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ความจริงนั้นคืออะไร นอกจากนิพพาน ครับ
เรียนร่วมสนทนา ครับ
สิ่งที่เห็นคือจักขุวิญญาณ สิ่งที่ถูกเห็นก็เป็นรูปที่เกิดจากเหตุปัจจัยธาตุมาร่วมกัน เมื่อสิ่งทั้งสองกระทบกันผัสสะก็เกิดขึ้น สติปัญญาที่รู้ชัดกับสิ่งที่เห็นกับสิ่งที่ถูกเห็นเกิดแล้วดับ ก็เป็นแต่ของสักว่าเท่านั้น ทำให้เราไม่หลงเพลินกับสิ่งเหล่านั้น
ปัญญารู้จริงอะไร ปัญญารู้เพียงสามอย่างเท่านั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ที่กล่าวว่าทำไมต้องอานาปานสติ จนลมหายใจดับนั้น ก็เพราะจะได้เห็นปัญญา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาที่มีกำลังสูงสุดเท่านั้นเอง ไม่ใช่ปัญญาแค่พื้นผิวครับ เพราะต้องอาศัยอินทรีย์ทั้ง 5 อย่างมาก
นอกจากพระนิพพานแล้วจะมีอะไรเล่าที่จะทำให้เป็นโสดาบันได้ และละความเป็นสัตว์บุคคล ตัวตนได้ไม่มี ถ้ามีก็เพียงคาดเดาเอาเท่านั้นครับ นิพพานเป็น ความจริงที่เป็นสภาวะที่ทำให้เกิดปัญญา เพราะรูปขันธ์ ดับไปไม่มีตัวตนเหลืออยู่เลย
เรียนความเห็นที่ 30 ครับ
จึงกลับมาที่คำถามเดิมที่ผู้ร่วมสนทนากล่าวว่า สิ่งที่เห็นคือจักขุวิญญาณ สิ่งที่ถูกเห็นก็เป็นรูปที่เกิดจากเหตุปัจจัยธาตุมาร่วมกัน เมื่อสิ่งทั้งสองกระทบกันผัสสะก็เกิดขึ้น สติปัญญาที่รู้ชัดกับสิ่งที่เห็นกับสิ่งที่ถูก เห็นเกิดแล้วดับ ก็เป็นแต่ของสักว่าเท่านั้น ทำให้เราไม่หลงเพลินกับสิ่งเหล่านั้น กลับมาที่คำถามเดิมข้อที่หนึ่งที่ได้ถามไว้ครับ เรียนถามว่า ประจักษ์ความจริง ในสภาพธรรมที่เห็น และ สิ่งที่ถูกเห็น ที่เป็นเพียงสี ในขณะนี้ โดยไม่ใช่ขั้นเรื่องราว แต่ประจักษ์ตัวจริงที่กล่าวเช่นนั้นหรือยัง ครับ
สิ่งที่เรียกว่าสีนั้นเป็นเพียงบัญญญัติ จะเรียกอะไรก็ได้มันก็เป็นเพียงสิ่งที่ถูกเห็น ไม่มีแก่นสารสาระจะต้องสนใจว่านั้นคืออะไร เป็นเพียงสิ่งที่ถูกเห็น เพราะแต่ละชาติก็เรียกต่างกัน แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ถูกเห็นนั้นเป็นเพียงสิ่งหนึ่งเท่านั้น สัพเพ ธรรมา อนัตตา เมื่อผู้ที่เข้าถึงสภาวธรรมแล้วจะมีอนัตตสัญญา อนัตตสัญญาจะทำหน้าที่ปล่อยละวางได้มาก ยามสติเกิด ฉะนั้นผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้ว การฝึกสติให้ไวนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อปัญญาจะได้นำมาใช้ได้ จึงไม่ยึดติดสิ่งใดมากตามกำลังของสภาวธรรมที่มีอยู่
กลับมาคำถามเดิมอีกครั้งครับ ว่าประจักษ์สภาพธรรม ที่เรียกว่า สี หรือ ที่ผู้ร่วมสนทนากล่าวว่า สิ่งที่ถูกเห็น ประจักษ์สภาพธรรมนี้หรือยัง ถ้าประจักษ์แล้ว ประจักษ์อย่างไร กลับมาที่คำถามเดิมที่เคยถามไปแล้วในหลายความเห็นก่อนหน้านี้ ครับ
ผมไม่ไ้ด้ฉลาดในมรรค เพียงเป็นผู้เข้าถึงมรรค ถ้าท่านกล่าวว่าสิ่งที่เห็นนั้นคือสี ตามสมมุตติบัญญัติ ก็คงเป็นไปตามนั้น ทั้งหมดจะจบลงตรงไตรลักษณ์ ตราบใด เรายังมีอตายนะทั้ง 6 เราจะหนีผัสสะไปไม่ได้ทั้ง 6 ทวาร แต่เราเข้าใจในสภาวะนั้นได้โดยไม่ยึดติดจนทำให้เกิดตัญหา อุปาทานได้ ทั้งหมดในโลกธาตุ เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปไม่มีแก่นสาร สัพเพ ธรรมา อนัตตา สภาวธรรมไม่เกิดไม่ดับ ไม่มีอะไรในนั้นมีจริงเข้าถึงได้ ปฎิบัติให้มาก
ปัญญาที่ประจักษ์สภาวธรรมที่แท้จริงโดยสภาวะนั้นเป็นปัญญาที่ ทุกคนจะต้องประจักษ์ แต่จะโดยวิธีใดอันนี้ผมไม่สามารถทราบได้ แต่ปัญญาที่เป็นภาวนามยปัญญา หรือโดยสภาวะความเป็นอนัตตา มีพระอยู่รูปหนึ่งทรงปฎิแตกฉานมากแต่ก็ยังไม่บรรลุธรรม เกิดร่วมพระพุทธเจ้าถึง 7 พระองค์นั้น ก็หมายความว่าความรู้ก็เป็นเพียงใบลานเปล่า คือมีความรู้ขั้นสุตตะมากแต่ไม่ประจักษ์สภาวะความจริงเลย กายเป็นเพียงเชาว์ปัญญาไว้รื่นรมย์เท่านั้น
เรียนความเห็นที่ 36 ครับ
จากที่ผู้ร่วมสนทนา ได้กล่าวว่า ไม่เน้นชื่อเรื่องราว จะเป็นใบลานเปล่า ก็ขอเรียนถาม คำถามเดิม ที่ถาม ในตัวสภาวะ ที่ผู้ร่วมสนทนาได้กล่าวว่า ได้ประจักษ์สภาวะการเกิดดับมาแล้ว จึงขอเรียนถามคำถามเดิม ที่ถามในการประจักษ์ตัวสภาวธรรม ที่ถามมาแล้วหลายๆ ครั้ง ในหลายความคิดเห็นก่อนหน้านี้ว่า ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเห็น และ ในตัวลักษณะของสภาพธรรมที่ถูกเห็น หรือยัง ถ้าประจักษ์แล้ว รู้อย่างไร
เรียนสนทนา ครับ
สิ่งที่ประจักษ์การเกิดดับและสภาวะสูญญตานั้นประจักษ์ทางมโนทวารเท่านั้น อธิบายได้เป็นเพียงเท่านี้ มโนวิญญาณเป็นตัวรับรู้ รู้แล้วก็หายสงสัยในเรื่องราวทั้งหมด รู้ว่าทั้งหมดมันเป็นสิ่งที่ปรากฎขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเท่านั้นไม่มีตัวตนใดๆ รู้เพียงเท่านั้ก็น่าจะพอไถ่ถอนอุปาทานได้แล้วมั้งครับ หรือท่านมีอะไรต้องรู้มากกว่านี้ครับ
เรียนความเห็นที่ 38 ครับ
จากคำถาม ไม่ได้ถามเรื่องการเกิดดับ ครับ ว่ารู้ทางไหน ทางปัญจทวาร ทางมโนทวารและ รู้อย่างไร แต่ กระผม ถามเพียงปัญญาขั้นต้น ที่ต่ำกว่า การรู้การเกิดดับมาก
ถามซ้ำนะครับ
ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเห็น และ ในตัวลักษณะของสภาพธรรมที่ถูกเห็น หรือยัง ถ้าประจักษ์แล้ว รู้อย่างไร
ผมว่าผมอธิบายไปแล้วนะครับว่า การเห็นนั้นจะต้องมีสิ่งที่เห็นจะเรียกว่าอะไร จิตเห็นหรือธาตุรู้ และสิ่งที่ถูกเห็นนั้นจะเรียกว่าอะไร นั้นจะเป็นสีสรร วรรณะอะไร ใดๆ จะรู้อย่างไรก็เป็นสิ่งที่ปรากฎขึ้นดับไปเท่านั้น ถึงแม้สภาพที่เห็นนั้นจะต้องมีสภาพที่เห็นนั้นก้ต้องดับ ธรรมะทั้งหมดโดยรวมก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันคือจะต้องมีสภาพรู้และสภาพที่ถูกรู้ แต่สภาวธรรมเหล่านี้นั้นยังไม่เท่ากับเราไปประจักษ์แจ้งสภาวะความไม่มีอะไรทางมโนทวารครับ
เรียนความเห็นที่ 40 ครับ
จากที่ผู้ร่วมสนทนาได้กล่าว่า เป็นเห็น กับ สิ่งที่ถูกเห็น เป็นการอธิบาย โดยการคิดนึก ไม่ได้อธิบายการประจักษ์ตัวลักษณะของเห็น กับ ลักษณะของสิ่งที่ถูกเห็นว่าเป็นอย่างไร ครับ เพราะ การประจักษ์ตัวลักษณะ กับ การคิดนึกต่างกัน รบกวนอธิบาย ลักษณะของเห็น กับ สิ่งที่ถูกเห็นว่ามีลักษณะอย่างไร และ อบรมอย่างไร จึงจะรู้เช่นนั้น ครับ
เรียนร่วมสนทนา ครับ
สติปัฎฐานเท่านั้นครับทางเดียว ผมใช้กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน (ลมหายใจครับ) และในความเป็นจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องทั้งหมดเพียงบทเดียวก็เพียงพอ เข้าใจธรรมเพียงบทเดียว ก็เพียงพอ
คามณิ ! ...เพราะเหตุว่า ถึงแม้เขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดงสักบทเดียว นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน.
สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๙/๖๐๕.
สภาวธรรมที่ปรากฎในมโนทวารนั้นก็พอเพียงแล้ว เพราะสภาวะสูญญตาปรากฎได้ทางมโนทวารเท่านั้น ความเพียรอย่างแรงกล้า
ภิกษุ ท ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือความไม่รู้จักอิ่ม จักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี) ในการทำ ความเพียร.
ภิกษุ ท ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการ อธิษฐานจิต) ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้
ภิกษุ ท ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็น สิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท.
ภิกษุ ท ! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิ ฐานจิต) ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือด แห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ แล้วไซร้;
ภิกษุ ท ! พวกเธอก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออก บวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่ เป็นแน่นอน.
อานาปานสตินั้นจากพระโอษฐ์
เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้ สติปัฏฐาน โพชฌงค์ ๗ วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์
เมื่อเจริญอานาปานสติ ก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ
อานาปานสติ เป็นเหตุให้ถึงซึ่งนิพพาน
อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้
อานาปานสติสมาธิ สามารถกำาจัดเสียได้ซึ่งอนุสัย
อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุใหรอบ ้ รู้ซึ่งทางไกล (อวิชชา)
อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะละความดำาริอันอาศัยเรือน ควบคุมความรู้สึกเกี่ยวความไม่ปฏิกูล เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับรูปสัญญาทั้งสี่ เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับอรูปสัญญาทั้งสี่ เป็นเหตุให้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ รู้ต่อเวทนาทุกประการ ได้บรรลุมรรคผลในปัจจุบัน
เพื่อประโยชน์มาก
เพื่อความเกษมจากโยคะมาก
เพื่อความสังเวชมาก
เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก
เจริญอานาปานสติ ชื่อว่าไม่เหินห่างจากฌาน
อานาปานสติ : เป็นสุขวิหาร ระงับได้ซึ่งอกุศล
อานาปานสติ : สามารถกำาจัดบาปอกุศลได้ทุกทิศทาง
อานาปานสติ : ละได้เสียซึ่งความฟุ้งซ่าน
อานาปานสติ : ละเสียได้ซึ่งความคับแค้น
อานาปานสติ : วิหารธรรมของพระอริยเจ้า
เจริญอานาปานสติ
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายและจิต ย่อมมีขึ้นไม่ได้
เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้รู้ลมหายใจ อันมีเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเสียชีวิต ธรรมเป็นเครื่องถอนอัสมิมานะในปัจจุบัน
เรียนร่วมสนาต่อนะครับ
สำหรับความละเอียดในการรู้ธรรมเพียงบทเดียว มีการอธิบายไว้แล้ว ในกระทู้นี้
เชิญคลิกอ่าน ครับ
เข้าใจธรรมเพียงบทเดียว ก็เพียงพอ
ส่วน ที่ได้ถามไป ยังไม่ได้ตอบนะครับว่า ประจักษ์ตัวจริงหรือไม่อย่างไร
เชิญอ่านคำถามที่กระผมถามนะครับ
จากที่ผู้ร่วมสนทนาได้กล่าว่า เป็นเห็น กับ สิ่งที่ถูกเห็น เป็นการอธิบาย โดยการคิดนึก ไม่ได้อธิบายการประจักษ์ตัวลักษณะของเห็น กับ ลักษณะของสิ่งที่ถูกเห็นว่าเป็นอย่างไร ครับ เพราะ การประจักษ์ตัวลักษณะ กับ การคิดนึกต่างกัน
รบกวนอธิบาย ลักษณะของเห็น กับ สิ่งที่ถูกเห็นว่ามีลักษณะอย่างไร และ อบรมอย่างไร จึงจะรู้เช่นนั้น ครับ
ในสังสารวัฎนั้น เราก็เกิดมายาาวไกล เป็นมาทุกอย่าง เราคงได้สะสมฟังะธรรมกันมาบ้าง เราคงไม่ใช่ผู้ด้อยปัญญา ฉะนั้นเราคงไม่สนใจฟังธรรมและปฎิบัติธรรมกัน ฉะนั้นธรรมเพียงบทเดียวก็เป็นไปได้สำหรับเราๆ ได้เช่นกัน การเห็นกับการคิดนึกย่อมต่างกัน อย่างเช้นการเห็น นกแก้ว กับการคิดนกแก้ว ย่อมต่างกัน แต่การเห็นอย่างไรที่จะทำให้เบื่อหน่ายในสิ่งที่เห็น ก็ต้องเห็นในความเสื่อมไปสิ้นไปของวัตถุนั้นๆ กระผมเคยนัั่งมองวัตถุก็เห็นการเสื่อมไปเปลี่ยนแปลงไปของวัตถุนั้น สติระลึกในรูปนามจนเข้าใจถึงไตรลักษณะ และทุกวันนี้ก็มองเห็นและรับรู้ทุกทวารเป็นอนุภาคปรมณูเล็กๆ ได้ตลอดเวลามันเกิดดับตลอด ไม่ทราบว่าผู้ร่วมสนทนา มีการเห็นสิ่งอื่นที่เป็นปัญญามากกว่านอกจากนี้หรือไม่
ส่วนการอบรมอย่างไรคงต้องเริ่มจากการฟังและลงมือปฎิบัติให้ประจักษ์ความจริงที่อยู่ในส่วนลึกที่จิตจะสามารถรับรู้ได้
เรียนความเห็นที่ 45 ครับ
กระผมไม่ได้ถามในความเห็นว่า ประจักษ์ความไม่เที่ยงของสภาพธรรมที่เห็นและ สิ่งที่ถูกเห็น แต่ ผู้ถามยังไม่ไ้ดตอบคำถามที่ว่าจากที่ผู้ร่วมสนทนาได้กล่าว่า เป็นเห็น กับ สิ่งที่ถูกเห็น เป็นการอธิบาย โดยการคิดนึก ไม่ได้อธิบายการประจักษ์ตัวลักษณะของเห็น กับ ลักษณะของสิ่งที่ถูกเห็นว่าเป็นอย่างไร ครับ เพราะ การประจักษ์ตัวลักษณะ กับ การคิดนึกต่างกัน
รบกวนอธิบาย ลักษณะของเห็น กับ สิ่งที่ถูกเห็นว่ามีลักษณะอย่างไร และ อบรมอย่างไร จึงจะรู้เช่นนั้น ครับ และ ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นเห็น กับ ถูกเห็นในขณะนี้ แล้วหรือไม่ ที่ไม่ใช่การตอบโดยขั้นรู้ที่เป็นขั้นคิดเป็นเรื่องราวครับ
เรียนร่วมสนทนา ตอบตรงคำถามนะครับ ว่าประจักษ์หรือยัง
ประจักษแล้วว่า มันเป็นเพียงสิ่งหนึ่งจะเรียกอะไรมันก็เปลี่ยนแปลงไป ธรรมะต้องเพ่งพิสูจน์ครับ การเข้าถึงมื่อฟังแล้วจะต้องมีสติเพ่งพิสูจน์ครับ
เรียนความเห็นที่ 47 ครับ
หนทางการประจักษณ์ลักษณะสภาพธรรมที่เป็นสิ่งที่ถูกเห็น และ สภาพเห็น อบรมอย่างไร ครับ
เมื่อเห็นเคลื่อนไปได้ยิน เคลื่อนไปได้กลิ่น เคลิ่อนไปนึกคิด สติเกิดก็จะเห็นการเกิดดับของสิ่งที่รับรู้ และสิ่งที่ถูกรู้ก็ดับตามไป ถ้าเห็นแค่นี้การเกิด การแก่ ความตาย ก็ยังแก้ไม่ได้ เพราะเป็นปัญญาที่มีกำลังน้อยมาก
มองวัตถุด้วยการเพ่งนานจนเป้นสมาธิก็สามารถเห็นการเกิดดับของวัตถุได้ครับ เรียนถามผู้ร่วมสนทนาเคยนั่งสมาธิ เจริญอานาปานสติหรือเปล่าครับ
เรียนความเห็นที่ 50 ครับ
เชิญคลิกอ่านคำบรรยาท่านอาจารย์สุจินต์ในเรื่องสมาธิที่นี่ ครับ มีคำตอบว่าเหตุใด ทำไมถึงผู้ที่เคยนั่งสมาธิ จึงไม่นั่งสมาธิอีก ลองอ่านให้ละเอียดนะครับ จะได้ประโยชน์มากๆ
ตอบคำถาม FQA เรื่อง จะไปปฏิบัติ (นั่งสมาธิ เดินจงกรม)
และ ขอกลับไปที่คำถามเดิมครับว่า กระผมไม่ได้ถามในประเด็นว่าเห็นการเกิดดับ เพราะ ผู้ถามได้กล่าวว่าประจักษ์สภาพธรรมที่เห็น และ ถูกเห็นแล้ว จึงกลับมาที่
คำถามในความเห็นที่ 47 ถามว่า
หนทางการประจักษณ์ลักษณะสภาพธรรมที่เป็นสิ่งที่ถูกเห็น และ สภาพเห็นที่ไม่ใช่การเห็นการเกิดดับ แต่เห็นตัวลักษณะของสภาพธรรมที่เห็นและถูกเห็น
อบรมอย่างไร ครับ
ทำไมคนที่นั่งสมาธิล้วไม่กลับมานั่งอีก 1เพราะเขาไม่เคยเรียนรู้อะไรมาก่อนเลย ว่านั่งต้องทำอย่างไร อยู่ไปนั่งเพื่อความอยากมันก็ผิดแล้ว การนั่งหรือเดินนั้นจิตจะต้องอยู่กับลมหายใจหรือกายใดกายหนึ่งอย่างเดียว เมื่อจิตหลุดไปทางอื่นก้ให้กลับมาที่จุดเดิม ฉะนั้นตัวอย่างคนที่เคยนั่งสมาธิแล้วไม่กลับไปนั่งอีกเลยนั้นยังไม่ใช่ตัวอย่างที่ถูกต้อง เพราะท่านนั้นไม่ได้รู้อะไรมาก่อน และยังไม่สามารถเข้าถึงสภาวะของสมาะิที่แท้จริงครับ คนที่เข้าถึงความสงบที่แท้จริงแล้วจะมีความเห็นต่างสิ้นเชิง อย่างกระผมเอง และเพื่อนที่เข้าถึงสภาวะสมาธิ สมาธินั้นเป็นเครื่องอยู่ที่สงบประณีตยิ่งนัก พระพุทธองค์ทรงให้อยู่กับความสุขนี้ให้มากดั่งพุทธวจนที่หามีมาก การที่ยกตัวอย่างของผู้ที่เข้าไม่ถึงธรรมแล้วมาเรียนธรรมะด้านสุตตะนั้นอาจจะรู้สึกว่าสุตตะนั้นเป็นที่สุดของธรรมซึ่งยังไม่ใช่เป็นเพียงปัญญาเริ่มต้นบนเส้นทางธรรมเท่านั้นซึ่งสำคุัญมาก แต่ก็ไม่สามรนำพาให้หลุดพ้นได้
และการมุ่งอยู่กับลมหายใจนั้นที่กล่าวว่าเป็นโลภะนั้นวินิจฉัยธรรมผิดแน่นอน ค้านกับพุทธวจนมากมาย เพราะการที่มีธรรมมายินดีนั้นเป็นกุศลธรรมครับ ผมเองฟังของอาจารยสุจินมาก3ปีเต็ม เป็นเวลามากว่า10ปี ผมไม่เคยหายสงสัยในธรรมะเลยเพียงได้ความรู้ขั้นสุดตะถือว่าเป็นการโชคดีที่ได้ฟัง ผมจึงตัดสิ้นใจลงมือปฎิบัติโดยนั่งสมาธิเจริญอานาปานสติอย่างนยิ่งงยวด จนผมกล้าพูดเลยว่าความเข้าใจแบบสุตตะ จินตะนั้น มันต่างจากภาวนามยปัญญาโดยสิ้นเชิง ผมเองเคยใส่แว่น สีนั้นมาแล้ว และผมลองเปลี่ยนแว่นมาใส่สีอื่นดูบ้าง ผมจึงเข้าใจทั้งสองสี
แน่นอนครับแต่ละท่านคงสะสมมาไม่เหมือนกัน คำคำเดียวยังตีความต่างกัน แต่ชีวิตเป็นของเรา เราลองผิดลองถูกกันมามากมาย ผมคงหยุดอยู่ที่ความคิดความสงสัยไม่ได้เลยต้องลองที่สุดแล้วผมเห็นความสำคัญทั้งหมด ทั้งการฟัง การลงมือปฎิบัติ เพราะทุกวันนี้ผมยังฟังธรรมอยู่ตลอด ชีวิตผมทิ้งเรื่องทางโลกมานานมากแล้ว
หนทางที่จะประจักษ์ธรรมนั้นเริ่มจากการฟังธรรมที่ถูกต้อง (ถูกต้อง) ตามพุทธวจน แล้วลงมือปฎิบัติให้เกิดสภาวะที่แท้จริง เพราะสภาวะแต่ละสภาวะที่อยู่ภายในนั้นให้ความรู้ที่เหมือนกันคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ให้กำลังที่ต่างกันครับ เหมือนเตาอบที่ให้อุณหภมิที่แตกต่างกัน บางชนิดให้ความร้อนอยู่ที่100องศา บางชนิดให้อุณหภูมิอยู่ที่1000องศา แต่วัตถูที่ต้องการหลอมละลายต้องการที่1000องศา เราจึงต้องเลือกเตาอบที่มีอุณห๓ุมิที่1000องศา ไม่ใช่เลือกเตาอบที่อุณห๓ูมิที่100องศาครับ เช่นเดียวกันครับ ความรู้ที่ได้จากการพิจารณาธรรมภายนอก อาจจะให้ผลได้บ้างแต่ยังไม่พอที่จะทำลาย หรือหลอมละลายกิเลสได้มาก เหมือนสภาวะภายที่มันอยู่ลึกลงไป
ผู้ถามได้กล่าวว่าประจักษ์สภาพธรรมที่เห็น และ ถูกเห็นแล้ว จึงกลับมาที่
คำถามเดิมที่ยังไม่ได้ตอบในความเห็นที่ 47 ถามว่า
หนทางการประจักษณ์ลักษณะสภาพธรรมที่เป็นสิ่งที่ถูกเห็น และ สภาพเห็นที่ไม่ใช่การเห็นการเกิดดับ แต่เห็นตัวลักษณะของสภาพธรรมที่เห็นและถูกเห็นอบรมอย่างไร ครับ
จะต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ แม้แต่คำว่า ธรรม คือ อะไรถ้าเรายังไม่เข้าใจ แม้แต่เรือ่งสภาพธรรม ก็จะไปหาวิธีทำ ก็จะทำให้เข้าใจผิดได้ ครับ
ขอให้กลับมาสู่ความเข้าใจใหม่ โดยการฟังพระธรรม ที่ถูกต้องอีกครั้ง ครับ
เชิญคลิกฟังที่นี่ ครับ
เข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏถูกต้องคือการปฏิบัติ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา ครับ
ผู้ถามได้กล่าวว่าประจักษ์สภาพธรรมที่เห็น และ ถูกเห็นแล้ว จึงกลับมาที่คำถามเดิมที่ยังไม่ได้ตอบในความเห็นที่ 47 ถามว่า
หนทางการประจักษณ์ลักษณะสภาพธรรมที่เป็นสิ่งที่ถูกเห็น และ สภาพเห็นที่ไม่ใช่การเห็นการเกิดดับ แต่เห็นตัวลักษณะของสภาพธรรมที่เห็นและถูกเห็น อบรมอย่างไร ครับ
อย่าลืมซิครับว่าผมได้กล่าวแล้วว่า การฟังนั้นเป็นสิ่งเริ่มแรกจากการศึกษาธรรมะ และผมเองโชคดีคือเป็นผู้ฟังที่ดีมาตลอด และที่ผมยกอานาปานสติมานั้นเพราะผมหายสงสัย ในปัญญาสูงสุดคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยการปฎิบัติอานาปานสติสมาธิ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่สามารถทำให้สัพสิ่งทั้งหลายทั้งตัวตนจริงที่ตามองเห้นนั้น ดับสลายทั้งความรู้สึกและเป็นภาพปรากฎขึ้นจริงไปได้จริงทางมโนทวาร
ส่วนท่านใดจะประสบโดยวิธีใดนั้นผมไม่อาจจะรู้ได้ ผมเพียงยืนยันอานาปานสตินั้นไม่ได้เป็นเพียงแต่ มหาบุรุษหรืออริยสาวกเท่านั้น และพระองค์แสดงแกพุทธบริษัทมาก ผมเองมีความหวังดีว่ามันคงจะเป็นทางๆ หนึ่งเป็นประสบการณ์ให้ผู้ร่วมเดินทางเท่าที่จะทำได้
และการเข้าใจธรรมะคือการปฎิบัติที่ถูกต้อง อันนี้แน่นอนที่สุด และอะไรเล่าที่จะทำให้เราเข้าใจจนเข้าถึงสภาวะนิพพานได้ดั่งพระสูตรที่แสดงอานาปานสตินั้นทำให้เข้าถึงวิมุตติเช่นกัน ลงมือเถอะก้าวออกมาเสียจากความคิดเก่าๆ เจาะลึกลงไปลึกลงไปให้พบกับความจริงที่อยู่เหนือความจริงภายในกายและจิต รูปหรือนาม ด้วยการใช้ลมหายใจเป็นสะพานข้ามไปสู่มิติที่อยู่เหนือรูปเหนือนาม ก้าวข้ามไปพบกับสัจจะธรรมที่แท้จริง ขอสัพสัตว์ทั้งหลายจงพบกับธรรมะธรรมะอันบริสุทธิ์
เรียนความเห็นที่ 57 ครับ
ยังไม่ได้ตอบคำถามนี้นะครับ
ผู้ถามได้กล่าวว่าประจักษ์สภาพธรรมที่เห็น และ ถูกเห็นแล้ว จึงกลับมาที่
คำถามเดิมที่ยังไม่ได้ตอบในความเห็นที่ 47 ถามว่า หนทางการประจักษณ์ลักษณะสภาพธรรมที่เป็นสิ่งที่ถูกเห็น และ สภาพเห็นที่ไม่ใช่การเห็นการเกิดดับ แต่เห็นตัวลักษณะของสภาพธรรมที่เห็นและถูกเห็น อบรมอย่างไร ครับ
คำตอบผมอาจจะไม่ตรงเพราะปัญญาอันน้อยนิดถ้ามีคำตอบที่ดีที่ท่านรู้ก็แสดงไว้เป็นความรู้ได้นะครับ
เห็นไหมครับว่า แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจแม้หนทางการรู้ลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนี้เลย แม้ ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ ที่เป็นเพียงสี ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ก็ยังไม่รู้ ก็ไม่ต้องพูดถึงการจะรู้ความจริงอื่น เพราะ แม้ ปัญญาเบื้องต้น ก็ยังไม่มี และเมื่อไม่รู้ความจริงในชีวิตประจำวัน ที่กำลังมีในขณะนี้ ก็ไม่มีทางที่จะรู้ บรรลุได้ เพราะ ปัญญาขั้นต้นก็ยังไม่มี และ ยังไม่รู้จักหนทางการดับกิเลส เลย เพราะ ยังไม่แน่ใจเลย แม้แต่ว่า คำตอบนั้นถูกหรือ ไม่ถูก เพราะ ผู้ที่ประจักษ์ ความจริง จะต้องไม่สงสัยในสภาพธรรมที่ได้ประจักษ์ แต่นี่แสดงถึงการไม่ได้ ประจักษ์ธรรม ในขณะนี้
เพราะฉะนั้น แทนที่จะไปทำ แทนที่จะไปพยายามทำในสิ่ง ที่คิดว่ารู้แล้ว ก็กลับมาสู่ปัญญาเบื้องต้น ซึ่งปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ ทาง ตาก็ต้องประจักษืว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตา ที่ไม่ใช่คิดนึก นี่แค่เป็นปัญญาเบื้องต้น ครับ
อย่างไรก็ดี ก็เรียนคุณ saree คุณ pong2 ขอให้กลับมาสุ่ความเข้าใจเบื้องต้น เพราะว่า แม้ความจริงในขณะนี้ ทาง ตา ก็ยังไม่รู้ ก้ไม่ต้องกล่าวถึง การจะรู้ความจริง อย่างอื่นไลย ครับ ความเป้นผู้ตรงเท่านั้น ที่จะทำให้เปลี่ยนจากสิ่งที่คิดว่าเข้าใจ ทั้งๆ ที่เข้าใจผิด มาสู่ความเข้าใจถูก เริ่มใหม่นะครับ ไม่สาย และ ก็อย่าทิ้งฟังหนทางที่อาจารย์สุจินต์ได้อธิบายไว้ ฟังต่อไปนะครับ
ยินดีที่ร่วมสนทนามาทุกความคิดเห็น ครับ ฟังอ.สจินต์ต่อไป นะครับ