การคบมิตรเป็นการคลุกคลีหรือไม่อย่างไรครับ

 
papon
วันที่  2 ก.พ. 2557
หมายเลข  24401
อ่าน  1,658

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

การคบมิตรเป็นการคลุกคลีหรือไม่อย่างไรครับ และการคบมิตรทำให้เกิดความติดข้องหรืออย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 2 ก.พ. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การคลุกคลี เป็นไปกับด้วยอกุศล แต่ถ้าเป็นการคบมิตร เพื่อที่จะได้เกื้อกูลกันในทางที่เป็นกุศล ได้กล่าวตักเตือนกันในสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเสริฐที่สุด ก็คือ การเกื้อกูลกันให้ได้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง อย่างนี้ ไม่ใช่เป็นการคลุกคลี ต้องไม่ปนกันระหว่างอกุศล กับ กุศล แต่โดยปกติของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ยากที่จะพ้นไปจากความคลุกคลีที่เป็นไปในเรื่องของอกุศล ประการต่างๆ

การคลุกคลี เป็นเรื่องของอกุศล ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมเลย และเมื่อคลุกคลีแล้ว ก็ย่อมเป็นเหตุให้อกุศลธรรมประการต่างๆ เกิดตามมาอีกได้ เช่น เกิดโทสะ ความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ เป็นต้น เพราะฉะนั้น พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี ไม่เป็นไปกับด้วยกิเลส นั่นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริง ทรงแสดงโทษของความคลุกคลี และคุณประโยชน์ของการไม่คลุกคลี เพื่อประโยชน์เกื้อกูลอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น จะเห็นถึงความบริสุทธิ์ของพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสโดยตลอด ครับ

ผู้ที่เห็นโทษของการปล่อยจิตให้คลุกคลีอยู่กับอกุศล ก็ย่อมจะเป็นผู้ไม่ละทิ้งการฟังพระธรรม

อ้างอิงจาก ปันธรรม-ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๓

กุศลไม่คลุกคลี อยู่ด้วยเมตตา ขณะนั้นไม่คลุกคลี จะปราศจากการคลุกคลีได้ ก็ด้วยกุศลธรรม

อ้างอิงจาก ... ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๖๑

แม้แต่มิตรสหายก็ไม่ควรคบคลุกคลีจนเกินไป จนพร่ำเพรื่อ เพราะเหตุว่าจะเป็นไปในเรื่องของการติดข้อง หรือทำให้เกิดโทษ

อ้างอิงจาก ... ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๗๔

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

การคลุกคลี ๕ อย่าง

การคบหาสมาคมนั้นให้ผลเปลี่ยนวิถีกรรมใช่หรือเปล่าคะ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 2 ก.พ. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความคลุกคลีหมายถึงความคลุกคลีด้วยอำนาจกิเลส ยินดีในการคลุกคลี

ลักษณะของการคลุกคลี มี ๕ ประการ คือ

- คลุกคลีอันเกิดจากการเห็น เช่น เมื่อได้เห็นรูปอันสวยงามก็เกิดความยินดีพอใจใน สิ่งนั้น เมื่อกิเลสเกิดขึ้นก็ชื่อว่าคลุกคลี

- คลุกคลีอันเกิดจากการได้ยิน เช่น เมื่อได้ยินถึงเรื่องราวของบุคคลใด บุคคลหนึ่งก็เกิดความยินดีพอใจในบุคคลนั้น แม้เพียงได้ยินก็ชื่อว่าคลุกคลีเพราะกิเลสเกิดขึ้น

- คลุกคลีอันเกิดจากการสนทนาปราศัย

- คลุกคลีอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนสิ่งของ เช่น เมื่อมีการให้ของซึ่งกันและกันก็เกิดความสนิมสนม เกิดความยินดีพอใจก็ชื่อว่าคลุกคลี

คลุกคลีอันเกิดจากการสัมผัสกาย

คำว่ายินดีด้วยความไม่คลุกคลีคือ ไม่ยินดีด้วยอำนาจกิเลสที่เกิดขึ้นจากเห็น ได้ยิน เป็นต้น ดังนั้นพระพุทธเจ้า แม้อยู่กับคนหมู่มากก็ชื่อว่า ไม่คลุกคลีครับ

ซึ่งการคบมิตรเป็นการคลุกคลีหรือไม่ ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ซึ่งเราจะต้องพิจารณาว่า ความคลุกคลีได้แก่สภาพธรรมอะไร ซึ่ง ความคลุกคลีได้แก่สภาพธรรมที่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น แม้จะคบมิตรที่ดี แต่ จิตเป็นอกุศล ยินดีพอใจ ในความเป็นเพื่อนที่ดี ขณะนั้นก็ชื่อว่า คลุกคลี เพราะ เป็นอกุศลจิต สำหรับตัวบุคคลนั้น ครับ

แต่ ขณะใดที่เกิด กุศลจิต แม้จะเป็นคนที่ไม่ดี ก็ไม่เป็นการคลุกคลี เช่น การพูด อนุเคราะห์ ช่วยเหลือ กับคนที่ไม่ดี ขณะนั้น จิตเป็นกุศลจิต ก็ชื่อว่า ไม่คลุกคลีเลย ในขณะนั้น ครับ

เพราะฉะนั้น การพิจารณา ว่าจะเป็นการคลุกคลีหรือไม่ พิจารณาที่สภาพธรรม คือ จิตของตนเองเป็นสำคัญ โดยเฉพาะ พิจารณาไปแต่ละขณะ แต่ละขณะ ที่ไม่ใช่การพิจารณาเป็นเรื่องราว ครับ

ขออนุโมทนา


เรื่องความเป็นมิตรที่เกื้อกูลในพระธรรมประเสริฐที่สุด

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

ข้อความบางตอนจาก ...

ธาตุวิภังคสูตร

พระราชาเหล่านั้น แม้ไม่ทรงเห็นกัน ก็เป็นมิตรแน่นแฟ้น เมื่อพระราชาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงทำการตรัสอยู่อย่างนี้ บรรณาการย่อมเกิดแก่พระเจ้าปุกกุสาติก่อน ได้ยิน ว่าพระราชาทรงได้ผ้ากัมพล ๘ ผืน อันหาค่ามิได้ มีห้าสี พระราชานั้นทรงพระดำริว่า ผ้ากัมพลเหล่านี้งามอย่างยิ่ง เราจักส่งให้พระสหายของเรา แต่นั้น ทรงพระราชดำริว่า การที่เราเมื่อจะส่งภายหลัง ก็ควรส่งบรรณาการดีกว่าบรรณาการที่ส่งแล้วก่อน ก็พระสหายได้ส่งบรรณาการอันหาค่ามิได้แก่เรา เราจะส่งอะไรดีหนอ ก็ในกรุงราชคฤห์ไม่มีวัตถุที่ดียิ่งกว่านั้นหรือ ไม่มีหามิได้พระราชาทรงมีบุญมาก ก็อีกประการหนึ่ง จำเดิมแต่กาลที่พระองค์ทรงเป็นพระโสดาบันแล้ว เว้นจากพระรัตนตรัยแล้ว ไม่มีสิ่งใดอื่น ที่ชื่อว่า สามารถเพื่อยังพระโสมนัสให้เกิดขึ้นได้

ก็ขึ้นชื่อว่ารัตนะที่เสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวโลก เพราะฉะนั้นจึงทรงพระราชดำริว่า เราจักส่งรัตนะที่ไม่มีอะไรเสมอเท่านั้น แก่พระสหายของเรา


ข้อความบางตอนจาก คำบรรยายของท่าน อ. สุจินต์ ในเรื่อง บารมีในชีวิตประจำวัน

การที่เกิดมาพบกันในแต่ละชาติ โดยสถานต่างๆ ในสังสารวัฏฏ์ การพบกันในชาติซึ่งได้เกื้อกูลเป็นมิตรกันในพระธรรม หรือว่ามีส่วนร่วมกันเผยแพร่พระธรรม ชาตินั้นก็ต้องเป็นชาติที่ประเสริฐสุดในสังสารวัฏฏ์ยิ่งกว่าชาติอื่นๆ

ขออนุโมทนา สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peem
วันที่ 2 ก.พ. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะp.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Mayura
วันที่ 20 ก.พ. 2560

อนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
napachant
วันที่ 4 มิ.ย. 2561

กราบขอบพระคุณ และอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ม.ค. 2564

ขอเชิญรับฟัง

ธาตุวิภังคสูตร ...

พระเจ้าปุกกุสาติ ๑

พระเจ้าปุกกุสาติ ๒

ข้อความบางตอนจาก...

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๖๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มี ความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้น อนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด.

[๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อ ปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า ไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้า ไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติ ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพัก ตามสบายเถิด

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ