กินเจ ได้บุญจริงหรือไม่

 
apiwit
วันที่  5 ต.ค. 2559
หมายเลข  28256
อ่าน  4,066

ช่วงนี้ก็เป็นเทศกาลกินเจ การกินเจนั้นเพื่อมีเจตนาที่จะวิรัติงดเว้นจากการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ จึงคิดว่าน่าจะเป็นกุศลขั้นศีล บางคนจึงใช้คำพูดว่า ถือศีลกินเจ

อีกประการหนึ่ง คนที่เคร่งเรื่องการกินเจนั้น บอกว่าการกินเจต้องใช้ความอดทน ถึงแม้ว่ารสชาติอาหารจะไม่อร่อยบ้างแต่ก็ต้องทน เป็นการบำเพ็ญขันติธรรมเพื่อขัดเกลากิเลส ด้วยเหตุนี้กระผมจึงอยากกราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า กินเจแล้วจะได้บุญกุศลจริงหรือไม่ เป็นกุศลขั้นใด และจะได้รับอานิสงส์ระดับใด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ต.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุญอยู่ที่จิต ขณะใด เป็นไปในทาน (การให้) ศีล (งดเว้นบาปทางกาย วาจา) สมถและวิปัสสนาเป็น บุญ บุญไม่ได้อยู่ที่อาหาร อยู่ที่สภาพจิตนั้นต่างหากครับ ว่าเป็นอย่างไร ขณะที่หวังจะได้บุญ เป็นบุญไหม? ทานเนื้อสัตว์ แต่ไม่เบียดเบียนสัตว์ ขณะที่งดเว้นไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นกุศลเป็นบุญ ขณะที่ทานมังสวิรัติและชอบ ติดในรส เป็นโลภะ เป็นความติดข้องไม่ใช่บุญ ขณะที่เป็นบุญ คือไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส แต่มีสภาพธรรมฝ่ายดี เช่น ความไม่ติดข้อง เป็นต้น บุญจึงอยู่ที่จิตเป็นสำคัญครับ

พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดมาก การละเว้นจากปาณาติบาต ก็เป็นสภาพธรรมที่ไม่พ้นจากจิตและเจตสิก ซึ่งจะต้องเป็นจิตที่ดี และมีวิรตีเจตสิกที่งดเว้นจากบาปในขณะนั้นด้วย ดังนั้น ขณะที่งดเว้นจากการฆ่า คือ ขณะจะต้องมีเจตนางดเว้นจากบาป เช่น ขณะที่งดเว้นเฉพาะหน้า งดเว้นจากการตบยุง อย่างนี้มีเจตนางดเว้นจากบาป และ ขณะที่สมาทานศีลด้วยเจตนาจะงดเว้นจากบาป ขณะนั้น ก็เป็นการมีศีลในขณะจิตนั้น

แต่การทานเจ ขณะนั้นไม่ได้มีวิรตีเจตสิกที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์เฉพาะหน้า จึงไม่ได้เกิดกุศลขั้นศีล แต่เป็นความเข้าใจผิดที่คิดจะได้บุญเพราะไม่ทานเนื้อสัตว์ ครับ

ส่วนมหาทาน หมายถึง การรักษาศีลห้า แต่ การไม่ทานเนื้อสัตว์ไม่ได้มีเจตนารักษาศีลห้า จึงไม่ใช่มหาทาน ครับ อย่างไรก็ดี เราควรพิจารณาเรื่องการทานเจ ทานเนื้อสัตว์ให้ถูกต้องว่าคืออย่างไร

เรามาเข้าใจก่อนครับว่า กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล อยู่ที่เจตนาเป็นสำคัญ องค์ของปาณาติบาตนั้นมี ๕ อย่าง คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสัญญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตตัง มีจิตคิดฆ่า

๔. อุปักกโม มีความพยายาม

๕. เตนมรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

ถามว่าขณะที่ทานเนื้อ ขณะนั้นมีเจตนาฆ่าหรือเปล่าครับ ไม่มีเจตนาฆ่าในขณะนั้น แต่มีเจตนา ที่จะบริโภค ถามต่อว่า คนที่ทานมังสวิรัติกับคนที่ทานเนื้อ จิตขณะนั้นต่างกันไหม ถ้าเป็นปุถุชน จิตขณะนั้น มีความต้องการ (โลภะ) เหมือนกันไหม ก็เจตนาที่จะทานเหมือนกัน โลภะเหมือนกันครับ พระอรหันต์ไม่มีกิเลส ทานเนื้อ กับปุถุชนทานมังสวิรัติ จิตของคนทั้งสองที่ทาน ต่างกันไหม พระอรหันต์ติดในรสไหม พระอรหันต์มีเจตนาฆ่าเนื้อตอนนั้นไหม ปุถุชนทานมังสวิรัติ ติดในรสไหม ถ้าติดในรส (โลภะ) เป็นบุญหรือบาป ถ้าเป็นโลภะ

ดังนั้นอาหารจะทำอะไรได้ ถ้าจิตมากไปด้วยกิเลส สัตว์จะบริสุทธิ์ได้มิใช่เพราะอาหาร แต่เพราะปัญญาที่เกิดจากการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า ขอยกข้อความในพระไตรปิฎก ว่าบุญ บาป อยู่ที่เจตนา และเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่?

เชิญคลิกอ่านที่นี่....

เรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่ [อามคันธสูตรที่ ๒]

กรรมที่เป็นบุญ บาป อยู่ที่เจตนา

การบริโภคเนื้อสัตว์

ขอเสริมอีกประเด็นหนึ่งนะครับ เพราะอาจจะมีคำกล่าวที่ได้ยินบ่อยๆ ในแนวคิดที่ทานเจคือ ไม่ทานเนื้อสัตว์ที่ว่า

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้บริโภค ลดการบริโภคลงเสียบ้างก็คงจะลดการฆ่าลงไปได้

แต่หากทานเนื้อสัตว์กัน สัตว์ก็ถูกฆ่ามากขึ้น? การที่สัตว์ถูกฆ่า ก็ต้องคิดแล้วล่ะว่าเกิดจากอะไร ในทางพระพุทธศาสนาและความเป็นจริงนั้น การที่ถูกฆ่าก็ต้องเป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้เคยทำไว้ ดังนั้น สัตว์นั้น จึงมีกรรมที่ต้องถูกฆ่า จะบริโภคน้อยลงหรือมากขึ้น สัตว์ก็ต้องถูกฆ่า เพราะอกุศลกรรมให้ผล มนุษย์ทำไมถึงถูกฆ่าได้ทุกวัน ก็ไม่ได้บริโภคเนื้อมนุษย์ เป็นอาหารของคนส่วนใหญ่ ทำไมยังถูกฆ่าทุกวัน เพราะคนนั้นที่ถูกฆ่า อกุศลกรรมให้ผลเพราะเคยทำอกุศลไว้ ดังนั้นการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง ไม่ใช่เป็นเหตุที่จะทำให้สัตว์ถูกฆ่าน้อยลง แต่กรรมไม่ดีต่างหาก ที่ทำให้สัตว์ถูกฆ่าครับ และถ้าคิดละเอียดขึ้น ทำไมถึงทำกรรมไม่ดี อันเป็นเหตุให้ถูกฆ่า ก็เพราะกิเลสที่มีนั่นเอง ดังนั้นพระธรรมเท่านั้น ที่จะช่วยให้มีกิเลสน้อยลงจนไม่มีอีกและด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงแสดงพระธรรม เพื่อการพ้นทุกข์คือ ไม่ให้เกิดอีกต่อไป เมื่อคนนั้นไม่เกิด ใครจะฆ่าคนนั้นได้อีกครับ

กรรมจึงขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญ อาหารไม่สามารถทำให้สัตว์บริสุทธิ์ หรือ เศร้าหมองได้ กิเลสทำให้สัตว์ไม่บริสุทธิ์เศร้าหมอง ปัญญาทำให้สัตว์บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง ครับ

ดังนั้น ความอดทน ที่เป็นความเข้าใจผิด ย่อมไม่ใช่ขันติในพระพุทธศาสนา แต่เป็นอกุศลธรรม ในขณะนั้น ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
apiwit
วันที่ 5 ต.ค. 2559

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
อรวรรณ
วันที่ 5 ต.ค. 2559

ส่วนตัวคิดว่าถ้ากินเจเพราะอยากได้บุญก็ผิดที่เจตนาแต่ต้นแล้ว แต่ผู้ที่ละเนื้อสัตว์เพราะจิตประกอบด้วยเมตตา ยังไงก็เป็นกุศลจิต ย่อมเป็นกุศลแน่นอน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 5 ต.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก เข้าใจในเหตุในผลของธรรมตามความเป็นจริง ทุกขณะไม่พ้นไปจากธรรมเลย แม้แต่ที่กล่าวว่า ทานอาหารเจ หรือ ถ้าไม่ใช่อาหารเจ แต่เป็นอาหารอย่างอื่น ขณะนั้นไม่พ้นไปจากความติดข้องต้องการ ที่เป็นโลภะ ยากที่จะพ้นไปได้เลย ในขณะทานอาหาร ในขณะนั้นไม่ได้มีเจตนาทีวิรัติงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ แต่เป็นอกุศลที่ติดข้องต้องการที่จะบริโภค ไม่พ้นไปจากอกุศลเลย ผู้ที่บริโภคมังสวิรัติตลอดชีวิต ขณะที่บริโภค จิตเป็นอะไร? นี้คือ สิ่งที่จะต้องพิจารณาจริงๆ ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ก็จะสำคัญอกุศลว่าเป็นกุศลก็ได้ ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่จะได้ฟังได้ศึกษาพะธรรมให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม

สำหรับในเรื่องการกินเนื้อสัตว์หรือไม่กินเนื้อสัตว์ ก็เป็นประเด็นสงสัยของคนจำนวนไม่น้อย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในสมัยนี้เท่านั้น แม้แต่ในสมัยพุทธกาลรวมไปถึงในสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ก็เคยมีคนสงสัยในเรื่องนี้เหมือนกัน

ขอเชิญคลิกอ่านจากอามคันธชาดก ได้ที่นี่ครับ

อามคันธสูตร.. เสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓

ความไม่สะอาด ความมัวหมอง ความเศร้าหมองของจิตนั้น เป็นเรื่องของกิเลสเป็นเรื่องของอกุศลธรรม ทั้งหมด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหารเลย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อสัตว์พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจึงเป็นอนุสาสนี เป็นคำพร่ำสอนให้พุทธบริษัทเห็นโทษของกิเลส ให้เห็นโทษของอกุศลทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพื่อจะได้ขัดเกลา ลดละคลายให้เบาบางลง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง (ปัญญา) จนกว่าจะถึงความเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสได้ในที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 5 ต.ค. 2559
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 3 โดย อรวรรณ

ส่วนตัวคิดว่าถ้ากินเจเพราะอยากได้บุญก็ผิดที่เจตนาแต่ต้นแล้ว แต่ผู้ที่ละเนื้อสัตว์เพราะจิตประกอบด้วยเมตตา ยังไงก็เป็นกุศลจิต ย่อมเป็นกุศลแน่นอน

พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยจิตเมตตาในสรรพสัตว์สูงสุด แต่ พระองค์ผู้มีปัญญา ย่อมไม่สำคัญผิดว่า การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ จะเป็นจิตเมตตา เพราะ ขณะที่มีเมตตาหวังดี แม้ต่อสัตว์ต่างๆ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องไม่ทานเนื้อสัตว์ สัตว์มีกรรมเป็นของของตน จะถูกฆ่า หรือ ไม่ถูกฆ่า ไม่ได้อยู่ที่การไม่ทานเนื้อสัตว์ หรือ ทานเนื้อสัตว์น้อยลง

แต่หากทานเนื้อสัตว์กัน สัตว์ก็ถูกฆ่ามากขึ้น? การที่สัตว์ถูกฆ่า ก็ต้องคิดแล้วล่ะว่าเกิดจากอะไร ในทางพระพุทธศาสนาและความเป็นจริงนั้น การที่ถูกฆ่าก็ต้องเป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้เคยทำไว้ ดังนั้น สัตว์นั้น จึงมีกรรมที่ต้องถูกฆ่า จะบริโภคน้อยลงหรือมากขึ้น สัตว์ก็ต้องถูกฆ่า เพราะอกุศลกรรมให้ผล มนุษย์ทำไมถึงถูกฆ่าได้ทุกวัน ก็ไม่ได้บริโภคเนื้อมนุษย์ เป็นอาหารของคนส่วนใหญ่ ทำไมยังถูกฆ่าทุกวัน เพราะคนนั้นที่ถูกฆ่า อกุศลกรรมให้ผลเพราะเคยทำอกุศลไว้ ดังนั้นการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง ไม่ใช่เป็นเหตุที่จะทำให้สัตว์ถูกฆ่าน้อยลง แต่กรรมไม่ดีต่างหาก ที่ทำให้สัตว์ถูกฆ่าครับ และถ้าคิดละเอียดขึ้น ทำไมถึงทำกรรมไม่ดี อันเป็นเหตุให้ถูกฆ่า ก็เพราะกิเลสที่มีนั่นเอง ดังนั้นพระธรรมเท่านั้น ที่จะช่วยให้มีกิเลสน้อยลงจนไม่มีอีกและด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงแสดงพระธรรม เพื่อการพ้นทุกข์คือ ไม่ให้เกิดอีกต่อไป เมื่อคนนั้นไม่เกิด ใครจะฆ่าคนนั้นได้อีกครับ

กรรมจึงขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญ อาหารไม่สามารถทำให้สัตว์บริสุทธิ์ หรือ เศร้าหมองได้ กิเลสทำให้สัตว์ไม่บริสุทธิ์เศร้าหมอง ปัญญาทำให้สัตว์บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง ครับ

พระเทวทัต มีทิฏฐิ ความเห็นผิด ตั้งบัญญัติขึ้นมา ให้พระภิกษุ ไม่ฉันเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธในข้อนั้น

นี่คือความละเอียดของจิต เป็นสำคัญ พระธรรมจึงละเอียดลึกซึ้ง พุทธบริษัท จึงควรศึกษาพระธรรม ไม่ใช่เพียงกระทำตามประเพณี โดยที่คิดเองโดยที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
thilda
วันที่ 6 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 9 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Srisuda77
วันที่ 10 ต.ค. 2559

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด หัวข้อนี้ดีและน่าศึกษามากค่ะ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
อรวรรณ
วันที่ 12 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณค่ะ พยายามใช้สติตามรู้โลภะโทสะ โมหะเท่าที่จะทำได้อยู่ค่ะ ส่วนตัวช่วงทานเจทานมังสะจะรู้สึกใจเย็นลงมาก ยังไงก็ไม่ได้หวังบุญจากการทาน แต่ทำแล้วสบายใจก็ยังจะทานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
อรวรรณ
วันที่ 13 ต.ค. 2559
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 11 โดย อรวรรณ

ขอบพระคุณค่ะ พยายามใช้สติตามรู้โลภะโทสะ โมหะเท่าที่จะทำได้อยู่ค่ะ ส่วนตัวช่วงทานเจทานมังสะจะรู้สึกใจเย็นลงมาก ยังไงก็ไม่ได้หวังบุญจากการทาน แต่ทำแล้วสบายใจก็ยังจะทานค่ะ

ยังเชื่อว่าการกินเจที่จิตเป็นฉันทะย่อมไม่ใช่จิตที่ประกอบด้วยโลภมูลจิตแน่นอน ได้บุญหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญสำหรับตนค่ะ....อย่างไรก็ ขอบพระคุณที่ให้ความกระจ่างนะคะ. สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
tuijin
วันที่ 14 ต.ค. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
thilda
วันที่ 16 ต.ค. 2559

ขออภัยค่ะ ทำแล้วสบายใจ... อาจเป็นโลภะความติดข้องก็ได้นะคะ โลภะแนบเนียน ติดข้องในความสบายใจที่ได้ทำ ติดข้องในความใจเย็นที่รู้สึกได้ ส่วนตัวติดข้องกับความรู้สึกที่ว่าต้องทาน เพราะทานมาหลายปีแล้วและชอบอาหารเจ ปีนี้เลิกติดข้องในเรื่องนี้ละค่ะ อยากทานเจเมื่อไหร่ ค่อยไปหาทาน เพราะยังชอบอยู่ค่ะ เพียงแต่เลิกทานตามเทศกาล

ขอเชิญอ่าน

ฉันทะ กับ โลภะ

โลภะติดข้องทุกอย่าง ยกเว้นโลกุตตรธรรม

เมตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
wannee.s
วันที่ 17 ต.ค. 2559

ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า จริงๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Woranan
วันที่ 23 ต.ค. 2559

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 28 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 8 เม.ย. 2564

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ