พิจารณาเป็นธัมมะประเภทใดบ้างต่างกันอย่างไร

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  30 ม.ค. 2560
หมายเลข  28578
อ่าน  1,014

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พิจารณาเป็นธัมมะประเภทใดบ้างต่างกันอย่างไรคะ และเกิดกับจิตดวงไหนขณะไหนวิถีไหนบ้างค่ะ ช่วยแสดงลักขณาทิจตุกกะให้ด้วยค่ะ ขอที่ท่านอจ.สุจินต์ได้แสดงไว้ด้วยยิ่งดีค่ะ

ขอบพระคุณที่อนุเคราะห์ให้ความรู้ความเข้าใจค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พิจารณา ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่เป้น จิต เจตสิก ที่คิด ตรึก เป็นไปในสิ่งต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ซึ่งขจุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรม มักลืม ที่จะหาชื่อไปใส่ตัวธรรม คำนีั้ คือ ธรรมอะไร การศึกษาอภิธรรมที่ผิด ย่อมนำมาซึ่งความฟุ้งซ่าน มีความต้องการอยากรู้ชื่อเต็มไปหมด จนลืมว่า จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรม คือ เข้าใจความจริงในขณะนี้ การศึกษาธรรมจึงไม่ใชช่แบบวิชาการ แต่ ศึกษาเพื่อเข้าใจว่าคือขณะนี้ และเป็นธรรมไม่ใช่เรา อนัตตา ครับ

ขออนุโมทนา

รู้ลักษณะของสภาพธรรม ดีกว่าไปติดคำ

ท่านอาจารย์สุจินต์ ก็อยากรู้ชื่อ เรื่องอยากรู้ชื่อนี่มีเยอะมากเลย แล้วชื่อก็มีชื่อในภาษาบาลี แล้วก็ชื่อในภาษาไทย ชื่อในภาษาบาลีซึ่งภาษาบาลีก็เป็นภาษามคธนั่นเอง แต่ว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเป็นภาษามคธๆ ก็เป็นภาษาที่รักษาพระธรรม ดำรงพระธรรมก็ใช้คำว่า “พระบาลี” หมายความถึงพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ๒ ภาษา เพราะฉะนั้นคำธรรมดาสามัญที่ชาวมคธใช้ในเรื่องการรับประทานอาหาร ในเรื่องการเห็นการได้ยินก็เป็นภาษาหนึ่ง แต่พอถึงภาษาไทยเรา พอได้ยินคำที่แปลกจากที่เราเคยได้ยิน เราก็สงสัยคำนั้น ติดใจในคำนั้น แต่ว่าจริงๆ แล้วคำใดก็ตามที่สามารถที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เรายังต้องกังวลถึงชื่อไหม อย่างวันนี้หวังอะไรหรือเปล่า กลับไปบ้านหวังอะไรหรือเปล่า ประเดี๋ยวหวังอะไรหรือเปล่า ภาษาบาลี “หวัง” ก็คืออาสา และก็คือลักษณะของโลภะนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม เราก็จะเห็นลักษณะต่างๆ อาการต่างๆ ของโลภะได้ว่านั่นก็คือโลภะ นี่ก็คือโลภะ คือรู้จักตัวจริงๆ ของโลภะดีกว่าไปคิดว่าคำนี้คืออะไร คำนี้จะเป็นอาสา หรือคำนี้จะเป็นความหมายของนันทะ โลภะ หรือว่าอะไรอีกหลายคำ

นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเลิกคิดเรื่องชื่อมากมายที่จะไปรู้ชื่อได้ไหม เพราะเหตุว่าชื่อไม่ได้ทำให้เราเข้าใจธรรม แต่ว่าทำให้เกิดความสงสัยว่าชื่อนั้นหมายความถึงอะไร อย่างขณะนี้กำลังมีสิ่งที่ปรากฏ จะเรียกชื่อภาษาอะไร แต่ว่าสภาพธรรมก็ยังคงเป็นสภาพธรรมอยู่ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะคิดถึงคำว่า “อดทน” ภาษาไทย “ขันติ” ภาษาบาลี แต่ว่าไม่รู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วจะรู้ความหมายของคำว่าขันติได้ไหมว่าอดทนเป็นอดทนในลักษณะอย่างไรบ้างในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไรบ้าง ในภาษาไทยและก็ภาษาบาลี ขันติขณะไหนบ้าง โอกาสไหนบ้าง นี่ก็คือเราไปคิดเรื่องราวของธรรม แต่ว่าไม่ได้รู้ลักษณะของธรรม แต่ว่าพระธรรมที่ทรงแสดงๆ ให้เห็นถูก เข้าใจถูกในลักษณะที่เป็นธรรมเพื่อที่จะได้ไม่ใช่เรา และไม่มีเรา แต่เป็นธรรมทั้งหมดที่กำลังปรากฏ เราก็จะไม่สนใจใช่ไหมว่าชื่ออะไร ภาษาอะไรทั้งนั้น แต่ว่าลักษณะนั้นเป็นอย่างไร

เพราะฉะนั้น ถ้าเรามัวแต่คิดเรื่องนี้ หรือว่าสนใจเรื่องชื่อ ค้นคว้าเรื่องชื่อโดยที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม หรือว่าไม่ได้เฉลียวใจเลยว่าชื่อที่ปรากฏที่พูด เรารู้ลักษณะจริงๆ หรือเปล่า หรือว่ารู้ลักษณะจริงๆ หรือยัง แม้แต่คำธรรมดาอย่างจิต ทุกคนก็คล่อง เดี๋ยวนี้ทุกคนก็มีจิต ตอบได้ว่าจิตขณะนี้เป็นธาตุรู้ สภาพรู้กำลังทำกิจอะไร เห็นก็เป็นจิต ได้ยินก็เป็นจิต ตอบได้ แต่ว่ารู้ลักษณะของจิตหรือยัง เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมจริงๆ ก็ให้ผู้ที่ศึกษาเข้าใจถูกตามความเป็นจริง หรือว่ารู้จักตัวเองแม้ในเรื่องของการฟังพระธรรมว่าเมื่อฟังแล้วอาศัยภาษาทำให้มีความเข้าใจถูกในเหตุ ในผล ในสิ่งที่มีจริง แต่ว่ายังไม่ได้ประจักษ์ลักษณะนั้นซึ่งพระธรรมทรงแสดงตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่ให้เพียงเราจำชื่อ เพราะว่าจำชื่อนี่ต้องลืมแน่ แต่ไม่ลืมที่จะรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมที่กำลังปรากฏแต่ละอย่างๆ เวลาที่อกุศลจิตเกิด ใครจะรู้ลักษณะของโมหะ กำลังเห็นใครจะรู้ลักษณะของผัสสะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ม.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เข้าใจธรรม ตามกำลังปัญญาของตนเอง เบื้องต้น เมื่อเริ่มฟังเริ่มศึกษา ก็จะพอจะเข้าใจว่า ถ้าไม่มีนามธรรม กล่าวคือ จิตกับเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย พิจารณาไม่ได้อย่างแน่นอน ที่พิจารณาได้ ก็เป็นกิจหน้าที่ของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม นั่นเอง อย่างเช่น ในขณะที่ฟังพระธรรม ไม่ได้มีเฉพาะได้ยินเท่านั้น ยังมีการพิจารณาไตร่ตรองในคำที่ได้ยินได้ฟังด้วยความละเอียดรอบคอบ ด้วย ซึ่งก็คือ ธรรมนั่นเองที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่พ้นจากจิตและเจตสิก ที่เกิดขึ้นเป็นไป ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 30 ม.ค. 2560

ถ้า ท่านอจ.สุจินต์ถามกลับว่า "พิจารณา" คืออะไร ควรจะตอบว่าอย่างไรคะ พอจะมี คำจำกัดความ เป็นพื้นฐาน สักนิดสักหน่อย ไหมคะ จะตรึก จะนึก จะคิด จะพิจารณา จะใคร่ครวญ จะไตร่ตรอง จะวิตก จะวิจาร จะมนสิการฯ มีธัมมะ จึงมีคำมีขื่อ ก็น่าจะสามารถย้อนกลับไปมา ระหว่าง ตัวธัมมะจริงๆ กับ ชื่อของตัวธัมมะนั้นๆ

สำหรับผู้ที่ยังแทบไม่รู้ ในพระพุทธพจน์ ย่อมต้อง ติดอยู่ในขื่อในคำ อย่างแน่นอน ด้วยความไม่รู้อะไรเลย ก็คงต้องอาศัย คำอธิบายในภาษาของตนๆ ให้ค่อยๆ รู้ขึ้นบ้าง แล้วเราจะไม่อาศัยอะไรได้บ้าง จากตำรา จากวิชาการ เลยหรือคะ กว่าจะรู้ว่า ลักษณะธัมมะ อันเป็นปรมัตถ์ อันเป็นอภิธรรม อันละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งไม่อาจ คิดเอาเองได้ หรือ รู้เอาเองได้ ว่า อะไรเป็นอะไร ก็ต้องอาศัย "การฟัง" ก่อน เป็นสำคัญ แล้วจะฟังอะไร ไม่ใช่ ฟังคำอธิบายเรื่องราวของธัมมะหรือคะ

เรียนขอความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 31 ม.ค. 2560

เรียน ความเห็นที่ 3 ครับ

การศึกษาธรรม ไม่ใช่ไปวิเคราะห์ชื่อว่า คำนี้เป็นธรรมประเภทไหน อย่างไร เพราะ ไม่มีทางรู้ได้เลย และ ลืมจุดประสงค์การศึกษาธรรม เพื่อรู้ความจริงในขณะนี้ เพราะไม่เช่นนั้น จะไม่่มีคำว่า ติดชื่อ บ่นเพ้อธรรม เพราะลืมจุดประสงค์ของการศึกษาธรรมที่แท้จริง ท่านอาจารย์ จึงมีการเตือนบ่อยๆ ว่าศึกษาธรรมเพื่ออะไร

ดังนั้น จึงมีสองจำพวก คือ ศึกษาธรรมที่ถูกต้อง อาศัยเรื่องราว เพื่อเข้าใจความจริงในขณะนี้ น้อมว่าชื่อที่ได้ฟัง คือ ขณะนี้ที่เป้นธรรมไม่ใช่เรา กับอีกจำพวกที่ศึกษาธรรมด้วยจุดประสงค์ที่ผิด ที่ศึกษาชื่อ เพื่อวิเคราะห์ชื่อ ไปหาชื่อ ใส่ในตัวธรรม ก็ไม่มีทางที่จะรู้ตัวธรรมได้เลย ครับ

เชิญอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ได้ดังนี้

สุ. คุณอรวรรณมีเพื่อนหลายคนไหมคะ

อรวรรณ หลายคนค่ะ

สุ. เพื่อนดีของคุณอรวรรณคือใคร ไม่ต้องเป็นชื่อ คนที่สามารถจะทำให้คุณอรวรรณมีความเห็นที่ถูกต้อง ไม่ใช่ให้เห็นผิด เข้าใจผิด ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นขณะนี้มีสภาพธรรมที่ปรากฏ ถ้าเป็นเพื่อนที่ดี จะพาให้คุณอรวรรณห่างไกลจากสิ่งที่ปรากฏ ไปสนใจเรื่องที่คุณอรวรรณไม่สามารถจะรู้ได้ หรือรู้ว่าแม้ว่าสิ่งนี้มี แต่ก็ยากแสนยาก เพราะว่าไม่เคยคิดที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ คิดเรื่องราวทั้งหมด มาจากสิ่งที่เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง คิดนึกบ้าง เป็นเรื่องราวมากมาย โดยที่แม้ขณะนี้ก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ก็เห็นเป็นคนนั้นคนนี้ เป็นอย่างนี้ไปทุกชาติ กับคนที่รู้ว่า ทำไมไม่รู้สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดที่จะรู้ว่า อะไรเป็นปรมัตถ์ อะไรเป็นบัญญัติ มิฉะนั้นก็พูดแต่ชื่อ ปรมัตถ์กับบัญญัติ บัญญัติเป็นสิ่งที่ไม่มีจริง ปรมัตถ์เป็นสิ่งที่มีจริง และเมื่อไรจะรู้จักตัวปรมัตถ์ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง

เพราะฉะนั้นใครจะพาคุณอรวรรณไปไหนไกลๆ ตามไป หรือให้มาสู่การเข้าใจถูก เห็นถูกในสิ่งที่กำลังมีจริงๆ และยังจะมีต่อไปอีกนานแสนนาน ถ้าไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้จริงๆ ประโยชน์อะไรกับการที่มีเห็นแล้วกี่ภพกี่ชาติก็ไม่รู้เลยว่า เป็นธรรม

เพราะฉะนั้นไม่อยากจะพาไปไหน แต่ว่าให้ฟังจนกระทั่งสามารถไม่สนใจสิ่งอื่น และมีสิ่งที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้าจริงๆ ไม่ห่างเหินจากสิ่งที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า


ซึ่ง ขอนำ คำบรรยายที่แสดงดีแล้ว เกี่ยวกับการหาชื่อ เรื่องชื่อ ติดชื่อ และ แนวการศึกษาธรรมที่ถูกต้อง ในไฟล์เสียงเหล่านี้ครับ ลองฟังนะคัรบ เพื่อจะได้กลับมาที่การศึกษาธรรมในจุดประสงค์ที่ถูกต้องจริง ฟังจบแล้ว ถ้าเข้าใจจะรู้ว่าแนวทางการศึกษาธรรมที่ถูกต้องคืออย่างไร ครับ

ขออนุโมทนา

เชิญคลิกฟังดังนี้

แนวทางความเข้าใจ ตอนที่ 3

แนวทางความเข้าใจ ตอนที่ 4

แนวทางความเข้าใจ ตอนที่ 5

แนวทางความเข้าใจ ตอนที่ 6

แนวทางความเข้าใจ ตอนที่ 7

แนวทางความเข้าใจ ตอนที่ 8

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 31 ม.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 18 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ