ปัจจัยนำไปสู่การรู้แจ้งธรรม - อิทธิบาท 4 [ตอนที่ 8]

 
wittawat
วันที่  26 มิ.ย. 2562
หมายเลข  30971
อ่าน  1,034

ตอนที่ 8 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

ความเพียรชอบทั้ง 4 นี้เป็นรากฐานของความสำเร็จในผล แต่มีโสภณธรรมอื่นเช่นกันที่จำเป็นเพื่อการถึงความสำเร็จและในโสภณธรรมเหล่านั้นมี อิทธิบาท 4 หมายถึง "ธรรมเครื่องทำให้ถึงความสำเร็จ (บาทแห่งความสำเร็จ) " หรือ "ทางให้ถึงซึ่งอำนาจในการประหาณกิเลสเป็นสมุทเฉท" อิทธิบาท 4 ได้แก่

บาทแห่งความสำเร็จคือ ฉันทะ หมายถึง ฉันทะเจตสิก หรือ "ความประสงค์ ความต้องการที่จะทำ ความพอใจที่จะทำ" มีฉันทะ พอใจที่จะพิจารณาและระลึกลักษณะของนามและรูปที่กำลังปรากฏ เพื่อที่จะรู้ธรรมนั้นตามความเป็นจริง ฉันทะนั้นอุปมาเหมือนราชบุรุษที่ฉลาดในการรับใช้พระราชา แม้เช่นนั้นฉันทะก็เป็นพื้นฐานแห่งความสำเร็จเพื่อที่จะถึงผลที่ถูกต้อง

บาทแห่งความสำเร็จคือ วิริยะ หมายถึง วิริยเจตสิก หรือ "ความเพียร ความพยายาม ความพากเพียร" มีความเพียรที่จะสังเกตและพิจารณาลักษณะของนามและรูปที่กำลังปรากฏ เพราะเหตุแห่งความเพียร ผลที่ชอบจึงสำเร็จ วิริยะนั้นเปรียบเสมือนราชบุรุษผู้ช่วยเหลือพระราชาด้วยความกล้าหาญในความพยายามเพื่อสำเร็จกิจการงานของตน

บาทแห่งความสำเร็จคือ จิต ด้วยเหตุคือ จิต นั้น ผลที่ชอบจึงสำเร็จ จิตนั้นเปรียบเสมือนกับราชบุรุษผู้ช่วยเหลือพระราชาโดยสำเร็จกิจการงานของตนอย่างดี เพราะว่าโดยเนื้อแท้เขาเป็นคนดี

บาทแห่งความสำเร็จคือ วิมังสา หรือ "การคิดธรรม (การค้นหาความจริง) " คือปัญญาเจตสิกที่พิจารณาอย่างใส่ใจและค้นหาความจริงในลักษณะของสิ่งที่มีอยู่จริง เพราะเหตุคือปัญญา จึงสามารถที่จะถึงผลที่ชอบได้ วิมังสานั้นท่านเปรียบเหมือนราชบุรุษผู้ให้ความช่วยเหลือพระราชาด้วยความรู้ความฉลาดของตน

ราชบุรุษแต่ละประเภทก็สามารถที่จะเป็นเครื่องสนับสนุนที่พึ่งพาได้เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย เพราะความสามารถตามปรกติของบุคคลนั้นๆ แม้อย่างนั้นบาทแห่งความสำเร็จจึงเป็นเครื่องสนับสนุนที่พึ่งพาได้เพื่อที่จะไปถึงผลที่ชอบ (ซึ่งก็หมายถึง ถ้าเป็นสมถภาวนา ก็เป็นฌานจิต ถ้าเป็นวิปัสสนาภาวนา ก็เป็นวิปัสสนาญานตามลำดับขั้น)

ข้อความนี้แปลจาก...The Factors Leading to Enlightenment - Four Bases of Success

อ่านตอนอื่นๆ ... กดลิ้งค์

1. กิเลส 3 ระดับ ... กดลิ้งค์

2. เริ่มด้วยความเข้าใจถูก ... กดลิ้งค์

3. สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ... กดลิ้งค์

4. มรรค 5 ... กดลิ้งค์

5. สติปัฏฐาน 4 ... กดลิ้งค์

6. สติปัฏฐาน 3 ความหมาย ... กดลิ้งค์

7. สัมมัปปธาน 4 ... กดลิ้งค์

8. อิทธิบาท 4 ... กดลิ้งค์

9. อินทรีย์ 5 ... กดลิ้งค์

10. พละ 5 ... กดลิ้งค์

11. โพชฌงค์ 7 ... กดลิ้งค์

12. มรรคมีองค์ 8 ... กดลิ้งค์

13. มรรควิถีจิต ... กดลิ้งค์

14. ปัจจเวกขณวิถีจิต 5 วาระ ... กดลิ้งค์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ