สมถภาวนา ตอนที่ 06


    สมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ไม่ใช่ท่านผู้ ๑ ผู้ใด ไม่ได้ฟังธรรม ไม่รู้เรื่องความละเอียดของจิต และไม่รู้ลักษณะของจิตซึ่งต่างกันเป็นกุศล และอกุศล แล้วก็จะเจริญ ความสงบของจิตได้ ถ้ามีใครบอกให้ท่านนั่ง จดจ้องที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ในขณะนั้นท่านคิดว่าจะเป็นหนทางที่จะทำให้จิต สงบไหมคะ หรือว่าป็นหนทางที่จะทำให้จิต ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น เป็นสมาธิได้ แต่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่สมถภาวนา เพราะเหตุว่าขณะนั้น จิตไม่ใช่กุศลจิต ซึ่งเป็นความสงบ ความสงบที่จะมีได้ นี่คะ ที่จะเป็นสมถภาวนานั้น ต้องเกิดเพราะปัญญา รู้ในลักษณะของความสงบ ซึ่งต่างกับขณะที่เป็นอกุศล

    4069 ปัญญารู้อะไรในสมถภาวนา

    ท่านอาจารย์ มีหลายท่าน ซึ่งคงจะได้เจริญสมาธิมาแล้ว แล้วก็คิดว่าขณะนั้นเป็น สมถภาวนา แต่ว่า ขอให้ท่านพิจารณาว่า ปัญญารู้อะไร ในขณะนั้น จึงจะสงบ จึงจะเป็น สมถภาวนา ถ้าขณะนั้นไม่ได้รู้อะไรเลย จะเป็นความสงบไม่ได้ และการที่จะรู้ ต้องรู้ลักษณะของจิตตามความเป็นจริงของท่าน ไม่ใช่ของบุคคลอื่น เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสมถภาวนา ไม่ใช่ว่าอ่านวิสุทธิมรรค หรือว่าพระไตรปิฎก แล้วก็รู้ว่า อารมณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของสมถภาวนานั้น มีอะไรบ้าง เพียงอ่านแล้วก็ไปใช้อารมณ์นั้น เช่น รู้ว่าอารมณ์ของสมถภาวนานั้นได้แก่กสิณ ๑๐ ท่านก็จะไปดู ไปจ้อง ที่กสิณ แล้วก็คิดว่าจิตจะสงบขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย จิตอาจจะเป็น สมาธิ แต่ไม่ใช่กุศลจิตซึ่งเป็นความสงบ เพราะฉะนั้น ความสงบนี่คะ ไม่ใช่อยู่ที่อารมณ์ คือไม่ใช่อยู่ที่กสิณ ไม่ใช่ว่าใครก็ตาม จะไปดูไปจ้องที่กสิณ แล้วจะสงบทุกคน ไม่ใช่อย่างนั้น คะ แต่ว่าบุคคลใดซึ่งมีปัญญารู้เหตุที่จิตสงบเพราะ ระลึกอยู่ที่กสิณซึ่งเป็นอารมณ์ในขณะนั้นด้วยปัญญา และรู้ลักษณะสภาพของจิตที่สงบจริงๆ ในขณะนั้น ซึ่งเป็นกุศล ลักษณะของกุศลจิต สงบ เมื่อจิตเป็นกุศล ก็รู้ในลักษณะที่สงบของจิต ซึ่งเป็นกุศล และความสงบ เพิ่มขึ้น เพราะระลึกรู้อยู่ที่อารมณ์ที่ทำให้จิตสงบได้นาน เพราะฉะนั้น ความสงบที่ประกอบด้วยสมาธิ ที่ตั้งมั่น และเพิ่มขึ้น ปรากฏ ด้วยสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามปกติ แล้วก็มีความรู้ชัดพร้อมกับความสงบยิ่งขึน ในอารมณ์นั้น จึงจะเป็นการเจริญสมถภาวนา

    4070 ปัญญาในสมถภาวนา

    ท่านอาจารย์ การอบรมเจริญภาวานา ต้องเป็นไปด้วยสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น สมถภาวนา โดยระลึกรู้ ลักษณะของอารมณ์ที่เป็น สมถกรรมฐาน อารมณ์ใดๆ ก็ตาม ลักษณะของจิตที่สงบ ที่เป็นกุศล พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์อย่างในขณะนี้ตามธรรมดา ขณะนี้จิตของผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรม แล้วก็ไม่รู้ความต่างกันของ กุศลจิต และ อกุศลจิต ย่อมมีปัจจัยที่จะเป็นอกุศล เรื่อยๆ ตามปกติ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์อย่างนี้ แทนที่จะเป็นอกุศลจิต เพราะปัญญาที่รู้ลักษณะที่ต่างกัน ของกุศลจิต และอกุศลจิต และมีปัญญารู้เหตุ ที่จิตจะสงบ เป็นปัจจัย ทำให้จิตในขณะนี้ สงบเป็นกุศล เป็น สมถะ แทนที่จะเป็นอกุศล ตามปกติอย่างนี้ทีเดียว ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะมีเวลาว่าง แล้วก็มีสถานที่ที่เหมาะแก่ การที่จะเจริญความสงบยิ่งขึ้น เช่นในสถานที่ที่สงบเงียบ เช่นเรือนว่างหรือว่าในป่าเขาลำเนาไพรใดๆ ก็ตาม ผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนา ในขณะนั้น ก็พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์อย่างในขณะนี้ ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่มีอาการที่จะไปมีปรากฏการณ์แปลกๆ เกิดขึ้น แล้วก็มีความสงสัยมีความไม่เข้าใจ มีความไม่รู้ว่าขณะนั้น สภาพนั้นเกิดปรากฏขึ้นได้อย่างไร ถ้าเป็นในลักษณะนั้นแล้ว ไม่สงบแน่นอน คะ ไมใช่การเจริญสมถภาวนา เพราะฉะนั้น การเจริญสมถภาวนา คือการอบรมเจริญกุศลซึ่งเป็นความสงบ ในขณะที่สติสัมปชัญญะ สมบูรณ์ ตามปกติ แต่ต้องมีปัญญาที่รู้ว่าทำอย่างไร จิตจึงจะสงบเป็นกุศล

    4136 อานาปานสติเป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ

    ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ฟังสงสัย ไหมคะ ตอนนี้ ท่านที่เคยเจริญสมาธิมาแล้ว คะ เชิญ

    ผู้ถาม. เมื่อ สิบกว่าปี ที่แล้วมา ดิฉันเคยเจริญสมาธิ เหมือนกัน แต่ก็อย่างที่อาจารย์พูด คือหมายความว่า อ่านหนังสือ แล้วก็เอามาเจริญสมาธิ คะ ขณะนั้นไม่ได้ประกอบด้วยปัญญาเลย นั่ง ระลึกรู้ลมหายใจ เคยอ่านบอกว่า เมื่อลมหายใจเข้ายาวก็รู้ตาม ลมหายใจเข้าสั้นก็รู้ตาม แต่ทีนี้นั่งๆ หลายครั้งๆ เข้า ก็มีบางครั้งที่จิตสงบมาก สงบจนรู้สึกว่า ได้รับความสุข จากความสงบนั้น

    ท่านอาจารย์ ใคร่ที่จะเรียนถามท่านผู้ฟัง ซึ่งส่วนมากอาจจะเคยเจริญสมาธิโดยระลึกรู้ลมหายใจ เพราะเหตุว่า ดูเหมือนว่า อานาปานสติสมาธิ จะแพร่หลายมาก กว้างขวางมาก เป็นอารมณ์ที่ปฏิบัติกันทั่วๆ ไป แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าท่านจะดูในวิสุทธิมรรคจะพบว่า อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ เช่นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังลองคิดตามความเป็นจริงว่าบุคคลในยุคนี้สมัยนี้ มีปัญญาเทียบไม่ได้เลยกับบุคคลในสมัยก่อน แล้วก็โดยเฉพาะดูเสมือนว่า ใครๆ ก็จะไปให้จิตจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ แล้วก็เป็นอานาปานสติสมาธิ กันเสียได้ทั้งหมด จะเป็นความจริงได้อย่างไร ในเมื่ออานาปานะ คือลมหายใจนี่คะ เป็นอารมณ์ที่ละเอียดมาก สุขุม ประณีต โดยสภาพตามความเป็นจริง ลมหายใจคือโผฏฐัพพารมณ์ คือสภาพทธรรมที่กระทบสัมผัส ทางกาย แต่ว่าละเอียดประณีต เพราะว่าเป็นลมที่เกิดจากจิต แต่ว่าถ้าไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด ท่านจะไม่ทราบเลยว่า จิตใจขณะที่ต้องการจดจ้องที่ลมหายใจนั้น เป็นจิตประเภทใด ขอให้เทียบเคียง ว่า ตามธรรมดาของโผฏฐัพพะ คือรูปเย็นร้อน อ่อนแข็ง ตรึงไหว ที่กระทบกาย ตามปกติ ธรรมดา เป็นที่ตั้งของความยินดีหรือไม่ อารมณ์ทั้งหลายที่ปรากฏทางตาก็ดี ทางหูก็ดี ทางจมูกก็ดี ทางลิ้นก็ดี ทางกายก็ดี เป็นที่พอใจ ปรารถนา เพลิดเพลินยินดี ต้องการหรือไม่ ตามความเป็นจริง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มีใครบ้างที่ไม่ต้องการ ตามธรรมดาตามความเป็นจริง แล้วลมหายใจก็คือโผฏฐัพพะชนิด ๑ เท่านั้น ในเมื่อใจของทุกคน นี่คะ ปรารถนาในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ อยู่แล้ว เวลาที่ลมหายใจปรากฏ ซึ่งลมหายใจก็เป็นโผฏฐัพพะ ชนิด ๑ เช่นเดียวกับโผฏฐัพพะ ที่กระทบกาย เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตรึงไหว จิตในขณะนั้น จะไม่พอใจ จะไม่ยินดี ในโผฏฐัพพะ ที่เป็นอานาปานะตามปกติตามธรรมดาหรือคะ เพราะเหตุว่าลมหายใจก็เป็นโผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น เวลาที่ท่านที่ต้องการที่จะจดจ้องอยู่ที่ลมหายใจ ขอให้คิดว่าขณะนั้น เป็นความต้องการเหมือนท่านต้องการโผฏฐัพพะ ที่กระทบกาย เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตรึงไหว อื่นๆ หรือไม่ นี่คะลักษณะของความต้องการนั้นละเอียดมาก แทบจะไม่รู้ว่าขณะนั้น เป็นความต้องการแล้ว แต่ว่าตามความเป็นจริง ปัญญาจะต้องรู้ในขณะนั้นว่า ต่างกันหรือเหมือนกันกับความต้องการในโผฏฐัพพะ ที่กำลังกระทบที่กาย เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสมถภาวนา ไม่ใช่ว่าทุกท่าน มีลมหายใจ อ่านเรื่องลมหายใจ อานาปานะ แล้วก็จะไปเจริญสมถภาวนา เกิดความสงบเวลาที่จดจ้องที่ลมหายใจได้ สภาพของจิตขณะที่ต้องการจดจ้องที่ลมหายใจ และขณะที่กำลังรู้ที่ลมหายใจ เหมือนกับขณะที่กำลังจดจ้องหรือว่ารู้ที่โผฏฐัพพะ ที่กำลังปรากฏ ที่ ๑ ที่ใด ในขณะนี้หรือว่าต่างกันอย่างไร ถ้าปัญญาไม่รู้จุดนี้ จะเจริญความสงบได้อย่างไร เพราะว่าปกติก็มีความต้องการในโผฏฐัพพะ อยู่แล้ว แล้วลมหายใจก็เป็นโผฏฐัพพะ ชนิด ๑ ซึ่งเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็เป็นที่ตั้งของความยินดีแล้ว เพราะฉะนั้น ขณะนั้นจะสงบหรือคะ ที่ว่าจดจ้องแล้วก็สบาย

    ผู้ถาม. ขณะนั้น ไม่รู้ ไม่มีปัญญา คะ ไม่รู้จริงๆ คะ

    4137 การจดจ้องทำให้จิตสงบได้หรือ

    ท่านอาจารย์ สภาพของจิตขณะที่ต้องการจดจ้องที่ลมหายใจ และขณะที่กำลังรู้ที่ลมหายใจ เหมือนกับขณะที่กำลังจดจ้องหรือว่ารู้ที่โผฏฐัพพะ ที่กำลังปรากฏ ที่ ๑ ที่ใด ในขณะนี้หรือว่าต่างกันอย่างไร ถ้าปัญญาไม่รู้จุดนี้ จะเจริญความสงบได้อย่างไร เพราะว่าปกติก็มีความต้องการในโผฏฐัพพะ อยู่แล้ว แล้วลมหายใจก็เป็นโผฏฐัพพะ ชนิด ๑ ซึ่งเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็เป็นที่ตั้งของความยินดีแล้ว เพราะฉะนั้น ขณะนั้นจะสงบหรือคะ ที่ว่าจดจ้องแล้วก็สบาย

    ผู้ถาม. ขณะนั้น ไม่รู้ ไม่มีปัญญา คะ ไม่รู้จริงๆ คะ คือว่ารู้อยู่อย่างเดียว แต่ว่า เมื่ออ่านพบในหนังสือแล้วก็นำไปประพฤติปฏิบัติ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบ แล้วก็ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก ซึ่งบางครั้งก็บังเอิญ เป็นการบังเอิญ ดิฉันขอใช้คำว่าบังเอิญ ขณะนี้ ขณะนั้นก็ไม่ได้รู้ว่าเป็นการบังเอิญ คือว่าก็จิตสงบได้

    ท่านอาจารย์ ไม่อยากให้ใช้คำว่าสงบ เป็นสมาธิกับสงบ นี่คะ ต่างกัน สงบต้องขณะที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ และปัญญารู้ในสภาพความสงบของจิต ต้องมีปัญญาเกิดในขณะนั้นซึ่งเป็นความรู้ชัด พร้อมสัมปชัญญะสมบูรณ์ ว่าจิตในขณะนั้น สงบเพราะอะไรสำคัญที่สุด คือเหตุว่าจิตในขณะนั้นสงบเพราะอะไร ถ้าท่านผู้ ๑ ผู้ใด กระทบสัมผัส โผฏฐัพพะ ซึ่งไม่ใช่ลมหายใจ ที่ ๑ ที่ใดก็ได้ จดจ้องที่นั่น จะรู้ได้ไหมคะว่าจิตสงบ หรือไม่สงบ ถ้าไม่รู้ เจริญสมถภาวนาไม่ได้ ถ้าจิตเป็นกุศลแทนโลภมูลจิตซึ่งเป็นอกุศล ตามปกติ จะต้องมีปัญญาที่รู้ว่า เหตุใด เป็นปัจจัยให้จิตสงบในขณะที่กำลังระลึกรู้โผฏฐัพพะ ขณะนั้นเป็นการอบรมเจริญปัญญา ซึ่งสงบ พร้อมปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นความสงบคนละขั้น เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐาน ท่านไปทำสมาธิ แล้วก็เข้าใจว่าเจริญสมถภาวนา ใช้คำว่า สมถภาวนา ซึ่งไม่ถูก เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ลักษณะของจิตที่สงบ เพราะว่าเมื่อจิตไม่สงบ จะรู้ลักษณะของจิตที่สงบได้อย่างไร ถ้าขณะนี้จิตเป็นโลภะ แล้วจะไปรู้ลักษณะของจิตที่สงบ นี่คะ ไม่ได้ เพราะเหตุว่าจิตที่สงบไม่ได้กิดขึ้นปรากฏให้รู้ในลักษณะอาการของความสงบของจิต เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องศึกษาก่อน ว่า จิตที่สงบเป็นกุศล ขณะใด และจิตที่ไม่สงบเป็นอกุศล ขณะใด ในชีวิตประจำวัน อย่างที่ได้เรียนให้ทราบแล้ว ว่า ขณะใดที่ไม่ใช่ทาน ไม่ใช่ศีล ไม่ใช่ภาวนา ขณะนั้นเป็นอกุศล ถ้าไม่พูดถึงวิบากจิตซึ่งเป็นการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ว่าโดยทั่วไป เมื่อเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้กลิ่นแล้ว ลิ้มรสแล้ว รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแล้ว จะเกิดโลภมูลจิตบ้าง โทสมูลจิตบ้าง โมหมูลจิตบ้าง ถ้าขณะนั้นไม่เป็นกุศล คือไม่ใช่ทาน ไม่ใช่ศีล ไม่ใช่การอบรมภาวนา ซึ่งจะต้อง เป็นไปได้ด้วยปัญญาเท่านั้น สำหรับการอบรมเจริญภาวนา ถ้าผู้ใดไม่มีการศึกษาให้เข้าใจ เป็นปัญญาเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถจะเจริญภาวนาทั้งที่เป็น สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนาได้

    4138 ต้องรู้ลักษณะจิตที่สงบ และจิตที่ไม่สงบ

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องศึกษาก่อน ว่า จิตที่สงบเป็นกุศล ขณะใด และจิตที่ไม่สงบเป็นอกุศล ขณะใด ในชีวิตประจำวัน อย่างที่ได้เรียนให้ทราบแล้ว ว่า ขณะใดที่ไม่ใช่ทาน ไม่ใช่ศีล ไม่ใช่ภาวนา ขณะนั้นเป็นอกุศล ถ้าไม่พูดถึงวิบากจิตซึ่งเป็นการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ว่าโดยทั่วไป เมื่อเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้กลิ่นแล้ว ลิ้มรสแล้ว รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแล้ว จะเกิดโลภมูลจิตบ้าง โทสมูลจิตบ้าง โมหมูลจิตบ้าง ถ้าขณะนั้นไม่เป็นกุศล คือไม่ใช่ทาน ไม่ใช่ศีล ไม่ใช่การอบรมภาวนา ซึ่งจะต้อง เป็นไปได้ด้วยปัญญาเท่านั้น สำหรับการอบรมเจริญภาวนา ถ้าผู้ใดไม่มีการศึกษาให้เข้าใจ เป็นปัญญาเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถจะเจริญภาวนาทั้งที่เป็น สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนาได้

    4139 ความสงบอยู่ที่ปัญญา

    ผู้ถาม. เป็นอันว่า ถ้าหากว่าเป็นการเจริญสมาธิ ทั่วๆ ไป นี้ ถึงแม้ว่าจะใช้ อย่างบางคนก็ใช้พุทโธ เป็นอารมณ์ หรือว่าใช้ สัมมาอรหัง หรือใช้ อานาปาน

    ท่านอาจารย์ คะ ขอให้ท่านผู้ฟังพิจารณาว่า ความสงบอยู่ที่อารมณ์ หรือว่าความสงบอยู่ที่ปัญญาที่รู้สภาพของจิต เช่นพุทโธ ถึงแม้คนที่จะไม่มีศรัทธา เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค ก็กล่าวคำนี้ได้ เด็กตัวเล็ก ชาติไหน ภาษาไหน ก็เอ่ยคำนี้ได้ทั้งนั้นว่า พุทโธ แต่จิตของผู้ที่กล่าวคำนั้น สงบหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ความสงบของจิต ไม่ใช่อยู่ที่อารมณ์ แต่อยู่ที่ปัญญาที่รู้ วิธีที่จิตจะสงบในขณะนั้นว่า เพราะอะไรจึงสงบ อย่างที่ท่านกราบพระ สวดมนต์ เมื่อสักครู่นี้ มีท่านผู้ ๑ ผู้ใดศึกษา ลักษณะของจิตของท่านในขณะนั้นบ้างหรือเปล่าคะ ว่า สงบหรือไม่สงบ หรือว่าเหมือนเดิมเพียงแต่กล่าวคำ ซึ่งเป็นบทสวดมนต์เท่านั้น ลักษณะของจิต นี่ต่างกัน ขอให้ศึกษา จริงๆ แล้วจะทราบว่าขณะนั้น บางท่านหวั่นไหวไป ก็ได้ ไม่สงบหรอกคะ เพราะว่าบางทีเสียงของท่าน จะไม่เหมือนเสียงของคนอื่น ขาดการอบรมที่จะกล่าว ให้ถูกต้องตามวิธีนั้นได้ จิตของท่านก็หวั่นไหวไปแล้ว หรือว่าอาจจะมีอกุศลจิตเกิดแทนที่จะเป็นกุศลจิตก็ได้ ลักษณะของจิตที่สงบนี่คะ ถ้าไม่มั่นคง ก็ยากที่จะปรากฏให้รู้ได้ ว่าขณะนั้น สงบ เช่นในขณะที่ให้ทาน ที่จริงแล้ว กุศลเจตนาให้ ในขณะนั้นต้องสงบ เพราะว่าเป็นกุศล แต่ว่ามีกี่ท่านที่จะสังเกตุรู้ลักษณะความสงบของกุศลจิตในขณะที่ให้ เพราะเหตุว่าส่วนมาก ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา แล้วละก็ แม้กุศลเจตนาจะเกิดขึ้น ก็เพียงเล็กน้อย แล้ว อกุศล ก็ครอบงำอย่างรวดเร็ว มีเจตนาให้เพียงนิดเดียว คะ บางท่านก็สงสัยว่าเป็นกุศลหรือเปล่าด้วยซ้ำ เพราะว่าไม่แน่ใจว่าขณะที่ให้เป็นกุศล เพราะว่าขณะนั้นให้เพราะรำคาญบ้าง หรือว่าให้เพราะเหตุอื่นๆ บ้าง แต่ที่จริงแล้ว ถึงจะรำคาญ แล้วไม่ให้ก็มี แต่เมื่อใดที่รำคาญแล้วให้ ขณะที่ให้ก็ยังเป็นกุศลเจตนา แต่น้อยมากจนไม่ปรากฏลักษณะของความสงบให้ปรากฏว่า ขณะนั้นเป็นกุศลที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ แต่ถ้าท่านผู้ใดมีปัญญา สังเกตุรู้ลักษณะของกุศลจิต ไม่ว่าจะเป็นไปในทาน หรือเป็นไปในศีล หรือเป็นไปทางกาย ทางวาจา เป็นการอ่อนน้อม เป็นการเคารพผู้ที่ควรเคารพ เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้ลักษณะของความสงบของจิตซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำกุศลทางกาย ทางวาจาได้ ท่านหล่านั้นซึ่งประกอบด้วยปัญญา ที่รู้ลักษณะความสงบของจิต สามารถจะอบรมเจริญกุศลพร้อมด้วยความสงบยิ่งขึ้น

    4140 จิตสงบได้โดยไม่ต้องนั่งสมาธิ

    ผู้ถาม. คือว่าขณะที่ยังไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ปฏิบัติที่ไหน ก็ไม่มีอาจารย์สอนด้วย มีแต่ตำรา ก็ปฏิบัติไป เหมือนกับตามลำพัง แต่ก็ไม่มีปัญญาที่จะแก้ไขตัวเองเลย คะ บางครั้งจิตเป็นสมาธิก็รู้สึกเป็นสุข ชอบใจ มีโลภะเกิด ครั้งหลังนั่งอีก จะให้จิตเป็นอย่างนั้นอีก ก็ไม่มีอีก อย่างนี้เป็นต้น แต่พอมาเจริญสติปัฏฐาน อย่างที่อาจารย์สอนแล้วก็ จิตสงบได้ โดยที่ไม่ต้องไปนั่งสมาธิ คือว่าขณะที่มีสติระลึกรู้มากๆ จิตก็ได้รับความร่มเย็นเพิ่มขึ้น ตามลำดับ อันนี้ก็เป็นสมาธิ ที่ประกอบด้วยปัญญา มันก็สะอาด เบา แล้วก็ไม่ต้องไปนั่งนานๆ อย่างที่เคยจดจ้องอยู่โดยปราศจากปัญญา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมาย ไม่ควรจะเป็น สมาธิ แต่ควรจะเป็น ความสงบของจิต ซึ่งเป็นกุศลเพิ่มขึ้น แล้วเมื่อความสงบเพิ่มขึ้น ถ้ามีปัจจัยที่จะให้ความสงบนั้น ตั้งมั่นอยู่ได้นาน ประกอบด้วยสมาธิ พร้อมด้วยสัมปชัญญะบริบูรณ์ ผู้นั้นจะรู้ตามความเป็นจริง ว่า ความสงบเพิ่มขึ้น แล้วเป็นความสงบจริงๆ สภาพที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ในขณะนั้นเป็นกุศล ผ่องใส่ ซึ่งเป็นความสงบ ปราศจากอกุศล แล้วก็ประกอบด้วย สมาธิที่มั่นคงขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องไปต้องการสมาธิโดยที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา และไม่ใช่ความสงบ

    4345 ไม่มีปัญญาก็เจริญสมถภาวนาไม่ได้

    ผู้ถาม. ทีนี้ดิฉันอยากจะเรียนถามอาจารย์ ถึงเรื่องเกี่ยวกับ เหมือนกับว่าคนที่ยังไม่ได้เจริญสติอย่างนี้ แล้วก็จะปฏิบัติเจริญ สมถะ วิปัสสนาอย่างนี้ ก็มีหนทางใด ทำอุบายแยบคาย อย่างไหนถึงเกี่ยวกับ การมีสติอย่างไร

    ท่านอาจารย์ คะ ต้องมีปัญญาที่จะรู้ ว่า ขณะนั้นเป็นกุศล หรืออกุศล ความรู้ขั้นนี้ ยังไม่ใช่สติปัฏฐาน หรือวิปัสสนาภาวนา เพราะว่ายังเป็นเรา ใช่ไหมคะ ไม่ใช่เป็นสภาพธรรม ซึ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค มีผู้ที่อบรมเจริญความสงบ เพราะเป็นผู้ที่เห็น อกุศล ตามความเป็นจริงว่า เป็น อกุศล แต่ไม่รู้ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่รู้ตามความเป็นจริงว่าขณะใด จิตเป็นกุศล จิตเป็นอกุศล แต่ยังยึดมั่นในกุศลจิต และ อกุศลจิต นั้นว่าเป็นเรา หรือเป็นของเรา นี่คือการเจริญสมถภาวนา แต่ปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ ว่า ในองค์ของฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป ผู้นั้นมีปัญญารู้ว่า ฌานจิตประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกเจตสิก เป็นวิตกเจตสิก แต่ยึดถือว่าเป็นเรา ยังไม่เข้าถึงสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่ว่าปัญญารู้ชัดในลักษณะของวิตก ของวิจาร ของปีติ ของสุข ของเอกัคคตา ซึ่งเป็นองค์ของปฐมฌาน จนกระทั่งเห็นโทษของวิตก จึงอบรมความสงบให้ยิ่งขึ้น ที่จะละวิตก แล้วก็ให้เหลือแต่เพียง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา แต่ว่าลักษณะของวิตก และวิจาร ก็ใกล้ชิด ใกล้เคียงกันมาก มีปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีปัญญา ก็ละพร้อมวิตก วิจาร สำหรับ ทุติยฌาน โดยนัยของ จตุถนัย คือฌาน ๔ ฌานที่ ๒ ก็ปราศจากทั้ง วิตก และวิจาร มีแต่เพียงปีตี สุข เอกัคคตา ไมใช่หมายความว่าท่านเหล่านั้นไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม รู้คะ แต่ว่ายึดถือว่าเป็นเรา เป็นของ เรา เพราะเหตุว่า ไม่ใช่สติปัฏฐาน ท่านรู้ลักษณะของอกุศลจิตที่เป็น โทสมูลจิต รู้ลักษณะของโลภมูลจิต รู้ลักษณะของอกุศลธรรม แต่ว่ายังยึดถือสภาพธรรม นั้นๆ เป็นเรา ตราบใดที่ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน ที่จะเป็นการรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมโดยความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น ผู้ที่เจริญสมถภาวนา ก็ต้องมีปัญญา ไม่มีปัญญาเจริญไม่ได้

    4346 สมถภาวนา กับ สติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค มีผู้ที่อบรมเจริญความสงบ เพราะเป็นผู้ที่เห็น อกุศล ตามความเป็นจริงว่า เป็น อกุศล แต่ไม่รู้ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่รู้ตามความเป็นจริงว่าขณะใด จิตเป็นกุศล จิตเป็นอกุศล แต่ยังยึดมั่นในกุศลจิต และ อกุศลจิต นั้นว่าเป็นเรา หรือเป็นของเรา นี่คือการเจริญสมถภาวนา แต่ปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ ว่า ในองค์ของฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป ผู้นั้นมีปัญญารู้ว่า ฌานจิตประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกเจตสิก เป็นวิตกเจตสิก แต่ยึดถือว่าเป็นเรา ยังไม่เข้าถึงสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่ว่าปัญญารู้ชัดในลักษณะของวิตก ของวิจาร ของปีติ ของสุข ของเอกัคคตา ซึ่งเป็นองค์ของปฐมฌาน จนกระทั่งเห็นโทษของวิตก จึงอบรมความสงบให้ยิ่งขึ้น ที่จะละวิตก แล้วก็ให้เหลือแต่เพียง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา แต่ว่าลักษณะของวิตก และวิจาร ก็ใกล้ชิด ใกล้เคียงกันมาก มีปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีปัญญา ก็ละพร้อมวิตก วิจาร สำหรับ ทุติยฌาน โดยนัยของ จตุถนัย คือฌาน ๔ ฌานที่ ๒ ก็ปราศจากทั้ง วิตก และวิจาร มีแต่เพียงปีตี สุข เอกัคคตา ไมใช่หมายความว่าท่านเหล่านั้นไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม รู้คะ แต่ว่ายึดถือว่าเป็นเรา เป็นของ เรา เพราะเหตุว่า ไม่ใช่สติปัฏฐาน ท่านรู้ลักษณะของอกุศลจิตที่เป็นโทสมูลจิต รู้ลักษณะของโลภมูลจิต รู้ลักษณะของอกุศลธรรม แต่ว่ายึดถือสภาพธรรม นั้นๆ เป็นเรา ตราบใดที่ยังไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน ที่จะเป็นการรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมโดยความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น ผู้ที่เจริญสมถภาวนา ก็ต้องมีปัญญา ไม่มีปัญญาเจริญไม่ได้

    4347 ปัญญาเท่านั้นที่รู้ว่าจิตสงบ

    ผู้ถาม. ถ้าอย่างนั้น การเจริญฌานก็หมายความว่า รู้จักลักษณะของโลภะ โทสะ

    ท่านอาจารย์ รู้จัก คะ แต่ว่ายังยึดถือว่าเป็นตัวตน

    ผู้ถาม. โมหะ แต่ว่ายังยึดถือว่าเป็นตัวตนอยู่

    ท่านอาจารย์ แน่นอนคะ เพราะเหตุว่าเป็นการอบรมเจริญความสงบ ซึ่งไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญา ที่จะดับกิเลส เป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น ปัญญาก็ต่างขั้นกัน แต่ว่าถ้าปราศจากปัญญาแล้ว อบรมเจริญมสมถภาวนาไม่ได้ ไม่ใช่ว่าใครก็ตามไปหยิบหนังสือมาอ่านแล้วก็ไม่รู้อะไร แล้วก็จดจ้องที่อารมณ์ของสมถะแล้วก็เข้าใจว่าเป็นสมถะ จิตที่าสงบไม่ได้อยู่ในหนังสือ คะ ขณะนี้เดี๋ยวนี้ปัญญาต้องสาามารถที่จะรู้ได้ ว่าสงบหรือไม่สงบ เพราะอะไรด้วย ถ้าไม่มีเหตุผล จะอาศัยอะไรเป็นเหตุให้ความสงบมั่นคงขึ้น เพราะไม่รู้เหตุของความสงบนั้นว่าสงบเพราะอะไร แต่เมื่อรู้เหตุว่าจิตสงบเพราะอะไร เป็นปัญญาที่รู้ จึงเจริญความสงบให้มั่นคงขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังต้องทราบว่า ความสงบไม่ใช่อยู่ที่อารมณ์คือกสิณ หรือพุทโธ แต่เป็นสภาพของจิตที่ปราศจากกิเลสเมื่อระลึกถึงอารมณ์นั้นด้วยปัญญา

    4348 ปัญญาในสมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนา

    ผู้ถาม. ปราศจากกิเลสแต่ว่า มียังยึดถือความเป็นตัวตนอยู่ใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ก็เหมือนขณะที่ให้ทาน เป็นกุศลจิต ขณะที่จิตเป็นกุศลไม่มีอกุศลเกิดร่วมด้วยแต่ ก็ยังยึดถือว่าเป็นเราที่ให้ทาน

    ผู้ถาม. แล้วขณะที่เกิดจิตสงบ ก็มีการยึดถือความสงบนั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่มีปัญญาที่รู้ขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะว่าขณะนั้นเป็นแต่เพียงลักษณะของจิตที่สงบ ที่เกิดขึ้นเพราะปัญญาที่รู้ว่าจิตที่สงบเป็นกุศล

    ผู้ถาม. เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน วิปัสสนาภาวนากับสมถภาวนา ก็ต่างกันโดยที่ว่า เจริญสติปัฏฐาน วิปัสสนาภาวนา นี้ก็ละคลายความยึดถือ ความเป็นตัวตน ความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล

    ท่านอาจารย์ คะ การเจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นการเจริญปัญญา ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงโดยไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพื่อที่จะดับกิเลส เป็น สมุจเฉท แต่แม้ในขณะที่สติกำลังระลึก ศึกษา รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นก็สงบ เป็นความสงบที่ประกอบด้วยปัญญา ที่รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่การเจริญสมถภาวนานั้น เป็นปัญญาขั้นที่รู้ความต่างกันของ กุศลจิต และอกุศลจิต และสามารถที่จะเจริญกุศลซึ่งเป็นความสงบ ของจิตได้ แต่ไม่สามารถที่จะละ การยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ได้

    4349 ปัญญาในสมถภาวนารู้จิตสงบตามธรรมดา

    ผู้ถาม. คนตาบอดสำคัญตนว่ารูปสวย ฉันใด นอกจากนั้นเมื่อก่อนนี้ผมก็เข้าใจว่า การเจริญกสิณ เป็นการเจริญสมถะ ที่ถูกต้อง ที่ผมเข้าใจว่าเป็นสมถะที่เพ่งกสิณ คืออาศัย เพ่งเที่ยนแล้วก็หลับตาดูแสง จะทำให้ปรากฏแสงอยู่ในนั้น แล้วจิตมันก็จะรวมอยู่อย่างนั้น เมื่อเพ่งชำนาญๆ เข้า จิตมันก็จดจ้องอยู่ที่แสงนั้น อาการภายนอกเป็นต้นว่ายุงกัด มดกัด เลือด เมื่อยขบ อะไรต่างๆ นั้น เมื่อเพ่งนานๆ จะไม่มีความรู้สึกเลย อันนี้ที่ผมเคยปฏิบัติมา จิตไปอยู่ สงบนิ่งที่แสงที่เรานั่งอยู่อย่างนั้น แต่นี้ ความเข้าใจเดิมผมเข้าใจว่า ผมนี้ก็สำเร็จแล้ว ละมั่ง เพราะว่าบางทีนั่งได้ตั้งคืนไม่รู้สึกเกิดเมื่อย หรือแม้ยุงจะกัดง่วงนอน อะไรต่ออะไร ก็ไม่มีความรู้สึกเลย เมื่อมาฟังอาจารย์ แล้วมันไปคนละทาง ทีนี้ผมเคยกล่าวไว้ว่าเมื่อเราออกมาแล้วก็รู้สึกๆ เมื่อย รู้สึกทุกข์ นี่มัน เมื่อย มันปวด มีความโกรธ มีความไม่สบายใจ อะไรต่ออะไรเกิดขึ้น แล้วยังซ้ำลงมาข้างนอกก็ยังมีเจรจาพาทีอะไรต่ออะไร คำพูดต่างๆ ก็ยัง มีโกรธ มีโลภ มีอะไรกันอยู่อย่างนี้ ความจริงมันไม่ใช่เลย แต่ความสำคัญผิด คิดว่าตัวเป็นผู้วิเศษ เมื่อมาฟังอาจารย์ ดูแล้ว มันตรงกันข้ามเลย คนละอย่างไปคนละอย่างเลย ทีนี้การที่อาจารย์ บรรยายว่า คำว่าสมถะ ในที่บรรยายนี้ ผมก็จับประเด็นได้ว่า จะถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ คือจับผระเด็นได้ว่าเมื่อมีสมาธิในวิปัสสนา เข้าใจว่า เมื่อมีรูป มีนาม มีจิต มีเวทนา มีธรรมอะไรเกิดขึ้น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 4
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ