กรรม ตอนที่ 18
น้อยแค่ไหน กี่กัป คือถ้าไม่เทียบกับชาตินี้ ก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่า ก่อนๆ นั้น ไม่ใช่ไม่เคยอบรม ไม่ใช่ไม่เคยฟัง ไม่ใช่สติปัฏฐานไม่เคยเกิด เคยได้ยินได้ฟังมาแล้วแสนกัป ย่อลงมาอีกก็ได้ แต่ว่าปัจจุบันที่ได้อบรมมาแล้วทั้งๆ ที่อบรมมาแล้วแสนกัป หรืออาจจะไม่ถึงก็ตามแต่ แต่ว่าหลายชาติ ขณะนี้มีความเข้าใจแค่ไหน
นี่คือผู้ที่ตรงจริงๆ
4340 พระธรรมพร้อมให้พิสูจน์แต่ไม่ง่าย
เพราะฉะนั้นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดง ไม่ใช่สิ่งซึ่งไม่มี พร้อมจะให้พิสูจน์ แต่ไม่ใช่ง่าย และต้องเป็นการอบรมความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่ใช่ให้ทำ ไม่ใช่ให้ปฏิบัติ แต่อบรมความเข้าใจให้เพิ่มขึ้น จนกระทั่งเป็นปัญญาแต่ละขั้น
4341 สุภูตเถรคาถาที่ ๒
ข้อความในปรมัตถทีปนี อรรถกถา ขุททกนิกาย ปัญจกนิบาต สุภูตเถรคาถาที่ ๒ ท่านพระสุภูตเถระกล่าวคาถามีข้อความตอนหนึ่งว่า
เราถูกหลอกลวงด้วยมติของพวกเดียรถีย์ จึงประกอบด้วยสิ่งไม่ควรประกอบ นั่นไม่ใช่ลักษณะบุญ คือ ไม่ใช่สภาวะแห่งบุญของเรา
แล้วท่านก็แสดงว่า
เราหลงเพราะกรรมเก่า จึงประกอบในสิ่งไม่ควรประกอบ
4342 การได้พบพระธรรมเพราะกุศลกรรม
การที่ใครจะมีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรม ก็เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยกุศลกรรมในอดีตที่ได้สะสม ผันมาให้ได้พบได้ฟังพระธรรมอีก เพราะว่าหลายท่านที่ได้สนทนาด้วย ท่านกล่าวว่า ท่านหมุนเจอสถานีวิทยุรายการนี้ โดยที่ไม่มีใครแนะนำเลย
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่มีอดีตกรรมที่ได้สะสมมาแล้ว ก็คงจะไม่ได้ฟังธรรมทางสถานีวิทยุ หรือว่าถ้าฟังแล้วก็อาจจะไม่สนใจ แต่สำหรับท่านที่มีการสะสมมาแล้ว พอฟังท่านก็สนใจทันที รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง และสามารถฟัง พิจารณา ศึกษาให้เข้าใจขึ้นได้
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่อาศัยการศึกษาพระธรรม จะไม่มีการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมว่า เป็นแต่เพียงปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นกระทำกิจชั่วขณะที่เล็กน้อย สั้นมาก แล้วก็ดับไป
4343 โลภะชอบทุกอย่างแม้ภวังคจิต
เมื่อรู้ว่า ภวังคจิต คือ ขณะที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก แต่แม้อย่างนั้นก็มีจิตที่เป็นชาติวิบากประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น จนกว่าจะมีวิถีจิตวาระหนึ่งวาระใดเกิดขึ้นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ถ้ารู้จักสภาพของภวังคจิต คือขณะที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ชอบภวังคจิตไหมคะ
หลายคนบอกว่าชอบนอน ชอบพักผ่อน จริงๆ คือ ไม่เห็นอะไร ไม่ได้ยินอะไร ไม่คิดนึกอะไรทั้งสิ้น แต่ขณะที่ชอบนั้นก็ไม่ใช่เรา โลภมูลจิตหรือโลภเจตสิกนั่นเอง ชอบทุกอย่างที่เป็นโลกียะ แม้แต่ภวังคจิต ก็อยากหลับ วันหนึ่งๆ เป็นอย่างนี้หรือเปล่าคะ บางท่านตอนบ่ายรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็อยากหลับ นั่นแสดงว่าชอบภวังคจิต ชอบสภาพที่พักจริงๆ ที่ชื่อว่า พัก เพราะว่าขณะนั้นไม่ต้องเดือดร้อน คิดนึกไปกับสิ่งที่น่าพอใจบ้าง ไม่น่าพอใจบ้างทางตา หรือว่าได้ยินเสียงแล้วก็ต้องคิดนึกไป พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้างกับเสียงที่ได้ยินทางหู
เพราะฉะนั้นบางท่านก็เข้าใจว่า ในขณะนั้นพักผ่อน แต่จริงๆ แล้วก็ยังเป็นจิตที่เกิดขึ้นทำภวังคกิจ แต่เมื่อไม่ต้องเห็นจึงสบาย ไม่ต้องได้ยิน ไม่ต้องเดือดร้อนอะไรเลย
4344 จะหลับหรือตื่นก็ไม่พ้นผลของกรรม
สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จิตที่ทำภวังคกิจเป็นวิบาก เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นจะห้ามได้ไหม ที่จะไม่ให้หลับ ถ้าห้ามได้ ก็คือห้ามไม่ให้เห็น ห้ามไม่ให้ได้ยินได้ แต่เพราะเหตุว่าวิบากจิตทำภวังคกิจ เพราะฉะนั้นก็มีกรรมที่เป็นปัจจัย เป็นเหตุทำให้ภวังคจิตเกิดขึ้นทำกิจดำรงภพชาติในขณะที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน โดยที่บังคับบัญชาไม่ได้เลย บางคนก็อยากหลับ แต่จะบังคับให้หลับได้ไหม ในเมื่อรู้ชัดในเรื่องของกรรมในเรื่องของวิบาก ก็จะต้องรู้ด้วยว่า แม้การหลับก็เป็นผลของกรรม หรือแม้การตื่นก็เป็นผลของกรรม
เวลาที่นอนไม่หลับ เป็นผลของกรรมหรือเปล่าคะ เวลานอนไม่หลับก็ต้องเห็น จิตเห็นก็เป็นผลของกรรม ต้องได้ยินก็เป็นผลของกรรมไม่ให้หลับ หรือเวลาที่หลับแล้ว จะไม่ให้ตื่นได้ไหม ถ้าตื่นก็คือเห็น ซึ่งก็เป็นผลของกรรมอีก
เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ หนีไม่พ้นเรื่องผลของกรรมที่จะต้องหลับบ้างตื่นบ้าง และบางครั้งการไม่หลับ ก็ไม่ใช่แต่เพียงเป็นผลของกรรมเท่านั้น เป็นผลของการสะสมของอกุศลก็ได้ เพราะเหตุว่าจิตที่เป็นโลภะเกิดขึ้นนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ทางใจ แม้ว่าไม่เห็น ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ขณะที่กำลังคิดนึกต่างๆ ทางใจในขณะนั้น ไม่ใช่ผลของกรรม แต่เป็นกิเลสที่ทำให้ไม่หลับ
ถ้าพิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมทุกกิจ ก็จะเห็นได้ว่าไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลเลย
4728 ทุกคนหลับเพื่อรอวิบากทางทวารต่างๆ ในวันถัดไป
มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ไหมคะ ท่านที่ชอบหลับ อยากหลับตลอดไปหรือเปล่าคะ หรือชอบอย่างอื่นด้วย ไม่ใช่ชอบแต่หลับอย่างเดียว ลองคิดดูนะคะ ทำไมเราถึงไม่ได้หลับตลอดไป ทุกคนหลับจริง แต่ไม่ได้หลับตลอดไป เพราะเหตุว่ามีกรรมที่ทำให้ต้องเห็น จึงต้องตื่น และจริงๆ แล้วก็ยังอยากเห็น ยังอยากได้ยิน
เพราะฉะนั้นคืนนี้ทุกคนจะหลับด้วยการรอวิบากของวันรุ่งขึ้นที่จะเกิด โดยที่ไม่รู้เลยว่า วิบากประเภทใดจะเกิดขึ้น ถ้าไม่คิดถึงคืนนี้ที่จะเกิด ก็ขอให้คิดถึงเมื่อคืนนี้ที่ผ่านมาแล้วที่หลับ ก่อนหลับรออะไรหรือเปล่าที่จะเกิดหลังจากที่ตื่นแล้ว
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า สำหรับปฏิสนธิจิต และภวังคจิตจะกล่าวไปแล้ว ก็เหมือนไม่มีบทบาทอะไรเลย จริงๆ แล้วจิตแต่ละประเภทมีความสำคัญ เพราะว่าปฏิสนธิจิตก็สำคัญว่า จะทำให้เป็นบุคคลไหน และจะทำให้ตลอดชีวิตนั้นจะมีวิบากประเภทใดเกิดขึ้นบ้าง ตามกำลังของกรรมที่ได้กระทำแล้ว ซึ่งเปรียบเสมือนไร่นา จะมีนากว้างใหญ่ หรือจะมีนาแคบเล็ก จะมีดินดีหรือดินไม่ดีพวกนี้ เป็นปัจจัยให้พืชงอกงามมากหรือน้อย
นี่ก็คือกรรมนั้นที่ทำให้ปฏิสนธิ เป็นปัจจัยจะทำให้ตลอดชีวิตนั้นจะมีกรรมอะไรอีกที่สามารถจะให้ผลได้
สำหรับปฏิสนธิจิตเหมือนไม่มีความหมาย เพราะเหตุว่าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้จักแม้ว่าตัวเป็นใคร ชื่ออะไร และขณะที่เป็นภวังคจิตก็เช่นเดียวกัน ดำรงภพชาติสืบต่อจากปฏิสนธิ เมื่อปฏิสนธิจิตเป็นจิตประเภทใดดับไป กรรมไม่ได้เพียงทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดเท่านั้น แล้วก็ตาย แต่กรรมทำให้จิตประเภทเดียวกันนั้นทำกิจดำรงภพชาติสืบต่อ เพื่ออะไรคะ รอวิบากอื่นที่จะเกิด
เพราะฉะนั้นทุกคนที่ตื่นแล้วก็หลับ หลับแล้วก็ตื่นทุกวันๆ ให้ทราบว่าขณะที่เป็นภวังค์ในขณะที่หลับในคืนหนึ่งๆ เป็นจิตที่ทำกิจรอวิบากที่จะเกิดในวันต่อไป โดยไม่มีใครสามารถรู้ได้
มีผู้ที่ตระเตรียมเดินทางไปพักผ่อน ทุกอย่างพร้อม แต่ก็มีเหตุที่ทำให้ไม่ได้เดินทาง
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ก่อนจะหลับก็รอวิบากประเภทหนึ่งที่คิดไว้ว่า จะรอวิบากอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่มีใครรู้ได้จริงๆ ว่า แม้วิบาก คือ การเห็น การได้ยินเหล่านี้ ก็จะต้องเป็นไปตามกรรมซึ่งจะเป็นปัจจัยให้วิบากนั้นๆ เกิดขึ้น เป็นไปตามความคิดหรือความพอใจ หรือความหวัง ความต้องการ
เพราะฉะนั้นถ้าคืนนี้หลับด้วยความปลอดโปร่ง คือ ไม่รออะไรทั้งสิ้น เพราะไม่รู้ว่า อะไรจะเกิดเพราะกรรมใดเป็นปัจจัย ก็จะเบาสบาย แทนที่จะห่วงวิตกกังวลว่า วิบากนั้นๆ จะเกิดหรือจะไม่เกิด
สำหรับภวังคจิตเป็นปภัสสรจิต หมายความว่าในขณะนั้นยังไม่มีอกุศลใดๆ เกิดร่วมกับจิตที่กำลังทำกิจภวังค์ สำหรับผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ที่ไม่พิการ ก็เป็นมหาวิบากดวงหนึ่งดวงใดใน ๘ ดวง
พอตื่นขึ้นมาตอนกลางวัน รอวิบากหรือเปล่าคะ ขณะใดที่เป็นภวังค์ ขณะนั้นไม่ใช่วิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้นขณะที่ตื่นแล้ว ภวังคจิตคั่นรอวิบากอย่างสั้นๆ และเร็วมาก เพราะเหตุว่าวิบากมาเร็วมาก ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยไม่รู้ตัวว่า ขณะนั้นๆ เป็นวิบาก แต่ให้ทราบว่า ขณะใดที่เป็นภวังค์ ขณะนั้นกำลังรอวิบากอื่นที่จะเกิดขึ้นต่อไป
และวันนี้ใครรู้บ้างว่า ภวังค์เกิดเพียงเพื่อรอวิบากอื่นที่จะเกิด เพราะว่าวิบากขณะที่ตื่นมาอย่างเร็วมาก ขณะนี้เท่าไรแล้วคะวิบาก ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
สำหรับภวังคจิตเป็นปภัสสรจิต หมายความว่าในขณะนั้นยังไม่มีอกุศลใดๆ เกิดร่วมกับจิตที่กำลังทำกิจภวังค์ สำหรับผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ที่ไม่พิการ ก็เป็นมหาวิบากดวงหนึ่งดวงใดใน ๘ ดวง
เพราะฉะนั้นทุกคนที่ตื่นแล้วก็หลับ หลับแล้วก็ตื่นทุกวันๆ ให้ทราบว่าขณะที่เป็นภวังค์ในขณะที่หลับในคืนหนึ่งๆ เป็นจิตที่ทำกิจรอวิบากที่จะเกิดในวันต่อไป โดยไม่มีใครสามารถรู้ได้
พอตื่นขึ้นมาตอนกลางวัน รอวิบากหรือเปล่าคะ ขณะใดที่เป็นภวังค์ ขณะนั้นไม่ใช่วิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้นขณะที่ตื่นแล้ว ภวังคจิตคั่น รอวิบากอย่างสั้นๆ และเร็วมาก เพราะเหตุว่าวิบากมาเร็วมาก ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยไม่รู้ตัวว่า ขณะนั้นๆ เป็นวิบาก แต่ให้ทราบว่า ขณะใดที่เป็นภวังค์ ขณะนั้นกำลังรอวิบากอื่นที่จะเกิดขึ้นต่อไป
และวันนี้ใครรู้บ้างว่า ภวังค์เกิดเพียงเพื่อรอวิบากอื่นที่จะเกิด
4730 พระสารีบุตรเปรียบตนเหมือนลูกจ้างรอหมดเวลางาน
ข้อความในขุททกนิกาย สารีปุตตเถรคาถา ข้อ ๓๙๖ ท่านพระสารีบุตรกล่าวคาถาว่า
เราไม่ยินดีต่อความตาย และชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ จักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อความตาย และชีวิต เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงานฉะนั้น
นี่คือพระภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ แล้วก็เห็นว่า การที่จะต้องเห็น คือ กิจชนิดหนึ่งซึ่งเป็นการงานอย่างหนึ่ง การที่จะได้ยินก็เป็นกิจอีกชนิดหนึ่ง นิดหนึ่ง การได้กลิ่นก็เป็นกิจอีกชนิดหนึ่งซึ่งจะต้องเกิดขึ้นได้กลิ่น การลิ้มรสก็เป็นกิจอีกชนิดหนึ่งซึ่งจะต้องเกิดขึ้นลิ้มรส ทุกวันๆ ลิ้มรส เช้า สาย บ่าย ค่ำ แล้วแต่ว่าจะลิ้มรสขณะใด ทางกายที่กระทบสัมผัสก็เป็นกิจการงานหน้าที่ที่จะต้องรู้เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงานสำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์
สำหรับผู้ที่ยังมีกิเลส ก็ไม่ได้รออย่างนี้ ใช่ไหมคะ รอว่าพรุ่งนี้จะเห็นอะไร จะได้ยินอะไร จะลิ้มรสอะไร จะมีกิจการงานอะไร เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่หมดกิเลสกับผู้ที่มีกิเลสรอต่างกัน
4731 ภวังคจิตเป็นจิตที่มีจริงแต่รู้ได้ยาก
เรื่องของภวังคจิตเป็นเรื่องที่ยากที่จะรู้ได้ คือ ภวังคจิตจะเกิดคั่นทุกวาระวิถีที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารหนึ่งทวารใด มีใครสามารถจะรู้ภวังคจิตขณะนี้ได้ไหมคะ ทั้งๆ ที่ทางตาที่เห็น ก็เป็นการรู้อารมณ์ลักษณะหนึ่ง คือ รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา และในขณะที่กำลังได้ยิน ขณะนี้เสียงก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา โลกของสิ่งที่ปรากฏทางตาเงียบมาก ถ้าไม่มีการได้ยิน มีแต่สิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น จะเป็นโลกที่เงียบ สำหรับผู้ที่มีโสตปสาท ไม่มีการได้ยินเลย สำหรับผู้มีทั้งจักขุปสาท โสตปสาท ก็จะเห็นว่า อารมณ์ที่กำลังปรากฏเสมือนไม่ได้แยกขาดจากกัน คือ ทั้งๆ ที่เห็น และก็ได้ยิน แต่ถ้าจะพิจารณาจริงๆ ก็สามารถจะรู้ได้ว่า ขณะที่เห็นซึ่งไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน และขณะที่ได้ยิน ซึ่งไม่ใช่ขณะที่เห็น จะต้องมีสิ่งที่ตัด หรือแทรก หรือคั่น
เพราะฉะนั้นโดยความเข้าใจขั้นปริยัติ ก็รู้ว่า ต้องมีภวังคจิต นี่คือเหตุผล และการที่จะประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่า ขณะที่รูปปรากฏทางตา แยกขาดจากรูปที่ปรากฏทางหู ต้องเป็นสิ่งที่สามารถประจักษ์แจ้งได้ แต่ต้องอาศัยการฟัง และความเข้าใจที่มั่นคง ค่อยๆ พิจารณาไป สติเกิดระลึกค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ รู้ขึ้นในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม จนกว่าจะชินทั้ง ๖ ทวาร
เพราะฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงภวังคจิต ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง และที่จะรู้ว่า มีได้ ลักษณะของภวังคจิตที่จะปรากฏขณะที่นอนหลับสนิท ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก
กำลังหลับสนิทจริงๆ ทุกคนรู้ว่า หลับสนิท แต่ว่าเป็นจิตประเภทหนึ่งซึ่งเกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติโดยไม่เห็น โดยไม่ได้ยิน โดยไม่ได้กลิ่น โดยไม่ได้ลิ้มรส โดยไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส โดยไม่คิดนึก
เพราะฉะนั้นเมื่อภวังคจิตเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วลักษณะสภาพของภวังคจิต ก็คือจิตซึ่งรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
4732 ขณะที่เป็นภวังคจิตไม่มีกิเลสเกิดร่วมด้วย
ขณะที่เป็นภวังคจิตไม่มีกิเลสใดๆ เกิดร่วมกับจิตที่กำลังทำภวังคกิจนั้นเลย เพราะไม่เห็น ก็ไม่มีความยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ได้ยินก็ไม่มีการยินดียินร้ายในเสียง ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก
เพราะฉะนั้นถ้าจะหลับอยู่ จะดีไหม เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่เกิดกิเลส คือ ความยินดียินร้าย ท่านที่ตื่นขึ้น และมีการระลึกได้ว่า ขณะใดมีความโลภ ความพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น ก็อาจจะคิดว่า ถ้าหลับเสียก็ดี คือ ไม่ต้องมีโลภะเกิดขึ้น หรือเมื่อตื่นแล้วได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ เกิดความขุ่นเคือง ในขณะนั้นก็อาจจะเป็นผู้ระลึกได้ว่า หากหลับเสียก็ดี คือ ไม่ต้องได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ แต่ว่าการจะหลับหรือการจะตื่น ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย จิตที่หลับ คือ ภวังคจิต ก็เป็นวิบากจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย เวลาที่ตื่น ถ้ามีการเห็น ก็เป็นวิบากจิตที่จะต้องตื่นขึ้นเห็น และสำหรับผู้ที่หลับอยู่ ก็จะยังเป็นผู้มีผลของกรรมหนึ่งกรรมใดเกิดเมื่อตื่นขึ้น เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการได้รับผลของกรรมไม่ได้เลย ตราบใดที่ยังไม่ปรินิพพาน
เพราะฉะนั้นทุกคนหลับจริง แต่ก็ต้องตื่นขึ้น แล้วมีวิบากจิตที่เกิดขึ้นรับผลของกรรม
4733 จะหลับจะตื่นก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ
สำหรับผู้ชอบนอน ชอบหลับ จะไม่พ้นไปจากกิเลส เพราะว่าขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตที่ชอบที่จะหลับ แต่ถ้าผู้ที่อยากจะหลับ เพราะว่าร่างกายอ่อนเพลียเป็นธรรมดา ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ควรจะพักผ่อนก็ควรที่จะหลับ แต่ถ้าไม่หลับ ขณะที่ไม่หลับนั้น ก็ควรที่จะรู้ว่า ไม่หลับก็ดี เพราะเหตุว่าเป็นโอกาสที่สติจะระลึกศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะตื่นหรือจะหลับ ถ้ารู้ว่า บังคับบัญชาไม่ได้ แต่จะถือประโยชน์จากการตื่น โดยการที่สามารถพิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็นกุศลจิตซึ่งดีกว่าการหลับ เพราะเหตุว่าถ้าหลับแล้ว ปัญญาจะเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมไม่ได้
4734 ผู้รักษาธุดงค์ข้อที่ ๑๓ เป็นผู้เจริญสติสัมปชัญญะ
ด้วยเหตุนี้การที่กล่าวถึงธุดงค์ ๑๓ ข้อ และข้อ ๑๓ คือ เป็นการไม่นอน เพราะเหตุว่าท่านที่จะรักษาธุดงค์ข้อนั้น เห็นประโยชน์ของการเป็นผู้ตื่นมาก และเป็นผู้ที่หลับน้อย ไม่ใช่อยากจะนั่ง ท่านที่รักษาธุดงค์ข้อนี้ ไม่ใช่เป็นผู้อยากจะนั่งทำสมาธิหรืออะไร แต่เป็นผู้ที่เห็นว่า ถ้าหลับแล้วโอกาสที่สติจะเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมก็เป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นเมื่อท่านไม่รู้ว่า ชีวิตของท่านจะดำรงอยู่นานมากน้อยแค่เท่าไร เพราะฉะนั้นการที่จะหลับเพียงเล็กน้อย และเป็นผู้ที่ตื่นมาก โดยการเป็นผู้ที่นั่ง และไม่นอน เพราะเหตุว่าถ้านอนก็จะหลับนาน แต่ถ้านั่งก็จะตื่นเร็ว และในขณะที่ตื่นก็จะสามารถพิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเป็นผู้ที่ไม่นอน
เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหมดต้องประกอบกัน แม้แต่ในการรักษาธุดงค์ก็ต้องทราบว่า ผู้ที่ไม่นอนเพราะอะไร เพื่อว่าการนั่งจะได้หลับน้อย
สำหรับผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ก็จะไปนั่งเพื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่รู้ว่า ไม่ว่าสภาพธรรมเกิดขึ้น สภาพธรรมนั้นมีเหตุปัจจัยจึงเกิด และถ้าสติเกิดระลึกศึกษารู้ลักษณะของสภาพรู้ที่เป็นนามธรรม ก็จะทำให้ละคลายการที่เคยยึดถือว่า เป็นเราที่เห็นหรือเป็นเราที่ได้ยิน เป็นเราที่คิดนึก หรือเป็นเราที่กำลังระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
4735 ประโยชน์ในการรักษาธุดงค์โดยอยู่กลางแจ้ง
ถาม ประโยชน์ของธุดงค์ มีธุดงค์อยู่ข้อหนึ่ง คือ การถือธุดงค์อยู่กลางแจ้ง อยากจะทราบว่า จะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญกุศลอย่างไร
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดก็คือว่าเป็นผู้ที่ตื่น และมีชีวิตอย่างขัดเกลาจริงๆ สามารถจะอยู่อย่างง่ายๆ เพราะแม้แต่เพียงเป็นผู้อยู่ป่าแล้ว ก็ยังไม่อยู่แม้โคนไม้ ยังไม่อยู่แม้ในที่กำบัง ยังขัดเกลาจนกระทั่งว่า ยังสามารถที่จะอยู่ได้กลางแจ้ง ซึ่งจะเป็นผู้ไม่ติดในสถานที่ที่สะดวกสบาย เพราะเหตุว่าเรื่องของความเป็นอยู่ ทุกคนเกิดมาแล้วก็ต้องการอยู่สบาย นอนสบาย บริโภคสบาย มีความเป็นอยู่ดีกินดี แต่สำหรับผู้ที่จะขัดเกลาเพราะเห็นโทษของกิเลสว่า ถ้าอยู่ดีกินดี ก็ยิ่งสบาย ก็ยิ่งติด บางท่านที่ต้องการขัดเกลาให้ยิ่งกว่านั้น ก็รู้ว่า สำหรับชีวิตของบรรพชิตต้องไม่ติดข้องในเรื่องของที่อยู่อาศัยเลย เพราะฉะนั้นบางท่าน ท่านอยู่ในอาราม ก็อาจจะติดในอารามที่อยู่อาศัยได้ แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มีอารามที่จะเป็นเจ้าของ ไม่มีห้องที่เป็นเจ้าของที่จะอยู่จะพัก
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้สละจริงๆ ละทิ้งจริงๆ ท่านก็จะขัดเกลาโดยที่ว่า บางท่านอยู่ป่า แต่ว่าบางท่านแม้ว่าอยู่ป่า คือ ไม่ใช่อยู่บ้านแล้ว ยังไม่อาศัยโคนไม้ แต่สำหรับผู้ที่อยู่กลางแจ้งนั้น แม้อยู่ป่า คือ ไม่ใช่บ้าน และไม่อาศัยโคนไม้ด้วย จึงอยู่ในที่กลางแจ้ง คือ เป็นผู้ไม่ติดในเรื่องของความสะดวกสบายในการเป็นอยู่ ในการกินอยู่หลับนอน
นี่ก็แล้วแต่อัธยาศัย ใครจะเห็นโทษของอกุศลจนกระทั่งพากเพียรที่จะขัดเกลา บางท่านก็แล้วแต่ว่า เมื่อเข้ามาอยู่ในวัดวาอารามแล้ว ก็แล้วแต่ผู้มีหน้าที่จัดที่อยู่ให้ จะจัดที่อยู่อาศัยที่ใดให้ ท่านก็ยินดีพอใจในที่อยู่อาศัยนั้น คือ ไม่เลือก ไม่เกี่ยงว่าตรงนั้นร้อน ตรงนี้ไม่สะดวก หรืออะไรต่างๆ
4736 ผู้รักษาธุดงค์รู้ และเห็นกิเลสในอัธยาศัยของตน
เพราะฉะนั้นถ้าพิจารณาจริงๆ ก็จะรู้สภาพจิตใจของท่านเองว่า ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยของคฤหัสถ์ หรือท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยของบรรพชิต เพราะเหตุว่า ๒ เพศนี้ต่างกันจริงๆ ผู้ที่ยังเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้ที่ยังมีญาติมิตรสหายพี่น้อง มีกิจการงาน มีกิจธุระที่จะต้องเกื้อกูลผูกพันกัน แต่สำหรับผู้ที่เป็นบรรพชิต คือ ผู้ที่สละละทิ้งทุกอย่างซึ่งจะเป็นเครื่องกังวล เพราะฉะนั้นท่านก็จะมีวงศ์ญาติใหม่ คือบรรพชิตด้วยกันเท่านั้น แต่ว่าท่านจะไม่เกี่ยวข้องเยื่อใยในเครือญาติเก่า เพราะว่าถ้ายังเกี่ยวข้องเยื่อใยอยู่ ท่านก็ยังมีความผูกพันในฐานะของคฤหัสถ์ ไม่ใช่เป็นบรรพชิต
และสำหรับบรรพชิตก็ยังมีท่านที่สะสมมาที่เห็นโทษของการติดข้องของตัวเอง คือไม่ใช่ไปเพ่งเล็งดูคนอื่น แต่ผู้ที่จะขัดเกลากิเลสจริงๆ คือ เป็นผู้เห็นความละเอียดของกิเลสของอัธยาศัยของตนเอง แล้วก็รู้ด้วยว่า การจะกระทำข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด แม้แต่ธุดงควัตร ก็เป็นเพราะอัธยาศัยแท้จริง ไม่ใช่เป็นไปเพื่อคำสรรเสริญ หรือคำยกย่อง หรือคำชมเชย หรือเพื่อลาภ เพื่อสักการะ เพราะเหตุว่าถ้าผู้อื่นเห็นว่า เป็นผู้ที่มีการขัดเกลามาก ก็อาจจะสักการะ หรือนำลาภปัจจัยมาให้ต่างๆ แต่ว่าผู้ที่รู้จักตนเองจริงๆ เท่านั้นที่จะรักษาธุดงค์คุณได้ ตามอัธยาศัย
4737 ไม่มีใครหยั่งถึงกิเลสที่สั่งสมในจิต
สำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระอริยบุคคล ไม่สามารถจะรู้ได้เลยค่ะว่า วันหนึ่งๆ ที่หลับไป และจะตื่นขึ้น กิเลสประเภทไหนจะเกิดขึ้นมากน้อยประการใด ไม่มีใครจะสามารถรู้ได้จริงๆ เพราะว่าไม่มีใครหยั่งถึงการสั่งสมของอกุศลธรรมซึ่งแต่ละท่านเก็บสะสมสืบต่ออยู่ในจิต เพราะเหตุว่าเมื่อวานนี้จิตของแต่ละคนก็มีโลภะต่างๆ กัน มีโทสะต่างๆ กัน มีความสำคัญตนต่างๆ กัน มากน้อยต่างกัน มีความอิสสามากน้อยต่างๆ กัน
เพราะฉะนั้นก็ไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่า เมื่อตื่นขึ้นแล้ว วิบากประเภทไหนจะเกิด และเมื่อวิบากเกิดแล้ว กุศลจิตหรืออกุศลจิตประเภทไหนจะเกิด แต่สำหรับพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้การสะสมของกรรม และกิเลสของแต่ละบุคคล และทรงสามารถรู้ด้วยว่า บุคคลใดสามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
4738 ชัมพุกเถรคาถาที่ ๕
ข้อความในปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย จตุกนิบาต ชัมพุกเถรคาถาที่ ๕ ท่านผู้ฟังจะเห็นชีวิตของพระอรหันต์รูปหนึ่ง ซึ่งก่อนที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ท่านก็มีการสะสมซึ่งยากที่วิถีชีวิตของใครจะเป็นอย่างท่าน
ข้อความในอรรถกถาชัมพุกเถรคาถาที่ ๕ มีว่า
พระเถระแม้นี้ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
- เมตตา ตอนที่ 01
- เมตตา ตอนที่ 02
- เมตตา ตอนที่ 03
- เมตตา ตอนที่ 04
- เมตตา ตอนที่ 05
- เมตตา ตอนที่ 06
- เมตตา ตอนที่ 07
- เมตตา ตอนที่ 08
- เมตตา ตอนที่ 09
- เมตตา ตอนที่ 10
- เมตตา ตอนที่ 11
- เมตตา ตอนที่ 12
- เมตตา ตอนที่ 13
- เมตตา ตอนที่ 14
- เมตตา ตอนที่ 15
- เมตตา ตอนที่ 16
- เมตตา ตอนที่ 17
- เมตตา ตอนที่ 18
- เมตตา ตอนที่ 19
- เมตตา ตอนที่ 20
- กรรม ตอนที่ 01
- กรรม ตอนที่ 02
- กรรม ตอนที่ 03
- กรรม ตอนที่ 04
- กรรม ตอนที่ 05
- กรรม ตอนที่ 06
- กรรม ตอนที่ 07
- กรรม ตอนที่ 08
- กรรม ตอนที่ 09
- กรรม ตอนที่ 10
- กรรม ตอนที่ 11
- กรรม ตอนที่ 12
- กรรม ตอนที่ 13
- กรรม ตอนที่ 14
- กรรม ตอนที่ 15
- กรรม ตอนที่ 16
- กรรม ตอนที่ 17
- กรรม ตอนที่ 18
- กรรม ตอนที่ 19
- กรรม ตอนที่ 20