สมถภาวนา ตอนที่ 10
แต่เมื่อได้ฟัง พระธรรม ได้เห็นจริงว่าทุกคนหนีไม่พ้น ลักษณะของ อสุภ นั้น ฉันใด ร่างกายของท่านก็ฉันนั้น ในวัน ๑ หรือแม้ในขณะนี้เอง ก็เปรียบเสมือน อสุภ ได้ ไม่มีความต่างกันเลย ถ้าน้อมระลึกอย่างนี้ได้จริงๆ ขณะนั้น จิตสงบ
4815 อสุภกับปัญญาต่างขั้นที่ศึกษาความสงบของจิต
ท่านอาจารย์ อันนี้ก็จะเห็นได้ว่า ในชีวิตประจำวัน ขณะที่เห็น อสุภ ตามปกติ ศึกษาจิตว่าขณะนั้นสงบ หรือไม่สงบ ถ้าสงบ เป็นสงบขั้น สมถะ หรือสติปัฏฐาน ปัญญาย่อมสามารถจะรู้ได้ตามความเป็นจริงว่า ในขณะนั้น เป็น สติปัฏฐาน หรือเป็นเพียงกุศลที่เป็นความสงบของจิต ซึ่งย่อมดีกว่า อกุศล แม้ว่าจะเป็นเพียงความสงบของจิต ก็ยังดีกว่าที่จะเป็น อกุศล แต่ว่าการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน นั้นย่อมดีกว่า เพราะเหตุว่า สามารถที่จะดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท ด้วยเหตุนี้ อสุภกรรมฐาน จึงสามารถที่จะเป็นอารมณ์ของสมถภาวนาก็ได้ หรือวิปัสสนาภาวนาก็ได้ ถ้าสำหรับ สมถภาวนา ก็โดยการแสวงหา อสุภ เพื่อที่จะให้จิตจดจ้อง ตั้งมั่นจนกระทั่ง เกิดนิมิตใน อสุภ นั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่อื่น ก็สามารถจะสงบได้ เพราะมี อสุภ เป็นนิมิต เพราะจิตระลึกอยู่ แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาภาวนา แล้วก็คือว่า ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ในขณะที่เห็น อสุภ ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
4869 อนุสสติ ๑๐ กับปัญญาที่รู้ความสงบของจิต
ท่านอาจารย์ สำหรับสมถกรรมฐาน ๔๐ มีกสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ และอนุสติ ๑๐ สำหรับอนุสติ คือการระลึกถึงพระคุณของ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๑ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์คือพระอริยเจ้า ๑ ระลึกถึงคุณของศีล ๑ ระลึกถึงจาคะการสละหรือการให้ทาน ๑ ระลึกถึงเทวตา ระลึกถึงเทวดา คือ คุณธรรมที่ทำให้เป็นเทาวดา ๑ ระลึกถึงความตายคือมรณสติ ๑ ระลึกถึงส่วนต่างๆ ของกาย คือ กายคตาคติ ๑ ระลึกถึงลมหายใจ คืออานาปานสติ ๑ ระลึกถึงสภาพของพระนิพพานคืออุปสมานุสติ ๑ ทั้งหมดรวมเป็น อนุสติ ๑๐ แต่ว่าไม่ใช่อยู่ในหนังสือ ขณะนี้เอง ถ้าปัญญาไม่รู้ ว่ากำลังสงบ หรือไม่สงบ และถ้าสงบๆ เพราะอนุสติอะไร ปัญญารู้ตรงตามสภาพธรรม ตามความเป็นจริง อย่างขณะที่ท่านสวดมนต์ ก่อนที่จะได้ฟังธรรม เคยศึกษาสภาพของจิตที่กำลังสวดหรือเปล่าคะ ว่าสงบหรือเปล่า บางคนนี่คะสวดมนต์ เป็นกิจวัตร แต่ว่ารีบๆ สวดให้เสร็จ จะได้ไปทำธุระอย่างอื่น หรือว่ากำลังมีธุระอื่น แต่ว่ากำลังสวดมนต์อยู่ เพราะฉะนั้น ก็รีบสวด ขณะนั้นสงบหรือเปล่า คะ ชีวิตประจำวัน ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่าการท่องบทพุทธคุณบท ๑ บทใด เป็นกุศลจิตเสมอ ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าจิตนี่คะ เกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ไม่สามารถที่จะให้กุศลจิตตั้งอยู่ติดต่อกันได้เป็นเวลานาน แม้แต่ในขณะที่บำเพ็ญทานกุศล เจตนาให้ มี เป็นกุศล มีความผ่องใสของจิต บางครั้งก็ชั่วขณะเล็กน้อย แล้วอกุศลก็มากมาย เต็มไปด้วยความห่วงใย กังวลในกิจน้อยใหญ่ที่จะต้องกระทำ ในการกุศลนั้น หรือว่าในขณะใดที่เห็นสิ่ง ที่จะถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ที่จัดไว้อย่างดี ประณีต สวยงาม ขณะนั้นก็เป็นโลภมูลจิต
เพราะฉะนั้น เรื่องของจิต เป็นเรื่องที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว ละเอียด และวิจิตรมาก ด้วยเหตุนี้ ท่านที่ไม่ได้ศึกษาสภาพของจิต คือสติไม่เกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของจิตจริงๆ จึงไม่สามารถที่จะบอกได้ ขณะนี้ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต รู้ว่ามีจิต รู้ว่าจิตอยู่ใกล้มาก แต่ว่าถ้าตามตำรา ก็จะบอกได้เป็นเสียงเดียวว่า กำลังฟังธรรมเป็นกุศลจิต แต่ว่าอย่าลืม ความเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วของจิต แล้วก็จะเห็นได้ตามความเป็นจริงว่า กุศลจิตเกิด แล้วก็ดับ แล้วก็อกุศลจิตก็มี หลายประการแทรกแซงเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ปัญญาที่ได้อบรมแล้ว สามารถที่จะรู้ชัด ตรง จริง ในลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นกุศล ว่าเป็นกุศล ในลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอกุศลว่าเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น แต่ก่อนนี้ อาจจะไม่เคยสังเกตุ ขณะที่สวดมนต์ไหว้พระ ว่าจิตนั้นเป็นกุศล หรือเปล่า เข้าใจรวมๆ ไปว่าเป็นกุศล แต่ปัญญาต้องชัด และตรงจริงๆ กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล
4870 การสวดมนต์กับความสงบที่เป็นพุทธานุสสติ
ท่านอาจารย์ บางท่าน เพียงแต่กล่าวตามๆ ไป แล้วก็จบ ขณะนั้นจะกล่าวว่าเป็นกุศล ได้ไหมคะ เชิญคะ
ผู้ถาม. อาจารย์พูดถึง การเจริญสติเรื่องเกี่ยวกับ คือว่าคนที่สวดมนต์ แต่ก่อนนี้เคยสวดมนต์ แต่ว่า รู้ในตอนหลัง พิจารณาสติแล้วนี้ ขณะที่สวดมนต์ นี้ไม่เคย รู้เรื่องว่าจิตเป็นกุศล หรือ อกุศลเลย บางครั้งก็ง่วงนอน สวดๆ ผิดบ้างถูกบ้าง ก็เสร็จแล้ว คะ จบ นอนได้ คะ อย่างนี้มี คะ บางครั้งก็รีบๆ สวด จะให้เสร็จ บางครั้งก็ไม่ค่อยรีบเท่าไร ก็รู้สึกว่าประณีตนิดหน่อย แต่ว่าพอฝึกหัดเจริญสติแล้ว จนรู้สึกว่าขณะที่จิตเป็นกุศล ก็พอจะรู้ได้ เป็นบางครั้ง แล้วก็บ่อยครั้งขึ้น ขณะที่เป็นอกุศลก็ รู้ บ่อยครั้งขึ้น ก็รู้สึกว่าขณะที่สวดมนต์ ก็ยังมี อกุศลแทรกเข้ามาอย่างที่อาจารย์ ว่า บางครั้งก็นึกถึงเรื่องใด เรื่อง ๑ ซึ่งความจริงก็ไม่น่าจะนึกเลย แต่มันนึกมาแล้ว ไอ้นั่นลืมไว้ที่นี่ เอาไอ้นี้มีไว้ที่โน้น อะไรก็ไม่รู้ คือว่าไม่สามารถจะบังคับได้จริงๆ ขณะที่เขาจะเป็นอะไรก็ตาม เป็นความจริงอย่างนี้
ท่านอาจารย์ คะ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ ผู้ที่จะอบรมความสงบของจิตโดยระลึกถึงคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพุทธานุสติ จะทำได้โดยง่าย หรือว่าโดยยาก ถ้าไม่รู้สภาพของจิตเลย จะทำไม่ได้ แต่ถ้ารู้ จะเห็นว่าบางครั้ง เป็นอกุศลเกิดแทรกแซง ไม่ใช่ความสงบจริงๆ แล้วเวลาที่เป็นกุศลจิต นี่คะ ในการสวดมนต์ อาจจะเป็นเพียงกุศลขั้นศีล คือขั้นกิจที่กระทำเป็นประจำวัน ทางกาย และทางวาจา แต่ว่าลักษณะของจิตในขณะนั้น ไม่ใช่สมถภาวนา ไม่ใช่ขั้นอบรมความสงบของจิต เพราะเหตุว่าจิตในขณะนั้นไม่ปรากฏลักษณะของความสงบ ที่จะสงบ ขึ้น โดยการระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วในวัน ๑ วัน ๑ ท่านระลึกถึง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระคุณของพระองค์ด้วยความสงบ แค่ไหน ในวัน ๑ วัน ๑ เพระาว่าแม้แต่ในขณะที่กล่าวคำสรรเสริญคุณ ก็ยังไม่ค่อยจะสงบเสียแล้ว ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น ที่จะเจริญ ความสงบโดยการระลึกถึง คุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ยิ่งขึ้น เป็นสมถภาวนา จะยาก หรือจะง่าย แล้วก็จะเป็นสิ่งที่เพียงแต่ท่องเท่านั้นได้ไหม โดยที่ไม่สังเกตุว่าขณะนั้นจิตสงบ หรือไม่สงบ
4871 ถ้าปัญญารู้ความสงบของจิตที่ปรากฏเป็นสมถถาวนา
ผู้ถาม. ดิฉันอยากจะขอเรียนถามอาจารย์ถึงเรื่อง คือว่าขณะที่ เจริญสติ แล้วก็สวดมนต์อย่างนี้ มีสติระลึกรู้ตามคำ ที่สวด อย่างคำว่า อรหัง สัมมา สัมพุทโธ ภควา อย่างนี้ ระลึกรู้ไปตามคำ มีสติรู้ตามคำ แล้วบางครั้งก็เว้น ไม่มีสติ บางครั้งก็มีต่อกัน หลายจังหวะ ยางครั้งก็มีเว้น แต่ขณะที่มีสติระลึกรู้ ตามคำจนกระทั่ง สวดจบ มีสติคล้ายๆ กับว่า มนสิการอยู่กับการสวดนั้น อย่างนี้จะเรียกว่า เป็น จดจ้อง ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ไม่คะ จดจ้องหมายความว่าเลือกอารมณ์ ไม่ต้องการอารมณ์อื่น ต้องการที่จะให้ระลึกรู้เฉพาะอารมณ์นั้น อารมณ์เดียว
ผู้ถาม. แล้วทีนี้ขณะที่ฟังๆ ๆ อาจารย์บรรยายธรรมก็ดี ขณะที่ฟังพระท่านเทศน์ก็ดี ขณะนั้นก็นั่งฟัง จิต ก็ระลึกรู้ ตามคำไปทุกคำ แล้วก็บางครั้งก็หลงลืม บางครั้งก็มีระลึกรู้ยาว แล้วแต่ขณะนั้นก็ ขณะใดที่มีระลึกรู้ยาว บ่อยมาก ก็จิตค่อยๆ สงบ ลง แล้วก็รู้สึกสะอาด เบาแต่ก็ คำพูดที่อาจารย์พูด พระเทศน์อย่างนี้ก็จำได้ แล้วก็เข้าใจความหมาย แล้วก็มีสติด้วย ถ้าขณะที่ฟัง แล้วมีสติ ระลึกรู้ตามความเป็นจริง ตามเสียง หรือตามคำ อย่างนี้ จะเรียกว่าสมถภาวนา หรือว่าเป็นอารมณ์ของสมถะ หรือว่าเป็นอารมณ์ของ
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่จิตสงบ ปรากฏอาการของความสงบ อันนั้นเป็น สมถภาวนา
ผู้ถาม. แต่ว่าถ้าหาก ขณะพอสงบ แล้วก็ สติระลึกรู้ควาสงบนั้น ก็เป็นเพียงสภาพธรรม ชนิด ๑ เท่านั้น
ท่านอาจารย์ คะ อันนั้นก็เป็น สติปัฏฐาน ที่จะนำไปสู่การที่จะประจักษ์แจ้งว่าเท่านั้นจริงๆ นั้นคืออย่างไร ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น กุศลก็เกิดสลับกันไปทั้ง สมถะบ้าง วิปัสสนาบ้าง หรือ สติปัฏฐาน บ้างนั่นเอง บางทีก็เพียงขั้นศีล บางทีก็เพียงขั้นทาน
ผู้ถาม. คะ ถ้าหากว่า หมายความว่าขณะที่สวดมนต์หรือฟังเทศน์อะไรอย่างนี้ มีสติระลึกรู้ไปเรื่อยๆ บ่อยๆ เนืองๆ อย่างนี้ก็ทำความสงบขึ้น
ท่านอาจารย์ เวลาที่ลักษณะของความสงบปรากฏ จะเห็นว่าความสงบนั้นเป็นอย่างไร ไม่ใช่ลักษณะของสมาธิ แต่เวลาที่ความสงบมั่นคงขึ้น สมาธิมีกำลังพอที่จะให้รู้ว่า เป็นสมาธิที่เพิ่มกำลัง ต่างกับความสงบที่ยังไม่ได้ประกอบด้วยสมาธิ แต่ในที่นั้นจะต้อง มีความสงบปรากฏด้วย
ผู้ถาม. ถ้าอย่างนั้น จิตขณะที่สะสมมา การระลึกรู้ ครั้งหนึ่ง ขณะจิตนิดๆ ๑ แล้วก็สะสมไว้มากๆ ก็ปรากฏออกมาให้เจ้าของรู้ได้ว่า ขณะนั้นจิตมีความสงบเพิ่มขึ้น ประกอบด้วยปัญญาอย่างนี้
ท่านอาจารย์ คะ ลักษณะของความสงบจะเพิ่มขึ้น ยังไม่ถึงขั้น อุปจารสมาธิ ก็รู้ว่า ไม่ใช่อุปจารสมาธิ แต่เป็นความสงบที่มีกำลังเพิ่มขึ้นด้วย
4872 ถ้าความสงบไม่ปรากฏจะไม่เป็นอารมณ์ของสมถะ
ผู้ถาม. ถ้าอย่างนั้น ถ้าหากว่าเวลาที่ ไม่มีสติระลึกรู้ลักษณะของความสงบนั้นก็มีความสงบเกิดขึ้น แต่ว่าไม่มีสติระลึกรู้สภาพของความสงบนั้น ก็เป็นอารมณ์ของสมถะ
ท่านอาจารย์ ถ้าความสงบไม่ปรากฏจะไม่เป็นอารมณ์ของสมถะ คะ อย่างขณะที่ให้ทาน ตามความเป็นจริงแล้วขณะนั้น คะ ต้องเป็นความสงบขั้น ๑ คือ ขั้นทาน ถ้าไม่มีความสงบจาก โลภะ โทสะ โมหะ แล้ว กุศลเจตนาให้จะ เกิดขึ้นไม่ได้เลย แต่ว่าเพราะเหตุว่า ความสงบนั้น น้อยมาก อ่อนมากไม่ปรากฏอาการของความสงบ ผู้ที่ ไม่ได้สังเกตุไม่ได้สำเหนียก จึงไม่รู้ว่าแท้ที่จริงในขณะนั้น จิตสงบ ถ้าผู้นั้นไม่สังเกตุ สำเหนียก แล้ว จะเจริญ จาคานุสติ คือการระลึกถึงสภาพจิตที่สละโลภะ หรือกิเลสในขณะนั้น แล้วก็สงบต่อไปไม่ได้เพราะเหตุว่า ไม่ได้สังเกตุว่าขณะที่ให้นั้นจิตสงบอย่างไร เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสมถภาวนา นี่คะ ลักษณะอาการของความสงบ ปรากฏ ให้รู้ว่าเป็นความสงบ ที่เพิ่มกำลังขึ้น ถ้าขณะนั้นมีปัจจัยที่จะสงบขึ้น
4873 เรื่องเล่าจากท่านผู้ฟังท่านหนึ่ง
ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ฟังท่าน ๑ท่านได้กล่าวถึงเรื่องผลของการฟังธรรม และการเป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานของท่าน เพราะว่าแต่ก่อนนี้ โดยมากท่านที่จะทำวิปัสสนา ก็มักจะไตร่ถามกันถึงผลว่า ได้รับผลแค่ไหนอย่างไรแล้ว ซึ่งก็กล่าวกันวิจิตมาก เป็นต้นว่าได้ถึง ญาณะนั้นแล้ว ญาณะนั้นนี้แล้ว กำลังจะถึงญาณะนั้น กำลังจะประจักษ์ความเกิดขึ้น และดับไปของ นามธรรม และรูปธรรม ผ่านอุทยัพพยญาณ แล้วบ้าง แล้วกำลังจะเป็น อุทยัพพยญาณบ้าง หรือว่ากำลังจะเป็นนิพพิทาญาณบ้าง ท่านก็กล่าวถึงญาณ วิปัสสนาญาณ ขั้นต่างๆ กันเป็นผล ซึ่งท่านผู้นั้น ก็ ก่อนที่จะเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็เข้าใจว่า ท่านก็ได้ผล อย่างที่ท่านอื่นๆ ได้ คือคงจะเป็นใช้คำว่าคงจะ เพราะไม่แน่ใจ ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ แล้ว จะต้องยังสงสัยอยู่ จะไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งชัดว่าเป็นปัญญาจริงๆ เพราะเหตุว่าลักษณะของปัญญาที่แทงตลอดสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ย่อมหมดความสงสัย และแจ่มแจ้ง จะไม่มีคำว่าคงจะใช่ เพราะฉะนั้น ท่านผู้นั้นเคยคิดว่า ท่านคงจะถึง อุทยัพพยญาณ หรือว่าท่านคงจะได้อุทยัพพยญาณแล้ว หรือท่านคงจะเกินอุทยัพพยญาณ แล้ว คือในความรู้สึกของท่าน นี่คะ ก็ยังเป็นคงทั้งนั้น ที่เกี่ยวกับอุทยัพพยญาณ แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วก็ทิ้งความหวัง ความปรารถนา ความต้องการ โดยไม่สมควรแก่ผลเลย เพราะเหตุว่าปัญญายังไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติใดๆ เลย ปัจจุบันนี้ ท่านก็ได้กล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านได้ฟังธรรมมานาน ด้วยการไตร่ตรอง พิจารณา เพิ่มความเข้าใจ ขึ้น แล้วก็เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องการจริญสติปัฏฐาน มากขึ้น เป็นผู้ที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วบ้าง เพราะฉะนั้น ผลที่ท่านได้ก็คือว่า ท่านรู้จักตัวของท่าน ตามความเป็นจริง นี่คือผลที่ท่านได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกที่สุด สภาพนามธรรมทั้งหลาย และรูปธรรรมทั้งหลาย ที่กำลังปรากฏ กับแต่ละบุคคล ย่อมต่างกัน ตามการสะสม เพราะฉะนั้น ผลของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน คือ ท่านรู้จักตัวของท่านเอง ตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมใด รูปธรรมใด ที่เกิดขึ้นปรากฏ ตามเหตุตามปัจจัย ถ้ากำลังมีโลภะอย่างอ่อน ก็รู้ยาก สำหรับท่านผู้นั้น แต่เวลาที่โลภะของท่านมีแรง นำลิ่วทีเดียว ท่านก็รู้ว่า แหม โลภะ ทัดทานไม่ได้ ห้ามไม่ได้เลย สะสมมาที่จะลิ่วไปเป็นโลภะในสิ่งนั้นที่เคยสะสมมา พอถึงโทสะ ไหลหลั่งไปทีเดียวมากมาย ตามความรุนแรงของโทสะ แล้วท่านก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพของโทสะ เป็นอาการของโทสะ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่เวลาที่โลภะอ่อนๆ ปกติธรรมดา โทสะน้อยๆ ขัดเคืองรำคาญใจนิดๆ หน่อยๆ ท่านไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ว่าตามความเป็นจริงของท่าน เวลาที่จิตของท่านเศร้าหมองไปด้วยอกุศลที่มีกำลังแรง สติระลึกรู้ในอาการของอกุศลนั้น เพราะฉะนั้น ผลที่ท่านได้ ท่านรู้จักตัวของท่าน ตามความเป็นจริง นี้คือผลของการเจริญสติปัฏฐาน เท่าที่ท่านกำลังปฏิบัติอยู่ แล้วก็ทิ้งความหวัง ความห่วงใย ความกังวล การที่รอคอย เรื่องของอุทยัพพยญาณ และญาณอื่นๆ เพราะเหตุว่าเป็นเรื่องที่จะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนกว่าปัญญาจะรู้ชัด ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล จริงๆ
4874 ผู้เจริญสมถภาวนาโดยพุทธานุสสติรู้ความสงบจริงๆ
ท่านอาจารย์ ในวันนี้ ก็ขอให้ท่านผู้ฟังระลึกถึง ความสงบของจิตของท่านว่าเคยมีบ้างไหมในเมื่อระลึกถึง พระคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะเป็นพุทธานุสติ นี้เป็นเรื่องจริง ถ้าจิตจะมีสงบก็จะต้องสงบจริงๆ อาการสงบจะต้องปรากฏ ในขณะที่กำลงระลึกถึงพระพุทธคุณ บางท่านอาจจะพรรณาคุณของพระผู้มีพระภาค ได้ยาว ใช่ไหมคะ เพราะว่าเป็นผู้ที่ศึกษาความหมายของคำว่า พุทโธ หรือว่า อรหังสัมมาสัมพุทโธภควา ท่านสามารถที่จะทราบ อรรถ ความหมายของ อรหัง สัมมาสัมพุทโธภควาว่า แต่ละศัพท์ แต่ละคำ หมายความว่าอย่างไร แต่ว่าขณนั้นจิตสงบไหม นี่คือจุดสำคัญที่สุด ไม่ว่าท่านจะพูด หรือท่านจะสวดมนต์ หรือทานจะสรรเสริญพระคุณก็ตาม ในขณะนั้น ถ้าจิตเป็นกุศล ตามความเป็นจริง ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิต แต่ว่าอาการของความสงบของจิต ปรากฏไหม ถ้าไม่ปรากฏก็หมายความว่า กุศลที่ระลึกถึงพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดเพราะเหตุปัจจัย มีได้เช่นเดียวกับกุศลขั้นทาน กุศลขั้นศีล เพราะเหตุว่าแม้แต่ ในขณะที่ระลึกที่จะให้ ก็ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ระลึกที่จะวิรัติทุจริตก็ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ระลึกถึงคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่สภาพจิตที่ระลึกนั้น สงบไหม ถ้าอาการของความไม่สงบ ไม่ปรากฏ ผู้นั้นก็ยังไม่ชื่อว่า เจริญสมถภาวนา โดยพุทธานุสติ เพราะเหตุว่า เป็นเพียงกุศลจิตซึ่งมีความสงบ ขั้น ๑ เช่นเดียวกับ ทาน และศีล แต่ว่าอาการของความสงบ นี่คะ ไม่ปรากฏให้ปัญญารู้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพความสงบที่ จะสงบขึ้นพร้อมกับความตั้งมั่นคงในอารมณ์นั้น จนถึงสมาธิขั้นต่างๆ
4875 การระลึกถึงพระพุทธคุณไม่จำเป็นต้องท่องพุทโธ
ผู้ถาม. ถ้าอย่างนั้น ผู้ที่เจริญสมถภาวนา ยังไม่เกิดผล ก็ เจริญ พุทธานุสติไม่ได้
ท่านอาจารย์ อย่างท่านที่ใช้คำว่า พุทโธๆ ใช่ไหมคะ แล้วก็ไม่ไดสังเกตุสภาพของจิตว่าขณะนั้นสงบไหม การระลึกถึงคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บางทีไม่ต้องใช้คำว่า พุทโธ ใช่ไหมคะ อย่างเวลาที่ท่านอ่านพระธรรม พระสูตร พระไตรปิฎก นี่คะ เห็นพระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ แล้วจิตของท่านก็สงบ เพราะว่าระลึกถึงคุณของพระองค์ ขณะนั้นมีลักษณะความสงบของจิตปรากฏ โดยที่ท่านไม่ได้ใช้คำว่าพุทโธเลย แต่ว่าสภาพของจิตสงบ แต่เวลาที่ใช้คำว่าพุทโธ โดยจิตไม่สงบก็มี ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หมายความว่า ท่านจะใช้กรรมฐานคือคำว่าพุทโธสำหรับเพ่ง จ้อง กำหนด เพราะว่าอาจจะกระทำด้วยจิตที่ไม่สงบได้ แต่ว่าในชีวิตประจำวัน เวลาที่เข้าใจพระธรรม เวลาศึกษาพระธรรม อ่านพระวินัย หรือพระสูตร หรือพระอภิธรรม แล้วเกิดความเข้าใจขึ้น ระลึกถึงพระคุณของพระองค์ขณะนั้น เป็นพุทธานุสติ และความสงบของจิต ถ้าขณะนั้น มี ปรากฏ ก็จะสามารถอบรมเจริญความสงบให้มั่นคงพร้อม กับกำลังของสมาธิเพิ่มขึ้น แต่ว่าไม่ใช่ว่าไปท่อง พุทโธ
7876 การอบรมภาวนาปัญญาต้องรู้ชัดความสงบ
ผู้ถาม. อย่างนั้น จิตสงบมีอยู่แเแต่เราไม่รู้
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ก็อบรมไม่ได้คะการอบรมเจริญภาวนา ไม่ว่าจะเป็น สมถภาวานา หรือวิปัสสนาภาวนา ขณะนั้นปัญญารู้ชัดตามความเป็นจริง แต่ว่าต่างขั้นกัน รู้ชัดตามความเป็นจริงของสมถะ คือรู้ในสภาพที่สงบ กำลังสงบพร้อมสัมปชัญญะ บริบูรณ์ แล้วก็สงบขึ้นๆ ด้วย ถ้าสมาธิมีกำลังขึ้น แต่ว่าการอบรมเจริญสติปัฏฐาน วิปัสสนาภาวนา รู้ชัดในสภาพธรรม ที่ปรากฏตามความเป็นจริงโดยลักษณะของธรรมเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ขณะที่กำลังสงบนี้คะ สติปัฏฐาน รู้ในอาการที่สงบว่าเป็นเพียงความสงบ ไม่ใช่ลักษณะของโลภะ ไม่ใช่ลักษณะของอกุศลจิต
4877 กุศล - อกุศล ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำ แต่ขึ้นอยู่กับจิต
ผู้ถาม. แต่ขณะที่ท่องพุทโธๆ จะสงบหรือไม่สงบก็แล้ว แต่ แต่ว่าขณะนั้นก็มีสติ
ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษ สติเป็นสภาพธรรม ที่เป็นโสภณเจตสิก ที่ต้องเกิดกับโสภณจิตเท่านั้น สำหรับคนที่ไม่มีการที่จะเข้าใจความหมายของ พุทโธ สอนชาติไหนภาษาไหนหรือ เด็กวัยไหนให้พูดคำว่าพุทโธก็ได้ แต่ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าจิตของเด็กคนนั้น เป็นกุศลในขณะที่กล่าวคำว่า พุทโธ เรื่องของกุศลจิต และ อกุศลจิตไม่ใช่ ขึ้นอยู่กับคำ ขึ้นอยู่กับสภาพลักษณะของจิตในขณะนั้นว่าเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล อาการที่สงบปรากฏ ให้รู้ในขณะนั้น หรือว่าไม่ปรากฏ ถ้าไม่ปรากฏก็เป็นเพียงขั้นศีล ทางกาย ทางวาจาเท่านั้น เวลาที่สวดมนต์ก็ดี กราบพระก็ดี เป็นขั้นศีลเพราะอะไร เพราะเหตุว่า ขณะนั้นสภาพของจิตไม่ได้เจริญความสงบขึ้น
4878 ปัญญาของการอบรมภาวนาละเอียดขึ้นเป็นขั้นๆ
ผู้ถาม. อาจารย์ คะ ที่ในพระอภิธรรมพูดถึงว่า มหากุศลจิตมี ๘ ดวง ๔ ดวงประกอบด้วยปัญญา อีก ๔ ดวงไม่ประกอบด้วยปัญญา อย่างนี้ ใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ คะ
ผู้ถาม. แล้วสำหรับที่ ๔ ดวงประกอบด้วยปัญญา ดิฉันอยากจะให้อาจารย์ ขอความกรุณาให้อาจารย์ อธิบายคะ
ท่านอาจารย์ เวลาที่จิตสงบก็ รู้ในอาการที่สงบ ใครรู้ นั่นคือปัญญาที่รู้คะ
ผู้ถาม. คือว่าเจริญสติ อย่างสมมติว่า เจริญสติระลึกรู้เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตามปกติอย่างนี้ ผู้มีสติอย่างนี้เรียกว่ามีสติที่ประกอบด้วยปัญญา ใช่ไหมคะอาจารย์
ท่านอาจารย์ ปัญญาต้องรู้ ในสภาพที่ปรากฏ
ผู้ถาม. ลักษณะที่ปรากฏ ตามความเป็นจริง ทันที
ท่านอาจารย์ คะ แต่คำว่า รู้ในสภาพธรรม ที่ปรากฏ โดยความ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ขั้นประจักษ์แจ้ง นี่คะ คือความละเอียดของสภาพธรรม แม้แต่ปัญญา ปัญญาขั้นประจักษ์แจ้ง ต้องเป็นวิปัสสนาญาณ แต่ว่าขณะที่กำลังระลึกรู้สภาพที่แข็ง ที่ปรากฏที่กาย เหตุใดจึงไม่ใช่สมถภาวนา เพราะเหตุว่าการอบรมเจริญสติปัฏฐาน นั้น เกิดเพราะเข้าใจว่า สติคือสภาพที่ระลึก และศึกษา รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แล้วเคยไดยินได้ฟังว่าสภาพธรรม ที่อ่อนที่แข็ง เป็นแต่เพียงธาตุชนิด ๑ ซึ่งขณะที่แข็งปรากฏ จะมีอย่างอื่นปรากฏด้วยไม่ได้ จะมีความเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ รวมอยุ่ในลักษณะแข็งที่ปรากฏ ไม่ได้ ชั่วขณะที่ สภาพรู้แข็ง เกิดขึ้น รู้แข็ง จะมีความเป็นตัวตนเป็นสัตว์ เป็นบุคคล แทรกอยู่ ในสภาพอาการที่รู้แข็ง ชั่วขณะที่แข็งปรากฏ ขณะ ๑ ขณะ ๑ ไม่ได้ นั่นคือการอบรมเจริญสติปัฏฐาน แต่ถ้าเป็นสมถภาวนา จะเป็น จตุธาตุววัตถานะ ซึ่งได้แก่การระลึกถึง ธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม คือสามารถที่จะแยก อาการของธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม แต่ละลักษณะออกจากกัน แต่ไม่ใช่ด้วยการรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น ปัญญา นี่คะ ก็ยังละเอียดต่างกันไปเป็นขั้นๆ แม้แต่ในขั้นที่เป็นสติปัฏฐาน ที่ใช้คำว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็ยังไม่ใช่ขั้นประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น อย่าคิด ว่าเวลากล่าวถึงปัญญาของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ว่า เป็นการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ โดยลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ในขั้นต้นนั้น เพียงแต่การ น้อมไปสู่อาการของธรรม ที่ปรากฏด้วยความเข้าใจ แต่ว่ายังไม่ใช่ด้วยขั้นการประจักษ์แจ้ง ซึ่งขั้นประจักษ์แจ้ง จะต้องเกิดขึ้นภายหลัง เมื่อได้อบรมความเข้าใจ พร้อมการรู้ชัดในลักษณะนั้นเพิ่มขึ้นอีก
4879 สติน้อมระลึกศึกษาในกุศลต่างขั้นกัน
ผู้ถาม. อย่างสมมติว่า ขณะที่เจริญสติ เริ่มระลึกรู้ลักษณะของเย็นร้อน อ่อนแข็งที่ปรากฏแต่ละครั้งไม่ปะปนกัน ขณะที่มีสภาพแข็งเกิดขึ้น ระลึกรู้ทันที อ่อนระลึกรู้ทันที อย่างนี้ โดยไม่ได้จดจ้อง ไม่ได้นั่น แต่ก็มีการมนสิการ กับสติอยู่ แต่ว่าขณะนั้นจะเรียกว่าเป็น การเดินอยู่ในมรรคมีองค์ ๘
ท่านอาจารย์ ถ้ามีการศึกษา มีการน้อมไปสู่ ความเข้าใจว่าสภาพธรรม ในขณะนั้น เป็นแต่เพียงอ่อน เป็นแต่เพียงแข็ง เป็นแต่เพียงสภาพที่รู้อ่อน รู้แข็ง ขณะนั้นก็เป็นการอบรมเจริญปัญญาที่จะไม่ยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ท่านผู้ฟังเอง เป็นผู้ที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้น กุศลจิตของท่านเป็นขั้นของสมถะ หรือว่าเป็นขั้นของสติปัฏฐาน ความเข้าใจผิดกัน สภาพของการระลึกรู้ในขณะนั้น ต่างกัน พอระลึกแล้วสงบ เท่านั้นก็มี พอระลึกแล้วศึกษา แล้วก็รู้ในอาการที่อ่อน แล้วภายหลังก็เพิ่มความรู้ขึ้น เพิ่มความรู้ขึ้นในลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน อันนั้นก็โดยนัยของสติปัฏฐาน
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 01
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 02
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 03
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 04
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 05
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 06
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 07
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 08
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 09
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 10
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 11
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 12
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 13
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 14
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 15
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 16
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 17
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 18
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 19
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 20
- สมถภาวนา ตอนที่ 01
- สมถภาวนา ตอนที่ 02
- สมถภาวนา ตอนที่ 03
- สมถภาวนา ตอนที่ 04
- สมถภาวนา ตอนที่ 05
- สมถภาวนา ตอนที่ 06
- สมถภาวนา ตอนที่ 07
- สมถภาวนา ตอนที่ 08
- สมถภาวนา ตอนที่ 09
- สมถภาวนา ตอนที่ 10
- สมถภาวนา ตอนที่ 11
- สมถภาวนา ตอนที่ 12
- สมถภาวนา ตอนที่ 13
- สมถภาวนา ตอนที่ 14
- สมถภาวนา ตอนที่ 15
- สมถภาวนา ตอนที่ 16
- สมถภาวนา ตอนที่ 17
- สมถภาวนา ตอนที่ 18
- สมถภาวนา ตอนที่ 19
- สมถภาวนา ตอนที่ 20