บุญกิริยาวัตถุ 10
เรียนท่านผู้รู้
รบกวนขอรายละเอียดของบุญกิริยาวัตถุ 10 หรือขอลิงค์เพื่อให้ศึกษาหน่อยค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนความเห็นที่ 1
บุญกิริยาวัตถุ 10 ในข้อสุดท้าย ทิฏฐุชุกรรม มีความหมายกว้างแค่ไหนคะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนความเห็นที่ 1
บุญกิริยาวัตถุ 10 ก็มีเป็นปกติในคนทั่วๆ ไป เพียงแต่ว่า ถ้าขาดข้อทิฏฐุชุกรรม ก็จะทำให้บุญกิริยาวัตถุ ข้ออื่นๆ ไม่บริสุทธิ์สมบูรณ์ ใช่หรือไม่ และบุญกิริยาวัตถุ 10 ก็มีต่างระดับกันไปในแต่ละบุคคล ใช่หรือไม่คะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนความเห็นที่ 1
บุญกิริยาวัตถุ 10 ก็มีเป็นปกติในคนทั่วๆ ไป เพียงแต่ว่า ถ้าขาดข้อทิฏฐุชุกรรม ก็จะทำให้บุญกิริยาวัตถุ ข้ออื่นๆ ไม่บริสุทธิ์สมบูรณ์ ใช่หรือไม่ และบุญกิริยาวัตถุ 10 ก็มีต่างระดับกันไปในแต่ละบุคคล ใช่หรือไม่คะ
ขอบพระคุณค่ะ
ใช่ครับ และมีระดับต่างกันตามการสะสม..
ผมกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ
บุญญกิริยาวัตถุ ทั้ง 10ข้อนี้
ถ้าเป็นไปเพื่อพระนิพพาน คือ เพื่อการขัดเกลา ละคลาย
ก็จะเป็นกุศลที่เป็นบารมี เป็นกำลังของสติปัฏฐานให้รอดถึงฝั่ง
ทำลิงค์เพิ่มเติมดังนี้ครับเพื่อความสะดวก มีเยอะมาก ต้องแบ่งโพสหลายตอน
รวมลิงค์ - ทานมัย
ทานให้ผลมากน้อยขึ้นอยู่กับอะไร 1
ทานให้ผลมากน้อยขึ้นอยู่กับอะไร 2
ทานที่มีผลมาก รุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
ย่อมให้ทานแม้น้อย เขาก็มีสุขในโลกหน้า
หากผู้ใดรู้ซึ้งในผลของทาน ผู้นั้นย่อมไม่บริโภคก่อนให้ทานเลย
การให้ทานไม่หวังผล เป็นอย่างไร
การให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
การให้ทานย่อมนำมาซึ่งโภคทรัพย์
ทานที่เป็นบารมีและไม่เป็นบารมี
รวมลิงค์ - ภาวนามัย
สมถภาวนาต้องเป็นกุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต
ไปนั่งสมาธิแล้วเห็นภาพต่างๆ ขณะนั้นไม่ใช่สมถภาวนา
ปลิโพธ 10 ไม่เป็นอุปสรรคต่อวิปัสสนาภาวนา
ธรรมที่สะดวกสบายเกื้อกูลแก่การเจริญสมถภาวนา
ผู้เจริญสมถภาวนาต้องรู้ความต่างกันของกุศลและอกุศล และรู้ลักษณะ
การเจริญสติปัฏฐาน เป็นทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา
สติปัฏฐานต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญา
มีหนทางเดียวคือการเจริญสติปัฏฐาน
เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งหมด แต่ทำไมทรงแสดงเป็น4
สติปัฏฐานมี4อย่างตามความจริงของสภาพธรรม แต่ไม่ใช่ให้เลือก
บัญญัติ ไม่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน
ขณะที่มีสติ กับ ขณะที่ไม่มีสติ
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
ย่อสงเคราะห์ลงเหลือบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ
ทานมัย ศีลมัย และ ภาวนามัย เท่านั้นก็ได้
เพราะ ปัตติทาน และ ปัตตานุโมนา เกี่ยวข้องกับเรื่องของการให้
จึงสงเคราะห์เป็นทานมัย
ส่วนอปจายนะและเวยยาวัจจะเกี่ยวข้องกับการประพฤติทางกาย วาจา
จึงสงเคราะห์เป็นศีลมัย
ธัมมัสสวนะและธัมมเทสนาก็เป็นเหตุให้เกิดปัญญา
จึงสงเคราะห์เป็นภาวนามัย
ส่วนทิฏฐุชุกรรมสงเคราะห์ได้ทั้ง ทาน ศีล และภาวนา
เพราะเมื่อมีความเห็นตรง ย่อมเป็นปัจจัยให้กุศลขั้นอื่นเจริญไพบูลย์
และมีผลมีอานิสงส์มาก.
ขอบคุณความเห็นที่ 10 มากค่ะ ขออนุโมทนา ด้วยนะคะ ที่กรุณาหาลิงค์มาให้ ทำให้
ศึกษาได้ง่ายขึ้น
เรียนความเห็นที่ 10
ในลิงค์หัวข้อ การให้ทานมีผลมากน้อยขึ้นอยู่กับอะไร ตอนที่ 1 ในข้อที่ 1 มีคำว่า ทายก และข้อที่ 2 มีคำว่า ปฏิคาหก อยากทราบว่า แปลว่าอะไร อยากจะเดาเอาตามใจชอบอยู่เหมือนกัน แต่เกรงว่าจะผิด
ขอบพระคุณมากค่ะ